1.18k likes | 2.1k Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ ( Movement ). วิทยาศาสตร์ (ว 40216) ฟิสิกส์ ม.6. การเคลื่อนที่. 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ 2. การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ. 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่. ผลการเรียนรู้.
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2เรื่อง การเคลื่อนที่ (Movement) วิทยาศาสตร์ (ว 40216) ฟิสิกส์ ม.6
การเคลื่อนที่ • 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ • 2. การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
ผลการเรียนรู้ • 1. อธิบายความหมายของระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว ความเร็ว และความเร่งได้ • 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง การกระจัด ความเร็ว อัตราเร็ว และความเร่งได้ • 3. คำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ได้
1. ระยะทางและการกระจัด (distance and displacement) 2. อัตราเร็ว (speed) 3. ความเร็ว (velocity) 4. กราฟการกระจัด-เวลา 5. ความเร่ง (acceleration) 6. กราฟความเร็ว-เวลา 7. ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง 8. ความเร่งของวัตถุที่มีอัตราเร็วคงที่ 9. กราฟความเร่ง-เวลา 10. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
11. สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุ 12. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน 13. สมดุล 14. งานและพลังงาน 15. กำลังงาน 16. พลังงาน 17. พลังงานสามารถทำงานได้ 18. หลักการอนุรักษ์ของพลังงาน 19. การดลและโมเมนตัม 20. กฎการอนุรักษ์ของโมเมนตัม 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ (ต่อ)
Quantity • ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่มีแต่ขนาด ก็ได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น ระยะทาง เวลา อัตราเร็ว มวล พลังงาน กำลัง ความหนาแน่น ปริมาตร ความสว่าง ความดัน ความชื้น เป็นต้น • ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity) คือ ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทางจึงจะได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น การกระจัด ความเร่ง แรง น้ำหนัก โมเมนต์ การดล โมเมนตัม เป็นต้น
1. ระยะทางและการกระจัด (distance and displacement) • ระยะทาง (distance) คือ ความยาวของเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็น เมตร (m) เป็นปริมาณสเกลาร์ • การกระจัด (displacement) คือ เส้นตรงที่ลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็น เมตร (m) เป็นปริมาณเวกเตอร์
distance and displacement http://www.school.net.th/library/snet3/jee/distance/DISTANCE.HTM
ตัวอย่าง เริ่มเดินทางตรงไปทางเหนือได้ระยะทาง 30 เมตร ต่อมาเดินเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกได้ระยะทาง 40 เมตร แล้วหยุดตำแหน่งสุดท้ายมีขนาดการกระจัดห่างจากจุดเริ่มต้นกี่เมตร
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 1) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 5 km จากนั้นเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 2 km จงหาระยะทางและการกระจัดของรถคันนี้ (ระยะทาง 7 km, การกระจัด 3 km มีทิศไปทางทิศตะวันออก) • 2) นักเรียนขี่รถจักรยานไปโรงเรียนทางทิศตะวันออกเป็นระยะ 4 km จากนั้นเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือเป็นระยะ 3 km จงหาระยะทางและการกระจัดของนักเรียนคนนี้ (ระยะทาง 7 km, การกระจัด 5 km มีทิศทำมุม 370 กับทิศตะวันออก)
