460 likes | 1.36k Views
K. S. I. ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพงานเหมืองและย่อยหิน Key of Success Indicator in Mine and Crushing Plant. สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ บจก.เอสซีจี ซิเมนต์ 7 สิงหาคม 2555. ประวัติผู้บรรยาย. จบปริญญาตรี วศ.บ.เหมืองแร่และโลหะวิทยา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2523
E N D
K S I ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพงานเหมืองและย่อยหินKey of Success Indicatorin Mine and Crushing Plant สมหวัง วิทยาปัญญานนท์บจก.เอสซีจี ซิเมนต์ 7 สิงหาคม 2555
ประวัติผู้บรรยาย • จบปริญญาตรี วศ.บ.เหมืองแร่และโลหะวิทยา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ปี 2523 • จบปริญญาโท วศ.ม.อุตสาหการโรงงาน จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทมปี 2529 • รับราชการที่ กรมทรัพยากรธรณี (กพร.ในปัจจุบัน) เป็นเวลา 10 ปี ด้านความปลอดภัยในการทำเหมืองเริ่มปี 2524 • ทำงานที่ปูนซิเมนต์ไทย (SCG ในปัจจุบัน) เป็นเวลา 21 ปี ด้านการทำเหมืองหิน ดิน ถ่านหิน ยิปซั่ม ไพโรฟิลไลต์เริ่มปี 2534 • เจ้าของเว็บไซต์ ภูมิปัญญาอภิวัฒน์www.budmgt.com12 ปี • ความเชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน เสถียรภาพความลาดเอียง การระเบิดหิน การบริหารงานเหมือง การบริหารเชิงพุทธ การลดต้นทุนการทำเหมือง สิ่งแวดล้อมในการทำเหมือง การฟื้นฟูเหมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน การแต่งเพลงประเภทชีวิตคนทำงาน เทคโนโลยี่จุลินทรีย์อีเอ็ม เทคโนโลยี่เอ็นไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
นิยามดัชนีชี้วัด(Defination of KSI) • ดัชนี แปลว่า นิ้ว นิ้วชี้ เป็น นิ้วสั่งงาน • ชี้ไปที่ไหน ที่นั่นเป็นจุดควบคุม • คนชี้ ก็ต้องรู้ว่า ควรชี้ไปที่ใด • วัด คือ ทำให้รู้ค่า รู้แล้ว ก็จะทราบว่า ตำแหน่งปัจจุบันอยู่ที่ไหนซึ่งจะทำให้ทราบว่า อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการหรือไม่ • เมื่อรู้ตำแหน่ง หากไม่ทำอะไร ก็จะไร้ค่า ต้องคิดว่าจะไปที่ไหนต่อ ห่างไกลจากสิ่งที่ต้องการเท่าไร (gap) • คำขวัญ ที่ใดไม่มีการวัด ที่นั่นไม่มีการพัฒนา • องค์กรที่ต้องการพัฒนา ต้องมีการวัด • จะพัฒนาด้านไหน ก็ต้องมีการวัดในด้านนั้นๆ • ดัชนีชี้วัด จึงเป็น เครื่องมือสำคัญในการพัฒนา คน งาน องค์กร
วัตถุประสงค์ดัชนีชี้วัด(Objectives of KSIor KSF) • KSI or KSF : Key of Success Indicator (Factor) • ค้นหาตัววัดผลการทำงานที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อที่จะได้บริหารจัดการงานนั้น ให้บรรลุเป้าหมายด้วยดีตามเวลาที่กำหนด • เป็นตัววัดที่เป็นข้อตกลงที่ชัดเจน ระหว่างนายกับลูกน้อง ผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารบริษัท เหมืองกับลูกค้า ข้าราชการกับเหมือง ว่า สิ่งที่สนใจ ต้องไม่เกินนี้ ต้องอยู่ระหว่างนี้ หรือไม่เกินค่านี้ แล้วจะพึงพอใจ • เป็นตัวชี้วัดสุขภาพองค์กร(Organization Health)ว่าจะดูที่ตัวอะไรบ้าง
แนะนำดัชนีชี้วัด (Key of success Indicator) • งานประจำวัน (Daily Base) • งานที่ต้องดูแลต่อเนื่องอย่างไม่ขาดระยะ เพื่อควบคุมผลลัพธ์งาน ให้เป็นไปตามที่กำหนด ทำไปแก้ไขไปแบบที่มีความรู้ตามปกติ • งานโครงการ(Project Base) • งานปรับปรุงแบบก้าวกระโดด ต้องการดูแลให้ทันเป้าหมายเรื่อง เสร็จทันเวลา งบไม่บานปลาย เสร็จแล้วใช้งานได้ทันที และสำเร็จด้วยดี ไม่มีอุบัติเหตุ ข้อผิดพลาดมีน้อย • งานเชิงกลยุทธ(Strategic Base) • งานปฏิบัติการที่ต้องใช้กุศโลบาย ในการเข้าหมายและบรรลุเป้าหมาย ภายใต้กำลังพล การเงิน เครื่องมือเครื่องจักร สอดคล้องเทคโนโลยี่ที่มีอยู่ เวลา และมีอุปสรรคสกัดกั้น ที่มีอยู่จำกัด
