1 / 11

เกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่ ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักปรัชญานี้ประกอบด้วย 3 หลักการ คือ 1.หลัก ความพอประมาณ ( Moderation) 2.หลัก ความมีเหตุผล ( Reasonableness) 3.หลักการ มีภูมิคุ้มกัน ( Immunity) 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไข ความรู้ และ เงื่อนไข คุณธรรม.

jalena
Download Presentation

เกษตรทฤษฎีใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกษตรทฤษฎีใหม่ ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักปรัชญานี้ประกอบด้วย 3 หลักการ คือ 1.หลักความพอประมาณ (Moderation) 2.หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) 3.หลักการมีภูมิคุ้มกัน (Immunity) 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และ เงื่อนไขคุณธรรม 1.หลักความพอประมาณ (Moderation) 2.หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) 3.หลักการมีภูมิคุ้มกัน (Immunity) เงื่อนไขความรู้ และ เงื่อนไขคุณธรรม

  2. ส่วนเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนของการพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทางการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กในฟาร์ม การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้  จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว  ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นนี้ มีแนวทางสำคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ

  3. ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการด้าน (1) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก (2) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) - เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  4. (3) ความเป็นอยู่(กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง (4) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

  5. (5) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง (6) สังคมและศาสนา - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

  6. ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต   ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ - เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) - ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง) - ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

  7. ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้ 1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ 2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน 3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้ 4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

  8. บรรณานุกรม 1.กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การปรับตัวระดับภาคเกษตร : เกษตรทฤษฎีใหม่.เข้าถึงได้จากhttp://www.environnet.in.th/?p=3948(สืบค้นข้อมูล วันที่ 2 มิถุนายน 2557) 2. สหกรณ์กรีนเนท จำกัด. เกษตรทฤษฎีใหม่.เข้าถึงได้จากhttp://www.greennet.or.th/node/1036 (สืบค้นข้อมูล วันที่ 2 มิถุนายน 2557)

  9. จัดทำโดย นายภูริณัฐ เกิดสวัสดิ์ เลขที่ 1 นายรัชชานนท์ แสนดี เลขที่ 2 นายวิชชากร ถิ่นสุข เลขที่ 3 นางสาวญาดา ศาสตร์นอก เลขที่ 11 นางสาวฑิตฐิตา ผดุงสินเลิศวัฒนา เลขที่ 12 นางสาวณัชชา ตระการศักดิกุล เลขที่ 13 นางสาววรรณภา วังพิลาภ เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เสนอ คุณครูจิรประภา ไตรกิตติคุณ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

More Related