2. อัตราเร็ว (speed) • อัตราเร็ว (speed) คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา หรือ อัตราการเปลี่ยนระยะทาง มีหน่วยเป็น m/s เป็นปริมาณสเกลาร์ • ค่าเฉลี่ยของอัตราเร็วตลอดเส้นทาง เรียกว่า อัตราเร็วเฉลี่ย (averang speed: vav) เขียนได้ดังนี้ • เมื่อ vav คือ อัตราเร็วเฉลี่ย (m/s) • s คือ ระยะทาง (m) • t คือ เวลา (s) อัตราเร็ว = ระยะทาง เวลา vav = s t
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 3) ผึ้งตัวหนึ่งบินไปเป็นระยะทาง 10 m ในเวลา 2 s จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของผึ้งตัวนี้ (5 m/s)
3. ความเร็ว (velocity) • ความเร็ว (velocity) คือ การกระจัดที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด มีหน่วยเป็น m/s เป็นปริมาณเวกเตอร์ • ค่าเฉลี่ยของอัตราเร็วขณะหนึ่งตลอดช่วงเวลาที่พิจารณา เรียกว่า ความเร็วเฉลี่ย (averang velocity: vav) เขียนได้ดังนี้ • เมื่อ vav คือ ความเร็วเฉลี่ย (m/s) • s คือ ระยะทาง (m) • t คือ เวลา (s) ความเร็ว = การกระจัด เวลา vav = Δs Δt
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 4) ผึ้งตัวหนึ่งบินไปเป็นระยะทาง 10 m และการกระจัด 8 m ในเวลา 2 s จงหาความเร็วเฉลี่ยของผึ้งตัวนี้ (4 m/s)
4. กราฟการกระจัด-เวลา • มีประโยชน์ในการหาปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น • รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจาก A ที่เวลา t1 = 0 วินาที ถึง F ที่เวลา t1 = t ได้การกระจัด s เมตร ถ้ากราฟ s-t ดังรูป (ก) น.91 สามารถอธิบายได้ ดังนี้ • 1. การกระจัด s เป็น + และกราฟเป็นเส้นตรง แสดงว่ารถเคลื่อนที่ไปทิศทางเดียวไม่ย้อนกลับ • 2. การกระจัด s แปรผันตรงกับเวลา และกราฟเป็นเส้นตรง แสดงว่า ความเร็วคงที่ และหาความเร็วนี้ได้จากความชัน (slop) ของกราฟ ความเร็ว = การกระจัด= ความชัน เวลา
กราฟการกระจัด-เวลา http://www.physics.brocku.ca/courses/1p21_reedyk/Kinematics/
4. กราฟการกระจัด-เวลา ถ้ากราฟ s-t ดังรูป (ข) น.92 สามารถอธิบายได้ ดังนี้ • 1. การกระจัด s เป็น + แสดงว่า รถเคลื่อนที่ไปทิศทางเดียว • 2. การกระจัด s ไม่แปรผัน กับเวลา t แสดงว่า ความเร็วไม่คงที่ และหาความเร็วนี้ได้จากความชัน (slop) ของกราฟ เช่น รูป ค และ ง • 3. ที่จุด A และ C มีความชันเป็น 0 แสดงว่า รถอยู่นิ่ง • 4. ที่จุด D และ E มีความชันเป็น - แสดงว่า รถเคลื่อนที่ย้อนกลับ • 5. ที่จุด F มีความชันเป็น 0 แสดงว่า รถอยู่นิ่ง และรถอยู่เลยจุดเริ่มเคลื่อนที่ เพราะมีการกระจัด s น้อยกว่า A ซึ่งเป็นจุดเริ่มเคลื่อนที่
5. ความเร่ง (acceleration) • ความเร่ง (acceleration) คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว มีหน่วยเป็น m/s2 เป็นปริมาณเวกเตอร์ • เมื่อa คือ ความเร่ง (m/s2) • ∆v คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไป (m/s) • ∆t คือ เวลาที่เปลี่ยนไป (s) • u คือ ความเร็วต้น (m/s) • v คือ ความเร็วปลาย (m/s) ความเร่ง = ความเร็วที่เปลี่ยนไป เวลา a = ∆v = v – u ∆t t
ความเร่ง (acceleration) • อัตราส่วนระหว่างความเร็วที่เปลี่ยนไปทั้งหมด กับช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วนั้น เรียกว่า ความเร่งเฉลี่ย (average acceleration : aav) • ความเร่งมีทิศเดียวกับความเร็วเปลี่ยนไป (∆v) การหาทิศของ ∆v= v - u เราใช้หางของเวกเตอร์ v และ u มาต่อกัน • เวกเตอร์ ∆v จะมีทิศพุ่งออกจากหัวของ u ไปยังหัวของ v ดูตัวอย่างตามรูป น.93
