1 / 30

รายงาน เรื่อง พันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี

รายงาน เรื่อง พันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี.

janine
Download Presentation

รายงาน เรื่อง พันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานเรื่องพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทยเสนออาจารย์วรรณา ไชยศรี

  2. สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในทรัพยากรประเภทที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้ (replaceable and maintainable) การที่จะรักษาให้คงอยู่และให้มีลูกหลานเกิดขึ้นทดแทนได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการปกป้องรักษาจัดหาที่อยู่อาศัย อาหารและแหล่งน้ำให้พอแก่ความต้องการ อีกทั้งต้องมีการสงวนพันธุ์ไว้มิให้ถูกทำลายจนถึงกับสูญพันธุ์ไป เพราะถ้าหากปล่อยให้สูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่อาจที่จะหาพันธุ์อื่นมาทดแทนให้เหมือนพันธุ์เดิมได้อีก ความหมายของสัตว์ป่าและการจัดการ

  3. สัตว์ป่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการ มาตรการที่สำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าได้แก่ การป้องกัน การบำรุงรักษา และการรู้จักนำมาใช้ประโยชน์ การแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่เสมอ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทยมีปัญหาและอุปสรรคเช่นเดียวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองมากกว่าปัญหาทางวิชาการ

  4. การจำแนกสัตว์ป่า คำว่า สัตว์ป่า โดยทั่วๆไป หมายถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตลอดจนเมลงหรือแมงทุกชนิดไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในน้ำหรือบนบก ซึ่งแบ่งออกได้เป็นพวกใหญ่ๆ คือ 1)สัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า ตะกวด เหี้ย กิ้งก่า และงูชนิดต่างๆ 2)      สัตว์ครึ่งบกน้ำ เช่น กบ เขียด ปาด คางคก ฯลฯ 3)      สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ช้าง เสือ กวาง ค้างคาว ฯลฯ 4)      สัตว์จำพวกนก เช่น นกเขา ไก่ป่า นกกระจอก นกยูง ฯลฯ 5)      แมง และแมลงทุกชนิด 6)      ปลา ตามปกติปลาที่อาศัยอยู่ในห้วยธาร หนอง คลอง บึงในป่าก็ถือว่าเป็นสัตว์ป่าด้วย  

  5. ประโยชน์ของสัตว์ป่า สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่าหรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์ได้เจริญขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งพอจะสรุปคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าที่มีต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ

  6. ประโยชน์ของสัตว์ป่า 1)    ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันยังนิยมใช้เนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหาร การใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆของสัตว์ป่า เช่น ขน เขา และหนังจึงเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป สัตว์เหล่านี้จะถูกซื้อไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ หรือนำไปเลี้ยงดูสัตว์หลายชนิดที่ถูกจับส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆจากสัตว์ป่าด้วยปีหนึ่งๆ คิดเป็นมูลค่านับล้านบาท อย่างไรก็ดี ประโยชน์ในด้านนี้ถ้าหากขาดการควบคุมให้รัดกุมแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียขึ้น

  7. ประโยชน์ของสัตว์ป่า 2) ประโยชน์ในด้านวิชาการ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อประโยชน์ให้สังคมในปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาวิชาที่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นตัวทดลอง เช่น การใช้สัตว์ป่าในการทดลองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การค้นคว้าทดลองทางสัตววิทยาการส่งลิงไปกับยานอวกาศให้อยู่ในอวกาศแทนมนุษย์ในระยะแรกๆเป็นต้น การค้นคว้าทดลองการริเริ่มในวิทยาการใหม่ๆได้เจริญรุดหน้าไปมากเท่าใด สัตว์ป่าที่ใช้ในการทดลองก็มีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ส่งซื้อสัตว์ป่าเลี้ยงในสวนสัตว์เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า

