1 / 68

ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS ) : และ การประยุกต์ใช้ เครื่องมือ GPS ชนิดมือถือในการพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศ ด้านที่อยู่อาศัย. ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

jariah
Download Presentation

ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System :GIS):และ การประยุกต์ใช้ เครื่องมือ GPS ชนิดมือถือในการพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศ ด้านที่อยู่อาศัย ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)หมายถึง ซอฟต์แวร์อิเลคโทรนิค ที่มีความสามารถ ทางด้านกราฟฟิก ในการจัดเก็บและบริหารจัดการ ข้อมูลด้านแผนที่พร้อมข้อมูลเชิงบรรยายหรือคำอธิบาย (Attribute Data)หรือข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม(Satellite images)ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs)ภาพถ่ายชนิดอื่นๆ (Raster Image) เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ในลักษณะของข้อมูลที่มีค่าพิกัดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสามารถอ้างอิงหรือระบุตำแหน่งได้บนพื้นโลก ซึ่งเราเรียกข้อมูลแบบนี้ว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

  2. โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์เหล่า นี้สามารถนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) หรือข้อมูลภาพต่างๆของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่สนใจไว้ในรูปแบบของ Digital Fileใน Format แบบต่างๆโดยข้อมูลแต่ละชนิดจะ ถูกจัดเก็บไว้ในลักษณะของข้อมูลเฉพาะเรื่อง ที่เรียกว่าชั้นข้อมูล (Layers)ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกันเพื่อหาแนวทางหรือคำตอบที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่สนใจนั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นสอบถามและแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอพร้อมทั้งนำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาแสดงผลได้ทันที องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Components of GIS )องค์ประกอบหลักของระบบ GISแบ่งออกเป็น 5ส่วนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งในระบบแม่ข่าย ลูกข่ายรวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น โต๊ะดิจิไทส์ (Digitizer) เครื่องกวาดภาพเก็บข้อมูล (Scaner) เครื่องพิมพ์(Printer) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล(Digital Camera) เครื่องมือ หาค่าพิกัดบนพื้นโลก GPS (Global Positioning System) เพื่อใช้ในการนำเข้า จัดเก็บข้อมูล ประมวลผล และ แสดงผล พร้อมทั้งผลิตผลงานในรูปแบบของแผนที่กระดาษ

  3. 2.โปรแกรม(Software) หมายถึง ชุดของคำสั่งของระบบการทำงานทางด้าน GIS เช่น โปรแกรม MapInfo, Arc/Info, Pci, Autocad Map, Cadcropฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับการนำเข้าและปรับแต่งแก้ไขข้อมูล , จัดการระบบฐานข้อมูล , วิเคราะห์ประมวลผลทางคณิตศาสตร์ , สืบค้น ,สอบถาม ,เรียกดู , จำลองภาพการแสดงผลทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งมีความสามารถทางด้านการสรุปและรายงานผลข้อมูล3.บุคลากร(People) หมายถึง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้สำรวจ ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล โปรแกรมเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล และผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GISหากขาดบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถดังกล่าวแล้ว ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการประมวลผลทางด้าน GIS สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

  4. 4.ข้อมูล(Data)หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้มีอยู่ 2 ประเภทได้แก่ • 1.ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) • - ข้อมูลเชิงพื้นที่หรือข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data)สามารถแทนได้ด้วย 2รูปแบบพื้นฐาน • 1.1ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format)ได้แก่ ข้อมูลประเภท จุด ลายเส้น พื้นที่ • 1.2ข้อมูลแบบราสเตอร์ (Rastor format)ได้แก่ ข้อมูลประเภทภาพทั้งหลายในรูปแบบ ต่างๆ เช่น BMP , JPG , TIF , GIF , EMF , WMF , PNGเป็นต้น • 2.ข้อมูลเชิงอธิบาย (Attribute Data)เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะต่างๆ ในพื้นที่นั้นๆและมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อสถานที่, ตำบล ,อำเภอ,จังหวัด ,พื้นที่ ,ลักษณะของพื้นที่ แต่ละพื้นที่ สถิติน้ำฝน เป็นต้น และข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน(Relational Database) โดยซอฟแวร์ที่สนับสนุนข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ Oracle, SQL , Server DB2 , Sybase ฯลฯ

  5. 5.วิธีการหรือกระบวนการทำงาน(Procedures/Methods)หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการทำงานที่นำเอาองค์ประกอบของระบบ GISมาสังเคราะห์ประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือสนใจเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สำหรับนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่สมเหตุผลต่อไป ทั้งนี้องค์กรหรือผู้บริหารจะต้องเป็นผู้คัดเลือกว่าจะใช้ระบบ GIS ให้เหมาะสมกับองค์กรของตนเองได้อย่างไร ข้อมูล กระบวนการ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ บุคลากร ซอฟแวร์ รูปที่ 1องค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS

  6. รูปที่ 2กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  7. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยทั่วไปได้แก่วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยทั่วไปได้แก่ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยทั่วไปได้แก่ 1.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา(Visual Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คุณสมบัติทางแผนที่ของข้อมูลหรือคุณสมบัติของข้อมูลภาพถ่ายในการแปลความ เช่นอาศัยการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ได้แก่ สี (color,shade, tone)เงา (shadow)รูปทรง (form)ขนาดของวัตถุ (size)รูปแบบ (pattern) ลักษณะเฉพาะ (texture)ของวัตถุในพื้นที่นั้นๆ ตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ข้อมูลชนิดนี้ เช่น การหาพื้นที่ป่าไม้หรือพื้นที่เพาะปลูกพืช สับปะรดจากภาพถ่ายดาวเทียม 2.วิธีการซ้อนทับข้อมูล(Overlays)เป็นการนำข้อมูลเฉพาะเรื่องหลายๆชั้นข้อมูล(Layers) มาซ้อนทับเพื่อประมวลผลร่วมกัน เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่เหมือนหรือสิ่งที่แตกต่างกันในพื้นที่ 3.วิธีการกำหนดโซนนิ่งกันขอบเขต(Buffer Zone) เป็นการกำหนดขอบเขตจากพื้นที่ที่เราสนใจเป็นระยะทางออกไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การก่อสร้างถนนการกำหนดเขตทางหลวง(R.O.W.) ในระยะ120 เมตร เพื่อการกำหนดงบประมาณการจัดกรรมสิทธิ์เวนคืนที่ดิน 4.วิธีการสร้างแบบจำลอง(Model Analysis) เป็นการสร้างแบบจำลองตามวิธีการและเงื่อนไขที่เราสนใจ เพื่อคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น แบบจำลองการคาดการณ์ การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเพื่อหาปริมาณน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นและพื้นที่เสี่ยงภัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หรือ แบบจำลองการหาพื้นที่เสี่ยงภัยริมชายฝั่งทะเลกรณีเกิดภัย ซึนามิ

