2.5k likes | 3.23k Views
การภาษีอากร 1. หัวข้อหลักในการบรรยาย. 1. ความรู้ทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับภาษีอากร 2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 6. ภาษีท้องถิ่น. 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร.
E N D
หัวข้อหลักในการบรรยายหัวข้อหลักในการบรรยาย • 1. ความรู้ทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับภาษีอากร • 2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • 3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ • 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม • 5. ภาษีเงินได้นิติบุคคล • 6. ภาษีท้องถิ่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร • ภาษีอากรหมายถึง รายได้หรือทรัพยากรที่ได้มีการเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาลและไม่ก่อให้เกิดภาระชำระคืนแก่รัฐบาล • วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร • เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ • เพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ • เพื่อการกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม • เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ลักษณะของภาษีอากรที่ดีลักษณะของภาษีอากรที่ดี มีความเป็นธรรม มีความแน่นอนและชัดเจน มีความสะดวก มีประสิทธิภาพ มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ อำนวยรายได้ มีความยืดหยุ่น
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากรโครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร • ฐานภาษีอากร • อัตราภาษีอากร • การประเมินจัดเก็บภาษีอากร • การอุทธรณ์ภาษีอากร • เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
การจำแนกประเภทภาษีอากรการจำแนกประเภทภาษีอากร พิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ • ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ภาระภาษีตกแก่บุคคลที่กฏหมายประสงค์จะให้รับภาระผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปผู้อื่นไม่ได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีที่ภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฏหมาย ประสงค์จะให้ผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต
ภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บจากผู้มีเงินได้ 6 ประเภท ได้แก่ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 5.อากรแสตมป์ 6.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่ส่วนใหญ่ จัดเก็บจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
ภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 2. เกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำ 3. วิธีการคำนวณภาษี 3.1 วิธีที่ 1 3.2 วิธีที่ 2 4. กำหนดเวลาการชำระภาษีและแบบแสดงรายการ 5. การขอคืน 6. บทกำหนดโทษ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 5 ประเภท 1. บุคคลธรรมดา 2. ผู้ถึงแก่ความตาย 3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล 5. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
เกณฑ์ขั้นต่ำของเงินได้ที่ต้องยื่นเสียภาษีเกณฑ์ขั้นต่ำของเงินได้ที่ต้องยื่นเสียภาษี ไม่มีสามีหรือภริยา (โสด) ประเภทที่ 1 อย่างเดียว เกิน 50,000 บาทต่อปี ประเภทที่ 1 และอื่นๆ เกิน 30,000 บาทต่อปี มีสามีหรือภริยา (มีคู่สมรส) ประเภทที่ 1 อย่างเดียว เกิน 100,000 บาทต่อปี ประเภทที่ 1 และอื่นๆ เกิน 60,000 บาทต่อไป
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เกิน 30,000 บาทต่อปี - ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาทต่อปี - คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาทต่อปี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีที่ 1 ม.48(1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิ * อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย วิธีที่ 2 ม.48(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีมีเงินได้พึงประเมิน(ไม่รวมเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน) ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 หากมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาทให้ยกเว้นภาษี (พ.ร.ฎ.480)
เงินได้พึงประเมิน หมายถึง 1. เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
แหล่งเงินได้มี 2 ประเภท 1. แหล่งภายในประเทศ 2. แหล่งภายนอกประเทศ
แหล่งภายในประเทศ 1. หน้าที่งานที่ทำในประเทศ 2. กิจการที่ทำในประเทศ 3. กิจการของนายจ้างในประเทศ 4. ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศ ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย
แหล่งภายนอกประเทศ 1. หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ 2. กิจการที่ทำในต่างประเทศ 3. ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ จะเสียภาษีให้กับประเทศไทยก็ต่อเมื่อ 1. ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ 2. ผู้มีเงินได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย
คำว่า “ผู้อยู่ในประเทศไทย”หมายความว่า บุคคลผู้อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือ หลายระยะรวมทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษี “ปีภาษี” หมายความว่า ปีปฏิทิน เริ่ม 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของทุกปี
