1 / 30

สถานการณ์เด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทย และนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน

สถานการณ์เด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทย และนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน. ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ 3 มิถุนายน 2548. กรอบแนวคิดเรื่องสถานการณ์เด็กไทย. สถาบันครอบครัวกับวิกฤตชีวิตเด็กไทย.

jada
Download Presentation

สถานการณ์เด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทย และนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานการณ์เด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทย และนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ 3 มิถุนายน 2548

  2. กรอบแนวคิดเรื่องสถานการณ์เด็กไทยกรอบแนวคิดเรื่องสถานการณ์เด็กไทย

  3. สถาบันครอบครัวกับวิกฤตชีวิตเด็กไทยสถาบันครอบครัวกับวิกฤตชีวิตเด็กไทย เด็กจำนวนประมาณ 37.3% จะอยู่ในความดูแลของปู่ย่าตายาย ในชนบทมีครัวเรือนที่คนหนุ่มสาวอพยพไปทำงานในเมืองเป็นจำนวนมาก ทิ้งเด็กและผู้สูงอายุให้อยู่ที่บ้าน ในขณะเดียวกันมีเด็กกำพร้า หรือเด็กที่อยู่กันตามลำพังสูงถึง 8.2 %( รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ. งานวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 9,488 คน จากโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย, 2544.)

  4. สถาบันครอบครัวกับวิกฤตชีวิตเด็กไทยสถาบันครอบครัวกับวิกฤตชีวิตเด็กไทย จากการสำรวจผู้ปกครอง 1,066 ครอบครัวใน กทม. พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ทำงานวันละ 7-9 ชั่วโมง พ่อแม่ 43% รู้สึกห่างเหินกับลูกเนื่องจากในแต่ละวันมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกเพียง 1 - 3 ชั่วโมง[1] ในแง่ของเด็กเองก็รู้สึกห่างเหินพ่อแม่มากขึ้นด้วย จากงานวิจัยChild Watchของสกว. พบว่า ร้อยละ 40 ของเด็กมัธยมปลายอาชีวะและอุดมศึกษา ระบุว่า ตนไม่ได้ไปเที่ยวไหนกับพ่อแม่เลยในรอบ 1 เดือน[2] [1]รายงานจากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และศูนย์ประชามติสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิททยาลัยรามคำแหง, 2546. [2]โครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546.

  5. เด็กไทยแปลกแยกจากศาสนา สัญญาณสังคมไร้ศรัทธา กลุ่มวัยรุ่นโดยรวมร้อยละ 60 ใช้ชีวิตตามห้างสรรพสินค้า ดูภาพยนตร์ มีมือถือในครอบครอง นิยมอาหารแดกด่วน และใช้อินเตอร์เนตเพื่อการพูดคุยและเล่นเกม รวมไปถึงร้อยละ 45 ไม่ไปทำบุญตักบาตร และร้อยละ 65 ไม่เคยฟังพระเทศน์เลยในรอบ 1 เดือน (งานวิจัยจากโครงการติดตามสภาวการณ์เด็ก และเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ของสกว, 2546 )

  6. เยาวชนไทยในกะทะทองแดงเยาวชนไทยในกะทะทองแดง ข้อมูลจากมูลนิธิเมาไม่ขับระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการบริโภคสุราสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก งานวิจัยของมูลนิธิเพื่อนหญิงพบว่า ค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อครอบครัวที่มีผู้ดื่มเฉลี่ยวันละประมาณ 100-300 บาท หรือคิดเป็นเงินโดยเฉลี่ยถึงราว 4.68 หมื่นล้านบาทในแต่ละปี

  7. เยาวชนไทยในกะทะทองแดงเยาวชนไทยในกะทะทองแดง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ดื่มสุรามากขึ้น จากร้อยละ 31.5 ในพ.ศ.2534 เป็นร้อยละ 35.5 ในพ.ศ.2546 โดยเฉพาะสตรีเพิ่มจากร้อยละ 9.5 เป็นร้อยละ 14.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน วัยรุ่นโดยเฉพาะสตรีอายุ 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราเพิ่มสูงสุด คือเพิ่มขึ้นถึง 5.6 เท่า

