1 / 46

การให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ทีมบริหารและบุคลากรคณะทรัพยากรธรรมชาติ

การให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ทีมบริหารและบุคลากรคณะทรัพยากรธรรมชาติ. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549. สรุปผลการประเมินตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้. มาตรฐานที่ 1-3. จุดแข็ง อาจารย์ผู้สอนมีคุณวุฒิสูง ทั้งวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ และมีความเอาใจใส่ในการเรียนของนักศึกษา

jamese
Download Presentation

การให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ทีมบริหารและบุคลากรคณะทรัพยากรธรรมชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ทีมบริหารและบุคลากรคณะทรัพยากรธรรมชาติ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549

  2. สรุปผลการประเมินตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้สรุปผลการประเมินตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้

  3. มาตรฐานที่ 1-3 จุดแข็ง • อาจารย์ผู้สอนมีคุณวุฒิสูง ทั้งวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ และมีความเอาใจใส่ในการเรียนของนักศึกษา • มีบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีประสบการณ์ • มีกิจกรรมที่เป็นการสร้างประสบการณ์จริงแก่นักศึกษาในขณะที่เป็นนักศึกษา เช่น มีการตั้งชมรมเลี้ยงไก่เนื้อ หรือ เพาะปลูกพืช • มีพื้นที่ที่รองรับการเรียนการสอนที่เพียงพอตามสถานีวิจัยต่าง ๆ

  4. มาตรฐานที่ 1-3 จุดอ่อน • ระบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอน ยังดำเนินการได้ไม่ สมบูรณ์ มีบางภาควิชาที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร • ปัญหาความรู้ด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษา • การใช้ประโยชน์สถานีวิจัยต่าง ๆ ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ • ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาสูง

  5. มาตรฐานที่ 1-3 ปัจจัยคุกคาม • องค์ความรู้บางสาขา และความสามารถของบัณฑิตไม่สามารถแข่งขันได้กับบัณฑิตบางสถาบัน

  6. มาตรฐานที่ 1-3 กลยุทธ์/แผนพัฒนา • ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและเป็นที่ต้องการของตลาดและให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

  7. มาตรฐานที่ 1-3 ข้อสังเกต • คณะฯ ยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังในการจัดทำระบบการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่ครบถ้วน เช่น การประเมินข้อสอบ/ความสอดคล้องของข้อสอบกับวัตถุประสงค์ของการเรียน • คณะและภาควิชา ยังขาดการวางแผน เสียสละ และดำเนินการในการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เหลืออยู่ ตามสถานีวิจัยต่าง ๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และวิจัย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท เอก สามารถลดภาวะคุกคามจากการถูกบุกรุกพื้นที่ฟาร์มในปัจจุบันได้

  8. มาตรฐานที่ 4 การวิจัยและงานสร้างสรรค์ จุดแข็ง • คณาจารย์มีความชำนาญและประสบการณ์สูงและในบางสาขาสามารถทำวิจัยในเชิงลึก • สัดส่วนของผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต่ออาจารย์สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของมหาวิทยาลัย

  9. มาตรฐานที่ 4 การวิจัยและงานสร้างสรรค์ จุดอ่อน • สัดส่วนของอาจารย์ที่ active งานวิจัยยังกระจุกอยู่ในบางภาควิชา

  10. มาตรฐานที่ 4 การวิจัยและงานสร้างสรรค์ โอกาส • มีศูนย์และสถานีวิจัยที่รองรับการดำเนินงานวิจัย

  11. มาตรฐานที่ 4 การวิจัยและงานสร้างสรรค์ กลยุทธ์/แผนพัฒนา • สำหรับภาควิชาและ/หรือศูนย์วิจัยที่มีศักยภาพ เช่น ภ.ธรณีศาสตร์/ศูนย์ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ คณะควรสนับสนุนให้หน่วยงานเหล่านี้เข้าในลู่ของ excellence center เพื่อมหาวิทยาลัยจะได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และครุภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้งานด้านวิจัยของคณะฯ มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

  12. มาตรฐานที่ 4 การวิจัยและงานสร้างสรรค์ ข้อสังเกต • ควรเพิ่มบทบาทในด้านการบริหารงานวิจัย เพื่อให้มีทิศทางและผลงานวิจัยที่นำไปสู่การบรรลุพันธกิจของคณะฯ • ต้องเพิ่มปริมาณของจำนวนอาจารย์ที่ Active งานวิจัย