ดัชนีชี้วัดงานประจำวัน(Daily Base Indicator) • ความเพียรพยายามทำ 4 อย่าง มี ลดของไม่ดี เพิ่มสิ่งดี รักษาสุดยอดดี และป้องกันภัยพิบัติไม่ให้เกิดขึ้น • เป็นไปแบบปรับปรุงต่อเนื่อง ทีละขั้นตอน • ระดับแผนกดูแล • ปกติ มักใช้กราฟควบคุม เป็นรายวัน แต่อาจควบคุม เป็นรายกะ หรือรายชั่วโมงก็ได้ ตามความจำเป็น • กรณีมีข้อบกพร่อง ให้อธิบายเหตุผลสั้นๆ ที่กราฟ จากนั้นไปหาวิธีบำบัดแก้ไข ซึ่งอาจง่ายๆ หรือต้องไปทำกลุ่มคุณภาพ QCเพื่อหาสาเหตุและการแก้ไข • มักเกี่ยวข้องกับต้นทุน ผันแปร (VC) • เทคนิคที่ใช้ เป็น การควบคุมตามค่ามาตรฐานที่กำหนด (Control Limits)
หลักการควบคุมดัชนีชี้วัดงานประจำวัน(Daily work KSI) อัตราการเกิด เสียมุ่งศูนย์ อัตราการเกิด น้อยดี มากดี ดีมุ่งร้อย เวลา เวลา สิ่งที่ไม่ดี (ของเสีย ต้นทุน ข้อบกพร่อง ข้อร้องเรียน ทุจริต พิษภัย สิ่งเลวร้าย) สิ่งที่ดี (ตัน/ชม. ตัน/กะ OEE สุจริต ปลอดภัย สิ่งดีงาม) อัตราการเกิด อัตราการเกิด หายนะรุนแรงป้องกันไม่ให้เกิด(ต้องเป็นศูนย์ตลอด) เหมือนเดิมดี ดีสุดแล้วรักษา(ต้องเต็มร้อยตลอด) ศูนย์ดี เวลา เวลา สิ่งดีงาม (ระเบียบ พฤติกรรม ประเพณีวัฒนธรรม วิธีการ ISO) สิ่งชั่วร้ายแรง (น้ำท่วมเหมือง ไฟไหม้อาคาร ถูกปิดเหมือง สงคราม โรคระบาด วางระเบิด)
ดัชนีชี้วัดงานโครงการ(Project Base Indicator) • มักเป็นงาน โครงการติดตั้ง การวิจัยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การยกระดับการทำเหมือง ด้านลดต้นทุนมากๆ การชิงรางวัลดีเด่นด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม CSR ,TPM • เป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด (Big Improvement)มักจำเป็นต้องอาศัยทีม วิชาการเทคโนโลยี การเข้าใจรากลึกแห่งปัญหา • ผู้รับผิดชอบ มักเป็นอย่างน้อย ผจก.เหมือง วิศวกรที่ชำนาญมาก • มักเกี่ยวข้องกับ งบลงทุน • ดัชนีชี้วัด มักเป็นเรื่อง เสร็จทันเวลา ใช้งบประมาณไม่เกิน เสร็จแล้วใช้งานได้ทันที ผ่านสมรรถนะตามที่ออกแบบหรือกำหนดไว้แต่แรก และไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น นอกจากนี้อาจนำมาใช้ ในการทำภารกิจให้ได้ตามวิสัยทัศน์ • เทคนิคที่ใช้ เป็น เป้าหมายและหลักกิโลเมตร (Target and Milestone)
ดัชนีชี้วัดงานเชิงกลยุทธ(Strategic Base Indicator) • มักเป็นงานเชิงกลยุทธ ที่สนับสนุนงานประจำวัน และงานโครงการ ให้สำเร็จโดยง่าย ใช้ทรัพยากรต่ำ ภายใต้เวลาที่จำกัด • ต้องนิยาม ปัจจัยวิกฤติ ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง แล้วมาออกแบบกลยุทธ์ • กรณีที่เป็นงานประจำวัน มักเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ยากแก้ไขให้สำเร็จ กลยุทธ์อาจเป็น จ้างสถาบันมาช่วยวิจัย การใช้ของเก่า การใช้อะไหล่สำรอง • กรณีที่เป็นงานโครงการ มักเป็นงานช่วงสายงานวิกฤติ เร่งเวลาให้สั้นลง การลดงบลงทุนโดยการออกแบบใหม่ ใช้เทคโนโลยีแทนวิธีการเดิม การทำให้ถูกต้องแต่แรก • ควรมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ จึงจะมองกลยุทธ์ออก ในการขจัดปัญหาควรมีแผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การมีแผนสำรอง การใช้เทคโนโลยี่ช่วย
