410 likes | 672 Views
การบรรยายแบบปฏิสัมพันธ์บน web casting ครั้งที่ 2 เรื่อง สิทธิและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้องสตูดิโอ 3 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รองศาสตราจารย์มาลี สุรเชษฐ สาขาวิชาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
E N D
การบรรยายแบบปฏิสัมพันธ์บน web castingครั้งที่ 2 เรื่อง สิทธิและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน2553 เวลา13.00-16.00 นณ ห้องสตูดิโอ 3 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์มาลี สุรเชษฐ สาขาวิชาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Email: malee.jung@hotmail.com
กฎหมายภายใน ที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงหรือพันธกรณี
กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535) • กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน (พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520) • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522)
กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) • กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา • กฎหมายภาษีอากร
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงหรือพันธกรณี คือ 1.1 สิทธิในข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ เว้นแต่ข้อมูลกระทบถึงความมั่นคง 1.2 สิทธิที่จะได้รับข้อมูลและคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ การออกกฎที่มีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ต่อ) 1.3 สิทธิของผู้บริโภค ในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง 1.4 นโยบายด้านต่างประเทศ • รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานา • ประเทศโดยรัฐควรถือหลักความเสมอภาค • ต้องถือตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและ • ต้องอนุวัตตามสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ต่อ) 1.5 นโยบายด้านเศรษฐกิจ • รัฐต้องสนับสนุนนโยบายด้านเศรษฐกิจเสรี • สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม • คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด • ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด • ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ต่อ) 1.6 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา (3)(5) รัฐต้องบำรุงรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและควบคุม การจำกัดมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต โดยรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงสภาวะโลกร้อน 1.7 หลักเกณฑ์การทำหนังสือระหว่างประเทศกับนานาประเทศ (มาตรา 190) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ในการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศ
เพิ่มเติม • หนังสือสัญญาใดมี • 1. บทเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ • 2. จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา • 3. หนังสือสัญญาใดมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หนังสือสัญญาดังกล่าวนั้นต้องได้รับความเห็นของรัฐสภา • ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศคณะรัฐมนตรีต้อง • 1) ให้ข้อมูล • 2) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน • 3) ชี้แจงต่อรัฐสภา
เพิ่มเติม (ต่อ) • ทั้งนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบเมื่อลงนามในหนังสือสัญญาก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน • คณะรัฐมนตรีต้อง • 1) ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น • 2) กรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาต่อไปเกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว • 3)การแก้ไขหรือเยียวยาต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ผลประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
2. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม • การตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม • อำนาจหน้าที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม • การควบคุมสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษ มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การวางแผน จัดการสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐาน คุณภาพสิ่งแวดล้อม การคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม การกำหนดเขตอนุรักษ์ และพื้นที่คุ้มครอง สิ่งแวดล้อม การทำรายงาน การวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การควบคุม มลพิษ มาตรฐานควบคุมมลพิษ จากแหล่งกำเนิด การกำหนด เขตควบคุมมลพิษ มลพิษอื่นและ ของเสียอันตราย มลพิษทางอากาศ และเสียง มลพิษทางน้ำ
ต้องจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย น้ำเสีย หรือกำจัดของเสียอย่างอื่น มาตรการส่งเสริม เจ้าของหรือ ผู้ครอบครอง แหล่งกำเนิดมลพิษ ขอรับความช่วยเหลือด้านอากรขาเข้า ซึ่งเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ไม่สามารถจัดหาได้ในราชอาณาจักร ขอรับอนุญาตนำผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมและบำบัด
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 • นโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อบรรเทาภาระด้านการคลังของรัฐบาลและเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต • สนับสนุนส่งเสริมการลงทุน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ความสำคัญแก่กิจการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 • กำหนดเขตส่งเสริมการลงทุน และกิจการที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุน อันได้แก่กิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจกิจการที่ใช้ทุนแรงงานหรือบริการในอัตราสูง กิจการที่ใช้ผลิตผลทางเกษตรหรือทรัพยากรธรรมชาติ • นโยบายส่งเสริม กิจการที่ให้การส่งเสริม เช่น ผลิตภัณฑ์การเกษตร แปรรูป กิจการผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร นโยบายส่งเสริมเกษตรไทย กิจการบริหารจัดการฟาร์ม