การยกเว้นภาษี 1. บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษี 2. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี 21
บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อผูกพันที่รัฐบาลไทยมีอยู่ตามสัญญาความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคกับรัฐบาลต่างประเทศ ( พรฎ.9/2499) องค์การและทบวงการชำนัญพิเศษสหประชาชาติ, เจ้าหน้าที่, ผู้เชี่ยวชาญขององค์การหรือทบวงการดังกล่าว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในไทยตามข้อผูกพันในอนุสัญญาหรือความตกลง (พรฎ.10/2500) 22
บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3. สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลใคณะทูตในคณะกงสุล ตามข้อตกลงตามหลักถ้อยที่ถ้อยปฏิบัติต่อกัน (พ.ร.ฎ.10/2500) 4. บุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน 5. บุคคลตามความตกลงกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ผอ.ซีเบส, พนักงานระหว่างประเทศ ตามความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ไทยผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาซีเบส (ประกาศคณะปฏิวัติ 17/2515) 23
บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง กรรมการ กรรมการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารพัฒนาเอเชีย (พ.ร.บ.ให้อำนาจ ปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนา เอเซีย 2509) บุคคลธรรมดาสัญชาติอเมริกันของบริษัทฯ นิติบุคคลของสหรัฐฯ ตามโครงการเงื่อนไขที่รัฐบาลไทยเห็นชอบ (คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ 79/2515) 24
เงินได้ที่รับการยกเว้น(มาตรา 42) 1. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ - ที่เอกชนจ่ายให้ตามความจำเป็นในการปฏิบัติงานและจ่ายหมดไป เพื่องานนั้น 2. ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ที่รัฐบาลจ่ายให้ข้าราชการ - เพื่อการไปปฏิบัติราชการนอกท้องที่ 25
เงินได้ที่รับการยกเว้น(มาตรา 42) 3. ค่าเดินทางของลูกจ้างที่มารับงานครั้งแรก และกลับเมื่องานสิ้นสุดลง 4. ยกเลิก 5. เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง ค่าเช่าบ้านของทูตไทยที่อยู่ต่างประเทศ 6. ขายแสตมป์ 7. เบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบ ที่ทางราชการหรือศึกษาราชการจ่าย เงื่อนไข เช่น สอนราม สอนจุฬา 8. ดอกเบี้ยออมทรัพย์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท 26
เงินได้ที่รับการยกเว้น(มาตรา 42) 9. ขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก 10. เงินได้จากการอุปการะหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้จากรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หาตามขนบธรรมเนียมประเพณี 11. รางวัลเพื่อการศึกษา ค้นคว้า ประกวด แข่งขัน รางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลจากสลากออมสินรัฐบาล 12. บำนาญพิเศษ บำเหน็จตกทอด 13. ค่าสินไหมจากการละเมิด (ละเมิด คือ ประมาทเลินเล่อให้ผู้อื่นเสียหายซึ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายทดแทนให้คงสภาพเดิม) 27
เงินได้ที่รับการยกเว้น(มาตรา 42) 14. เงินส่วนแบ่งกำไร ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 15. การขายข้าวของชาวนา 16. เงินได้จากกองมรดก (ที่เคยเสียภาษีแล้ว) 17. กฎกระทรวง 126 18. รางวัลสลากกาชาดไทย 19. ดอกเบี้ยตาม ม.4 ทศ 20. -21. -22. ยกเลิก 23. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม 24. เงินได้ของกองทุนรวม 25. ประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม 28
การยกเว้นภาษีเงินได้จากรายรับตามกฎกระทรวง 126 1. โรงเรียนเอกชน 2. การจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 3. ค่าจ้างทำงานระหว่างปิดภาคการศึกษาของนักศึกษาต่างด้าวในไทย 4. ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างให้ลูกจ้าง คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน 29
การยกเว้นภาษีเงินได้จากรายรับตามกฎกระทรวง 126 5. เงินค่าเช่าบ้าน ค่าศึกษาบุตรที่ราชการจ่าย 6. เงินค่าเช่าบ้านที่รัฐวิสาหกิจจ่าย 7. เงินช่วยเหลือบุตร ค่าการศึกษาบุตร ที่รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ 8. รางวัลเพื่อการป้องกันมิให้กระทำผิดทางภาษีอากรที่ราชการจ่าย 9. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือได้มาโดยเสน่หา อยู่นอกเขตกรุงเทพ เทศบาลและสุขาภิบาล เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท 30
การยกเว้นภาษีเงินได้จากรายรับตามกฎกระทรวง 126 10. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) โดยไม่มีค่าตอบแทน 11. เงินได้จากมูลค่าของเครื่องแบบที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวน คนละไม่เกิน 2 ชุดต่อปี (ถ้าเป็นเสื้อนอกไม่เกิน 1 ตัวต่อปี) 12. เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในอัตราไม่เกิน 15% ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท 31
การยกเว้นภาษีเงินได้จากรายรับตามกฎกระทรวง 126 13. เงินได้เท่าที่สามชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท 14. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย จากอาคาร สถาบันการเงิน บริษัท สหกรณ์ ฯลฯ เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท 15. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ตามจ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร 32
เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน หนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง เงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2553 การยกเว้นภาษีเงินได้จากรายรับตามกฎกระทรวง 126 33
ประเภทของเงินได้(8 ประเภท ม.40) ประเภทที่ 1 การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ประเภทที่ 2 หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ประเภทที่ 3 ค่าสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ เงินปี เงินรายปี
ประเภทของเงินได้(8 ประเภท ม.40) ประเภทที่ 4 ดอกเบี้ย เงินปันผล ประเภทที่ 5 ให้เช่าทรัพย์สิน ผิดสัญญาเช่าซื้อ ผิดสัญญาซื้อขาย เงินผ่อน ประเภทที่ 6 วิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย ประกอบโรคศิลป การบัญชี
ประเภทของเงินได้(8 ประเภท ม.40) ประเภทที่ 7 รับเหมาฯ ประเภทที่ 8 การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขายอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ นอกจาก 1 - 7
ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายมี 2 ประเภท 1. เป็นการเหมา: กำหนดไว้เป็นอัตราร้อยละโดยไม่ต้องแสดงหลักฐาน ค่าใช้จ่าย 2. ตามความจำเป็นและสมควร(ตามจริง): เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การหารายได้โดยต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท ประเภทที่ 1-2 - ประเภทที่ 1 อย่างเดียว หักได้ 40%ไม่เกิน 60,000 บาท - ประเภทที่ 2 อย่างเดียว หักได้ 40%ไม่เกิน 60,000 บาท - ประเภทที่ 1 และ 2 รวมกัน หักได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท ประเภทที่ 3 เฉพาะค่าลิขสิทธิ์หักได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท อื่น ๆ ไม่ให้หักค่าใช้จ่าย ประเภทที่ 4 ไม่ให้หักค่าใช้จ่าย ประเภทที่ 5 - การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หักได้ 20% - การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักได้ 20%
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท การให้เช่าทรัพย์สิน - หักตามความจริง - หักเป็นการเหมา - บ้าน โรงเรือน หักได้ 30% - ที่ดินใช้ในการเกษตรกรรม หักได้ 20% - ที่ดินมิได้ใช้ในการเกษตรกรรม หักได้ 15% - ยานพาหนะ หักได้ 30% - ทรัพย์สินอย่างอื่น หักได้ 10%
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท ประเภทที่ 6 - หักตามความจริง - หักเป็นการเหมา - การประกอบโรคศิลป หักได้ 60% - อาชีพอิสระอื่น ๆ หักได้ 30% ประเภทที่ 7 - หักตามความจริง - หักเป็นการเหมา หักได้ 70%
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท ประเภทที่ 8 1. หักเป็นการเหมา เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดย เสน่หาหักร้อยละ 50 ของเงินได้ 2. หักตามความจริงหรือเป็นการเหมา - เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้ มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหักตามอัตราที่ กฎหมายกำหนด
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท - เงินได้จากกิจการ 43 รายการ ที่กำหนดใน พรฎ. ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2502 ม.8) เช่น - ขายของ 80% - โรงแรม/ภัตตาคาร 70% - ร้านตัดผม 70% - ตัดเย็บเสื้อผ้า 70% 3. หักตามความจริง เงินได้อื่นนอกจาก 1 และ 2
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 1. ผู้มีเงินได้ 30,000 บาทต่อปี 2. คู่สมรส 30,000 บาทต่อปี 3. บุตร 15,000 บาท ต่อคนต่อปี 4. การศึกษาบุตร 2,000 บาท ต่อคนต่อปี
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 5. บิดามารดารวมทั้งบิดามารดาของคู่สมรส 30,000 บาท ต่อคนต่อปี 6. เบี้ยประกันชีวิต(ของผู้มีเงินได้และหรือคู่สมรส) แต่ละฝ่ายลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฝ่ายละ 100,000 บาท (รวมค่าหย่อนและยกเว้น)
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 7. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ของผู้มีเงินได้และหรือ คู่สมรส) แต่ละฝ่ายลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินฝ่ายละ 10,000 บาท (ส่วนที่เกินได้รับยกเว้นอีกไม่เกิน 490,000 บาท)
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 8. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม(ของผู้มีเงินได้และ หรือคู่สมรส) แต่ละฝ่ายหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราร้อยละตามกฎหมายประกันสังคม 9. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านที่อยู่อาศัยหักลดหย่อนได้ตาม จำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (รวมค่า ลดหย่อนและยกเว้น)
10. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดามารดา บุตร ซึ่งพิการคนละ 60,000 บาท ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 48
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) 11. เงินบริจาคสาธารณกุศลหักลดหย่อนได้ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของยอดเงินได้หลังจาก หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนรายการที่ 1-10 แล้ว (ยอดเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ ก่อนหักเงินบริจาค)
คุณสมบัติในการหักลดหย่อนบุตรคุณสมบัติในการหักลดหย่อนบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา 2. อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษา หรือเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 3. อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู 4. ไม่มีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 15,000 บาท ขึ้นไป