  13. มาตรฐานที่ 5 บริการวิชาการ จุดแข็ง • คณะฯ มีคณาจารย์และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ • มีนักศึกษาจำนวนน้อยซึ่งทำให้บุคลากรมีเวลาที่จะทำวิจัยและให้บริการวิชาการมากขึ้น • เป็นสาขาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ • มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สามารถให้บริการวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง

  14. มาตรฐานที่ 5 บริการวิชาการ จุดอ่อน • จำนวนกิจกรรม/โครงการ ลดลง • จำนวนเงินรายได้ที่เกิดจากการบริการวิชาการ ค่อนข้างน้อย

  15. มาตรฐานที่ 5 บริการวิชาการ โอกาส • เป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้

  16. มาตรฐานที่ 5 บริการวิชาการ ปัจจัยคุกคาม • เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ • มีหน่วยงานอื่น ๆ ของกรมวิชาการเกษตรและเอกชนที่อาจจะให้บริการที่คล้ายคลึงกัน

  17. มาตรฐานที่ 5 บริการวิชาการ กลยุทธ์/แผนพัฒนา • ควรประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงศักยภาพของคณะฯ ในการให้บริการ • ควรจัดกิจกรรมRoad Show การให้บริการวิชาการเพื่อหาลูกค้า • ควรพัฒนาการให้บริการวิชาการให้เข้าสู่มาตรฐานสากล • ควรสนับสนุนให้นักศึกษา(สาขาพัฒนาการเกษตร) มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ

  18. มาตรฐานที่ 7 การบริหารจัดการ จุดอ่อน • ขาดผู้ประสานงานในภาพรวมในสำนักงานเลขาฯ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน • ยังขาดบุคลากรที่จบทางด้าน ICT โดยตรง เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและงานเชิงบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ยังไม่มีการจัดทำ Career Path ที่ชัดเจน • ยังขาดการจัดการระบบการดูแลความปลอดภัยด้านสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

  19. มาตรฐานที่ 7 การบริหารจัดการ กลยุทธ์/แผนพัฒนา • ควรมีระบบการบริหารจัดการสำนักงานเลขาฯ ที่ชัดเจน • ควรมีนโยบายสนับสนุนให้บุคลากรโดยเฉพาะของสำนักงานเลขาฯ สามารถเลื่อนระดับได้ตามความเหมาะสม • ควรมีนโยบายที่ชัดเจนและควรจัดสรรงบประมาณการวิจัยสถาบันให้เพียงพอกับความต้องการของบุคลากรเพื่อให้สามารถเข้าลู่ชำนาญการได้ • ควรเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยให้แก่บุคลากรโดยการจัดฝึกอบรมและมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง • ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของมหาวิทยาลัย

  20. มาตรฐานที่ 7 การบริหารจัดการ ข้อสังเกต • งบประมาณในหมวดของค่าจ้าง/เงินเดือน สูงมาก

  21. มาตรฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ของคณะฯ กับสังคมและชุมชนภาคใต้ จุดแข็ง • มีกิจกรรมการให้บริการวิชาการที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้

  22. มาตรฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ของคณะฯ กับสังคมและชุมชนภาคใต้ โอกาส • มีสถานีวิจัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในภาคใต้ได้เป็นอย่างดี

  23. มาตรฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ของคณะฯ กับสังคมและชุมชนภาคใต้ ปัจจัยคุกคาม • การถูกบุกรุกพื้นที่ของชุมชนใกล้เคียง • การขอใช้พื้นที่จาก อบต.

  24. มาตรฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ของคณะฯ กับสังคมและชุมชนภาคใต้ กลยุทธ์/แผนพัฒนา • ควรเพิ่มบทบาทของสถานีวิจัยในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ที่สถานีวิจัยนั้น ๆ ตั้งอยู่

  25. ข้อสังเกตของสถานีวิจัยในภาพรวมข้อสังเกตของสถานีวิจัยในภาพรวม • ควรวางแผนในการให้นักศึกษา ได้มีการฝึกงานตามสภาพจริง เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบกระบวนการผลิตและสามารถวิเคราะห์บัญชีต้นทุน (cost-benefit) รวมทั้งการตลาดแบบครบวงจร เพื่อเป็นการเสริมกระบวนการเรียนการสอน • คณะฯ ควรสร้างเสริมองค์ความรู้ทางด้านยางพารา ปาล์ม และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ทันสมัย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ • สถานีวิจัย ควรมีระบบการบริหารการจัดการและผลิตภัณฑ์ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ หรือเลี้ยงตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และสถานีวิจัยควรวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นตัวช่วยทำให้สถานีวิจัยสามารถหารายได้จากการทำวิจัยและจากการรับเป็นสถานที่ฝึกงาน