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สิทธิและประโยชน์ของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น • สิทธิประโยชน์ของคนต่างด้าวคือการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร และสามารถทำงานในราชอาณาจักรได้ • การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร การลดหย่อนอากรขา เข้า • การยกเว้นภาษี การยกเว้นอากรหรือลดหย่อนอากรขาเข้า การนำเงินออกนอกราชอาณาจักรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรตามเขตการลงทุน • หลักประกัน การคุ้มครอง เช่น - รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ - รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขันกับผู้ได้รับการส่งเสริม - รัฐจะไม่ทำการผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือ ผลิตผลชนิดเดียวกับผู้ส่งเสริม
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค สิทธิของผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครอง มี 5 ประการ คือ • สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ • สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ • สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย • สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
ด้านการโฆษณา หลักเกณฑ์ การคุ้มครอง ผู้บริโภคตามกฎหมาย ด้านสัญญา ด้านฉลาก
หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย “คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค” มีหน้าที่พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ /ให้คำปรึกษาแนะนำ/ ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
5. พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง • การเรียกเงินประกันการทำงานหรือประกันความเสียหาย • การที่นายจ้างไม่ชำระค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด • การประกาศเวลาทำงานให้ลูกจ้าง การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานการจ่ายค่าชดเชย • ความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน • การพักงาน
ประเด็นปัญหาด้านกฎหมายแรงงานจากพันธกรณีประเด็นปัญหาด้านกฎหมายแรงงานจากพันธกรณี • บางกรณีข้อตกลงหรือพันธกรณีต่างๆที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศอาจมีช่องโหว่ของกฎหมาย โดยการประกอบธุรกิจอาจจะไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานเพื่อไม่ต้องการนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ แต่อาจจะทำสัญญาในรูปของสัญญาจ้างทำของ ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีผลเสียต่อผู้ใช้แรงงานไทย
6. พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หลักการ • การอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้โดยให้พิจารณาถึงผลดี ผลเสียความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ • การห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจและข้อยกเว้น เช่น กิจกรรมหนังสือพิมพ์ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การทำป่าไม้ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ หรือ
6. พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หลักการ • ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อม เช่นบริการทางบัญชี บริการทางกฎหมาย บริการทางวิศวกรรม การก่อสร้าง หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง เป็นต้น แต่ข้อห้ามดังกล่าวก็ยังมีข้อยกเว้นในบางกรณี • การกำหนดเงื่อนไขให้คนต่างด้าวต้องปฏิบัติ เช่น กำหนดจำนวนกรรมการ กำหนดจำนวนและระยะเวลาในการลงทุน
6. พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หลักการ • การกำหนดจำนวนทุนขั้นต่ำที่คนต่างด้าวมาใช้ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย คือต้องไม่น้อยกว่าสองล้านบาท หรือในกรณีที่การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นธุรกิจที่ต้องได้รับใบอนุญาตตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติต้องลงทุนไม่น้อยกว่าสามล้านบาทเป็นต้น • ผลทางกฎหมายเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการลงทุนเช่นอาจถูกสั่งพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งระงับการประกอบธุรกิจ
7.กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา7.กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา • พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม 2542) • การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร • การขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ประเด็นปัญหาทางด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ต่อผู้ประกอบการ SMEs
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม 2542) • ขาดความรู้ความเข้าใจในการขอรับความคุ้มครองตามระบบสิทธิบัตร ทำให้ผู้ประกาศเสียประโยชน์จากการเป็นผู้ประดิษฐ์/คิดค้นก่อน (First-to-Invent) เพราะไม่ได้ขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ต้องขอรับความคุ้มครองก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า (First-to-File)
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม 2542) • ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นตามกฎหมายไทยกับระดับสากล อาจเทียบไม่ได้กับระดับสากล เนื่องจากเกณฑ์เรื่อง “ต้องไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น” • การขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไทย ไปสู่ต่างประเทศ หลักการ คือ จะขอรับความคุ้มครองที่ไหนต้องขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรที่นั้น
การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร • การขยายความคุ้มครองไปยังสิ่งมีชีวิต เช่นการผลิตจุลชีพ พืชหรือสัตว์โดยไม่เป็นกรรมวิธีทางชีววิทยา (Non-Biotechnology) • ผู้ประกอบการในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยี (End User) มีโอกาสสูงในการละเมิดสิทธิบัตรกรรมวิธี
การขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าการขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า • ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 นิยามคำว่า “เครื่องหมาย” ยังไม่ครอบคลุมถึง กลิ่นและเสียง • ผู้ประกอบการมีโอกาสสูงในการละเมิดเครื่องหมายกลิ่นหรือเสียงของผู้อื่นที่ได้รับการขยายความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า
8. กฎหมายภาษีอากร 8.1 บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษี • บุคคลธรรมดา ผู้ตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้าง หุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่เป็นนิติบุคคล • เงินที่ต้องเสียภาษี ที่เกี่ยวกับ SMEs คือ • มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฏากร ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ • มาตรา 40(4) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งผลกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม (ที่เป็นคณะบุคคล) หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมฯ
8. กฎหมายภาษีอากร • 8.2 วิธีเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 3 วิธี คือการประเมินตนเอง การหักภาษี ณ ที่จ่ายและการประเมินโดยเจ้าพนักงาน • 8.3 กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร • กฎหมายศุลกากร กำหนดอำนาจหน้าที่ของศุลกากรและความรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าและส่งออก • กฎหมายพิกัดอัตราภาษีศุลกากร กำหนดหลักในการเก็บภาษีและเสียภาษีศุลกากร
8. กฎหมายภาษีอากร กฎหมายว่าด้วยของต้องห้ามต้องจำกัด • ของต้องห้าม ได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามนำเข้าหรือส่งออก เช่น ฝิ่น วัตถุลามก เช่น หนังสือ ภาพเขียนภาพระบายสี รูปภาพ ภาพโฆษณา • ของต้องจำกัดในการนำเข้า การจะดูว่าสินค้าใดเป็นของต้องจำกัด ผู้นำเข้าต้องทำคำร้องและคำขออนุญาตเพื่อขออนุญาตนำสินค้าเข้า หรือส่งสินค้าออกยื่นต่อหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติเป็นคราว ๆ ไป
8. กฎหมายภาษีอากร • 8.4 หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีศุลกากร ประกอบด้วย • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานศุลกากร • ราคาศุลกากร ของที่ต้องเสียภาษีศุลกากร และ • ของที่ได้รับยกเว้น • แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ของที่ต้องเสียภาษีอากร • และของที่ได้รับยกเว้นอากรของที่ต้องเสียภาษี • และของที่ได้รับยกเว้นอากร
8. กฎหมายภาษีอากร • การเก็บอากรขาออก มีสินค้า 8 ชนิด เช่น ข้าวต่างๆ • รวมทั้งข้าวเปลือก ข้าวสาร เศษโลหะทุกชนิด หนังโค ยาง • และต้นยาง และผลิตผลจากยาง ไม่ว่าเป็นยางแผ่น หรือ • ยางก้อนฯ • การเก็บอากรขาเข้า คือของทุกชนิดที่นำเข้าในราชอาณาจักร • หรือนำออกนอกราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีอากร • มี 18 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นมีอากรขาเข้า 18 ประเภท • และอากรขาออก 1 ประเภท
8. กฎหมายภาษีอากร อากรขาเข้าที่รับการยกเว้น จะได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิมที่ส่งออกไป เช่น ของประเภทที่ 1 คือของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่น เครื่องประกอบที่ใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา รถสำหรับเดินบนถนน เรือ และอากาศยาน เครื่องถ่ายรูปหรือเครื่องบันทึกเสียงซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ของใช้ประเภทที่ 6 คือของในบ้านเรือนที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของอากาศยานหรือเรือ หรือของประเภทที่ 8 คือน้ำมัน เชื้อเพลิง น้ำมันหยดเครื่อง ของประเภทที่ 9 คือพืชผลที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยปลูกในเกาะ ดอน หรือที่ชายตลิ่ง ริมแม่น้ำ ซึ่งกั้นเขตแดนประเทศไทย เป็นต้น
8. กฎหมายภาษีอากร 8.5 การเสียภาษีศุลกากร เสียภาษีจากการนำเข้าสินค้าหรือส่งออก การเสียภาษีให้เสียแก่เจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้า 8.6 การคำนวนค่าภาษี ขึ้นอยู่กับสภาพของราคาของและพิกัด อัตราศุลกากร
8. กฎหมายภาษีอากร • 8.7 พิกัดอัตราภาษีศุลกากร แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ พิกัดศุลกากร • และ อัตราศุลกากร • พิกัดศุลกากร คือการจำแนกประเภทสินค้าออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดย • การจัดหมวดหมู่ของให้เป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี • ประโยชน์ทางด้าน สถิติ การค้าระหว่างประเทศ • ปัจจุบันประเทศไทยใช้พิกัดศุลกากร พ.ศ.2531 จำแนกสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ แบ่งสินค้าเป็น 21 หมวด เช่น สัตว์ มีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากพืช ของปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู ยาสูบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง หนังดิบ หนังฟอกไม้และของทำด้วยไม้ รองเท้า ของทำด้วยหิน เครื่องจักร เป็นต้น
8. กฎหมายภาษีอากร • 8.7 พิกัดอัตราภาษีศุลกากร แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ พิกัดศุลกากร กับ • อัตราศุลกากร (ต่อ) • อัตราศุลกากร การเก็บอากรของประเทศมีลักษณะเป็นหลายแบบ • หลายอัตรา เพราะว่าประเทศอาเซียนมีระบบลดอัตราภาษีซึ่งกันและ • กันในหมู่ของอาเซียน • ความตกลงว่าด้วยการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียนจะได้รับ • การยกเว้นอากรเป็นพิเศษ ในขณะที่นำเข้ามาจากนอกกลุ่มอาเซียน • จะต้องเสียอัตราอากรในอัตราเต็ม