  8. เด็กไทยในวัฒนธรรมช็อปไว ใช้แหลก แดกด่วน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาวัยรุ่นชาย-หญิงร้อยละ 52.2 นิยมซื้อโทรศัพท์มือถือมากที่สุด เฉลี่ยราคาแพงที่สุดที่ซื้อคือ 10,931 บาท ตามด้วยการซื้อเสื้อผ้า ร้อยละ 33.5 เฉลี่ยราคา 1,677 บาท ซื้อรองเท้าร้อยละ 31.8 เฉลี่ยราคา 1,938 บาท ตามด้วยกระเป๋าสตางค์ เฉลี่ยราคา 1,721 บาท นาฬิกา เฉลี่ยราคา 9,130 บาท น้ำหอม เฉลี่ยราคา 2,375 บาท เครื่องสำอาง เฉลี่ยราคา 1,695 บาท กระเป๋าถือเฉลี่ยราคา 4,530 บาท และเครื่องประดับ 4,652 บาท ตามลำดับ( ผลสำรวจสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เรื่องการใช้สินค้าแบรนด์เนมของนิสิตนักศึกษา )

  9. เด็กไทยในวัฒนธรรมช็อปไว ใช้แหลก แดกด่วน เด็กหนึ่งคนใช้เงินซื้อขนมปีละ 9,810.56 บาท ขณะที่เด็กหนึ่งคนใช้เงินกับการศึกษาปี 3,024 บาท เท่ากับว่าเด็กใช้เงินซื้อขนมมากกว่าการศึกษาถึง 3.24 เท่า (โครงการสัมมนาเด็กไทยรู้ทัน. นสพ.มติชน 11 มี.ค.47 .)

  10. เด็กไทยในวัฒนธรรมช็อปไว ใช้แหลก แดกด่วน โครงการเด็กไทยรู้ทัน ที่ได้ทำสำรวจการบริโภคขนมของเด็กไทยพบว่า เด็กและเยาวชนอายุ 5-24 ปี ประมาณ 21 ล้านคน มีเงินไปโรงเรียนปีละ 354,971 ล้านบาท และเด็กใช้เงินซื้อขนมถึงปีละ 161,580 ล้านบาท เท่ากับ 15.7% ของงบประมาณแผ่นดินปี 2547 หรือมากกว่างบประมาณประจำปีของ 6 กระทรวงรวมกัน

  11. เด็กไทยในวัฒนธรรมช็อปไว ใช้แหลก แดกด่วน วัยรุ่นร้อยละ 13.1 พยายามทำงานหารายได้พิเศษมาเพื่อซื้อของ ร้อยละ 8.9 นำมาจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และที่น่าวิตกก็คือร้อยละ 0.8 ของวัยรุ่นดิ้นรนหาเงินหาสินค้าโดยอาศัยจากผู้เลี้ยงดู กู้ยืมเงินนอกระบบ เปิดโต๊ะพนันบอลและเล่นการพนัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีรายรับน้อยกว่ารายจ่ายจะหาทางออกในลักษณะนี้รวมไปถึงการขโมยเงินพ่อแม่-ผู้ปกครอง ( สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ . ผลสำรวจความเห็นนิสิตนักศึกษาต่อสินค้าแบรนด์เนม : กรณีศึกษาตัวอย่างนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร, 2546 )

  12. เด็กไทย รักใสหรือรักเซ็กส์ • วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่อายุเฉลี่ยประมาณ ๑๔-๑๘ ปี และมีกับเพื่อนหรือคู่รักมากกว่าหญิงบริการทางเพศ • ในกลุ่มคนโสดมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานในอัตราเพิ่มมากขึ้น • เยาวชนหญิงในเขตเมืองเกือบครึ่งหนึ่งมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน • วัยรุ่นชายหญิงปัจจุบันเชื่อว่าชายหญิงส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งงานมากขึ้น • วัยรุ่นหญิงยอมรับแนวคิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น • มีแนวโน้มว่าวัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยลงเรื่อย ๆ ( สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๓)      

  13. เด็กไทย รักใสหรือรักเซ็กส์ วัยรุ่นไทยครองแชมป์ในเรื่องต่อไปนี้ • ยอมรับการมีคู่นอนมากกว่า ๑ คน ค่าเฉลี่ย "สูงที่สุดในโลก" คือมีร้อยละ ๕๒ (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ ๓๔) • เริ่มเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา "ช้าที่สุดในโลก" คือเมื่ออายุ ๑๓.๕ ปี (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ๑๒.๒ ปี) • มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเซ็กซ์ครั้งแรก "น้อยที่สุดในโลก" เพียงร้อยละ ๒๓ (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ ๕๗) • พ่อแม่ไทยมีบทบาทในการสอนเรื่องเพศแก่ลูก "น้อยที่สุดในโลก" คือร้อยละ ๑ เท่านั้น (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกร้อยละ ๑๒)(สถาบัน Durex Global Sex Survey 1999)

