590 likes | 606 Views
การ ประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์ อนามัยที่ 5 วัน พฤหัสบดีที่ 6 กรกฏาคม 2560 ณ ห้อง ประชุมศูนย์ อนามัยที่ 5. วัตถุประสงค์ของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5. 1. เพื่อ พัฒนา หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุให้ เป็นหลักสูตรแกนกลาง มีความ
E N D
การประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฏาคม 2560 ณ ห้องประชุมศูนย์อนามัยที่ 5
วัตถุประสงค์ของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นหลักสูตรแกนกลาง มีความ เหมาะสมต่อผู้เรียนที่มีภาวะสุขภาพและช่วงวัยสูงอายุที่แตกต่างกัน 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ 3. เพื่อบูรณาการหลักสูตรหรือกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จากหน่วยงานและ บุคคลที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ วิสัยทัศน์ : ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม Smart Longest Living and Healthiest Citizen
เนื้อหาสาระของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 1. สถานการณ์และนโยบายผู้สูงอายุ 4 กระทรวงหลัก 2. หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 พ.ศ. 2559 และผลการ ประเมินหลักสูตรฯ 3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรพื้นฐาน (Basic) หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรพัฒนาระดับที่ 1 (Advance 1) หลักสูตรที่ 3 หลักสูตรพัฒนาระดับที่ 2 (Advance 2) 4. การปรึกษาหารือเรื่อง - แต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 - วางแผนการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 วิสัยทัศน์ : ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม Smart Longest Living and Healthiest Citizen
พ.ศ.2548 พ.ศ.2559 พ.ศ.2564 = 16 ปี พ.ศ.2574 = 10 ปี (พ.ศ.2557)
พ.ศ.2559 อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด เพศชาย 71.8 ปี เพศหญิง 78.6 ปี
: ด้านสังคม และเศรษฐกิจ
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ของผู้สูงอายุ ความชราหรือกระบวนการสูงอายุ (Ageing Process)หมายถึง การเสื่อมสภาพของโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เป็นทารก และผู้ใหญ่ ในช่วงนี้เซลล์จะเปลี่ยนแปลงในการเสริมสร้างให้เจริญเติบโต แต่เมื่อพ้นวัยผู้ใหญ่ไปแล้ว จะมีการสลายของเซลล์มากกว่าสร้าง ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สงอายุ ระบบประสาท :เซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลง ทำให้ไม่ไวต่อความรู่สึกและตอบสนองช้าลง เคลื่อนไหวช้า คิดช้า ความจำใหม่ๆไม่ดี คำนวณ คิดวิเคราะห์ลดลง การเคลื่อนไหวไม่สำพันธ์กัน การมองเห็น :ขนาดลูกตาเล็กลง หนังตาตก ลานสายตาแคบลง รูม่านตาเล็กลง ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง ความไวในการมองภาพลดลง มีสายตายาว ปรับตัวในที่มืดไม่ดี แยกสีแดง ส้ม เหลืองได้ดี แต่น้ำเงิน ม่วง เขียวไม่ดี ตาแห้ง การได้ยิน:หูชั้นในและเส้นประสาทคู่ที่ 8 เสื่อม เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น การได้ยินจะลดลง จะได้ยินเสียงต่ำดีกว่าเสียงสูง ขี้หูจะลดลง ช่องหูจะแคบลง จึงทำให้เกิดหูอุดตันได้ (57%) การรับรส :ต่อมรับรสที่ลิ้นลดลง ฝ่อลีบลง จะสูญเสียการรับลดหวาน เปรี้ยว ขม และเค็ม ตามลำดับ ทำให้รับประทานอาหารรสจัด อาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร การรับกลิ่น :เยื่อบุโพรงจมูกเสื่อม จึงทำให้จำแนกกลิ่นลดลง ไม่ได้กลิ่นอาหาร และกลิ่นที่ทำให้เกิดอันตราย เช่น ไฟไหม้ แก๊สรั่ว เป็นต้น ผิวหนัง: น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังบางเหี่ยวย่นแห้งแตกง่าย เป็นแผลง่าย เซลล์รับการกระตุ้นที่ผิวหนังและการไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้การทนต่อความร้อนเย็นลดลง ต่อมเหงื่อลดลง ฝ่อลง ทำให้ขับเหงื่อไม่ดี จึงเป็นลมแดดได้ง่าย ผมและขนลดลงและมีสีขาว
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ระบบไหลเวียนโลหิต : หัวใจทำงานลดลง เต้นช้าลง กล้ามเนื้อหัวใจไวต่อสิ่งเร้าน้อยลง ทำให้เลือดออกจากหัวใจน้อยลง จึงเกิดหัวใจวายได้ง่าย มีแคลเซี่ยมเกาะกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หนังหลอดเลือดฝอยหนาขึ้น ความยืดหยุ่นลดลงทำให้แตกง่าย เกิดรอยพกช้ำง่าย เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายลดลง ทำให้เชลล์เกิดความเสื่อมและตาย เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต เป็นต้น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ: มีการสลายของแคลเซี่ยมจากกระดูก จึงทำให้กระดูกบางเปราะหักง่าย กระดูกสันหลังสั้นลง กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อบางลงเสื่อมลง น้ำไขข้อลดลง ทำให้ข้อติดแข็ง ปวด อักเสบ ติดเชื้อง่าย