  8. พื้นที่ป่าไม้ พื้นน้ำมีตะกอน รูปที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา

  9. รูปที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะการซ้อนทับข้อมูล

  10. อาคารสิ่งก่อสร้างที่ถูกแนวเวนคืนที่ดินอาคารสิ่งก่อสร้างที่ถูกแนวเวนคืนที่ดิน รูปที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะการBUFFER

  11. การนำเข้าข้อมูล GIS การนำเข้าข้อมูล GIS - ข้อมูล เชิงบรรยาย หรือข้อมูลเชิงอธิบาย (Attribute Data) โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปของคำบรรยาย (Text) หรือ ตารางข้อมูลบนกระดาษ เช่น รายงานทางการเงิน บทความต่างๆ ซึ่งมีวิธีการนำเข้าข้อมูลหลักๆอยู่ 2 วิธี ได้แก่ 1.การนำเข้าข้อมูลโดยการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์(Keyboard)คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ได้จะถูกจำแนก จัดหมวดหมู่ และเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) ที่ได้ออกแบบไว้แล้ว โดยส่วนมากข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของ dBASE Foxpro Access Excelหรือ หากเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากอาจจัดเก็บ ในแบบ ลักษณะที่เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน(Relational Database) หมายถึงการจัดเก็บข้อมูล ใน 1ข้อมูล สามารถที่จะมี ตาราง(Table) ตั้งแต่ 1 ตาราง เป็นต้นไป และในแต่ละ ตาราง ก็สามารถมีได้หลาย Columnหลาย Rowซึ่ง ซอฟแวร์ที่มีความสามารถทางด้านนี้ได้แก่ Oracle, DB2 , Progress, Sybase, Informix, Ingres, SQL server, MySQL

  12. 2.การนำเข้าข้อมูลโดยการใช้เครื่องกวาดภาพ(Scanner)2.การนำเข้าข้อมูลโดยการใช้เครื่องกวาดภาพ(Scanner) วิธีนี้ เครื่อง Scanจะใช้หลักการวัดความเข้มของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ (กระดาษ ฟิล์ม พลาสติก) โดยจะเก็บรายละเอียดของข้อมูลที่เป็นตัวอักษรบนกระดาษไว้ในรูปแบบของ ไฟล์ภาพ (Raster) หลังจากนั้นซอฟแวร์จะใช้คำสั่งแปลงไฟล์ภาพ (Raster) ให้เป็นตัวอักษร(Text) และจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Digital Fileแต่วิธีการนี้ยังมีข้อผิดพลาดอยู่มาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดของซอฟแวร์ จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน - ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) มีวิธีการนำเข้าได้หลายวิธี แต่ในปัจจุบันมีวิธีการนำเข้าที่นิยมใช้กันอยู่ 4 วิธี 1.การลอกลายโดยการ ดิจิไทส์(Digitize) เป็นการนำเข้าข้อมูลโดยโต๊ะดิจิไทส์ โดยการนำแผนที่กระดาษมาตรึงบนโต๊ะดิจิไทส์ และกำหนดจุดควบคุมหรือจุดอ้างอิง(Control Point) อย่างน้อย 4 จุด แล้วนำอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีลักษณะเป็น กากบาท ( Crosshair) คลิ๊กเก็บรายละเอียดข้อมูลโดยการลากไปตามเส้นบนแผนที่ การนำเข้าข้อมูลด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และเหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก

  13. 2.การลอกลายโดยการกวาดภาพเก็บข้อมูล( Scan ) เป็นการคัดลอกรายละเอียดข้อมูลจากสื่อบันทึกต่างๆ เช่น กระดาษ ฟิล์ม พลาสติก โดยเครื่อง Scannerจะใช้หลักการวัดความเข้มของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ (กระดาษ ฟิล์ม พลาสติก) และจะเก็บรายละเอียดของข้อมูลไว้ในรูปแบบของ ไฟล์ภาพ (Raster) ซึ่งลักษณะของไฟล์ภาพที่จัดเก็บจะเป็นในรูปแบบของตารางกริด ที่เรียกว่า ปิ๊กเซล (Pixel) โดยมีค่าความคมชัดหรือค่าความละเอียดของข้อมูลมีหน่วยวัดเป็น DPI (dot per inch) ยิ่งมีค่า DPI มาก ความละเอียดของข้อมูลยิ่งสูง หลังจากนี้ต้องทำการแปลงไฟล์ภาพ (Raster) ให้เป็นข้อมูลลายเส้น (Raster toVecter) การนำเข้าข้อมูลด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากกว่าวิธีการลอกลายโดยการ ดิจิไทส์ (Digitize) เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก

  14. 3.การนำเข้าข้อมูลโดยเครื่องมือ หาพิกัดบนพื้นโลกGPS(Global Positioning System) เป็นระบบโครงข่ายดาวเทียม จำนวน 24 ดวงที่โคจรรอบโลก โดยดาวเทียมจะปล่อยสัญญาณมาที่เครื่องรับ(GPS Receiver) และระบบจะคำนวณตำแหน่งของเครื่องรับโดยวิธีการรังวัดแบบสมบูรณ์ (AbsolutePositioning) หรือการรังวัดแบบสัมพัทธ์ (Relative/Differential Positioning)ทำให้สามารถรู้ตำแหน่งที่ถูกต้องและแม่นยำได้ การเก็บข้อมูลด้วยวิธีนี้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมาก สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งประเภท จุด (Point) เส้น (Line) และขอบเขต (Polygon) (โดยการเก็บจุดอย่างน้อย 3 จุด แล้วใช้ซอฟแวร์แปลงให้เป็นขอบเขตพื้นที่หรือเส้นรอบรูปปิด) ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

  15. 4.การนำเข้าข้อมูลโดยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล (Digital Camera) ตลอดระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา นวัตกรรมใหม่นี้ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จาก กล้องถ่ายภาพชนิดใช้ฟิล์มเป็นสื่อบันทึก มาเป็นกล้องถ่ายภาพที่ใช้แผ่นบันทึก ข้อมูลเป็นตัวเก็บภาพ โดยอาจจะเป็นแผ่นดิสก์ หรือแผ่นการ์ดแทน การบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลจะบันทึกลงแผ่นบันทึกข้อมูลขนาดเล็ก ที่เราสามารถจะนำแผ่นการ์ดดังกล่าวต่อเข้ากับเครื่องอ่านหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ทันที พร้อมทั้งสามารถตกแต่งและแก้ไขภาพได้ ในปัจจุบันกล้องชนิดนี้ยังผนวกเทคโนโลยีการหาค่าพิกัดหรือตำแหน่งของวัตถุ หรือค่าพิกัดตำแหน่งของพื้นที่ใดๆบนพื้นโลก ที่เรียกว่า GPS (GlobalPositioning System) ไว้กับตัวกล้องอีกด้วย ทำให้เราสามารถทราบค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ของสิ่งที่ถ่ายภาพทุกๆครั้ง ข้อมูลภาพที่ได้จากการนำเข้าชนิดนี้มักจะใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงหรือเชื่อมโยง(Link) กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

  16. เครื่อง Scanner โต๊ะดิจิไทซ์(Digitizer) เครื่อง GPS กล้องถ่ายภาพดิจิทัล(Digital Camera) รูปที่ 6 แสดงเครื่องมือในการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่

  17. GIS กับการประยุกต์ใช้งาน GIS กับการประยุกต์ใช้งาน ก่อนปีค.ศ.1960 งานสารสนเทศภูมิศาสตร์จะอยู่ในรูปของกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม เช่น แผนที่แสดงภูมิประเทศ แผนที่แสดงชุดดิน การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำด้วยมือ โดยการคัดลอกข้อมูลที่สนใจแต่ละประเภทลงบนแผ่นฟิล์มบางๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาซ้อนทับกัน (Overlay) เพื่อหาผลลัพธ์ แต่หลังจากปีค.ศ.1960 เป็นต้นมา GISตามคำนิยามสมัยใหม่ (Tydac,1987) ได้เริ่มมีการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน GISได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปอย่างมาก จากการที่มีเครื่อง PC Computerและโปรแกรมทางด้าน ระบบ GIS ซึ่งได้รับการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การพัฒนาระบบ GIS เพื่อการจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์ สืบค้น แก้ไข เรียกดู และแสดงผล ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์มีความง่ายต่อการใช้งานและการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ

  18. ระบบ GIS ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานด้านสาขาต่างๆอย่างกว้างขวางพอสรุปได้ดังนี้ ระบบ GIS ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานด้านสาขาต่างๆอย่างกว้างขวางพอสรุปได้ดังนี้ 1.การอนุรักษ์ และจัดการสิ่งแวดล้อม(Environmental Management, Conservation)การจัดการทางพืชและสัตว์ในดิน (Flora and Fauna)สัตว์ป่า (Wild Life)อุทยานแห่งชาติ (National Park)การควบคุมและติดตามมลภาวะ (Pollution Control and Monitoring)และแบบจำลองด้านนิเวศวิทยา (Ecological Modeling) 2.การจัดการด้านทรัพยากร/การเกษตร(Resources Management / Agriculture)การจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และการทำไม้ ฯ3.การวางแผนด้านสาธารณะภัย(Disaster Planning)การบรรเทาสาธารณะภัย การติดตามการปนเปื้อนของสารพิษ และแบบจำลองผลกระทบอุทกภัย (Modeling Flood Impacts) 4.ด้านผังเมือง(Urban GIS)การวางแผนผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม การวางแผนการใช้ที่ดิน สารสนเทศป้ายและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย

  19. 5.การจัดการสาธารณูปโภค(Facilities Management)การจัดการด้านไฟฟ้า ประปา ท่อส่งก๊าซ หน่วยดับเพลิง ระบบจราจรและโทรคมนาคม6.การวิเคราะห์ด้านตลาด(Marketing Analysis)การหาทำเลที่เหมาะสมในการขยายสาขา ทางธุรกิจ 7.ด้านการสาธารณสุข(Public Health Planning) การติดตามการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนก การหาพื้นที่ที่มีความสามารถระบายน้ำต่ำ เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโรคฉี่หนู 8.ด้านโบราณคดี(Archeology) การค้นหาแหล่งโบราณคดี การบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโบราณคดี 9.ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย(Housing Development) งานสารสนเทศที่อยู่อาศัยเพื่อการบริหารจัดการทรัพย์สิน งานสารสนเทศเพื่อการบริหารชุมชน งานสารสนเทศเพื่อการบริหารคดีความที่อยู่อาศัย 10.ด้านความมั่นคง(National Security) การติดตามการแพร่กระจายของยาเสพติด การหาความสัมพันธ์ของพื้นที่กับการปลูกพืชเสพติด การวิเคราะห์เส้นทางลำเลียงของยาเสพติดตามแนวชายแดน