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 5) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจากเดิมอยู่นิ่งและเร่งจนมีความเร็ว 20 m/s ในช่วงเวลา 10 s จงหาความเร่งของรถคันนี้ (20 m/s2) • 6) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วต้น 20 m/s แล้วเบรกจนหยุดนิ่งในช่วงเวลา 5 s จงหาความเร่งของรถคันนี้ (-4 m/s2)
6. กราฟความเร็ว-เวลา • วัตถุอยู่นิ่งกับที่ และวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ มีความเร่งเป็น 0 • วัตถุต้องเปลี่ยนความเร็วเท่านั้นจึงจะมีความเร่ง • ความเร่งสามารถหาได้จากกราฟความเร็ว-เวลา • ดังตัวอย่างกราฟ ก และ ข (น.95)
7. ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง • วัตถุที่บริเวณผิวโลกมีความเร่งคงที่ คือ 9.8 m/s2 และมีทิศดิ่งลง • เรียกว่า ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (acceleration due to gravity) • ถ้าเราโยนวัตถุขึ้นท้องฟ้า - ความเร็วของวัตถุจะลดลง และเป็น 0 ที่จุดสูงสุด • และวัตถุจะตกในแล้วดิ่งกลับลงมาด้วยความเร็ว เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง http://library.thinkquest.org/2779/Even_more.html
8. ความเร่งของวัตถุที่มีอัตราเร็วคงที่ • วัตถุมีความเร่ง เมื่อความเร็วของวัตถุเปลี่ยนไป คือ • 1. เปลี่ยนทั้งขนาดและทิศทาง • 2. เปลี่ยนขนาด และทิศทางคงที่ • 3. เปลี่ยนทิศทาง และขนาดคงที่
ความเร่งของวัตถุ • สำหรับ ขนาดของความเร่งเข้าสู่จุดศูนย์กลาง ที่จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นทางการเคลื่อนที่ คำนวณได้จาก • เมื่อac คือ ขนาดของความเร่ง (m/s2) • vคือ ขนาดของความเร็วขณะหนึ่ง (m/s) • R คือ รัศมีความโค้งของการเคลื่อนที่ (m) ac = v2 R
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 7) ชายคนหนึ่งใช้เชือกยาว 2 m ผูกกับมวลก้อนหนึ่ง แกว่งเป็นวงกลมด้วยความเร็วคงที่ 4 m/s จงหาความเร่งสู่ศูนย์กลางของวัตถุนี้ (8 m/s2) • 8) ดาวเทียมสื่อสารดวงหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบโลกด้วยรัศมี 25,000 km ถ้าแรงดึงดูดของโลกทำให้ดาวเทียมสื่อสารดวงนี้มีความเร่งสู่ศูนย์กลาง 9 m/s2 จงหาความเร็วของดาวเทียมสื่อสารดวงนี้ (1.5 x 104m/s)
9. กราฟความเร่ง-เวลา • วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่จะมีความเร่ง • กราฟความเร่ง-เวลา สามารถใช้หาความเร็วได้ • โดยพื้นที่ใต้กราฟเป็นความเร็วที่เปลี่ยนไป
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 9) วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่ 3 m/s2 ตามรูปกราฟ (น.98) จงหาความเร็วของวัตถุนี้เมื่อเคลื่อนที่ได้ 7 s ถ้าวัตถุมีความเร็วต้น 2 m/s (23 m/s) • 10) วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร่งไม่คงที่ ตามรูปกราฟ (น.98) จงหาความเร็วของวัตถุนี้เมื่อเคลื่อนที่ได้ 6 s ถ้าวัตถุมีความเร็วต้น 4 m/s (22 m/s)
10. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา • เครื่องเคาะสัญญาณเวลา (ticker timer) ใช้วัดความเร็วของวัตถุ • โดยทำให้เกิดจุดบนแถบกระดาษ ทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz • ทำให้เกิด 50 ช่วงจุด ใน 1 วินาที บนแถบกระดาษ • ดังนั้น 1 ช่วงจุดห่างกัน 1/50 วินาที หรือ 0.02 วินาที • เรียกเวลาห่างกัน 1 ช่วงจุดว่า คาบ (period) โดย คาบกับความถี่เป็นส่วนกลับกัน ดังนี้ f = 1 / T