จำนวนมวลและเส้นใยของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้การหดตัวแต่ละครั้งนานขึ้น เคลื่อนไหวได้ช้าลง ระบบทางเดินหายใจ: ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจลดลง ทรวงอกจะผิดรูป ผนังทรวงอกแข็งขึ้นจากแคลเซี่ยมเกาะ ถุงลมปอดลดลงแตกง่าย การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง รีเฟล็กและการไอลดลง ทำให้กำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ไม่ดี ติดเชื้อง่าย กล่องเสียงทำงานไม่ดีจึงสำลักง่าย ระบบขับถ่าย: กระเพาะปัสสาวะมีความจุและตึงตัวลดลง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกระเพาะปัสสาวะอ่อนกำลังลง ทำให้มีปัสสาวะค้างหลังขับถ่าย จึงปัสสาวะบ่อย เพศชายจะมีต่อมลูกหมากโตทำให้ปัสสาวะลำบาก ลำไส้เคลื่อนไหวลดลงย่อยดูดซึมลดลง ท้องผูกง่าย กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักหย่อนตัว ทำให้กลั้นอุจจาระลำบาก ระบบย่อยอาหาร: ฟันสึกกร่อนบางเปราะง่าย ผุหลุดล่วงง่าย ปากลิ้นแห้งติดเชื้อง่าย ทำให้มีปัญหาการรับประทานอาหารและขาดสารอาหาร กล้ามเนื้อหลอดอาหารและคอหอยอ่อนกำลังลง ทำให้หลอดอาหารใหญ่ขึ้นเคลื่อนไหวช้าลง หูรูดหย่อนตัวทำให้อาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ แสบยอดอก อาจจะสำลักเข้าหลอดลม กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานลดลงทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ความหิวลดลง การดูดซึมแคลเซี่ยมและเหล็กลดลง ทำให้กระดูกพรุนและโลหิตจาง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ระบบสืบพันธุ์ : เพศหญิงรังไข่จะฝ่อเล็กลง มดลูกเล็กลง เยื่อบุมดลูกบางลงมีพังผืดมากขึ้น ช่องคลอดแคบลงยืดหยุ่นน้อยลง ไม่มีเมือกหล่ออลื่น ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดมีภาวะเป็นด่างมากขึ้น ทำให้อักเสบและติดเชื้อง่าย ไขมันใต้ผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอกลดลง ทำให้เหี่ยวย่น ระบบไร้ท่อ: ต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนน้อยลง เช่น ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน หยุดผลิตเช่น รังไข่ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก ช่องคลอด และทรวงอก หย่อน ความไวต่อความรู้สึกทางเพศลดลง ในเพศชายฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง ทำให้อวัยวะเพศเหี่ยวลงความรู้สึกทางเพศลดลง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ของผู้สูงอายุ ด้านสังคม :การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจมีผลต่อความสามารถในการเข้าสังคม และทำกิจกรรมทางสังคมอย่างมาก การพบปะระหว่างญาติ เพื่อน คนสนิทน้อยลง สภาพสังคมในปัจจุบันมีช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุและผู้อ่อนวัย ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรม มากขึ้น ด้านจิตใจ : การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ถ้าไม่สามารถปรับตัวให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจได้ เช่น ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ เสียบุคคลที่รัก เปลี่ยนบทบาทในครอบครัวและหน้าที่การงาน สูญเสียภาพลักษณ์ เป็นต้น มีเวลาว่างมากขึ้น คิดมาก รู้สึกคุณค่าในตังเองลดลง รู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า ความสัมพันธ์ในครอบครัวน้อยลง ความเจ็บป่วยและความเสื่อมของร่างกาย มีผลให้ปัญหาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด ใจร้อน โกรธง่าย เศรษฐกิจ : ขาดรายได้ประจำ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคเพิ่มขึ้น เพศหญิงพึ่งพิงค่าครองชีพมากกว่าเพศชาย ยิ่งอายุมากขึ้นก็พึ่งพิงมากขึ้น
3. นโยบายการดำเนินงานวัยสูงอายุ
ค.ศ. 2007 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2557
โรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย
นโยบายการดำเนินงานของท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตฯ 5 นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ (พ.ศ. 2559) โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 (ทำกิจกรรมป้องกันการหกล้ม และ ภาวะสมองเสื่อม อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง) มี 24 แห่ง โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 รอบที่ 1 โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 รอบที่ 2