แบบจำลองดัชนีชี้วัดการเดินทางโดยรถยนต์(Traveling Model in KSI) • แต่ละเส้นคนขับต้องเก่งอะไร • ต้องเตรียมอะไร ที่จะเผชิญกับอุปสรรค • ดัชนีชีวัดในแต่ละเส้นทาง คืออะไร แบบประจำวัน แบบโครงการ แบบกลยุทธ ประมาณเวลาเดินทาง 3 วัน 4 อุปสรรควิกฤติ ปั้มน้ำมัน จุดเริ่มต้น 5 7 ปั้มน้ำมัน จุดเส้นชัย 3 2 6 ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร 1 3-6 เส้นเลาะเขา ไกล มีอุปสรรคน้อย 1-2ที่ราบถนนดี 3-4ที่ลาดชันเข้าป่า 5/6-7 ที่ราบทะเลทราย 2-3ที่ราบถนนขรุขระ 4-5ที่ลงเขาข้ามห้วยมีโคลนเลน ดัชนีชี้วัดที่มีเครื่องวัด มี เกจน์น้ำมัน ความร้อน ความเร็ว มีเตอร์กิดลเมตร เข็มทิศ GPS ลองเทียบเคียงกับการทำเหมืองดู
ระดับดัชนีชี้วัด(KSI Levels) ระดับดัชนีชี้วัด • KMI : Key Management Indicator ดัชนีชี้วัดด้านการบริหารเหมาะสำหรับผู้บริหารบริษัท เช่นกำไร EBITDA ต้นทุนการผลิต ยอดขาย รางวัล TPM % ส่วนแบ่งการตลาด ราคาหุ้น การเป็นผู้นำตลาดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ ข้อร้องเรียนจากลูกค้า ต้องผลิตต่อเนื่อง • KPI : Key Performance Indicator ดัชนีชี้วัดสมรรถนะการทำงานในธุรกิจ การผลิต และการบริการ เช่น OEE Breakdown P,Q,C,D,S,M,E • KAI : Key Activity Indicator ดัชนีชี้วัดกิจกรรมเพื่อให้ความมั่นใจว่างานจะสำเร็จ เช่นกิจกรรม CEI จำนวนTag ปรับปรุงงาน ตำแหน่งจุดวัดของดัชนีชี้วัด • วัดที่จุดปัจจัยป้อน Input KSI • วัดที่จุดกระบวนการ Process KSI • วัดที่จุดผลลัพธ์ Output KSI การกระจายดัชนีชี้วัด • ดัชนีชี้วัดแบบลูกโดดหน่วยงานเดียวจบ (One Stop deployment) • ดัชนีชี้วัดกระจายเป็นทอดๆ (Cascade deployment) ตามลำดับชั้นต้องเชื่อมโยงจากกิจกรรมไปสู่ผลลัพธ์เป็นกิ่งไม้จนถึงผลลัพธ์ระดับธุรกิจ (Tree or Network Linkage) กระบวนการ ป้อน ผล
การวิเคราะห์เชิงระบบในการตั้งดัชนีชี้วัด (Systematic of KSI) ควบคุมได้/ควบคุมไม่ได้ And/or gate สิ่งที่ได้รับ กฎการเกิด เงื่อนไขการเกิด หลักคิด สิ่งป้อน PQCDSME สถานการณ์ งบประมาณ เงื่อนไข EIA ผลลัพธ์ สมการ ปฎิกิริยา ดัชนีชี้วัด หลักวิศวกรรม กำไร ต้นทุน ประสิทธิภาพงาน การผลิตและบริการ วิชาการเหมือง วัตถุดิบ วิสัยทัศน์ อยู่รอด อยู่ดี ยั่งยืน หลักทำ เป็นผู้นำในธุรกิจ เหมืองนิเวศน์ การบริหารจัดการ ความรู้ในการจัดการปัญหา (KM) กระบวนการ ทางโลก(4M) ทางธรรม(กาย วาจา ใจ)ทฤษฏีบริหาร ทำที่ไหน (องค์กร สังคม) กรณีเรียนรู้ ทฤษฏีใหม่ การทำเหมือง การย่อยหิน การขาย การตลาด การซ่อมบำรุง การจัดหา การดูแลคุณภาพ ISO สิ่งรบกวน (Interruption) ผลข้างเคียง (Effects) บวก ศูนย์ ลบ
กระบวนการ (Process) ป้อน ผล • แบบเดี่ยว (Single) • เป็นระบบย่อยๆ ครั้งเดียวจบ • แบบโครงข่าย (Network flow) • เป็นระบบย่อยๆ หลายระบบย่อย มาเรียงร้อยต่อเชื่อมกัน เป็นโครงข่าย การเกิดไปตามเส้นทางไหน ตามเหตุการณ์ที่เกิดเป็นเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น ผังโรงย่อยหินก่อสร้าง PERT/CPMแบบวงจรไฟฟ้า แบบวงจรไฮดรอลิค การไล่ปฏิจจสมุปบาท • ดัชนีชี้วัด อาจเลือกบางจุดที่สำคัญ ที่นำมาดูแลพิเศษ • เมื่อกระบวนการเกิดไม่เชื่อฟัง (Out of order) แล้วทำให้ระบบทั้งหมดหยุดชะงักจะจัดการอย่างไร โดยใช้ ดัชนีชี้วัด มาเตือนภัยก่อนเกิด ผล ป้อน ขนาน หมุนวน อนุกรม