  20. ประวัติและความเป็นมาของระบบ GPS ประวัติและความเป็นมาของระบบ GPS ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นการใช้งาน GPS นับเป็นวิธีการหนึ่งในการได้มาซึ่งข้อมูลในระบบGIS แต่เดิม ก่อนที่จะมีระบบหาพิกัดบนพื้นโลก ที่เรียกว่า ระบบ GPS (Global Positioning System)นั้น โลกเราได้มีระบบการรังวัดด้วยดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่งอยู่แล้ว เรียกว่าระบบ ทรานสิต (Transit) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ระบบ ดอปเปลอร์ (Doppler) ระบบนี้ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาจากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ ค.ศ.1968 เป็นต้นมาเป็นวิธีการที่มีความละเอียดถูกต้องสูง ความถูกต้องของตำแหน่งมีความคลาดเคลื่อนประมาณ 0.50 - 2.00 เมตร เท่านั้นระบบนี้สามารถปฏิบัติการได้ทุกสภาพกาลอากาศและยังสามารถรังวัดได้แบบอิสระโดยไม่ต้องโยงยึดค่าจากจุดที่ทราบค่าแล้ว หลักการทำงานของระบบจะใช้ดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกส่งคลื่นสัญญาณมายังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นโลก อย่างไรก็ตามระบบนี้ได้สิ้นสุดโครงการไปเมื่อปี ค.ศ.1995

  21. หลังจากระบบ ทรานสิต (Transit) ได้ปิดโครงการไปแล้วกองทัพสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและพัฒนาระบบดาวเทียมหาค่าพิกัดขึ้นมาใหม่ โดยใช้ระบบที่เรียกว่า GPS (Global Positioning System)และให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน US. Department of Defense(DOD) ระบบ GPSนี้มี หลักการรังวัดเพื่อหาพิกัดตำแหน่งโดยจะใช้วิธีการวัดระยะทางจากจุดที่ต้องการทราบค่าไปยังดาวเทียมโดยมีสถานีภาคพื้นดินคอยติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเทียมตลอดเวลา ทำให้รู้ข้อมูลตำแหน่งของดาวเทียมหรือวงโคจร ณ ขณะเวลาต่างๆกัน ข้อมูลดังกล่าวนี้จะถูกบันทึกไว้ในตัวดาวเทียมและจะส่งข้อมูลที่บันทึกไว้กลับมายังเครื่องรับสัญญาณ GPSในรูปของคลื่นวิทยุ หากต้องการทราบค่าตำแหน่ง ของจุดหนึ่งจุดใดบนพื้นโลกก็นำเครื่องรับสัญญาณ GPS ไปวางไว้ที่จุดนั้น เครื่องก็จะคำนวณหาตำแหน่งของจุดนั้นให้โดยอัตโนมัติ

  22. ในช่วงแรกของระบบนี้มีวัตถุประสงค์ใช้ในกิจการด้านการทหารและความมั่นคงเท่านั้น ต่อมารัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติเปิดให้ใช้เสรีทางด้านธุรกิจทำให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากระบบ GPSนี้โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด ทำให้มีผู้ใช้ GPSแพร่หลายไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ความถูกต้องทางตำแหน่งของระบบนี้มีตั้งแต่ระดับมิลลิเมตรจนถึงหนึ่งร้อยเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ค่าความคลาดเคลื่อนSelective Availability (SA)ซึ่งเป็นนโยบายเลือกปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่มีสิทธิ์ปรับให้ระบบ GPSนี้มีค่าความคลาดเคลื่อนได้ถึง 30-100 เมตร ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ระบบมีความปลอดภัย และไม่ต้องการให้ข้าศึกฝ่ายตรงข้ามนำเอาระบบนำวิถีนี้มาใช้ประโยชน์ในยามเกิดสงคราม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการรังวัดอีกด้วย เช่นวิธีการรังวัดแบบ (Relative/DifferentialPhase Positioning) เป็นวิธีที่ใช้การวัดระยะความต่างของช่วงคลื่นมาคำนวณร่วมด้วยทำให้ได้ค่าทางตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูงมากถึงระดับ 0.5-20 มิลลิเมตร แต่โดยทั่วไปแล้วในทางทหารความสามารถในการนำทางจะอยู่ที่ประมาณ 10 เมตร สำหรับพลเรือนโดยทั่วไปความคลาดเคลื่อนจะอยู่ที่ประมาณ 30-100 เมตร แต่ในปัจจุบันทราบว่าสหรัฐอเมริกาได้ถอด สัญญาณค่าความคลาดเคลื่อน SAออกทำให้เครื่อง GPSโดยทั่วไปขณะนี้สามารถระบุตำแหน่งได้ถูกต้องโดยมีค่าคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±5-15 เมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ใช้ GPSโดยทั่วไป

  23. รูปที่ 7แสดงตำแน่งและการโคจรของดาวเทียม GPS รอบโลก

  24. รูปที่ 8แสดงการนำร่องของเครื่อง GPS กับยานพาหนะชนิดต่างๆ

  25. เครื่องมือ รับสัญญาณดาวเทียมGPS เครื่องมือ รับสัญญาณดาวเทียมGPS จากที่กล่าวแล้วข้างต้นเครื่องมือ GPSเป็นอุปกรณ์ไฮเทคชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของนัก GIS นักผจญภัยและนักสำรวจทั้งหลาย ที่นำไปใช้ในการนำร่อง รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งประเภท Point LineและPolygon โดยปกติแล้ว เครื่อง GPSจะเก็บข้อมูลทางตำแหน่งได้ก็ต่อเมื่อสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้อย่างน้อย 3 ดวง ซึ่งหมายถึงจะทราบค่าทางตำแหน่งที่อยู่ในแบบ 2 มิติ คือเฉพาะค่าในแนวราบ (ค่า x,y) แต่ถ้าหากเครื่อง GPSรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ 4 ดวงขึ้นไป จะทำให้ทราบค่าทางตำแหน่งที่อยู่ในแบบ 3 มิติ นั่นคือตำแหน่งและความสูง (ค่า x,y,z) ในปัจจุบันนี้เครื่อง GPSชนิดมือถือ ( Handheld) ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดเท่ากับโทรศัพท์มือถือ มีความสามารถและความคล่องตัวในการใช้งานสูงจึงทำให้เครื่อง GPSเป็นที่นิยมรู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก

  26. รูปที่ 9 ตัวอย่าง เครื่องรับ GPSชนิดมือถือรุ่นต่างๆ

  27. ส่วนประกอบของระบบ GPS ส่วนประกอบของระบบGPS ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนอวกาศ (Space Secment )ประกอบด้วยดาวเทียมทั้งหมด 24 ดวง ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร ซึ่งโครงข่ายดาวเทียมเหล่านี้เรียกว่า Navigation Satellite Timing and Ranging(NAVSTAR) (ปัจจุบันดาวเทียม GPSมีอยู่ทั้งหมด 29ดวง แต่อีก 5ดวงเป็นดาวเทียมสำรอง เพื่อเตรียมใช้ทดแทนดาวเทียมที่กำลังจะหมดอายุ) ดาวเทียมทั้ง 24 ดวงนี้จะมีวงโคจรอยู่ 6 วงโคจรด้วยกัน โดยแบ่งจำนวนดาวเทียมวงโคจรละ 4 ดวง วงโคจรทั้ง 6 จะเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตร (Equator)เป็นมุม 55 องศา ดาวเทียมแต่ละดวง จะเคลื่อนที่ผ่านรอบโลก 2รอบในแต่ละวัน ในดาวเทียมแต่ละดวง จะมีส่วนประกอบหลัก คล้ายคลึงกับ ดาวเทียมสื่อสาร โดยทั่วไป คือ

  28. ภาครับสัญญาณ ภาคส่งสัญญาณ ภาคควบคุม และระบบสายอากาศวิทยุ ส่วนพิเศษ ที่มีเฉพาะในดาวเทียม GPSคือ ภาคกำเนิดสัญญาณเวลาความแม่นยำสูง เป็น นาฬิกาอะตอมมิคแบบซีเซียม (Very High Precision Cesium Atomic Clock)มีความเที่ยงตรงถึงหนึ่งในพันล้าน ของวินาที หรือ นาโนเสคกัน(nanosecond) ซึ่งได้รับการออกแบบ และผลิต โดยบริษัท Datum Incorporation USA. ภาคกำเนิดสัญญาณเวลาความแม่นยำสูง เป็นหัวใจสำคัญ ที่เป็นตัวกำหนด ความแม่นยำ ถูกต้อง ในการคำนวณตำแหน่งพิกัด ของ เครื่องรับสัญญาณGPSที่รับสัญญาณบนโลก หากภาคกำเนิดสัญญาณเวลา บนดาวเทียมดวงใด เสื่อมสภาพ หรือไม่มีความแม่นยำเพียงพอ ดาวเทียมดวงนั้น จะถูกปลดออกจากภารกิจ 2. ส่วนสถานีควบคุม ( Contral Secment )ประกอบด้วย 5 สถานีย่อย ทำหน้าที่คอยติดต่อสื่อสาร (Tracking)กับดาวเทียม ทำการคำนวณผล (Computation)เพื่อบอกตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง และส่งข้อมูลที่ได้ไปยังดาวเทียมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ 3.ส่วนผู้ใช้( User Secment )ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ใช้งานด้านพลเรือน (Civilian)และส่วนที่ใช้งานทางการทหาร (Military)ในส่วนของผู้ใช้จะมีหน้าที่พัฒนาเครื่องรับสัญญาณ (Receiver)ให้ทันสมัยและสะดวกแก่การใช้งาน สามารถที่จะใช้ได้ทุกแห่งในโลก และให้ค่าที่มีความถูกต้องสูง

  29. รูปที่ 10 ส่วนอวกาศ (SPACE SECMENT )ประกอบด้วยดาวเทียมทั้งหมด 24 ดวง โคจรอยู่รอบโลก

  30. รูปที่ 11 ส่วนสถานีควบคุม(CONTROL SECMENT) ทั้ง 5 แห่งบนพื้นโลก

  31. รูปที่ 12 ส่วนผู้ใช้ (USER SECMENT )

  32. การประยุกต์ใช้ เครื่องมือ GPS ชนิดมือถือในการพัฒนาข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย การประยุกต์ใช้ เครื่องมือ GPSชนิดมือถือในการพัฒนาข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัยได้นำเครื่องมือ GPSชนิดมือถือ ( Handheld ) มาประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 แล้ว โดยเครื่องที่ใช้ เป็นเครื่อง GPSยี่ห้อGarmin จำนวน 3 รุ่นได้แก่ 1.รุ่น eTrex VENTURE 2.รุ่น eMap 3.รุ่น GPSMAP 76c/76cs ซึ่งทั้งสามรุ่นมีฟั่งชั่นการใช้งานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ใช้งานง่ายเพียงเปิดเครื่องแล้วกดปุ่มเก็บข้อมูลตามที่ต้องการ เครื่องจะทำการจัดเก็บข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปตั้งค่าต่างๆอะไรเนื่องจากบริษัทผู้ขายจะทำการตั้งค่าที่ถูกต้องที่จำเป็นสำหรับใช้ในประเทศไทยให้เป็นค่ามาตรฐานของเครื่องอยู่แล้ว (ค่า defalt) เช่น ประเทศไทยในปัจจุบันได้ใช้แผนที่ชุดใหม่ของประเทศตามกรมแผนที่ทหารเป็นชุด L7018พื้นหลักฐานอ้างอิง(MapDatum) ใช้ WGS84 (World Geodatic System 1984)โซน 47Nและโซน 48Nดังนั้นค่าดังกล่าวนี้บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องรับ GPS ในประเทศไทยจะตั้งค่าหลักฐานอ้างอิงให้ตรงกับค่าของกรมแผนที่ทหารเพื่อความสะดวกและความถูกต้องของผู้ใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้ก็ควรตรวจสอบค่าต่างๆให้ถูกต้องทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

  33. รูปที่ 13 ตัวอย่าง เครื่องรับ GPS รุ่น eTrex VENTURE รูปที่ 14 ตัวอย่าง เครื่องรับ GPS รุ่น eMap รูปที่ 15 ตัวอย่าง เครื่องรับ GPS รุ่น GPSMAP 76cs