  14. เด็กไทย รักใสหรือรักเซ็กส์ เด็กและผู้หญิงถูกข่มขืนเพิ่มขึ้นปีละกว่าพันราย ที่จังหวัดระยองจังหวัดเดียวมีผู้หญิงถูกข่มขืนกว่า 500 รายใน 1 ปี เด็กสุดอายุเพียง 7 เดือน มากสุดถึง 106 ปี ส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวถึงร้อยละ 80 (ข่าวสด วันที่ 31 กรกฎาคมพ.ศ.2547 ปีที่ 14 ฉบับที่ 4993 หน้า 1)

  15. เด็กไทยบนเส้นทาง “คลั่งหวย รวยลัด วัดดวง” • จากการสำรวจในงานวิจัย 2 ชิ้นคืองานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากโครงการ Child Watch พบตัวเลขใกล้เคียงกันคือ เด็กวัยรุ่นในช่วงมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาอยู่ในวงจรการพนันบอลถึง 400,000-500,000 คนหรือราวร้อยละ 5 ของประชากรในกลุ่มอายุ และคิดเป็นร้อยละ 25 ของผู้ที่อยู่ในวงจรการพนันบอลทั้งหมด

  16. จากการสำรวจปี 2544 พบว่าเศรษฐกิจการ พนัน มีวงเงินรวมระหว่าง 1,520,000-1,820,000 ล้านบาท ทำให้ประชาชนผู้เล่นการพนันต้องเสียรายได้ 353,000-415,000 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 7-8 ของจีดีพี โดย หวยใต้ดินมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด 23,700,000 คน รองลงมาคือ ฟุตบอล 11,995,000 คน ผลงานวิจัยระบุอีกว่าเฉพาะตัวเลขของ ประชาชนที่ต้องสูญเสียให้กับการพนันฟุตบอลอยู่ระหว่าง 12,000-16,000 ล้านบาทต่อปีทีเดียว (อานุช อาภาภิรม. โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) เจ้าของงานวิจัย “เศรษฐกิจใต้ดิน : การงอกงามใต้ร่มเงาโลกาภิวัฒน์” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2544 อ้างถึงใน Business Thai [20-11-2003] ) เด็กไทยบนเส้นทาง “คลั่งหวย รวยลัด วัดดวง”

  17. เด็กไทยในความรุนแรงและรอยร้าวทางวัฒนธรรมเด็กไทยในความรุนแรงและรอยร้าวทางวัฒนธรรม • สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง แต่ข้อเท็จจริงนี้ไม่เคยถูกเน้นย้ำในระบบการศึกษา • เหตุการณ์ความรุนแรงและปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ทั้งในหมู่วัยรุ่นและคนไทยโดยรวมชี้ให้เห็น “ความเป็นอื่น” และความไม่เข้าใจกันระหว่างคนไทยร่วมแผ่นดิน ที่อาจนำไปสู่รอยร้าวทางสังคมในอนาคต • วิกฤตโลกอันเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ต่างศาสนาและวัฒนธรรมยิ่งทำให้เห็นความจำเป็นในการเตรียมเด็กรุ่นใหม่ให้เข้าใจสังคม “พหุวัฒนธรรม” อย่างพอเพียง

  18. ปัญหาเด็ก : ภาพสะท้อนสังคมอ่อนแอ • สภาพครอบครัวแตกแยกสร้างปัญหาเก็บกดก้าวร้าวให้เด็ก • สถาบันศาสนาที่อ่อนแอไม่เป็นหลักยึดเหนี่ยวให้เด็ก • สื่อลามก-เกมส์รุนแรงที่เกลื่อนสังคมทำให้เด็กจิตใจเร่าร้อน • กระแสบริโภคนิยมสร้างค่านิยมเด็กแบบ “ตัวกู-ของกู” • การศึกษาที่เน้นการแข่งขันทำให้เด็กเครียด อัตตารวน • สภาพสังคมบ่มวิธีคิดสุดขั้ว“ถูก-ผิด”“ดำ-ขาว”“แพ้-ชนะ” • สังคมที่เด็กถูกโอบล้อมด้วยพื้นที่ชั่วมากกว่าพื้นที่ดี