ตัวกำหนดดัชนีชี้วัดเชิงสถานการณ์บริษัท (KSI in Company Situation) เมื่อในสถานการณ์ต่างกัน ในบริษัทเดียวกัน ย่อมมีดัชนีชี้วัดต่างกัน และแม้นต่างบริษัท แต่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน อาจใช้ดัชนีชี้วัดไม่เหมือนกันก็ได้ ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป • ยุคเอาตัวรอด(Survival Stage) • ดัชนีชี้วัด ควรมาจากแผนกลยุทธความอยู่รอด เอาเท่าที่จำเป็น ตัดสิ่งหรูหราเกินจำเป็นออก เช่น กำไร ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย ตลาด สต๊อกต่ำสุด ครองใจให้ลูกค้าซื้อ ไม่หนีไปไหน • ยุครักษา(Maintain Stage) • ดัชนีชี้วัด ควรมาจากสิ่งดีๆ ที่ผ่านมาในตลาด เช่น PQCDSME • ยุคเติบโต (Growth Stage) • ดัชนีชี้วัด ควรมาจากแผนกลยุทธเติบโต เช่น การเพิ่มตลาด ต้นทุนแข่งขันได้ตลอดสายโซ่อุปทาน การขยายโรงงานต่างประเทศ จำนวนพนักงานต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลคู่แข่งขัน
การตั้งดัชนีชี้วัด (KSI Setting) • การวิเคราะห์อดีต (PPA : Past performance analysis) • นำข้อมูลในอดีตมาสร้างดัชนีชี้วัดในแผนปีปัจจุบัน โดยมีความเชื่อว่า อนาคตอันใกล้ก็เหมือนอดีตที่ผ่าน ไม่ว่าจะเป็น การตลาด ยอดขาย ความสามารถเครื่องจักร ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นประจำปี • ตัวอย่างดัชนีชี้วัด เช่น ยอดผลิตรายเดือน ตัน/ชม. ตัน/กะ ชั่วโมง/กะ จำนวนวันผลิต/ปี MA จำนวนอะไหล่ในสต๊อก • การวิเคราะห์ทำนายอนาคต(Future Trend Analysis) • นำข้อมูลในอดีตไม่มากนัก มาทำนายอนาคตที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า หรือหลายปี โดยมีความเชื่อว่า อนาคตอันใกล้ นั้นแตกต่างไปจากเดิมมาก จากปัจจัยภายนอก เช่น ตามกระแสเศรษฐกิจ เทคโนโลยี่ ภัยธรรมชาติที่มีมาแบบไม่แน่นอน ค่าน้ำมันแพงขึ้น AEC พฤติกรรมคนเปลี่ยน ภัยสงคราม จากปัจจัยภายใน เช่น แหล่งแร่ใกล้หมด คุณภาพแหล่งแย่ลง เครื่องจักรเก่าใกล้พังใหญ่ แรงงานลาออก • ตัวอย่างดัชนีชี้วัด เช่น เพิ่มสายการผลิต การลดกำลังผลิตช่วงแรกแล้วเพิ่มช่วงหลัง การเพิ่มสต๊อกช่วงแรก • ดัชนีชี้วัดปีปัจจุบัน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ในระยะยาว ตามจังหวะหลักกิโลเมตร ก่อนบรรลุวิสัยทัศน์ (ที่อาจเน้นความยั่งยืน) ควรมีการพิจารณาด้วย จะต้องไม่ขัดกัน ถ้าขัดกันต้องอธิบายได้ และควรเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น
ชนิดของดัชนีชี้วัด (KSI Types) • จุดตรวจสอบ(Check point) • เป็นจุดที่เราดูกระบวนการผลิตแล้ว โดยเขียนผังการไหลมาพิจารณา กำหนดพารามิเตอร์ที่จะดู เนื่องจากจะสะท้อนความเป็นความตายของการผลิตแบบง่ายๆ เช่น หากจุดนี้ร้อนเกิน 100 ซ เครื่องพัง แล้วผลิตต่อไม่ได้ หากไม่มีวัตถุระเบิดก็ต้องหยุดเหมือง ไม่เห็นรถเกรดทำงาน ถนนย่อมแย่ ส่งผลถึงยางรถบรรทุก และการระบายน้ำจากเหมือง • จุดควบคุม(Control point) • เป็นจุดควบคุม ในกระบวนการผลิต ที่ต้องควบคุม มี 3 แบบ คือ แบบไม่น้อยกว่า แบบอยู่ในช่วงควบคุมเท่านั้น และแบบไม่เกินกว่า นอกจากนี้ ยังมี แบบนิ่งเป็นค่าเดียวทั้งเดือนทุกวัน และแบบยืดหยุ่นขึ้นๆลงๆ ตามแต่จะตกลงกับลูกค้า และอาจเป็นแบบลูกผสมก็ได้ มักนิยมทำเป็นกราฟพล๊อตมือ และเมื่อเหตุผิดปกติมักจะเขียนกำกับไว้สั้นๆ ถ้าเป็นเรื่องยากๆ ก็ตั้งกลุ่มไปบำบัดแก้ไข • จุดเฝ้าระวัง(Monitoring point) • เป็นจุดควบคุม ที่ไม่จำเป็นต้องพล็อตกราฟ เป็นจุดสำคัญ ค่ามักจะนิ่งตลอดอยู่ที่ค่านั้นๆ แต่ถ้าค่าเปลี่ยนจะส่งผลมาก ต้องหมั่นดูบ่อยๆ แต่ถ้าผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที • จุดสังเกต(Observation point) • เป็นจุดควบคุม ที่เพิ่มเข้ามา จากการสังเกตุการทำงาน ปลีกย่อย แค่ตั้งรายการติดตาม เฝ้าระวังก็พอแล้ว
