280 likes | 656 Views
เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอน รูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ Web-Based Blended training by MIAP Process for e-learning. ผศ.ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. รศ.ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
E N D
เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ Web-Based Blended training by MIAP Process for e-learning ผศ.ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายประสิทธิชัย มั่งมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 2. เพื่อศึกษาสมรรถนะอีเลิร์นนิงของผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม ก่อนและหลังอบรมด้วยเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
สมมติฐานการวิจัย 1. ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการอบรมจากเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ มีสมรรถนะอีเลิร์นนิงหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการอบรมจากเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมมีความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรมการในระดับมาก
ขอบเขตการวิจัย เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยการสร้างบทเรียนออนไลน์ แบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ดังนี้ หมวดที่ 1: หลักการเบื้องต้นของอีเลิร์นนิง หมวดที่ 2: การสร้างบทเรียนระบบออนไลน์ หมวดที่ 3 : การสร้างเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ หมวดที่ 4: การสร้างกิจกรรมบทเรียนออนไลน์ หมวดที่ 5 : การใช้เทคนิคพิเศษ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. ได้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 2. ได้แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะอีเลิร์นนิง สำหรับสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนใจ 3. ได้แนวทางในการจัดฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP สำหรับสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนใจ
วิธีดำเนินการวิจัย การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ได้ดำเนินการพัฒนาเว็บฝึกอบรม โดยอาศัยหลักการและขั้นตอนในการออกแบบ และพัฒนาการสอนอย่างมีระบบตามหลักการของ Generic ISD (ADDIE Model) ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) 2. ขั้นการออกแบบ (Design) 3. ขั้นการพัฒนา (Development) 4. ขั้นการนำไปทดลองใช้ (Implementation) 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 2. แบบประเมินสมรรถนะเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 3. แบบทดสอบก่อนฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAPเรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 4. แบบทดสอบหลังฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAPเรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ 5. แบบประเมินความพึงพอใจเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่1 เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ตอนที่2 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ตอนที่ 3 ผลการศึกษาสมรรถนะอีเลิร์นนิงของผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP ตอนที่ 4 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ตอนที่ 5 ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อเว็บฝึกอบรมฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากตารางที่ 2 ผลการศึกษาสมรรถนะอีเลิร์นนิงของผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมของผู้ฝึกอบรม ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ** p-value < .05
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางที่ 4ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย 1. เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5ตอน หลักการเบื้องต้นของอีเลิร์นนิง การสร้างบทเรียนระบบออนไลน์ การสร้างเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ การสร้างกิจกรรมบทเรียนออนไลน์ การใช้เทคนิคพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญประเมินอยู่ในระดับดีมาก 2. ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ มีสมรรถนะอีเลิร์นนิงอยู่ในระดับดีมากอยู่ในระดับดีมาก
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย 3. ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังฝึกอบรม สูงกว่าค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้เข้าอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ มีความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อภิปรายผลการวิจัย การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์มีข้อค้นพบที่นำมาอภิปราย ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อภิปรายผลการวิจัย 2. เว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ประกอบด้วย 11 หัวข้อ คือ คำอธิบายเนื้อหาการอบรมวัตถุประสงค์การอบรมหัวข้อหลักหัวข้อรอง กระดานข่าวห้องสนทนากระดานเสวนาอภิธานศัพท์แบบทดสอบก่อนการอบรมแบบทดสอบหลังการอบรมและแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรมสร้างบทเรียนออนไลน์ สอดคล้องกับแนวคิดของ Kilby (1998) ที่กล่าวว่าเว็บฝึกอบรมควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) สื่อสำหรับนำเสนอ ได้แก่ ข้อความ กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง 2) การปฏิสัมพันธ์ 3) การจัดการฐานข้อมูล 4) ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์บอร์ด