330 likes | 461 Views
ข้อสอบเขียนตอบ ( 3). ลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย. ใส่วัตถุ B ที่มีขนาดเดียวกันในสารละลาย A ที่มีความเข้มข้นต่างกันวัดความสูงของวัตถุ B ที่ลอยพ้นผิวของสารละลาย A ได้เป็นดังนี้. สถานการณ์.
E N D
ลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย ใส่วัตถุ B ที่มีขนาดเดียวกันในสารละลาย A ที่มีความเข้มข้นต่างกันวัดความสูงของวัตถุ B ที่ลอยพ้นผิวของสารละลาย A ได้เป็นดังนี้ สถานการณ์ สารละลาย A ในชุดการทดลองใด ที่มีแรงพยุงกระทำต่อวัตถุ B มีค่าสูงที่สุด ให้เหตุผลประกอบคำตอบ คำถาม แนวคำตอบชุดการทดลองที่ 2 เพราะสารละลายมีแรงพยุงทำให้วัตถุลอยพ้นผิวของสารละลายได้มากที่สุด คำตอบ
กิจกรรมที่ 2.5 การพิจารณาข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย คำชี้แจง: ให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่มพิจารณา ข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สถานการณ์และคำถามเหมาะสมกับข้อสอบเขียนตอบ แบบอธิบายหรือไม่ อย่างไร 2. เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขข้อสอบ
นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกันนำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน
ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 1: นำดินสอใส่ในของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากัน 3 ชนิด ดังภาพ บันทึกความยาวของดินสอส่วนที่โผล่พ้นผิวของเหลว ได้ดังตาราง ดินสอลอยในของเหลวชนิดใดได้ดีที่สุด
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ข้อที่ 1: นำดินสอใส่ในของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากัน 3 ชนิด ดังภาพ บันทึกความยาวของดินสอส่วนที่โผล่พ้นผิวของเหลว ได้ดังตาราง เพราะเหตุใดดินสอจึงลอยได้แตกต่างกันในการทดลอง 3 ชุด
ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 2 : ผลการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นดังนี้ จากข้อมูล สัตว์ชนิดใดใกล้สูญพันธุ์
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ข้อที่ 2 : ผลการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นดังนี้ จากข้อมูล 1. สัตว์ชนิดใดใกล้สูญพันธุ์ เพราะเหตุใด 2. การเปลี่ยนแปลงจำนวนของเสือ ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต ชนิดใดบ้าง และส่งผลอย่างไร
ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ดาวเหนือ ข้อที่ 3 :สังเกตท้องฟ้าเวลากลางคืน พบดาวเหนือบนท้องฟ้า ดังภาพ จากภาพ ด้านหน้าของบ้านเป็นทิศใด
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ดาวเหนือ ข้อที่ 3 :สังเกตท้องฟ้าเวลากลางคืน พบดาวเหนือบนท้องฟ้า ดังภาพ 1. บริเวณใดของบ้านที่จะได้รับแสงมากเวลาเช้า เพราะเหตุใด 2. ถ้าต้องการปลูกต้นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย โดยเลือกปลูกพืชในบริเวณ B นักเรียนคิดว่า เหมาะสม หรือไม่ เพราะเหตุใด
ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 4 : ถ้ามีนักเรียน 2 คน รับประทานอาหารดังนี้ นักเรียนคนที่ 1 นักเรียนคนที่ 2 นักเรียนแต่ละคนรับประทานอาหารครบทุกหมู่หรือไม่ ถ้าไม่ครบจะขาดหมู่ใด