  19. บาปเจ็ดประการ (seven sins) สัญญาณร้ายสังคมไทย • LUST ผู้คนหมกมุ่นในกาม เห็นเนื้อหนังเป็นสินค้า รักไม่เป็น • GLUTTONE ผู้คนลุ่มหลงบริโภค ชอบความมีระดับ • GREED ผู้คนไขว่คว้าวัตถุ อยากมีอยากเป็น ได้ไม่รู้จักพอ • SLOTH ผู้คนเกียจคร้าน ไม่อยากทำแต่อยากมี อยากรวยลัด • ANGER ผู้คนก้าวร้าวรุนแรง ใจร้อน ใจร้าย ไม่ประนีประนอม • ENVY ผู้คนริษยาว่าร้ายกัน ไม่มีความสุขกับตนเอง เก็บกด • PRIDE ผู้คนอัตตาแรง หยิ่งยโส ถือตัวต้องดีกว่าต้องชนะคนอื่น

  20. ทางกู้วิกฤตสังคมไทย • วาระแห่งชาติเรื่องความเข้มแข็งของครอบครัว • สร้างวัดให้เข้มแข็ง สร้างยุทธศาสตร์เยาวชนผ่านวัด • ทำสังคมให้น่าอยู่สำหรับเด็กเปิดพื้นที่ดีๆ ให้เด็กแสดงออก • ปราบสื่อลามก คุมพื้นที่ชั่ว จัดระเบียบสื่อและอินเตอร์เน็ต • สร้างโรงเรียนในฝันคือโรงเรียนที่สอนชีวิตคู่สอนหนังสือ • สามัคคีธรรมทางการเมืองเมื่อขับเคลื่อนเรื่องเด็ก

  21. นัยต่องานพัฒนาเยาวชน • การร่วมส่งเสริมศาสนาและครอบครัว ให้เด็ก“รักตน รักครอบครัว สุขกับตนเอง สุขกับการให้” • การร่วมสร้างค่านิยมการบริโภคที่ดี“กินพอดีอยู่พอดีมีปัญญาเท่าทันสื่อโฆษณา” • การร่วมรณรงค์เรื่องค่านิยมทางเพศ “รักใส เข้าใจอัตลักษณ์เพศ รู้ทันผลจากพฤติกรรมเสี่ยง รู้รับแรงยั่วยุ รู้ป้องกันตนเอง” • การร่วมสร้างค่านิยมการใช้จ่าย“ใช้เป็น เก็บเป็น ไม่เป็นหนี้ หนีความเสี่ยง เลี่ยงอบายมุข” • การร่วมสร้างความเข้าใจและความปรองดองทางวัฒนธรรม “รู้เรา รู้เขา สมานฉันท์ เท่าเทียม”

  22. ยุทธศาสตร์หลัก • ยุทธศาสตร์ครอบครัว “สวัสดิการและคุณภาพชีวิตครอบครัว” • ยุทธศาสตร์สื่อ “คุมสื่อร้าย ขยายสื่อดี ให้สื่อสร้างวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ดีให้เด็ก” • ยุทธศาสตร์การศึกษา “โรงเรียนสอนชีวิต โครงงานชุมชน” • ยุทธศาสตร์พื้นที่ “ลดพื้นที่ชั่ว เพิ่มพื้นที่ดี มีโซนปลอดอบาย” • ยุทธศาสตร์สถาบันศาสนา “โรงเรียนวิถีธรรม พื้นที่วัดของเด็ก” • ยุทธศาสตร์การเมือง “เด็กอยู่หน้าการเมือง ภาคีการเมืองเรื่องเด็ก” • ยุทธศาสตร์วิจัย “องค์ความรู้เพื่อเฝ้าระวัง แก้ปัญหา พัฒนา”

  23. ยุทธศาสตร์การเชื่อมต่องานเยาวชนในพื้นที่ • การเข้าถึงข้อมูลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ • การพัฒนาพื้นที่/กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ • การกระตุ้นกระแสการมีส่วนร่วมในท้องถิ่นและการเชื่อมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวและชุมชนในพื้นที่เสี่ยง • การผลักดันนโยบาย “พื้นที่เยาวชน” ในแต่ละจังหวัด ที่เป็นทั้งพื้นที่ปลอดภัยปลอดอบาย เป็นพื้นที่การเรียนรู้และแสดงออก

