210 likes | 371 Views
ความก้าวหน้าของโครงการ และงวดงานที่ 2. โครงการศึกษาและจัดทำระบบบริหารงานวิศวกรรมความปลอดภัยทางหลวงท้องถิ่น. หัวข้อการนำเสนอ. หลักการและเหตุผล.
E N D
ความก้าวหน้าของโครงการและงวดงานที่ 2 โครงการศึกษาและจัดทำระบบบริหารงานวิศวกรรมความปลอดภัยทางหลวงท้องถิ่น
หลักการและเหตุผล คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานใน“ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน”เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ปี 2554-2563 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย การศึกษาและจัดทำระบบบริหารงานวิศวกรรมความปลอดภัยทางหลวงท้องถิ่น สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อหาตำแหน่งจุดเสี่ยง จุดอันตรายบนทางหลวงท้องถิ่น และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขได้ถูกต้อง ตามหลักวิศวกรรมการทาง
วัตถุประสงค์ 1 ศึกษาพฤติกรรมและการตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนของผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงท้องถิ่น วิเคราะห์ลักษณะของจุดเสี่ยง จุดอันตรายบนทางหลวงท้องถิ่นที่เกิดขึ้นพร้อมเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 2 จัดทำระบบบริหารงานวิศวกรรมความปลอดภัยทางหลวงท้องถิ่น 3 จัดทำคู่มือการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสำหรับทางหลวงท้องถิ่น คู่มือการใช้งานระบบฯ 4
แนวทางการดำเนินงาน ดำเนินการแล้วเสร็จ งานในลำดับถัดไป
เครื่องมือในการสำรวจ • ที่ปรึกษาได้หารือกับเจ้าหน้าที่ทางหลวงชนบท ในการพัฒนาแบบสอบถาม และแบบประเมิน เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2557 สำหรับใช้ในการสำรวจการรับรู้ด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง รวมถึงแบบสอบถามความคิดเห็นต่อระบบฯ และปัจจัยทางด้านวิศวกรรมที่ส่งผลต่อความปลอดภัยบนสายทางท้องถิ่น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ • แบบสำรวจการรับรู้ของผู้ขับขี่ • แบบสำรวจความคิดเห็นต่อระบบ • แบบสำรวจความปลอดภัยทางหลวงท้องถิ่น
การคัดเลือกสายทางตัวอย่างการคัดเลือกสายทางตัวอย่าง • ปัจจัยที่พิจารณา • สถิติอุบัติเหตุ (บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด, 2557) • ลักษณะสายทาง ครอบคลุม • ลักษณะพื้นที่ ประกอบด้วย เขตชุมชน นอกเขตชุมชน • เรขาคณิตของสายทาง ประกอบด้วย ทางตรง ทางโค้ง ทางแยก ทางตัดทางรถไฟ ทางลาดชัน ทางแคบ • ลักษณะข้างทาง ประกอบด้วย เขตทางเพียงพอ เขตทางไม่เพียงพอ • สภาพผิวทาง ประกอบด้วย ผิวทางปกติ ผิวทางเสียหาย • การเชื่อมต่อ ประกอบด้วย เชื่อมต่อกับทางหลวง เชื่อมต่อกับทางหลวงชนบท เชื่อมต่อกับทางหลวงท้องถิ่น • ความคิดเห็นจากหน่วยงานท้องถิ่น
สายทางที่ดำเนินการสำรวจสายทางที่ดำเนินการสำรวจ
เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ แบบสำรวจการรับรู้ของผู้ใช้ทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความปลอดภัยจากมุมมองของผู้ใช้ทาง เพื่อให้ทราบถึงประเด็นที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ขับขี่บนสายทางตัวอย่างไม่น้อยกว่า 30 คน รายการในแบบสำรวจ อายุ เพศ พฤติกรรมในการขับขี่ (ความเร็ว) การรับรู้ระดับความปลอดภัย สาเหตุที่ทำให้สายทางไม่ปลอดภัย
สายทางที่ 12 ลักษณะสายทาง สายทางมีลักษณะ 2 ช่องจราจร เป็นทางลาดชัน ไม่มีไหล่ทาง มีจุดเสี่ยงที่บริเวณช่วงลงเขา หรือทางลาดลง และมีทางโค้งที่เป็นอันตราย
สายทางที่ 12 (ต่อ) บริเวณเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ • ทางลาดชัน • ไม่มีไหล่ทาง • ทางโค้งอันตราย
สายทางที่ 13 ลักษณะสายทาง สายทางมีลักษณะ 2 ช่องจราจร ถนนแคบ ไม่มีไหล่ทาง มีปริมาณจราจร รถบรรทุกหนาแน่น มีจุดเสี่ยงที่บริเวณทางตัดรถไฟ และสภาพถนนที่ชำรุด
สายทางที่ 13 (ต่อ) บริเวณเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ • ถนนแคบ • ไม่มีไหล่ทาง • ทางตัดรถไฟ • สภาพถนนที่ชำรุด
สรุปผลการประเมินการรับรู้สรุปผลการประเมินการรับรู้
สรุปผลการประเมินการรับรู้สรุปผลการประเมินการรับรู้
ประเด็นที่ได้จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามประเด็นที่ได้จากการสำรวจข้อมูลภาคสนาม • ผู้ใช้ทางส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความกว้างของสายทาง ซึ่งส่งผลต่อการประเมินระดับความปลอดภัยมากที่สุด • สภาพผิวทางเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ใช้ทางตัดสินใจในการประเมินความปลอดภัยของสายทาง • ผู้ใช้ทางให้ความสำคัญกับเส้นจราจร และป้ายเตือน โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความเสี่ยง เช่น ทางโค้ง ทางแยก • ปริมาณรถบรรทุก และความเร็วของการจราจรส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยขณะขับขี่ยานพาหนะ • ความสว่างในช่วงเวลาส่งผลต่อต่อความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอาชญากรรม สรุปเบื้องต้นจากการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ • แบบสำรวจ ความคิดเห็นของระบบ • มีวัตถุประสงค์เพื่อความคิดเห็นของผู้ที่จะใช้งานระบบบริหารความปลอดภัยสายทางท้องถิ่น รวมถึงสอบถามความต้องการในการใช้งาน เพื่อนำไปพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ อบท. โดยสำรวจเมื่อเข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการ รายการในแบบสำรวจ ข้อมูลทั่วไปของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานด้านความปลอดภัย ความคิดเห็นต่อระบบ
การสำรวจเบื้องต้น (Pilot survey) จำนวนตัวอย่าง 22 ตัวอย่าง