  26. ข้อสังเกตของสถานีวิจัยในภาพรวมข้อสังเกตของสถานีวิจัยในภาพรวม • สถานีวิจัยควรใช้ระบบการจ้างเหมาตามภารกิจ (Outsource) เพื่อลดภาระการจ้างบุคลากร • สถานีวิจัยของวาริชศาสตร์ ควรมีการทำแผนร่วมกับมหาวิทยาลัยในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ • สถานีวิจัยควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนชุมชนที่อยู่รอบ ๆ สถานีวิจัยดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน

  27. สัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิตสัมภาษณ์ตัวแทนผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต

  28. สัมภาษณ์บริษัทเอกชน (สาขาวาริชศาสตร์) • ไม่ได้รับนักศึกษาเข้าทำงานในสายวิจัย เนื่องจาก นักศึกษาไม่ได้ลงเรียนรายวิชา water quality management (เนื่องจากภาควิชาจัดให้เป็นวิชาเลือกไม่ใช่วิชาบังคับ) และเห็นว่าวิชานี้มีความสำคัญต่องานวิจัย • รับนักศึกษาบางส่วนเข้าทำงานในสาย production line ซึ่งความก้าวหน้าและเงินเดือนจะต่ำกว่าสายงานวิจัย • วิชาปัญหาพิเศษ ยังไม่มีวิชาสหกิจศึกษา ทำให้ความรู้ของนักศึกษาต่ำกว่านักศึกษาที่มาจากมหาวิทยาลัยอื่น เช่น ม.เกษตรศาสตร์, ม.ลาดกระบัง, ม.แม่โจ้, ม.บูรพา

  29. สัมภาษณ์บริษัทเอกชน (สาขาวาริชศาสตร์) • ในส่วนวิชาฝึกงาน ต้องการให้มีระบบการรายงานของนักศึกษาและ present ให้เพื่อนนักศึกษาทราบเพื่อให้ทราบรูปแบบการฝีกงานของแหล่งฝึกงานต่าง ๆ อย่างทั่วถึง • ควรปลูกฝังให้นักศึกษามีความใฝ่รู้ในวิชาการตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 เพื่อสร้างนักศึกษาให้มีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้กับมหาวิทยาลัยอื่น ในด้านวิชาการ

  30. สัมภาษณ์บริษัทเอกชน (สาขาวาริชศาสตร์) • อยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ในภาควิชา ให้มีความกลมเกลียวสามัคคี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการศึกษาของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในการร่วมงานทางวิชาการของทั้ง advisor และ Co-advisor (ม.แม่โจ้) • การรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ยังรับอยู่ แต่เนื่องจากบริษัทต้องการสร้าง Royalty ต่อองค์กร โดยต้องการสนับสนุนส่งบุคลากรไปศึกษาต่อเพิ่มเติมในระดับปริญญาเอก เอง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของบุคลากรเอง ดังนั้น จึงยังไม่มีนโยบายรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

  31. สัมภาษณ์บริษัทเอกชน (สาขาวาริชศาสตร์) • เนื่องจากการผลิตบัณฑิตในสาขานี้ มีอยู่ในหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ดังนั้น บริษัทจึงมีทางเลือกที่จะรับบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง

  32. สัมภาษณ์บริษัทเอกชน (สาขาสัตวศาสตร์/วาริชศาสตร์) • บัณฑิตของ มอ.จะเน้นผลิตบัณฑิตในภาคการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันตลาดแรงงานในภาคเอกชนจะมีสัดส่วนของการจ้างบัณฑิตในภาคการตลาดมากขึ้น ดังนั้น บัณฑิตที่สำเร็จ ควรมีความรู้ในด้านการเสนอข้อมูล ด้านการตลาด และด้านการขาย ด้วย • ในภาพรวมของทุกสถาบัน บัณฑิตมีความรับผิดชอบลดลง