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข • ข้อที่ 4 : ข้อมูลแสดงพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร ชนิดต่างๆ เป็นดังนี้ • จากข้อมูลถ้าร่างกายของเด็กคนหนึ่งต้องการพลังงาน 1,200-1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน จะต้องรับประทานอาหารอย่างไรให้เพียงพอกับความต้องการพลังงาน ให้ระบุชนิดและจำนวนอาหารที่เลือกรับประทานมา 3 จาน พร้อมทั้งแสดงวิธีการคำนวณ
ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? • ข้อที่ 5 : ทดลองปลูกพืชชนิดหนึ่งในดิน 4 ชนิด นาน 4 สัปดาห์ • สังเกตการเจริญเติบโตของพืชได้ดังนี้ อธิบายตารางตามความคิดของนักเรียน
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข • ข้อที่ 5 : ทดลองปลูกพืชชนิดหนึ่งในดิน 4 ชนิด นาน 4 สัปดาห์ • สังเกตการเจริญเติบโตของพืชได้ดังนี้ ดินชนิดใดมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ชนิดนี้มากที่สุด เพราะเหตุใด
เฟร็ดจะทำนายเกี่ยวกับความสูง ของต้นถั่วได้อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ ข้อที่ 6 : เฟร็ดมีเมล็ดถั่วอยู่หนึ่งซองซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ เขาปลูกถั่ว 4 เมล็ด ลงในภาชนะ 2 ใบ ที่มีลักษณะดังภาพ และรดน้ำเมล็ดถั่วทุกวัน ต้นถั่วในภาพที่ 2 อาจสูงกว่า ในภาพ ที่ 1 เพราะได้รับแสงและธาตุอาหารมากกว่า หรืออาจกล่าวว่าได้รับสิ่งที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่า แสงสว่างมาก แสงสว่างน้อย เมล็ดถั่ว ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ธาตุอาหารต่ำ ธาตุอาหารสูง นักเรียนไทยตอบถูก: 53% ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 1.1 ป.4/2
ข้อที่ 7 : ทาโต้ขี่จักรยานล้มและทำให้เกลือที่อยู่ในถุงหกกระจาย เขาเก็บเกลือที่ตกอยู่บนพื้นดินซึ่งมีทรายและใบไม้ปนมาด้วยใส่ในถุงพลาสติก ในตารางต่อไปนี้ จงอธิบายขั้นตอนที่ทาโต้ แยกเกลือออกจากของผสมระหว่างเกลือ ทรายและใบไม้ และให้เหตุผลของการกระทำแต่ละขั้นตอนไว้ด้วย ขั้นตอนที่ 1 เติมไว้ให้แล้ว เติมน้ำ กรอง เพื่อแยกสารละลายเกลือ ต้ม / ทิ้งกลางแดด เพื่อให้น้ำระเหยเหลือแต่เกลือ ที่มา : ข้อสอบจากโครงการTIMSS ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.6/3
ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 8 นักเรียน 4 กลุ่ม หาความหนาแน่นของกระป๋องที่มีโซดาอยู่ แต่ละกลุ่ม จะได้รับกระป๋องโซดา 1 กระป๋อง นักเรียนกลุ่ม A B C และ D หาความหนาแน่นของกระป๋องได้ 1.04 0.04 2.77 และ 1.05 กรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และหามวลของกระป๋องโซดา ได้ดังตารางที่ 1 ที่มา : ดัดแปลงจากข้อสอบจากโครงการ TIMSS
ข้อที่ 8 :เพราะเหตุใดกลุ่ม A และกลุ่ม D จึงหามวลของกระป๋อง และโซดาได้แตกต่างกับกลุ่ม B และกลุ่ม C เพราะกลุ่ม A และ D ชั่งมวลของกระป๋องและโซดา ในขณะที่กลุ่ม B และ C ชั่งเฉพาะมวลของกระป๋อง ........................................................................................ ........................................................................................ นักเรียนไทยตอบถูก: 42% ที่มา: ดัดแปลงจากข้อสอบโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.5/1