  8. ประโยชน์ของสัตว์ป่า 3) ประโยชน์ในด้านการรักษาความงามและคุณค่าทางจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติดูมีชีวิตชีวา ถ้าหากปราศจากสัตว์ป่า ปราศจากนกที่มีสีสันวิจิตรพิสดารมีเสียงร้องที่ไพเราะจับใจไว้คอยประดับธรรมชาติแล้ว ชีวิตคงจะน่าเบื่อและน่าเศร้ากว่านี้การที่ได้พบได้เห็นเสียงสัตว์ป่าย่อมทำให้เกิดสิ่งบันดาลใจหรือดลใจทำให้เกิดความสุขทางจิตใจเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางประสาทได้เป็นอย่างดี

  9. ประโยชน์ของสัตว์ป่า 4)   ประโยชน์ในด้านการพักผ่อนใจ มนุษย์เมื่อได้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่มีธุรกิจการงานต่างๆมากมายและจำเจอยู่ทุกวันย่อมเกิดความเบื่อหน่าย จึงมักจะหาโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามท้องที่ต่างๆ ที่มีธรรมชาติสวยงาม เช่น ออกไปเที่ยวล่าสัตว์ชมสัตว์ป่า สะกดรอยสัตว์ ศึกษาชีวิตสัตว์ป่า เพื่อให้ได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจ นอกนั้นยังเป็นการออกกำลังทำให้จิตใจแจ่มใสคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการงานต่างๆ ลงได้นับว่าสัตว์ป่ามีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์ในด้านนี้ไม่น้อย

  10. อุปสรรคและปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ป่าต้องลดน้อยลงอุปสรรคและปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ป่าต้องลดน้อยลง สาเหตุที่ทำให้จำนวนสัตว์ป่าต้องลดน้อยลงมีอยู่ 2 ประการใหญ่ ด้วยกันคือ 1)การล่าสัตว์โดยไม่มีขอบเขตขีดจำกัดในอดีตและปัจจุบัน การที่ประชาชนทั่วๆไป ในชนบทล่าสัตว์ป่านั้น ส่วนใหญ่ต้องการที่จะล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารหรือเพื่อเป็นการค้า เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้ครอบครัว ส่วนชาวเมืองหรือผู้มีอิทธิพบทั้งหลายต้องการล่าสัตว์เพื่อความสนุกสนาน เป็นการทดลองอาวุธและความแม่นยำหรือล่าด้วยความคะนองมือ หรือเพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถในเชิงใช้อาวุธเสียมากกว่าที่จะล่าเพื่อใช้กินเป็นอาหาร ประกอบกับอาวุธที่ใช้ล่าทันสมัยขึ้น 2) การทำลายที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของสัตว์ป่า เนื่องจากประเทศได้พัฒนาความเจริญมากขึ้น และประชากรของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการที่ทำมาหากินได้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจึงถูกบุกรุกทำลายเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดแหล่งน้ำแหล่งอาหารบางชนิดก็ต้องหนีไปอาศัยในป่าลึก หรือไม่ก็ถูกล่าตายไปในที่สุด ทำให้จำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว บางชนิดก็ได้สูญพันธุ์แล้ว และบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ภายในไม่ช้า

  11. ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทยทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2504 นี้เอง แต่เดิมนั้นถือว่าสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ติดมากับแผ่นดิน ใครจะเก็บหาหรือล่าได้ตามความพอใจ ยกเว้นช้างป่าซึ่งได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองช้างป่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 ทั้งนี้ก็เนื่องจากช้างป่าเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากในสมัยก่อน โดยเฉพาะช้างเผือกถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และแสดงถึงบุญญาธิการของกษัตริย์ในสมัยนั้นๆ ส่วนช้างป่าทั่วไปก็มีประโยชน์ในราชการสงคราม การเดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร การทำไม้และการแสดงต่างๆ ช้างป่าจึงได้รับการคุ้มครองมาก่อนสัตว์ป่าอื่น ๆ