  33. สัมภาษณ์หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจสัมภาษณ์หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ • ได้ดำเนินสัมภาษณ์ผู้ใช้งานบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจาก ภ.วาริชศาสตร์ ภ.พืชศาสตร์ ภ.พัฒนาการเกษตร ในเรื่องขององค์ความรู้ ทุกหน่วยงานยอมรับในศักยภาพว่า เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ และมีศักยภาพเทียบเท่าบัณฑิตที่จบจากสถาบันหลักของรัฐ เช่น จาก ม.ขอนแก่น, ม.เชียงใหม่ • ในเรื่องความรับผิดชอบและความคิดริเริ่ม อยู่ในระดับที่ดี และน่าพอใจ

  34. สัมภาษณ์หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจสัมภาษณ์หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ • ประเด็นที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการให้คณะ/หลักสูตร เติมเต็ม มี 2 ประเด็น คือ • ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ควรเพิ่มเติมให้สามารถติดต่อกับชาวต่างชาติได้ • อยากให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกงาน เยี่ยมชมสภาพจริงของผู้ประกอบการและชาวสวนยาง และปาล์ม ให้มากกว่าสภาพปัจจุบัน

  35. ข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่ต้องการให้คณะ/มหาวิทยาลัยรับทราบ

  36. นำเสนอคณะฯ เพื่อรับทราบ • คณะฯ ควรจะทำแผนทดแทนบุคลากรสาย ก ที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งระยะสั้น และปานกลาง อย่างเร่งด่วน โดยใช้ศักยภาพของคณะฯ ที่สามารถผลิตบุคลากรในระดับปริญญาเอกเป็นเครื่องมือ • ควรเร่งทำแผนการใช้ประโยชน์จากสถานีวิจัยทุกแห่ง เพื่อสนองตอบต่อการจัดการเรียนการสอน การฝึกงาน และการบริการชุมชนในท้องถิ่น ที่สถานีวิจัยดังกล่าวตั้งอยู่ เพื่อลดแรงกดดันขององค์กรท้องถิ่นที่จะขอพื้นที่คืนบางส่วน • ควรมีเจ้าหน้าที่ทางด้าน ICT ให้กับหน่วย ICT ของคณะฯ เพื่อเสริมศักยภาพการสนับสนุนงานด้าน IT ทั้งการเรียนการสอน และงานบริหาร

  37. นำเสนอคณะฯ เพื่อรับทราบ • ควรจัดระบบการสนับสนุนของสำนักงานเลขานุการ โดยจัดให้มีผู้ที่จะทำหน้าที่ประสานงาน/ประสานความคิด คล้าย ๆ กับผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการคณะฯ ซึ่งอาจจะเป็นทีมบริหาร ท่านใด ท่านหนึ่ง ก็ได้ • ควรจะต้องหาวิธีการลด Unit Cost ของการผลิตบัณฑิตของคณะฯ จาก 157,076: 1 ให้ลดลง เพราะว่า ICL กลาง อยู่ในช่วง 60,000 – 70,000 บาท เท่านั้น • คณะฯ ควรมีการปรับสูตรการคำนวณ ใน ฟอร์ม SAR เพื่อให้ภาควิชาสามารถดำเนินการได้ถูกต้อง • อยากให้คณะฯ มีนโยบายช่วยในด้านการตลาดของสถานีวิจัยต่าง ๆ

  38. นำเสนอคณะฯ เพื่อรับทราบ • คณะฯ ควรอาศัยระบบ TOR, KPIs และ LU เป็นตัวช่วยกระตุ้นเพื่อให้อาจารย์ทำวิจัยเพิ่มขึ้น (เช่น ตัวอย่างของ ภ.วาริชศาสตร์ Active researcher มีประมาณ 50% ของอาจารย์ในภาคฯ ซึ่งทางภาควิชาไม่สามารถกระตุ้นให้อาจารย์ทำวิจัยได้ทุกคน) • คณะฯ ต้องวางแผน กำหนดนโยบายในการพัฒนาศูนย์วิจัยให้ชัดเจน และให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการกำหนดจำนวนศูนย์วิจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินภารกิจที่ก่อให้เกิดการบรรลุพันธกิจของคณะฯ รวมถึงการกำหนดอำนาจ บทบาทหน้าที่ ของผู้อำนวยการศูนย์และผู้บริหารศูนย์ให้เป็นตำแหน่งบริหารที่มี TOR ชัดเจน รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทนในตำแหน่งบริหาร