ข้อที่ 9 : ใส่น้ำ 300 กรัม ในถาดแล้วแช่ในตู้เย็นเพื่อทำให้เป็นน้ำแข็ง เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง มวลของน้ำแข็งจะมีค่าเท่าใด เพราะเหตุใด (เลือกเพียง 1 คำตอบ) คำตอบที่ถูกต้องมี 3 กรณี ดังนี้ • มากกว่า 300 กรัม เพราะน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งด้วยปริมาณเท่าเดิม หรือมวลเท่าเดิมไม่มีอะไรหายไป มวลคงที่ เมื่อเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือความหนาแน่น เพราะมีอากาศเข้ามาขณะน้ำแข็งมีการขยายตัวและกักอากาศไว้ข้างใน • 300 กรัม เพราะมีการระเหยของน้ำบางส่วน เช่น น้ำหนักของน้ำแข็งจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะระเหยไปนิดหน่อย หรือ น้ำหนักของน้ำแข็งอาจน้อยลงเล็กน้อยเพราะบางส่วนจะระเหยไป • น้อยกว่า 300 กรัม นักเรียนไทยตอบถูก: 27% ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.5/1 ที่มา: ดัดแปลงจากข้อสอบโครงการ TIMSS
ข้อที่ 10 : เด็กชายคนหนึ่งยืนหันหน้าหาดวงอาทิตย์ โดยเกิดเงาบนพื้นดังภาพ ดวงอาทิตย์ เงา จากภาพเงาของเด็กชาย มีสิ่งที่ผิดปกติ 2 เรื่อง ให้นักเรียนระบุสิ่งที่ผิดปกติ พร้อมอธิบาย เด็กชาย 1. ในทิศทางที่เกิดเงาบนพื้น หรือ มุมที่เกิดเงาบนพื้นผิดปกติ เพราะเงา ต้องอยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ 2. ลักษณะของเงาไม่ตรงกับท่าทางของเด็กชาย เพราะ เด็กชายยกแขน ข้างหนึ่ง แต่เงาเด็กชายไม่ยกแขน ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 7.1ป.3/1
ข้อที่ 11 :กล่องขนาดเท่ากัน 3 ใบ บรรจุสารที่มีสถานะแตกต่างกัน ชนิดละ กล่อง ดังภาพ ต่อมานำสารจากแต่ละกล่องไปใส่ในกล่องที่มีขนาดใหญ่เป็นสี่เท่าจากเดิม สังเกตลักษณะของสารที่อยู่ในกล่องได้ผลดังภาพต่อไปนี้ ให้นักเรียนระบุว่าสารที่อยู่ในแต่ละกล่องมีสถานะเป็นของแข็ง หรือ ของเหลว หรือ แก๊ส พร้อมอธิบายเหตุผล ของเหลว เพราะมีปริมาตรคงที่และเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ของแข็ง เพราะมีปริมาตรที่คงที่และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ แก๊ส เพราะปริมาตรและรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ ตัวชี้วัด: ว 3.1ป.6/1 ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS
ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 12 ศึกษาการตอบสนองต่อแสงของปลายยอดพืชโดยนำพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะลำต้นตั้งตรงและมีขนาดของต้นเท่ากันมาไว้ในกล่องทึบแสงที่มีช่องรับแสงอยู่ ณ ตำแหน่งต่างๆ กัน และให้รับแสงและน้ำปริมาณเท่ากันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้ผลดังนี้ ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 1.1ป.4/3
ข้อที่ 12 :นักเรียนมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ต้นพืชในชุดการทดลองที่ 2 ที่มีปลายยอดเอนไปทางด้านซ้ายกลับมาตั้งตรง พร้อมอธิบายเหตุผล ให้ต้นพืชได้รับแสงทางด้านบน เพราะปลายยอดพืชจะเอนกลับมาตั้งตรงตามทิศทางที่ได้รับแสง .............................................................................................................................................. ....................................................................... หรือ ให้ต้นพืชได้รับแสงทางด้านขวาเพราะปลายยอดพืชจะเอนกลับมาทางด้านขวาจนตั้งตรง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นให้ได้รับแสงด้านบน เพื่อไม่ให้พืชเอนไปทางด้านขวา .............................................................................................................................................. ....................................................................... ตัวชี้วัด: ว 1.1ป.4/3 ที่มา: ข้อสอบ สสวท.
ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 13 – 14 • ลากวัตถุก้อนหนึ่งด้วยแรงต่างกัน บนพื้นผิว 2 ชนิด เป็นเวลา 1 นาที บันทึกระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ดังตาราง ที่มา : ข้อสอบ สสวท.
ข้อที่ 13 :จากข้อมูล พื้นผิวชนิดใดมีแรงเสียดทานมากที่สุด นักเรียนทราบได้อย่างไร จงอธิบาย พื้นผิวชนิดที่ 1 เพราะถ้าต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่ากันในระยะเวลา 1 นาที จะต้องออกแรงมากกว่า .............................................................................................................................................. ....................................................................... หรือ พื้นผิวชนิดที่ 1 เพราะเมื่อออกแรงเท่ากัน วัตถุบนพื้นผิวชนิดที่ 1 เคลื่อนที่ได้ระยะทางน้อยกว่าพื้นผิวชนิดที่ 2 .............................................................................................................................................. ....................................................................... ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 4.2ป.5/1
5 นิวตัน 10 นิวตัน ข้อที่ 14 :ถ้าออกแรงพร้อมกัน 10 นิวตัน และ 5 นิวตัน ในทิศ ตรงข้ามกันลากวัตถุก้อนเดิมบนพื้นผิวชนิดที่ 1 ดังภาพ จากข้อมูล วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ เพราะเหตุใด ไม่เคลื่อนที่ เพราะจากตาราง เมื่อแรงลัพธ์เท่ากับ 5 นิวตัน วัตถุที่อยู่บนพื้นผิวชนิดที่ 1 จะยังไม่เคลื่อนที่ .............................................................................................................................................. ....................................................................... ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 4.1ป.5/1
ประเด็นในการพิจารณาข้อสอบประเด็นในการพิจารณาข้อสอบ ให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันพิจารณา และเปรียบเทียบ ข้อสอบในแต่ละชุดดังนี้ • ความสอดคล้องกับสาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด • การส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์
เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 1 หยดเทียน วัสดุ
เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 2 ข้อมูลแสดงอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ 4 ชนิด เมื่ออุณหภูมิของอากาศเป็น 40 ๐C และ 10 ๐C เป็นดังนี้ สัตว์เลือดเย็นมีลักษณะอย่างไร จากข้อมูล สัตว์ชนิดใดบ้างเป็นสัตว์เลือดเย็นเพราะเหตุใด
เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 3 กระดาษ วัสดุที่ติดไฟได้
สรุปแนวทางการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายสรุปแนวทางการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย สถานการณ์ - มีข้อมูลเพียงพอและจำเป็นต่อการตอบคำถาม- ชัดเจนและเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน • คำถาม • สอดคล้องกับสถานการณ์ • ชัดเจนและสอดคล้องกับตัวชี้วัด • - เปิดโอกาสให้อธิบายเหตุผล หรือ แสดงวิธีคิด แนวการตอบ - ครอบคลุมหลักการ หรือ แนวคิดที่ถูกต้อง และเป็นไปได้ทั้งหมด
กิจกรรมที่ 2.6 การสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย คำชี้แจง : ให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนปฏิบัติ ดังนี้ 1) สร้างหรือเลือกสถานการณ์จากเอกสารในภาคผนวก 1 สถานการณ์ 2) ระบุระดับชั้น สาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในข้อ1 แล้วนำมาสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบแสดงวิธีทำหรือเขียนอธิบาย 1 ข้อ พร้อมแนวการตอบ
แบบประเมินรายวัน 3-2-1 • ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียน • 3 สิ่งใหม่ที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ • 2 เรื่องที่จะนำไปปรับใช้ในห้องเรียน ของตนเอง • 1 คำถามเกี่ยวกับประเด็นที่ยังไม่เข้าใจหรือสิ่งที่อยากให้วิทยากรอธิบายเพิ่มเติม