เช่น BBS,Web Board จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ และการสนทนาผ่านเครือข่าย เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ หลักการเบื้องต้นของอีเลิร์นนิง, การสร้างบทเรียนระบบออนไลน์, การสร้างเนื้อหาบทเรียนออนไลน์, การสร้างกิจกรรมบทเรียนออนไลน์, การใช้เทคนิคพิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพของเพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ (2548) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) สมรรถนะหลัก (Core competency) เป็นการกำหนดประเภทของสมรรถนะของบุคคลในองค์กรที่มีผู้กำหนดไว้ตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ 2) สมรรถนะวิชาชีพ (professional competency) เป็นสมรรถนะของแต่ละวิชาที่จะกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ 3) สมรรถนะเชิงเทคนิค (technical competency) เป็นความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานตามลักษณะเฉพาะของแต่ละกิจกรรม
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อภิปรายผลการวิจัย ขั้นตอนการฝึกอบรมบนเว็บ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ1) ขั้นก่อนการฝึกอบรม 2) ขั้นการฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ MIAP แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ช่วงที่ 1 ขั้นสนใจปัญหา (Motivation) ช่วงที่ 2 ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) ช่วงที่ 3 ขั้นพยายาม (Application) และช่วงที่ 4 ขั้นสำเร็จผล (Progress) และ3) ขั้นสรุปผลการฝึกอบรม สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์สมรรถนะวิชาพีชได้ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจมาก สอดคล้องกับการวิจัยของชลอ พลนิล (2551) ที่พบว่า การจัดการเรียนรู้ MIAP โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสอนใจปัญหา (Motivation) 2) ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) 3) ขั้นพยายาม (Application) และ 4) ขั้นสำเร็จผล (Progress) เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิชาชีพได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมตนเองในภาพรวมได้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของอัครวุฒิ จินดานุรักษ์ (2553) และ สุรินทร์ บุญสนอง (2553) ที่พบว่า กระบวนการ MIAP ที่พัฒนาขึ้น มี 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์และออกแบบ (2) ขั้นเตรียมการสอน (3) ขั้นปฏิบัติการสอน (4) ขั้นบ่มเพาะ และ (5) ขั้นประเมินผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนมาก
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อภิปรายผลการวิจัย ผลของการใช้เว็บฝึกอบรมฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมผู้เข้าอบรมก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังฝึกอบรม(= 34.54, S.D. = 2.71) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนฝึกอบรม( = 23.20, S.D. = 4.02)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของรังสรรค์ สุกันทา (2546) และ Piriyasurawong and Nilsook (2010) ที่พบว่า เว็บฝึกอบรมสามารถผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม พฤติกรรมการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมได้
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ • ข้อเสนอแนะ • ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ • 1.1 สถาบันการศึกษาที่นำรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ไปใช้ ควรเตรียมความพร้อมทางด้านเครื่องมือและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการฝึกอบรม ได้แก่ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรมีการพัฒนาทักษะความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนทำการฝึกอบรม ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ การใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอกนิกส์ กระดานสนทนา และกระดานข่าว เป็นต้น
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1.2สถาบันการศึกษาที่นำรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ไปใช้ ควรมีการประชุม ชี้แจง เกี่ยวกับวิธีการและรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม และควรชี้ให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีทัศนคติที่ดีต่อวิธีการและรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมเนื่องจากการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาการสร้างเว็บฝึกอบรมในการฝึกอบรมอื่นๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่อ ๆ ไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าเว็บฝึกอบรมสามารถใช้ในการฝึกอบรมได้ทุกภาควิชา 2.2 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมจากการฝึกอบรมด้วยเว็บฝึกอบรมกับการจัดฝึกอบรมด้วยวิธีอื่น เช่น การฝึกอบรมด้วยวิธีการฝึกอบรมปกติ เป็นต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกอบรม และวิทยากรต่อไปในอนาคต
ตัวอย่างหน้าเว็บหน้าเว็บฝึกอบรมตัวอย่างหน้าเว็บหน้าเว็บฝึกอบรม
ตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลด้านวิดีโอตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลด้านวิดีโอ
ตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลทดสอบตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลทดสอบ
ตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลเอกสารประกอบการสอนตัวอย่างเว็บฝึกอบรมหน้าข้อมูลเอกสารประกอบการสอน
ขอจบการนำเสนอ ขอขอบคุณทุกท่าน