E N D
ชื่อเรื่องวิจัย “การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่1 ในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)” ชื่อผู้วิจัย นายอัฏฐรพล ดวงใจ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปัญหาการวิจัย ในปัจจุบันการใช้โปรแกรมกราฟิกต่าง ๆ ได้มีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยในการจัดทำการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ นั้น ผู้จัดทำได้ใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 บนเครื่อง Mac เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานวิจัย จนจบกระบวนการทำงานวิจัย เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลในการที่จะวัดผลประสิทธิภาพของสื่อ โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจศึกษาปัญหาการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205) นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบสื่อมัลติมีเดียสำหรับวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205) แก่นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพื่อพัฒนาสื่อการสอนในการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205) ให้มีความน่าสนใจ เพื่อนักศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205)
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ระดับการตัดสินใจ - ความสนใจ - การมีส่วนร่วมใน กิจกรรมในชั้นเรียน- การตอบคำถาม T-test ปัจจัยในการประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดีย-โปรแกรมที่ใช้ในการ ประยุกต์-เทคนิคการออกแบบ-ความคิดสร้างสรรค์ F-test ปัจจัยแวดล้อมการใช้เหตุผล การทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมในชั้นเรียน ความรู้เกี่ยวกับรายวิชา F-test x2
แสดงร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามตัวแปร อายุ เพศ และประสบการณ์เรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205) ของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง จำนวน 30 คน
ความพึงพอใจการใช้สื่อมัลติมีเดียในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก (รหัสวิชา 3000-0205) ของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง จำนวน 30 คน
สรุปผลการวิจัย • ระดับประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก ในเรื่องของ สีสันและภาพประกอบสื่อมัลติมีเดีย และมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพโดยรวมของการออกแบบสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับดี (X-bar =4.46) • กิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากกว่าการเรียนแบบปกติ เกิดความรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรม แปลกใหม่ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพโดยรวมของสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับ ดีมาก (X-bar =4.53) • ความพึงพอใจ ของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง จำนวน 30 คน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพโดยรวมของสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับ ดี (X-bar =4.49)