แบบไม่เกินกว่า เช่น temp%หินโต ต้นทุน สัญญาณเตือนดัชนีชี้วัด (Warning KSI) จุดควบคุม สัญญาณเตือนแบบติดตั้งที่เกจน์มีเตอร์และในรายงาน แบบต้องอยู่ในช่วง เช่น %CaO น้ำมันหล่อลื่น แบบไม่น้อยกว่า เช่น %yield หินระเบิดต่อกก.วัตถุระเบิด จุดตรวจสอบ จุดสังเกตุ จุดเฝ้าระวัง กล้อง cctv ทิศทางการหมุน มอเตอร์หมุน อุบัติเหตุขั้นเสียชีวิต รอยรั่วน้ำเข้าเหมือง หน้าเหมืองเคลื่อน จอ กังหันหมุนให้เห็น มักเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร มักเป็นเรื่องขั้นตอนการทำงาน เขียว = OKเหลือง = Warningแดง = Danger
ดัชนีชี้วัดของแต่ละวิสัยทัศน์ (Vision KSI : KMI) ดัชนีชี้วัดของแต่ละวิสัยทัศน์ : 3S Characteristics สำหรับผู้บริหารระดับสูง • อยู่รอด (Survival) เน้นระยะเวลาสั้นๆ แค่เอาตัวรอดจากวิกฤติดัชนีชี้วัด เน้น แค่กำไรมากสุดๆ ค่อนข้างเอาเปรียบ แข่งขันเอาเป็นเอาตาย มักจะลืมความเป็นธรรมในสังคม ตัดต้นทุน ลดคนงาน กำหนดไปเลยแต่ละปีจะมีกำไรเท่าไร งานสังคม งานฟื้นฟูเหมือง ก็อาจทิ้งไปเลย นิยามไปเลยว่า จะต้องเดินวิสัยทัศน์นี้กี่ปี (เช่น ภายใน 3 ปี) จึงจะพ้นวิกฤติ • อยู่ดี(Steady Image) เน้นระยะปานกลาง ยึดภาพลักษณ์องค์กร แต่ไส้ในอาจยังไม่แข็งแรง ดัชนีชี้วัดเป็นรอยต่อระหว่างเอาตัวรอดกับยั่งยืน คือ เอาตัวรอด แต่แตะยั่งยืนบ้าง พอว่า ได้ทำแล้วเหมือนกัน แต่ไม่ครบเครื่อง • อยู่ยั่งยืน(Sustain) เน้นระยะยาวนานแบบไม่มีจุดจบ (หรือตั้งตุ๊กตาสัก 100 ปี) ยึดปรัชญา ระบบที่ไม่มีวันตาย หากำไรพอควร รักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชนให้ยอมรับขั้น license to operate ดัชนีชี้วัด ก็จะสอดคล้องกับระบบความยั่งยืน คือ ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียเห็นชอบ แล้วสามารถทำได้ กันงบประมาณมาทำกิจกรรมให้ครบ ทำกติกาอำนาจดำเนินการของบริษัทให้รองรับ มีแผนการปิดเหมืองควบคู่การทำเหมือง ต้องการเป็นต้นแบบ ใครๆ ก็อยากมาร่วมทุนด้วย ชุมชนก็ยินดีต้อนรับ
ดัชนีชี้วัดแปรตามรองรับวิสัยทัศน์ (KSI support Vision) ดัชนีชี้วัดสายปฏิบัติงานรองรับวิสัยทัศน์สำหรับผู้บริหารระดับกลางและล่าง • วิสัยทัศน์อยู่รอด เน้น นิยามการอยู่รอดให้ชัดเจน เพื่อคัดเลือกดัชนีชี้วัดที่สำคัญต่อการอยู่รอดเท่านั้นมาควบคุม เช่น กำไรสูงสุด ตัดสต๊อกส่วนเกิน ตัดกิจกรรมที่ไม่ส่งผล ดูกลยุทธว่าต้องการลดหรือเพิ่มกำลังผลิตจึงจะอยู่รอด การซ่อมหนักไม่มีเงินให้จะยืดขยายได้อย่างไร ตัดค่าล่วงเวลา ตัดกิจกรรมสังคม ตัดต้นทุนผลิตที่ไหนได้บ้าง • วิสัยทัศน์อยู่ดี เน้น ต้องคัดเลือกว่า สิ่งที่อยู่รอดได้ทำเพียงพอครบถ้วน และสิ่งที่อยากโชว์และไม่ตกกระแสสังคมคืออะไร มีดีกรีการเล่นแค่ไหน ที่ไม่เปลืองต้นทุน และเวลาทำงานมากนัก • วิสัยทัศน์อยู่ยั่งยืน เน้น อยู่รอดระยะยาว เพิ่มยอดขาย ลดต้นทุน ส่งเสริมความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชน ราชการ มีแหล่งวัตถุดิบมากพอ คิดว่าอย่างน้อย 100 ปี ใช้วัตถุดิบเต็มทุกเม็ด ไม่เลือกเอาแต่ของดี ของเสียไม่มี หาทางใช้ประโยชน์ทั้งหมด ไม่ทิ้งกาก (Zero Loss, Zero waste, Zero land filled, Zero pollution, Zero Complain, Zero accident , Zero defect, Zero breakdown) นอกจากนี้ยังเน้นเรื่อง นวัตกรรม การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์ การสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ
เหตุปัจจัยที่มากำหนดดัชนีชี้วัด (KSI Clauses) • วิสัยทัศน์ : ตามสไตล์ภาวะผู้นำขององค์กร และสิ่งที่อยากให้องค์กรเป็นในอนคต • วิกฤติ : ทำให้เกิด ภาวะเอาตัวรอด วิกฤติอาจเป็น แหล่งแร่หมด ประทานบัตรหมดอายุ แหล่งควบคุมมลพิษ ชุมชนประท้วงปิดเหมือง น้ำท่วม แผ่นไหว เศรษฐกิจ • กระแสเศรษฐกิจโลก : โลกาภิวัฒน์ AEC แรงงามข้ามชาติ • เทคโนโลยี : ต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ โปรแกรมสำเร็จรูป IT การค้าทางอินเตอร์เนต face book การประมูลทาง e-auction • ระเบียบทางราชการ เงื่อนไข และกฎหมาย : มาตรฐานข้อกำหนด ทาง EIA ทางความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สังคม • นักการเมือง : อนุมัติประทานบัตรยาก • ชุมชน :เรียกร้องผลประโยชน์ ขายที่ดินแพง ซื้อดักหน้าดักหลัง • NGO : ร้องเรียนผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ดัชนีชี้วัดระดับบริษัท (KMI as Company) • P : ปริมาณยอดขายในประเทศ (พันตัน) ปริมาณการส่งออก (พันตัน) EBITDA : กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม (ล้านบาท)EBITDA/Asset : กำไรจาก EBITDA ต่อทรัพย์สินที่มีอยู่(%)EBITDA/Sale : กำไรจาก EBITDA ต่อยอดขาย (%)ดูว่าไม่ขี่ช้างจับตั๊กแตน กำไรหลังหักภาษี(บาท/หุ้น)ยอดขายปีนี้ (ล้านบาท) เทียบกับปีที่แล้วการเคลื่อนไหวของราคาสินค้า จากอดีตถึงปัจจุบัน %OEE รวมทั้งเดือน = QFxRFxPF= (%คุณภาพที่ผ่าน)(ชั่วโมงทำงานจริง)(อัตราการผลิต ตัน/ชม.) ปริมาณการผลิตต่อจำนวนพนักงาน (พันตัน/คน) การใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh/ตันสินค้า) การใช้พลังงานเชื้อเพลิง(ลิตร/ตันสินค้า) การใช้น้ำ(ลบ.ม./ตันสินค้า) การขอใบอนุญาตประทานบัตรทันเวลา • Q: การร้องเรียนจากลูกค้า (ครั้ง) %การแก้ปัญหาให้ลูกค้า (>85%) • C:ปริมาณสินค้าค้างสต๊อก(สต๊อกตาย=เงินจม) หนี้สิน อัตราส่วนเงินกู้ต่อยอดขายทั้งปี • D: การส่งมอบหิน เวลารอคอยในการรับหินภายใน 2 ชั่วโมง (>90%)
ตัวอย่าง ดัชนีชี้วัด งานเหมือง (KPI at Mine) • งานพัฒนาหน้าเหมือง • งานผลิตหินหน้าเหมือง • งานตักและขนส่ง • งานย่อยหินงาน งานผลิตหินก่อสร้างและจ่ายหิน • งานซ่อมบำรุง • งานความปลอดภัย • งานสิ่งแวดล้อม • งานพัฒนาองค์กร
ดัชนีชี้วัดงานพัฒนาหน้าเหมือง (KPI at Mine Development) • ลักษณะงาน มี รังวัด สำรวจ เคลียร์ต้นไม้ ทำทาง ตัดยอด ตั้งชั้นเหมือง • เครื่องมือที่ใช้ กล้อง แบคโฮ รถเจาะเล็ก ระเบิด รถดัน • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: อัตราการเจาะ (เมตร/ชม. หรือ เมตร/กะ) อัตราการพัฒนาเส้นทาง (เมตร/เดือน) • Q: ความลาดชันความกว้างทางได้ตามที่ออกแบบ ไม่ผิดสถานที่จุดพิกัด ไม่ออกนอกเขต • C: อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิง(ลิตร/ร้อยตันหิน) ตันหินอาจเป็น หินระเบิด หินป้อน หินสินค้า การสิ้นเปลืองหัวเจาะ (เมตร/หัวเจาะ) ค่าวัตถุระเบิด(บาท/ลบ.ม.หินระเบิด) FO (บาท/เดือน) ล่วงเวลา(%OT) ตามฐานเงิน ฐานชั่วโมง • D:การส่งมอบทางลำลอง การส่งมอบหน้าเหมืองพัฒนาให้งานผลิต (%ทันเวลา)
ดัชนีชี้วัดงานผลิตหินหน้าเหมือง (KPI at Mine Blasting) • ลักษณะงาน มี เจาะรู ระเบิดใหญ่ ระเบิดหินก้อน ทุบหิน เตรียมหน้างานให้ฟื้นฟู สอยหินแขวนหน้างาน ดูแลคลังวัตถุระเบิด วางแผนเดินหน้าเหมือง • เครื่องมือที่ใช้ แบคโฮตักและเบรคเกอร์ รถเจาะใหญ่ รถอัดระเบิด รถดันหินป้อนรถตัก ดันปรับระดับพื้นและทางเข้าตัก เคลียร์ต้นไม้ • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: อัตราการเจาะ (เมตร/ชม. หรือ เมตร/กะ) จำนวนครั้งระเบิด (ครั้ง/เดือน)% ครั้งระเบิดที่อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด (>85%) • Q: ขนาดหินระเบิดโตเกิน 1 เมตร (< 5%) • C: อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิง(ลิตร/ร้อยตันหิน) ตันหินอาจเป็น หินระเบิด หินป้อน หินสินค้า การสิ้นเปลืองหัวเจาะ (เมตร/หัวเจาะ) ค่าวัตถุระเบิด(บาท/ลบ.ม.หินระเบิด) FO (บาท/เดือน) ล่วงเวลา(%OT) ตามฐานเงิน ฐานชั่วโมง • D: สต๊อกพร้อมตักในแต่ละวัน > XXXตัน (%) อาจแยกเป็นกองหินแต่ละเกรด