  34. ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เครื่องรับ GPS GARMINรุ่น 76csอยู่ในตระกูล 76ซึ่งมีอยู่ 5รุ่นคือ 1.GPS 76 2.GPSMAP 76 3.GPSMAP 76s 4.GPSMAP 76c 5.GPSMAP 76cs ในชื่อรุ่นของ GARMINหากตามด้วย s หมายถึงรุ่นที่เพิ่มเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์กับตัววัดระดับความสูงจากน้ำทะเล และ c หมายถึงจอภาพเป็นสี รุ่น76cและ 76csทั้งสองตัวนี้เป็น เครื่องนำร่อง แบบ Navigatorเช่นกัน มีความสามารถไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถเก็บข้อมูลแผนที่ประเทศไทย ได้ทั้งหมด มีหน่วยความจำภายใน 115 MBสามารถเก็บ Waypointได้ 1,000จุด รุ่น 76c/76cs มีน้ำหนักเบา กันน้ำได้ลึก 1 เมตร ที่เวลา 30 นาที เป็นเครื่องรับรุ่นล่าสุดที่ ฝ่ายวิชาการฯมีอยู่ คุณสมบัติของเครื่องรับ จัดอยู่ในประเภท Continuous Receiversซึ่งสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ตั้งแต่4 ดวงขึ้นไปพร้อมกันถึง 12ช่อง ซึ่งช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น

  35. คุณสมบัติทั่วไปของเครื่องรับ GPSMAP 76cs สามารถบอกตำแหน่งได้ดีขึ้น หากปฏิบัติการในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งและรับสัญญาณดาวเทียมได้มากแล้ว ความถูกต้องแม่นยำจะอยู่ที่ระยะ 5-15เมตร นอกจากนี้เครื่องรับยังมีความสามารถที่จะคำนวณค่าพิกัดใหม่ได้ทุกๆ 1 วินาที เมื่อเคลื่อนที่ไป รวมทั้งสามารถคำนวณหาความเร็ว และทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงใช้เป็นเครื่องนำร่อง (Navigator )ในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ คุณสมบัติทั่วไปของเครื่องรับ GPSMAP 76cs 1. มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้ มีเสาอากาศภายในตัวเครื่อง ใช้แบตเตอรี่ AA 2 ก้อน ใช้งานต่อเนื่องได้นาน อย่างน้อย 20 ชั่วโมง 2. มีช่อง รับสัญญาณดาวเทียมแบบ Parallel 12 ช่อง 3. จอแสดงผลแบบ LCD ความละเอียดหน้าจอ 160×240 Pixelsหน้าจอสี 256 colorTFT 4. สามารถคำนวณทิศทางและระยะทางระหว่าง 2 ตำแหน่ง

  36. 5. แสดงตำแหน่งระบบพิกัดภูมิศาสตร์ Latitude/Longitude ,UTMและระบบพิกัดกริดทหาร บนหลักฐานแผนที่ WGS 84 และ Indian Thailandที่ใช้สำหรับประเทศไทย และผู้ใช้สามารถกำหนดค่าตัวแปรเองได้ 6. บันทึกพิกัดแบบ Waypointได้ 1000 จุด โดยใช้สัญลักษณ์แทนจุดพิกัดได้มากกว่า 70 แบบ 7. บันทึกเส้นทาง(Route) ได้ 50 เส้นทาง มีจำนวนจุดสำหรับต่อเป็นเส้นทางไม่น้อยกว่า 250 จุด 8. บันทึกข้อมูลค่าพิกัดแบบ Track Logได้ 20 Track Log และสร้างเส้นทางกลับ (Track Back) จากข้อมูล Track Logได้โดยอัตโนมัติ 9. สามารถวัดความกดอากาศได้ ด้วยเครื่องวัดความกดอากาศ (Barometric Altimeter) สามารถแสดงค่าความสูง-ต่ำ จากระดับน้ำทะเลได้ ตั้งแต่ 2,000 ถึง 30,000 ฟุต 10. มีเข็มทิศ อิเล็คโทรนิค ภายในตัวเครื่อง ระดับความละเอียดอยู่ที่ ±5 องศา 11. หน่วยความจำภายใน 115 MB สามารถแสดงรายละเอียดของแผนที่ ประกอบด้วย ถนน แม่น้ำ ตำแหน่งสถานที่สำคัญ 12. ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งไม่เกิน ± 15 เมตร หากท้องฟ้าปลอดโปร่ง และไม่มีคลื่นสัญญาณใดๆรบกวน (ไม่มีสัญญาณ SA เพื่อเพิ่มความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่ง)

  37. วิธีการใช้งาน GPS GARMIN 76CS 13. สามารถตั้งการเตือนได้ด้วยเสียงได้ (Alam) เมื่อเดินทางใกล้ถึงจุดที่กำหนด 14. มีระบบสำรองข้อมูลภายในเครื่อง สำหรับป้องกันข้อมูลสูญหายตลอดอายุการใช้งาน 15. ถ่ายโอนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง USB Portหรือ Serial Portและมีช่องต่อสายอากาศภายนอกได้ วิธีการใช้งาน GPS GARMIN 76CS 1.กดปุ่มเปิดเครื่อง โดยกดปุ่ม Powerที่ตัวเครื่องหลังจากนั้นประมาณ 2-3 วินาที เครื่องจะทำการทดสอบตัวเอง และจะปรากฏหน้าจอแสดงสถานภาพรับสัญญาณดาวเทียมดัง รูปที่ 17-19 จากนั้นเมื่อเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมได้อย่างน้อย 4 ดวง แสดงว่าเครื่องพร้อมที่จะทำงานแล้ว

