1 / 15

1. แนวโน้มปัญหาของโรค ปัจจัยเสี่ยง ประชากร/พื้นที่เสี่ยง

1. แนวโน้มปัญหาของโรค ปัจจัยเสี่ยง ประชากร/พื้นที่เสี่ยง. 1.1 อัตราตายด้วยโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มชะลอตัวลง 1. 2 อัตราป่วยในด้วยโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Download Presentation

1. แนวโน้มปัญหาของโรค ปัจจัยเสี่ยง ประชากร/พื้นที่เสี่ยง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1. แนวโน้มปัญหาของโรค ปัจจัยเสี่ยง ประชากร/พื้นที่เสี่ยง 1.1 อัตราตายด้วยโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มชะลอตัวลง 1.2อัตราป่วยในด้วยโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง - อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น จาก 69.53 ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.ศ. 2539 เป็น 188.33ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ.ศ. 2549

  2. โรคเบาหวาน อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 127.49 ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.ศ. 2539 เป็น 586.82 ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ.ศ. 2549

  3. โรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น จาก 147.34ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.ศ. 2539 เป็น 659.57 ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ.ศ. 2549

  4. โรคหัวใจขาดเลือด อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น จาก 40.73ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.ศ. 2539 เป็น 232.68 ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ.ศ. 2549

  5. สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การบริโภคยาสูบ /แอลกอฮอล์ ผักผลไม้ กิจกรรมทางกาย น้ำหนักเกิน • จะมีการแยกเป็นรายเขตและรายจังหวัดในภาคผนวก

  6. 2. หน่วยงานเป้าหมายภายนอกกรมควบคุมโรค ที่เป็นผู้ดำเนินการกับประชากร/ พื้นที่เสี่ยง ใช้ผลผลิตทางวิชาการของกรม • บทบาทจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง (สสจ. รพศ./รพท. /รพช./ศูนย์สาธารณสุขชุมชน (PCU) /สอ. / อสม./ รพ.นอกกระทรวงฯ / ภาคเอกชน) • บทบาท อปท. ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ 3. บทบาทสถานศึกษาการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ

  7. 3. ผลผลิตทางวิชาการ (Product) สำหรับหน่วยงานภายนอกกรมฯ หลักสูตร 1.หลักสูตรการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่ออย่างบูรณาการ 1.1 สำหรับผู้บริหารจัดการทางด้านสาธารณสุข (ระดับเขต/จังหวัด) 1.2 สำหรับผู้บริหารอปท. 2. หลักสูตรการสังเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ 3. หลักสูตรการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำในเด็ก แนวทาง • แนวทางการปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข • แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข • แนวทางการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็ก รูปแบบ 1. รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อในชุมชน (โรงเรียน สถานที่ทำงาน และสถานบริการสุขภาพ) ต้นแบบ • ต้นแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ข้อมูล 1. ข้อมูลเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ

  8. 4.กระบวนการทางวิชาการหรือกิจกรรมหลักที่สำคัญ (Technical Process) กิจกรรมหลักที่สำคัญในการจัดทำหลักสูตร/แนวทาง บทบาทสำนักโรคไม่ติดต่อ 1. ศึกษาข้อมูล/หลักสูตรที่จะนำมาพัฒนา 2. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร 3. พัฒนาหลักสูตรการดำเนินงานฯ 4. ทดลองใช้หลักสูตร 5. ประเมินและสรุปผลการทดลองใช้หลักสูตรและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาหลักสูตรและเผยแพร่

  9. บทบาท สคร. 1. ร่วมพัฒนาหลักสูตรฯ 2. เป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ 3. สนับสนุนการทดลองใช้หลักสูตรฯ 4. ร่วมประเมินและสรุปผลการทดลองใช้หลักสูตรฯและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาหลักสูตร

  10. กิจกรรมหลักที่สำคัญในการจัดทำต้นแบบกิจกรรมหลักที่สำคัญในการจัดทำต้นแบบ บทบาทของสำนักโรคไม่ติดต่อ 1. เตรียมความพร้อมคณะทำงานและชุมชน 2. วิเคราะห์ปัญหาชุมชนเชิงปริมาณและคุณภาพ 3. เสนอผลที่ได้ต่อ stakeholder (ผู้มีส่วนร่วม)ในชุมชน เพื่อวางแผนรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงแก้ปัญหาในชุมชน ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 4. จัดเวทีชาวบ้านเพื่อเสนอแผนการสื่อสารความเสี่ยงที่ได้ต่อชุมชนให้เกิดการยอมรับสู่การปฏิบัติ 5. นำแผนสู่การปฏิบัติ 6. ประเมินผล 7. เผยแพร่รูปแบบและนำไปใช้กับ สคร. หมายเหตุ : สำนักโรคไม่ติดต่อกำลังดำเนินการอยู่ในขั้นตอนที่ 3

  11. กิจกรรมหลักที่สำคัญในการจัดทำต้นแบบ (ต่อ) บทบาทของ สคร. 1. ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานกับพื้นที่เป้าหมาย (สคร.7 (ปี 2551-2552)) 2. วิเคราะห์ ถ่ายทอดฯ และผลักดันให้เกิดการขยายผลในพื้นที่ 3. นิเทศ ติดตาม และประเมินผล 4. รายงานความก้าวหน้าเสนอผู้เกี่ยวข้อง 5. เผยแพร่รูปแบบและนำไปใช้กับทุก สคร.

  12. กิจกรรมหลักที่สำคัญในการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บกิจกรรมหลักที่สำคัญในการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ บทบาทของสำนักโรคไม่ติดต่อ 1. ประสานและสนับสนุนให้เกิดการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ 2. วิเคราะห์/สังเคราะห์ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจฯในภาพประเทศ เขต และจังหวัด 3. จัดทำรายงานผลการสำรวจเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ 4. ร่วมนิเทศ และติดตามควบคุมคุณภาพการสำรวจ บทบาทของ สคร 1. ประสานและสนับสนุนการสำรวจระหว่างส่วนกลางและระดับพื้นที่ 2. ร่วมนิเทศ และติดตามควบคุมคุณภาพการสำรวจ

  13. 5. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานและแนวทางถ่ายทอดเป้าหมาย 1. หลักสูตรฯสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ 2. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อแนวทางการปฏิบัติงานฯ 3. กระบวนการสื่อสารความเสี่ยงของประชากรเป้าหมายนำไปสู่การปฏิบัติได้ 4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 5. มีการถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในชุมชน 6. ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บที่หน่วยงาน/เครือข่าย ระหว่างประเทศ ยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ 7. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมการบาดเจ็บ 8. ผู้เกี่ยวข้องนำรูปแบบการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็กไปสู่การปฏิบัติ

  14. 6. ข้อเสนอในการบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการโครงการ • การกระจายอำนาจในเรื่องการอนุมัติโครงการให้สำนักฯ ส่วนกลาง สคร. สามารถอนุมัติโครงการได้ภายใต้แผนงานที่กรมอนุมัติแล้ว • การโอนงบประมาณจากกรมฯให้กับ สคร. ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ • การจัดทำตัวชี้วัดต้องให้ สคร. มีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดตัวชี้วัดและ template • การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ควรดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ไม่ควรเปลี่ยนทุกปี

  15. 5. โครงการที่ไม่มีตัวชี้วัดระดับกรมฯไม่ถูกจัดลำดับความสำคัญ 6. การประสานงานในระดับส่วนกลาง เช่น สปสช. กทม. กรมสบส. ควรมีการบูรณาการตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติการ

More Related