ดัชนีชี้วัดงานตักและขนส่งหิน (KPI at Excavation and Transport) • ลักษณะงาน มี ตักหิน บรรทุกหินไปป้อนเครื่องย่อย ขนเปลือกดินไปทิ้ง ขนหินไปทำทางขนส่ง ขนดินทำพื้นที่ฟื้นฟูเหมือง ผสมหินที่จุดตักให้ได้คุณภาพทางเคมีหรือกายภาพ ทำคันดิน ราดน้ำถนน • เครื่องมือที่ใช้ รถตักตีนตะขาบ รถตักล้อยาง รถบรรทุกหิน แบคโฮตัก รถเกรดถนน รถราดน้ำ • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: อัตราการบรรทุก (ตัน/เที่ยว) Cycle Time ที่ระยะขนส่ง 1.5 กม (นาที/รอบ) เวลาทำงาน/กะ (>6 ชม) • Q: การควบคุมคุณภาพหินย่อยลงกอง (ผ่าน >85%) • C: อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิง(ลิตร/ร้อยตันหิน) ตันหินอาจเป็นหินป้อน หินสินค้า การสิ้นเปลืองล้อยาง (ชั่วโมงหรือกม./เส้น) ค่าน้ำมันหล่อลื่น (บลิตร/ตันหินป้อน) FO (บาท/เดือน) ล่วงเวลา(%OT) ตามฐานเงิน ฐานชั่วโมง • D: อัตราการขนหินป้อนเครื่องย่อย (ตัน/ชม., ตัน/กะ)
ดัชนีชี้วัดงานซ่อมบำรุง (KPI at Mine Maintenance) • ลักษณะงาน มี เปลี่ยนถ่ายน้ำมันและกรอง ดูแลเครื่องจักรให้พร้อม ซ่อมบำรุงเครื่องจักร จัดหาวัสดุอะไหล่ เติมลมยาง งานกลึง เชื่อมโลหะ • เครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือซ่อม • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร • Q: ซ่อมแล้วไม่เสียซ้ำ ประสิทธิภาพเครื่องย่อยหลังซ่อม รอยเชื่อม ซ่อมมาตรวัดเครื่องชั่งแล้วดูที่ความแม่นยำเที่ยงตรง • C: อัตราค่าจ้างเหมาซ่อม (บาท/ชม.) ค่าอะไหล่เครื่องจักร (บาท/ตันหิน) ค่าน้ำมันหล่อลื่น(บาท/ตันหิน) FO (บาท/เดือน) ล่วงเวลา(%OT) ตามฐานเงิน ฐานชั่วโมง • D:%MA=MTBF/(MTBF+MTTR)MTBF = ชม.ทำงาน/จำนวนครั้งที่หยุดใช้งาน> 80%MTTR = ชม.ที่หยุด/จำนวนครั้งที่หยุด
ดัชนีชี้วัดงานผลิตหินก่อสร้าง (KPI at Aggregate) • ลักษณะงาน มี รับหินป้อน ย่อย แยกหินคลุก บดหิน แยกหินเบอร์ หินฝุ่น สต็อกหิน จ่ายหิน ชั่งหิน • เครื่องมือที่ใช้ โรงย่อยหิน • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P:%yield ,ยอดผลิตหินแบอร์(ตัน/เดือน) %OEE(PF*RF*QF) (>80%) • Q: การกระจายของขนาดหิน ตามมาตรฐานหินผสมคอนกรีต • C: ต้นทุนหินเบอร์ (บาท/ตัน) ค่าอะไหล่เครื่องจักร (บาท/ตันหิน) ค่าน้ำมันหล่อลื่น(บาท/ตันหิน) FO (บาท/เดือน) ล่วงเวลา(%OT) ตามฐานเงิน ฐานชั่วโมง • D: เวลาในการจ่ายหิน (<3 ชม) สต๊อกรายวันขั้นต่ำ(>5000 ตัน)
ดัชนีชี้วัดงานความปลอดภัย (KPI for Mine Safety) • ลักษณะงาน มี การจัดให้มีจป.ของเหมือง รวมถึงผรม. ครอบคลุมทุกงานในเหมือง • เครื่องมือที่ใช้ ระบบความปลอดภัย • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: จำนวน Safety Talk/เดือน(ครั้ง) SCS ผ่าน(100%) จำนวนถังดับเพลิงพร้อมใช้งาน ไฟฉุกเฉินพร้อม (พร้อม 100%) การตรวจสอบความปลอดภัย (ครั้ง) การสังเกตการทำงาน (ครั้ง) ทุกส่วนหมุนเครื่องจักรมีการ์ด (100%) • Q: อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ (ครั้ง) ตาย เสียอวัยวะ บาดเจ็บ เครื่องจักรเสียหาย หยุดงาน ไม่หยุดงาน จำนวน near miss • C: การจ้างวิทยากรฝึกอบรมความปลอดภัย (บาท) ค่าอุปกรณ์ดับเพลิง (บาท) ค่าดูงานต่างบริษัท (บาท) ค่าอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ค่าอุปกรณ์นิรภัยต่างๆ ค่าเครื่องมือกู้ภัย ค่าใช้จ่ายฝึกซ้อมฉุกเฉิน • D: การเตรียมระบบSafety ตามขั้นตอนพัฒนา(ทันเวลา)