Ticker timer http://www.physchem.co.za/Vectors/Physical%20Examples.htm
เราใช้แถบกระดาษวัดความเร็วและความเร่งของวัตถุเราใช้แถบกระดาษวัดความเร็วและความเร่งของวัตถุ • เราใช้แถบกระดาษวัดความเร็วและความเร่งของวัตถุได้ ดังนี้ • 1. การหาความเร็วเฉลี่ยจากแถบกระดาษ • 2. การหาความเร็วขณะหนึ่งจากแถบกระดาษ • 3. การหาความเร่งจากแถบกระดาษ
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 11) แถบกระดาษตามรูป (น.101) ใช้กับเครื่องเคาะสัญญาณเวลาที่มีความถี่ 50 Hz จงหาความเร็วของวัตถุนี้เมื่อเคลื่อนที่ได้ 7 s (มี 15 ช่วงจุด) (30 cm/s) • 12) แถบกระดาษตามรูป (น.102) ใช้กับเครื่องเคาะสัญญาณเวลาที่มีความถี่ 50 Hz จงหาความเร็วเฉลี่ยในช่วงจุดที่ 4 ถึง 10 และให้หาความเร็วตรงจุดที่ 7 ด้วย (มี 6 ช่วงจุด) (25 cm/s, 25 cm/s) • 13) แถบกระดาษตามรูป (น.102) ใช้กับเครื่องเคาะสัญญาณเวลาที่มีความถี่ 50 Hz จงหาความเร่งของแถบกระดาษ (3.75 m/s2)
11. สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุ v = u + at s = (u + a) t 2 v = ut + ½ at v2 = u2 + 2as
ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 14) วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 8 m/s มีความเร่ง 2 m/s2 จงหาความเร็วของการกระจัดของวัตถุนี้ เมื่อเวลาผ่านไป 4 s(16 m/s, 48 m) • 15) นักกีฬาคนหนึ่งเริ่มวิ่งออกไปด้วยความเร็ว 5 m/s มีความเร่ง 6 m/s2 จงหาการกระจัดของนักกีฬาคนนี้ เมื่อเวลาผ่านไป 3 s(42 m) • 16) ชายคนหนึ่งขี่จักรยานจากหยุดนิ่งเป็นเส้นตรง มีความเร่ง 2 m/s2 เมื่อได้ระยะทาง 25 m เขาจะมีความเร็วเท่าไร (10 m/s) • 17) นักกระโดดร่มดิ่งพสุธาคนหนึ่งปล่อยตัวจากเครื่องบินด้วยความเร็วเป็น 0 ถ้าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกเป็น 10 m/s2 เมื่อเวลาผ่านไป 20 s ก็กระตุกร่มให้กางออก จงหาระยะที่นักโดดร่มดิ่งพสุธาตกดิ่งลงมา และความเร็วขณะร่มกางออก (2,000 m, 200 m/s) • 18) ชายคนหนึ่งยืนอยู่บนกล่องไม้ขว้างลูกบอลดิ่งขึ้นด้วยความเร็วต้น 10 m/s พบว่าลูกบอลตกถึงพื้นดินในเวลา 3 s จงหาระยะ h ในรูป (น.107) (15 m)
http://www.funnyjoke.net/funny-jokes/Funny-Cartoons/Newtons-Law.htmlhttp://www.funnyjoke.net/funny-jokes/Funny-Cartoons/Newtons-Law.html
12. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน http://www.rsu.ac.th/science/physics/sema/phy132/lecture_sema/mass_newton/mass_newton.html
Isaac Newton (1642-1727) • Isaac Newton was an English scientist and mathematician who lived between 1642-1727. • He had one of the most brilliant minds the world has ever known. • Legend has it that seeing an apple fall gave Newton the idea that gravity, • the force which keeps us bound to the Earth, also controls the motion of planets and stars. • Newton's contributions to science include the universal law of gravitation, • the development of a whole new field in mathematics called calculus, and his famous three laws of motion. http://www.windows.ucar.edu/tour/link=/people/enlightenment/newton.html
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (Newton's law of motion) • 1. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน (Newton's First Law of Motion) • 2. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน (Newton's Second Law of Motion) • 3. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน (Newton's Third Law of Motion)