วัตถุประสงค์ของโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม แผนการเรียนรู้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 แผนการสอนที่ 1 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 1 : เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย แผนการสอนที่ 2 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 2 : เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายที่เพิ่มขึ้น แผนการสอนที่ 3 กระบวนการชราที่มีผลต่อการหกล้มและภาวะสมองเสื่อม และการป้องกัน แผนการสอนที่ 4 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 3 : เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แผนการสอนที่ 5 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 4 : เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่เพิ่มขึ้น แผนการสอนที่ 6 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 5 : การทรงตัวที่ดี แผนการสอนที่ 7 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 1 : เกมคอมพิวเตอร์ แผนการสอนที่ 8 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 2 : Program Com
แผนการสอนที่ 9 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 3 : Program Com แผนการสอนที่ 10 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 4 : Line, Calendar แผนการสอนที่ 11 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 5 : Google Map แผนการสอนที่ 12 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 4 อ. แผนการสอนที่ 13 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 14 กิจกรรมอนามัยช่องปาก แผนการสอนที่ 15 กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม ครั้งที่ 1 : การเต้นรำ (ตามบริบทของผู้สูงอายุ) แผนการสอนที่ 16 กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม ครั้งที่ 2 : การร้องเพลง แผนการสอนที่ 17 กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 1 : การเล่นไพ่หรือเกม แผนการสอนที่ 18 กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 2 : การแสดงกลุ่ม แผนการสอนที่ 19 การนวดแผนไทย / ธรรมชาติบำบัด แผนการสอนที่ 20 กฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 21 เศรษฐกิจพอเพียง แผนการสอนที่ 22 การจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการสอนที่ 23 กิจกรรมการฝึกอาชีพ หรืองานฝีมือ (OTOP ตามบริบทของพื้นที่) แผนการสอนที่ 24 ศึกษาดูงานสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 25 จิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม (กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ กิจกรรมทางศาสนา)
ตารางการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5
ตารางการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 หมายเหตุ :1. ระยะเวลาการเรียนครึ่งวัน สามารถขยายเวลาเรียนเป็นเต็มวันได้ 2. กิจกรรมการฝึกอาชีพ กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม กิจกรรมการเรียนรู้ตาม อัธยาศัย สามารถปรับเปลี่ยนเวลาและรายละเอียด ได้ตามความเหมาะสม
หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5
การประเมินผลโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย 1. แบบคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง สุขภาพช่องปากและตา สมรรถภาพสมอง ภาวะ ซึมเศร้า ข้อเข่าเสื่อม หกล้ม กลั้นปัสสาวะ โภชนาการ ปัญหาการนอน และ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) 2. การประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ : ยืนขาเดียวใน 30 วินาที ยืนยกขา 2 นาที ลุกยืนใน 30 วินาที นั่งยกน้ำหนัก 30 วินาที ลุกเดินไป-กลับ 8 ฟุต และนั่งเอื้อมมือ ไปแตะปลายเท้า 3. ปฏิทินบันทึกการออกำลังกาย การหกล้ม และสาเหตุของการหกล้ม 4. แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับ 15 ข้อ
รายชื่อโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 พ.ศ. 2559 : ที่ส่งแบบประเมินให้ศูนย์อนามัยที่ 5
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถภาพของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบางระกำ ตำบลพลับพลาไชย และท่าแลง เพศของผู้สูงอายุ ช่วงอายุของผู้สูงอายุ 20.90%/37คน 6.21%/11คน 28.25%/50คน 65.54%/116คน 79.10%/140คน จำนวนผู้สูงอายุ 177 คน (100%)
เปรียบเทียบจำนวนและร้อยละของผลการประเมินสมรรถภาพ (ปกติและเสี่ยงต่อการหกล้ม) ของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ
เปรียบเทียบคะแนนประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001
เปรียบเทียบคะแนนประเมินสมรรถภาพสมอง (MMSE-Thai 2002) ผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001
เปรียบเทียบคะแนนเส้นรอบเอวสุขภาพช่องปาก และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001
ผลการประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 ผู้ประเมิน ระดับความคิดเห็นของผู้ประเมิน 0.16%/1คน 3.16%/2คน 0. 22%/1คน 31.75%/20คน 47.62%/30คน 22.75%/13คน 20.63%/13คน 73.55%/40คน
ผลการประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 เข้าร่วมประชุมพัฒนาวิทยากร เพศของผู้ประเมินหลักสูตร 37.50%/24คน 31.00%/20คน 62.50%/40คน 69.00%/44คน สถานภาพของผู้ประเมินหลักสูตร ระดับความคิดเห็นของผู้ประเมิน 0.16%/1คน 31.75%/20คน 47.62%/30คน 3.16%/2คน 0. 22%/1คน 22.75%/13คน 20.63%/13คน 73.55%/40คน