  12. แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ 1)   มีกฎหมายที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์  2)การวางแผนการ จัดการสัตว์ป่า การวางแผนการจัดการสัตว์ป่าให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยความรู้ทางทฤษฎี ความชำนาญในท้องที่ 3)    การเตรียมกำลังคนและนักวิชาการทางด้านสัตว์ป่า 4)    การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ถูกใช้ประโยชน์มานานแต่ประชาชนทั่วไป ยังขาดความรู้สึกสำนึกถึงคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าดังนั้นรัฐบาลโดยเฉพาะกรมป่าไม้ควรเน้นหนักในด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน5)การเพาะพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อให้ทรัพยากรสัตว์ป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่จะใช้ประโยชน์ตลอดจนใช้เป็นสินค้าออกของประเทศและรักษาพันธุ์ให้คงไว้

  13. สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕

  14. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรPseudochelidon sirintarae นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก ๓ ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕

  15. กวางผาNaemorhedus griseus กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า ๑,๐๐๐ เมตร

  16. แรด แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี

  17. นกแต้วแล้วท้องดำPitta gurneyi  นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำพบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย

  18. กระซู่Dicerorhinus sumatrensis กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย

  19. นกกระเรียนGrus antigone  ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ และหนองบึงที่ใกล้ป่านกกระเรียนชนิดย่อยนี้ มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ไทย ตอนใต้ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซุนประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งพลัดหลงไปถึงประเทศมาเลเซีย และยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งในรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลีย

  20. กูปรีหรือโคไพรBos sauveli ปกติอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้งกูปรีมีเขตแพร่กระจายอยู่ในไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ กระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ ๑.๗-๑.๙ เมตร น้ำหนัก ๗๐๐-๙๐๐ กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง ๔ มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกัน โดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา

  21. ควายป่าBubalus bubalis  ควายป่าชอบออกหากินในเวลาเช้า และเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปรักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราวๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท้องนาน ๑๐ เดือน เท่าที่ทราบควายป่ามีอายุยืน ๒๐-๒๕ ปี ควายป่ามีเขตแพร่กระจายจากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบันมีควายป่าเหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

  22. แมวลายหินอ่อนPardofelis marmorata  ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้ แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว

  23. สมเสร็จTapirus indicus  สมเสร็จชอบอยู่อาศัยตามบริเวณที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธารสมเสร็จมีเขตแพร่กระจายจากพม่าตอนใต้ ไปตามพรมแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ลงไปสุดแหลมมลายูและสุมาตรา ในประเทศไทยจะพบสมเสร็จได้ในป่าดงดิบตามเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี และป่าทั่วภาคใต้

  24. ละองหรือละมั่งCervus eldi  ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา

  25. เก้งหม้อMuntiacus feai  ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา

  26. สมันหรือเนื้อสมันCervus schomburki  สมันจะอาศัยเฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่ารกทึบ เนื่องจากเขามีกิ่งก้านสาขามาก จะเกี่ยวพันพันกับเถาวัลย์ได้ง่าย สมันเป็นสัตว์ชนิดที่มีเขตแพร่กระจายจำกัด อยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศเท่านั้น สมัยก่อนมีชุกชุมมากในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดรอบกรุงเทพฯ เช่น นครนายก ปทุมธานี และปราจีนบุรี และแม้แต่บริเวณพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ เช่น บริเวณพญาไท บางเขน รังสิต ฯลฯ

  27. พะยูนหรือหมูน้ำDugong dugon ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนพะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนัก ทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล

  28. เลียงผา เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตรา ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้ รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก

  29. เว็บไซด์อ้างอิง http://www.ubonzoo.com/wild_animals/wild_worth.htm

  30. สมาชิกในกลุ่ม นางสาวสุณิสา จินดา ชั้นม5/1 เลขที่ 31 นางสาวพัชฎาภรณ์ วรรัตน์ ชั้นม5/1 เลขที่ 16 นางสาวสุภาพร วัชรปาน ชั้นม5/1 เลขที่ 20

More Related