  24. เด็กกลุ่มเสี่ยง • เด็กในชุมชนชานเมือง “จริตเป็นเมือง โอกาสเป็นชนบท” • เด็กในชุมชนแออัด “คุณภาพชีวิตต่ำ ความเสี่ยงสูง” • เด็กหนีเรียน “วัฒนธรรมเด็กหลังห้อง มองการศึกษาติดลบ” • แก๊งค์เด็กซ่าส์ “เสี่ยง ซ่า กล้า สนุก ตามเพื่อน” • เด็กในภาวะยากลำบากอื่นๆ ที่ต้องการกระบวนการกลับคืนสู่สังคมอย่างคนปกติ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กในสถานพินิจ

  25. แง่คิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเน้นเชิงเป้าหมายแง่คิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเน้นเชิงเป้าหมาย • ในแง่กลุ่มเป้าหมาย จากงานวิจัยชี้ว่า เยาวชนช่วงอายุ 11-12 ปี เป็นกลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ดังนั้นการดำเนินงานด้านเยาวชน จะเป็นกิจกรรมพัฒนา หรือกิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกต่างๆ ก็ดี ควรให้ความสำคัญกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในช่วงอายุ 11-12 ปี หรือประมาณ ม.1-ม.2 นี้ เป็นพิเศษ

  26. แง่คิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเน้นเชิงเป้าหมายแง่คิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเน้นเชิงเป้าหมาย • เป้าหมายสำคัญน่าจะเป็นการทำให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิต และทางออกหรือทางเลือกที่ดีในการรับมือกับปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาท้าทายชีวิต เช่น สภาพครอบครัวที่ไม่ปรองดอง ความเครียดจากการแข่งขันในการเรียน กระแสโฆษณาที่รุมเร้าความอยากได้อยากมี การมีสติรู้เท่าทันอารมณ์และความต้องการทางเพศท่ามกลางแรงยั่วยุจากสื่อต่างๆ เป็นต้น

  27. ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ • โครงการบ้านหลังเรียนร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษามุ่งให้เด็กมีพื้นที่และกลุ่มในการทำกิจกรรมที่ตนสนใจอย่างหลากหลายหลังเลิกเรียน โดยรวมมือกับโรงเรียนและชุมชนในการสนับสนุนพื้นที่ อุปกรณ์ และอาสาสมัครในการจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจต่างๆ

  28. ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ • กิจกรรมรณรงค์รวมกับองค์กรท้องถิ่น กลุ่มพ่อแม่ สื่อท้องถิ่น เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนเรื่องเด็กร่วมกันมุ่งรณรงค์ในประเด็นปัญหาเด็กที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่น เรื่องการเสพของมึนเมา การสร้างพื้นที่ดีๆ สำหรับเด็ก เป็นต้นเน้นการทำเรื่องเด็กให้เป็นวาระสำคัญของทุกฝ่าย

  29. ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ตัวอย่างเรื่องที่น่าทำในระดับพื้นที่ • คู่คิดวัยTeen เป็นการระดมสมองวัยรุ่นเพื่อให้คำแนะนำการใช้ชีวิตแก่วัยรุ่นในท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยครอบคลุมวัฒนธรรมการใช้ชีวิตด้านต่างๆ เช่น การบริโภค การเสพของมึนเมา การมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น โดยเผยแพร่ผ่านสื่อที่ใกล้ชิดวัยรุ่น เช่น ส่งทาง sms การโพสต์คำขวัญในเว็บหลักๆ การใช้สื่อท้องถิ่น • โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในท้องถิ่นในการใช้พลังและจิตสำนึกสาธารณะของตนในการพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่นร่วมกับผู้ใหญ่ในภาคส่วนต่างๆ

  30. สิ่งที่ต้องการจากรัฐบาลคือการชูนโยบายสังคมให้เป็นเรื่องใหญ่ของชาติ GDP จะเติบโตเร็วเพียงใด หากสังคมไทยยังหมักหมมปัญหาศีลธรรมไว้มากมายก็ไร้ความชอบธรรมที่จะอวดอ้างการเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว”

More Related