  38. ปุ่มย่อ/ขยายแผนที่ ปุ่มเปลี่ยนหน้า จอแสดงผลหลัก ไปยังหน้าจออื่นๆ / กดค้างเป็นการปิด/เปิด เข็มทิศ ปุ่มหาข้อมูล Waypoint ปุ่มแสดงรายการตัวเลือกของแต่ละหน้าจอ ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง และปรับความสว่างของหน้าจอ ปุ่มยืนยันตัวเลือกของแต่ละรายการ และการนำเข้าข้อมูล ใช้สำหรับการเก็บค่าพิกัดแบบ Waypoint ปุ่มยกเลิกคำสั่งต่างๆและออกจากหน้าเมนู หน้าจอแสดงผล ปุ่มสำหรับเลื่อนตัวชี้(pointer)ใช้สำหรับเลือกหัวข้อรายการต่างๆ รูปที่ 16 แสดงฟังชั่นการใช้งานของปุ่มต่างๆ

  39. รูปที่ 17 แสดงหน้าจอเมื่อเริ่มเปิดเครื่อง

  40. สถานะ กำลังหาตำแหน่งดาวเทียม สถานะ เปิดไฟ backlight สถานะการตั้งสัญญาณเตือน สถานะใช้ไฟจากแบตเตอรี่ AA สถานะใช้ไฟฟ้า กำลังต่อสาย usb รับข้อมูลแบบ 3 มิติ (ดาวเทียม 4 ดวงขึ้นไป) แสดงเข็มทิศ รับข้อมูลแบบ 2 มิติ (ดาวเทียม 3 ดวง) รูปที่ 18 แสดงสัญลักษณ์ต่างๆบนหน้าจอแสดงผล

  41. แผนที่ดาวเทียมแสดงตำแหน่งของดาวเทียมแผนที่ดาวเทียมแสดงตำแหน่งของดาวเทียม ค่าพิกัดปัจจุบันของเครื่องรับ วงกลมใหญ่เป็นระดับประมาณเส้นขอบฟ้าแทนมุมยกที่ 0 องศา วงกลมเล็กแทนท้องฟ้าเหนือศรีษะในระดับมุมเงย 45 องศารอบตัวเรา จุดกึ่งกลางแทนมุมเงยเหนือศรีษะที่ 90 องศา กร๊าฟแท่งทึบแสดงความแรงของสัญญาณดาวเทียม กร๊าฟแท่งโปร่งแสดงว่ากำลังรับ สัญญาณดาวเทียม รูปที่ 19 แสดงสถานภาพการรับสัญญาณดาวเทียม

  42. รายละเอียดบนแผนที่ ตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ และทิศทางการเคลื่อนที่ มาตราส่วน 2.การตรวจสอบสถานที่ตั้ง:จากขั้นตอนแรก ให้ผู้ใช้กดปุ่ม pageไปที่หน้า mapหน้าจอแสดงผลจะปรากฏเป็นภาพแผนที่ ณ สถานที่ที่ผู้ใช้ยืนอยู่ในขณะนั้น และก่อนที่ผู้ใช้ดำเนินการอย่างใดต่อไป ควรจะตรวจสอบความถูกต้องของสถานที่ปัจจุบันกับแผนที่ที่ปรากฏบนหน้าจอแสดงผลก่อน ว่าเป็นสถานที่แห่งเดียวกันหรือไม่ เพราะหากเครื่องรับ GPS รับสัญญาณได้ไม่เพียงพอเครื่องอาจจะจำค่าพิกัดสุดท้ายที่เราทำงานผ่านมาแล้ว (กรณีปิดเครื่องและเดินทางข้ามจังหวัด)โดยที่ผู้ใช้ไม่ทันสังเกต แล้วนำเครื่องไปเก็บค่าพิกัดใหม่ อาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนกับตำแหน่งได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องระมัดระวังในกรณีนี้ด้วย รูปที่ 20 แสดงหน้าจอแผนที่

  43. 3.การเก็บข้อมูลแบบจุด(waypoint) เมื่อตรวจสอบความพร้อมของเครื่องรับ GPSเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถเริ่มบันทึกค่าพิกัด ณ ตำแหน่งที่ต้องการได้เลย โดยการกดปุ่ม ENTERค้างไว้ประมาณ 1 –2 วินาที หน้าจอจะแสดงผลให้ทราบว่ากำลังจะบันทึกค่าพิกัดลำดับที่เท่าไหร่ เสร็จแล้วกด ENTER เพื่อตกลงบันทึกค่านั้น ผลที่ได้จะปรากฏเป็นจุดของสถานที่นั้นๆบนแผนที่ ในกรณีที่มีการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ควรจะทำตารางเพื่อจดบันทึกรายละเอียดของข้อมูลแต่ละจุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยทำข้อมูล GISให้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วย การออกแบบตารางก็ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลนั้นๆด้วยว่าจะนำไปใช้อย่างไร และจะจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

  44. รูปที่ 21 แสดงตารางการจดบันทึกข้อมูลที่เก็บค่าพิกัด

  45. รูปที่ 22 แสดงหน้าจอบันทึก Waypoint ที่เก็บค่าพิกัด

  46. 4. การใช้เครื่องรับ GPSเพื่อการนำทาง( Navigation) หากผู้ใช้ต้องการให้เครื่องรับGPS นำทางไปยังตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดที่ต้องการ ผู้ใช้สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่รู้ค่าพิกัด ของตำแหน่งนั้น แล้วทำการบันทึกค่าพิกัดเก็บไว้ในเครื่อง ซึ่งวิธีการบันทึกสามารถทำได้ง่ายๆดังนี้ - กดปุ่ม Enterค้างไว้ เพื่อเข้าสู่หน้าจอแสดงผล MarkWaypointแล้วทำการตั้งชื่อ เลือกสัญลักษณ์ ใส่ค่าพิกัดที่ทราบตำแหน่งแล้ว เช่น เรายืนอยู่ที่ Waypointหนึ่งที่ การเคหะแห่งชาติ และต้องการทราบว่าเส้นทางที่จะไปยังสถานีรถไฟคลองหลวงแพ่ง ไปได้อย่างไรในเส้นทางที่สั้นที่สุด ซึ่งเราได้ทำการหาค่าพิกัดของสถานีรถไฟจากแผนที่แล้วทราบว่า สถานีรถไฟคลองหลวงแพ่งมีพิกัดอยู่ที่ 47Pพิกัด Xที่ 696769 และ พิกัด Y ที่ 1521102 จากนั้นทำการ Mark Waypoint ตามขั้นตอนที่ 3 ในช่อง Locationให้ใส่ ค่าพิกัดของสถานีรถไฟ ลงไป แล้วเลื่อนแถบสีเหลืองของหน้าจอมาที่ okแล้วกดปุ่ม Enterเพื่อทำการบันทึกค่าไว้