  39. นำเสนอคณะฯ เพื่อรับทราบ • ต้องพัฒนาสถานีวิจัยให้เป็นวิสาหกิจ เป็นที่จัดการเรียนการสอนโดยคิดค่าใช้จ่ายจากรายวิชาที่ไปใช้พื้นที่และทรัพยากรของสถานีวิจัย รวมทั้งการดูแลระบบสาธารณูปโภคของสถานีวิจัย และมีการเพิ่มภาคการผลิตของสถานีวิจัยต่าง ๆ • ควรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในด้านการทำธุรกิจเกษตรแก่บุคลากรศูนย์/สถานีและนักศึกษา • ควรมีการจัดสรร และบริหารเงินรายได้ ให้คืนกลับแหล่งสร้างรายได้ตามผลงานที่ได้ • Reorganize การบริหารสถานี/ศูนย์ ในส่วนผลผลิต ส่วนวิจัย บริการวิชาการ ไม่ให้ซ้ำซ้อน

  40. นำเสนอมหาวิทยาลัยรับทราบนำเสนอมหาวิทยาลัยรับทราบ • สถานีวิจัยนาทวี มีนโยบายที่ต้องการให้เลี้ยงตัวเองได้ แต่ยังไม่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจาก รายจ่ายในด้านการบริหารจัดการค่อนข้างสูง และยังไม่สามารถทำการตลาดได้ตามแผน ??? • มหาวิทยาลัย ควรอาศัยระบบ TOR, KPIs และ LU เป็นตัวช่วยกระตุ้นเพื่อให้อาจารย์ทำวิจัยเพิ่มขึ้น (เช่น ตัวอย่างของ ภ.วาริชศาสตร์ Active researcher มีประมาณ 50% ของอาจารย์ในภาคฯ ซึ่งทางภาควิชาไม่สามารถกระตุ้นให้อาจารย์ทำวิจัยได้ทุกคน)

  41. นำเสนอมหาวิทยาลัยรับทราบนำเสนอมหาวิทยาลัยรับทราบ • วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา :FTES น่าจะหาวิธีการประเมินโดย (ไม่รวมหรือรวมครุภัณฑ์โครงการพิเศษ) (ตัวบ่งชี้ที่ 7.5) • วิธีการให้คะแนนของตัวบ่งชี้ที่ 4.4 จำนวนเงินสนับสนุนการวิจัย น่าจะมองทั้ง 2 มิติ คือ ไม่ควรเปรียบเทียบของจำนวนเงิน : บุคลากรของปีที่ผ่านมาอย่างเดียว แต่น่าจะเทียบกับค่า Benchmark ที่มหาวิทยาลัย/ประเทศ กำหนดก็ได้ • วิธีการให้คะแนนของตัวบ่งชี้ที่ 3.4 อัตราการเพิ่มของตำแหน่งทางวิชาการ ควรจะมองทั้งมิติจำนวนตำแหน่งทางวิชาการที่มีอยู่ และอัตราที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าบางคณะฯ เมื่อมีผู้ครองตำแหน่งวิชาการในสัดส่วนสูงแล้ว อัตราการเพิ่มของตำแหน่งทางวิชาการจะยากมากขึ้นตามลำดับ

  42. จุดเด่นที่ควรเป็นแบบอย่าง (Good Practices)

  43. จุดเด่นที่ควรเป็นแบบอย่าง (Good Practices) • มีความคิดสร้างสรรค์ ในการนำกิจกรรมเชิงวิชาการ เช่น การเลี้ยงผึ้งที่สถานีวิจัยเทพา เพื่อเสริมผลผลิตจากพืชหลัก เช่น ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล และยังก่อให้เกิดรายได้เสริม และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง • การดำเนินการของบางศูนย์ที่พยายามแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนในด้านการวิจัยและบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน

  44. ข้อเสนอแนะที่ต้องการให้คณะฯพัฒนาอย่างเร่งด่วน(3 อันดับแรก)

  45. สิ่งที่ต้องการให้คณะฯ พัฒนาอย่างเร่งด่วน 1 คณะฯ ควรมอบหมายให้มีผู้ประสานงานกลาง ในสำนักงานเลขาฯ 2 ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้สายสนับสนุนทางวิชาการ เร่งสร้างผลงาน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน และ/หรือ เข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการ 3 ควรมีการวิเคราะห์บัญชีต้นทุนของสถานีวิจัยทุกสถานี และหากลยุทธ์เพื่อนำไปสู่ การลดค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา 4

  46. Thank You !

More Related