130 likes | 339 Views
สถานที่สำคัญในอำเภอเมือง. จังหวัดฉะเชิงเทรา. โดยมิสนันทนา ทองเสวต.... กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. คำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทรา. แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤไนป่าสมบูรณ์. วัดโสธรวรารามวรวิหาร.
E N D
สถานที่สำคัญในอำเภอเมืองสถานที่สำคัญในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมิสนันทนา ทองเสวต... กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
คำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทราคำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทรา แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤไนป่าสมบูรณ์
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 134 ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2496 เดิมชื่อวัดหงส์ สร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถ เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น"พระศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของ ชาวแปดริ้วและบุคคลทั่วไป และนำสัญลักษณ์ของพระอุโบสถมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัด
หอพิพิธภัณฑ์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชหอพิพิธภัณฑ์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนพุทธโสธร ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราปี พ.ศ. 2526 พระพรหมคุณาภรณ์(จิรปญโญ นายดาบเจียม กุลละวณิชย์) เจ้าอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดเก็บและจัดแสดง โบราณวัตถุ และสิ่งของเก่าแก่ที่หาได้ยากในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 และได้รับพระราชทานชื่ออาคารว่า "อาคารอเนกประสงค์หอสมุด หอพิพิธภัณฑ์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"
พระตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (จวนผู้ว่าราชการจังหวัด) พระตำหนักกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ตั้ง อยู่เลขที่ 297 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นบ้านพักกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล นับเป็นการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการครั้งแรกของจังหวัดฉะเชิงเทรา เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสครั้งแรก ได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมลายพระหัตถ์ความว่า "ให้ไว้สำหรับเรือนเทศาภิบาลมณฑลปราจีณ(เมืองฉะเชิงเทรา) เป็นที่ระลึกในการที่ได้มาอยู่ในที่นี้ได้ความสุขสบายตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 29 มกราคม ร.ศ. 126" อีกทั้งเคยใช้เป็นที่ประทับและทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเสด็จเมืองฉะเชิงเทรา ปัจจุบันใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
อาคารไม้สัก 100 ปี อาคารไม้สัก 100 ปี ค่ายศรีโสธร(กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ ตั้ง อยุ่เลขที่ 1 ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2451 เดิมเป็นกองพลที่ 9 มณฑลปราจีน ลักษณะตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 95 เมตรเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขณะทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังกองพันทหารช่างที่ 2(นามหน่วยเดิม) ซึ่งเป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎรทางตะวันออกและหน่วยทหารในต่างจังหวัดเป็นครั้ง แรก ปัจจุบันบริเวณอาคารไม้สัก 100 ปี เป็นที่ตั้งของกองบังคับการกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์
ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทราศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา ตั้ง อยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมืองอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2377 พร้อมกับป้อมกำแพงเมือง เพื่อเป็นที่สถิตจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งแผ่นดิน ช่วยคุ้มครองบ้านเมืองให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง
ศาลากลางมณฑลปราจีน ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีน (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ตั้ง อยู่ที่เลขที่ 122/6 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงทเรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2520 อาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2506 ใช้เป็นศาลาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ปีปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัด ฉะเชิงเทรา ข้างตะวันออกพลาซ่า
ศาลมณฑลปราจีน ศาลมณฑลปราจีน ตั้งอยู่ที่ 1118 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2539 ในอดีตเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลปราจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขณะทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จประทับเป็นองค์ประธานคณะผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489 ปัจจุบันใช้เป็นอาคารพุทธสมาคมฉะเชิงเทรา อยู่ตรงข้ามกับห้องสมุดประชาชน
เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ ประดิษฐาน อยู่ในสมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่เลขที่ 195/1 ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์เทวรูปมีส่วนสูง 119 เซนติเมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม เป็นเนื้อเซรามิกหล่อเต็มองค์ ชุดเสื้อลายไผ่สีเขียว ประทับยืนบนฐานดอกบัวในพระหัตถ์ถือคัมภีร์ ตามประวัติองค์เทวรูปลอยมาติดฝั่งแม่น้ำบางปะกงและได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ที่ศาลแห่งนี้ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540
วัดจีนประชาสโมสร วัดจีนประชาสโมสร ตั้ง อยู่ที่ 291 ถนนบ้านใหม่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้เดิมชื่อว่า "เล่งฮกยี่" เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีอายุมากกว่า 100 ปี โดยนายเทียนอิน แซ่ลี้ และภรรยา ได้บริจาคที่ดินสร้างวัดนี้ขึ้น ผู้สร้างคือหลวงจีนสกเห็ง รูปแบบสถาบัตยกรรมคล้ายกับวัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า "วัดจีนประชาสโมสร" ภายในวัดมีส่งสำคัญหลายอย่าง ได้แก่รูปปั้นขนาดใหญ่ทำจากกระดาษของท้าวจตุโลกบาล เทวรูปจีนอ้วยโห้ ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ พระพุทธรูป 18 อรหันต์ ฯลฯ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่เซ่งเอี้ยว) ระฆังศักดิ์สิทธิ์ และมีร่างหลวงจีนอดีตเจ้าอาวาสที่มรณภาพแล้วนั่งสมาธิมรณภาพปิดทองอยู่ในตู้ กระจก
วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) วัดอุภัยภาติการาม(ซำปอกง) ตั้ง อยู่ที่ 475/7ก ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามนิกายมหายาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยขุนพิพิธพานิชกรรม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาวัดแห่งนี้แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า "วัดอุภัยภาติการาม" และพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" ชาวจีนเรียกว่า "ซำปอกง" พระพุทธรูปลักษณะนี้มีสามองค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร และที่วัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ป้อมกำแพงเมืองฉะเชิงเทราป้อมกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ป้อมกำแพงเมืองฉะเชิงเทราและอาคารพาณิชย์หน้ากำแพงเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมืองอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นแม่กองก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2377 กำแพงเมืองมีลักษณะก่ออิฐถือปูน เมื่อแรกสร้างมีความสูงถึง 4.90 เมตร เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเลเข้าโจมตีพระนคร รอบนอกของกำแพงมีราษฎรสร้างบ้านเมืองเป็นชุมชน ต่อมาได้รับการปรับปรุง เป็นอาคารพาณิชย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันยังคงเหลือสภาพสมบูรณ์อยู่บางส่วน