  47. - เมื่อผู้ใช้มีค่าพิกัดของตำแหน่งที่ต้องการบันทึกไว้แล้ว ที่หน้าจอแสดงผล ให้กดปุ่มFindเข้าไปที่ Waypoint กดปุ่ม Enter เพื่อไปเลือกWaypointของสถานีรถไฟที่เราบันทึกไว้ก่อนหน้านี้ กดปุ่ม Enter ทีหน้าจอแสดงผลเลื่อนแถบสีเหลืองของหน้าจอมาที่ ok แล้วกดปุ่มEnter อีกครั้ง ก็จะเห็นหน้าจอแผนที่ทำการลากเส้นทางระหว่าง การเคหะแห่งชาติ กับ สถานีรถไฟคลองหลวงแพ่ง ไปทางทิศตะวันออก มีระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร กดปุ่ม Pageเพื่อไปดูที่หน้า เข็มทิศ จะเห็นว่าลูกศรของเข็มทิศชี้ไปทางทิศตะวันออก ทำให้เราทราบว่าจะต้องเดินทางไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร จึงจะพบสถานีรถไฟคลองหลวงแพ่ง

  48. 5.การใช้เครื่องรับ GPS เพื่อการนำทางแบบTrackbackตามที่ได้กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า เครื่องรับGPSมีความสามารถที่จะคำนวณค่าพิกัด ณ ตำแหน่งปัจจุบันใหม่ได้ทุกๆ 1 วินาที สิ่งที่เครื่องคำนวณได้นี้จะถูกบันทึกลงในหน่วยความจำของเครื่องในรูปแบบที่เรียกว่า Tracklog โดยอัตโนมัติ ข้อมูลดังกล่าวนี้จะประกอบไปด้วยค่าพิกัด X,Y , Zซึ่งจะเรียงต่อกันตามเวลาที่ทำการบันทึกของแต่ละจุด (Waypoints) ตามเส้นทางการเคลื่อนที่ ที่เราเดินทางไป และเราสามารถนำ Tracklog เหล่านี้มาคำนวณเป็นเส้นทางย้อนกลับ (Trackback) เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินทางกลับป้องกันการหลงทาง ซึ่งเป็นประโยชน์มากในภารกิจการสำรวจพื้นที่ ที่เป็น ป่า เขา วิธีการนำทางแบบ Trackbackทำได้ดังนี้ - กดปุ่ม Pageไปที่หน้าจอ Tracks กดปุ่มEnterในหน้าจอ Saved Tracksให้เลือกช่วงวันเวลาที่จะให้เครื่องทำ Trackback กดปุ่ม Enter เลือก Trackback แล้วกดปุ่ม Enter อีกครั้ง เครื่องจะบอกให้เราเลือกจุด (Waypoints) ที่เราต้องการจะทำการ Trackback ไปถึง แล้วกดปุ่ม Enterอีกครั้งหนึ่ง ที่หน้าจอแสดงผลจะปรากฏข้อความบอกให้เราเดินทางไปทางไหน ทิศใด เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา อยู่ในเส้นทางหรือไม่ ดังรูปที่ 23

  49. รูปที่ 23 แสดงหน้าจอการทำงานแบบ Trackback

  50. 6.การใช้เครื่องรับ GPS เพื่อการนำทางแบบใช้เข็มทิศ(Electronic Compass) เป็นเครื่องนำทาง วิธีการใช้คล้ายกับเข็มทิศทั่วไป โดยการยกเครื่องรับขึ้นในระดับสายตา ใช้เส้นกึ่งกลางเครื่องเล็งไปที่ เป้าหมาย ที่หน้าจอเข็มทิศ กดปุ่ม Menuเลือก Sight 'N Goแล้วกดปุ่ม Enterเพื่อกำหนดเป้าหมาย และเลือกคำสั่ง Lock Directionกดปุ่ม Enter เลือก SetCourseแล้วกดEnterอีกครั้ง ที่หน้าจอเข็มทิศจะปรากฏตัวเลขบอกระยะทางจากจุดที่เรายืนอยู่ไปถึงที่หมาย (เป็นค่าโดยประมาณ) ผู้ใช้ ก็สามารถเดินทางไปถึงที่หมายได้โดยการสังเกตลูกศรสีแดงที่หน้าจอเข็มทิศ หากเราเดินทางออกนอกแนวทาง เข็มทิศก็จะชี้มาที่จุดหมายที่ถูกต้องอยู่เสมอ มีวิธีการใช้เข็มทิศช่วยในการเดินทางอีกวิธีหนึ่ง เรียกว่า การกำหนดจุดที่หมายให้เครื่องโดยการ การคาดคะเนหรือประมาณการระยะทาง เรียกว่า Project Waypoints มีวิธีการทำงานดังนี้ - หน้าจอเข็มทิศ กดปุ่ม Menuเลือก Sight 'N Goแล้วกดปุ่ม Enterเพื่อกำหนดเป้าหมาย ให้เลือกคำสั่ง Lock Directionกดปุ่ม Enter ใส่ระยะทางที่เราคาดคะเนไว้ ว่าจุดที่เราสนใจนั้นมีระยะทางประมาณเท่าไหร่ แล้วเลือก Go Toกดปุ่ม Enter จะปรากฏจุด (Waypoints) และระยะทางเป็นเส้นสีม่วงประสีขาวที่หน้าจอแผนที่ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าจะเดินทางไปถึงที่หมายนั้นได้ในทิศทางใดโดยไม่หลงทาง ดังรูปที่ 24- 25

More Related