Newton's First law of motion • กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน (Newton's First Law of Motion) กล่าวว่า “ เมื่อไม่มีแรงกระทำบนวัตถุ หรือแรงลัพธ์เป็น 0 วัตถุจะคงสภาพเคลื่อนที่ นั่นคือ วัตถุจะอยู่นิ่งกับที่ หรือเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ” • เราอาจจะเรียกกฎข้อนี้ได้ว่า กฎแห่งความเฉื่อย (Law of Inertia) • หาได้จากสมการ ความเร่ง = ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป / เวลา a = v – u = v – u = 0 (เพราะว่า v = u) t t
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 1 ของนิวตัน • วัตถุจะรักษาสภาพหยุดนิ่ง หรือสภาพเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง นอกจากมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำ • จากกฎดังกล่าว เราอาจพูดใหม่ได้ว่าถ้าไม่มีแรงไปกระทำต่อวัตถุ (แรงลัพธ์เป็น 0) วัตถุนั้นจะอยู่ในสภาพเดิม • หมายความว่า เมื่อแรงลัพธ์เป็น 0 ถ้าวัตถุอยู่นิ่งอยู่ก็จะอยู่นิ่งต่อไป • แต่ถ้าวัตถุนั้นเคลื่อนที่อยู่ วัตถุนั้นก็จะเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วเท่าเดิมในทิศเดิม • เช่น คนขับรถมอเตอร์ไซต์อยู่ด้วยความเร็ว v ทำให้คนและรถมีความเร็วเท่ากัน คือ v แต่รถหยุดอย่างกะทันหัน (ชนกับสิ่งกีดขวาง) คนจะรักษาสภาพเดิม คือ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วเท่าเดิม ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อรถหยุดแล้ว แต่คนจะไม่หยุด ทำให้คนกระเด็นไปข้างหน้าด้วยความเร็ว v
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 1 ของนิวตัน http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/force/newton/newton1.html
Newton's Second law of motion • กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน (Newton's Second Law of Motion) “ เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำบนวัตถุไม่เป็น 0 วัตถุจะมีความเร่ง ” • ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นสูตรได้ดังนี้ • เมื่อ • F = แรง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) • m = มวล มีหน่วยเป็น กิโลกรัม (kg) • a = ความเร่ง มีหน่วยเป็น เมตร / วินาที 2 (m/s2) ΣF = ma
Newton's Second law of motion • กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน (Newton's Second Law of Motion) กล่าวว่า “ เมื่อมีแรงมากระทำกับวัตถุจะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศทางเดียวกับแรงที่มากระทำ และขนาดของความเร่งจะแปรผันตรงกับแรงลัพธ์ แต่จะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ ” นั่นคือ a αΣF และ a α 1/m หรือ a αΣF/m จะได้ a = k ΣF / m แต่ k = 1 ดังนั้น Σ F = ma
Newton's Third law of motion • กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน (Newton's Third Law of Motion) กล่าวว่า “ แรงที่กระทำจะเกิดเป็นคู่เสมอ โดยที่แรงกิริยา (Action) ที่เกิดขึ้นบนวัตถุที่กระทำ จะมีแรงปฏิกิริยา (Reaction) ที่มีขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางตรงข้ามกันเกิดขึ้นเสมอ ” • กฎข้อที่ 3 นี้เป็นผลที่เกิดตามจากกฎข้อที่สอง • จึงเรียกกฎข้อนี้ว่า กฎแห่งแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา (Law of Action and Reaction)