ดัชนีชี้วัดงานสิ่งแวดล้อม (KPI for Mine Environment) • ลักษณะงาน มี การจัดให้มีคนดูแลสิ่งแวดล้อมของเหมือง รวมถึงผรม. ครอบคลุมทุกงานในเหมือง • เครื่องมือที่ใช้ ระบบสิ่งแวดล้อม • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • P: มีเครื่องเก็บฝุ่นครบทุกจุดสเปร์น้ำทำงาน (100%) บ่อน้ำหมุนเวียน • Q: การ Trip BG เป็นศูนย์ (100%)ฝุ่น เสียง น้ำทิ้ง ไม่เกินมาตรฐาน ข้อร้องเรียนชุมชนจากสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ • C: การทำถังดักไขมัน ที่ล้างล้อรถ การฟื้นฟูหน้าเหมือง บ่อดักตะกอน • D: การเตรียมระบบ Environment ตามขั้นตอนพัฒนา(ทันเวลา)
ดัชนีชี้วัดงานพัฒนาองค์กร (KPI for Organize Improvement) • ลักษณะงาน มี การพัฒนางานคน พัฒนาระบบ ที่มีส่วนขับเคลื่อนให้องค์กรดีขึ้น • เครื่องมือที่ใช้ ระบบ TQM, TPM • ดัชนีชี้วัด PQCDSME • % OPL (เรื่อง/เดือน) , จำนวนกลุ่ม QCC ,%การมีส่วนร่วม จำนวน tag แยกเป็นด้าน ความปลอดภัย พัฒนา และ TPM • 3R, Innovation • การฝึกคนด้าน อัคคีภัย TPM ความปลอดภัย การซ่อมบำรุง การพูด การนำเสนอ การโค๊ช
การกระจายดัชนีชี้วัด (KSI Deployment) KMI ของบริษัท • เพิ่มยอดขาย (พันตัน) KPI ด้านการผลิต • เพิ่มกำลังผลิต (พันตัน) KAI • ดูความพร้อมของแหล่งวัตถุดิบ (แหล่งสำรอง>10 ปี) • เปิดหน้าเหมือง ระเบิด ขุดตัก เพิ่ม จ้างเหมา ทำเอง • เพิ่มกำลังเครื่องย่อย (de-bottom neck, new line) (Capมากกว่า 10%) • ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ขายได้ไกลขึ้น แข่งขันได้ (น้อยกว่า xx บาท/ตัน) • เตรียมคน จัดกะใหม่ (อย่างน้อย 30 คน, 2กะ กะ3 บางวัน) • ความพร้อมช่างซ่อม และอะไหล่ ในกรณีชำรุด (ซ่อมน้อยกว่า 2 วัน) • สต๊อกหินสินค้า (มากกว่า 3 วัน)
การลดงานควบคุมดัชนีชี้วัด (KSI Elimination) variable • KPI as Variable เป็นกระบวนการที่ยังไม่เข้าที่ยังกำหนดค่าช่วงควบคุมไม่ได้ • KPI as semi-fix เป็นกระบวนการที่พอกำหนดช่วงควบคุมระยะหนึ่งได้ • KPI as Fix เป็นกระบวนการที่กำหนดช่วงบังคับแบบไม่พลาดได้ Semi-fix Fix ต้องพยายามทำค่าควบคุมจาก variable มาเป็น semi-fix และ fix ให้มากที่สุด เพื่อลดการควบคุม
สิ่งที่ควรศึกษาเพื่อควบคุมดัชนีชี้วัด (KSI Management) • การใช้ผังก้างปลา ในการค้นหาสาเหตุ และแก้ปัญหาดัชนีชี้วัดที่ไม่เข้าเป้าหมาย • การใช้ Abnormality Reportในการควบคุมดัชนีชี้วัดในงานประจำวัน • การใช้กราฟแบบต่างๆ ในการควบคุมดัชนี้ชี้วัด • การสร้างมาตรฐานงาน เพื่อลดค่าควบคุม • การเรียงลำดับความสำคัญและคัดเลือกดัชนีชี้วัด มาใช้ในการควบคุม • การสร้างการยอมรับดัชนีชี้วัดให้กับผู้ควบคุม • การสร้างมาตรฐานงานชั่วคราว เพื่อทำให้งานนิ่ง ก่อนเริ่มใช้ค่าควบคุม • การตัดสินใจเลือก แบบควบคุม ตัวเลขระดับการควบคุม • สุดยอดของการควบคุม คือ การไม่ต้องควบคุมคืออะไร • การใช้เทคโนโลยีควบคุม ทำงานแทนดัชนีชี้วัด
จบการนำเสนอสวัสดีครับจบการนำเสนอสวัสดีครับ อ้างอิง : บทความใน เว็ปไซต์ ของผู้บรรยาย หมวดงานเหมือง : การจัดการเหมืองประจำวันหมวดบริหารงาน : ดัชนีชี้วัดความสำเร็จงานภูมิปัญญาอภิวัฒน์http://www.budmgt.com