1 / 10

การสัมภาษณ์เพื่องานข่าว

การสัมภาษณ์เพื่องานข่าว. อ.สิริพร มีนะ นันทน์. ความหมายของการสัมภาษณ์. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542

Download Presentation

การสัมภาษณ์เพื่องานข่าว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสัมภาษณ์เพื่องานข่าวการสัมภาษณ์เพื่องานข่าว อ.สิริพร มีนะนันทน์

  2. ความหมายของการสัมภาษณ์ความหมายของการสัมภาษณ์ • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 “สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น และการพบปะสนทนากัน ในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้สัมภาษณ์ รวมทั้ง การสนทนากัน การพูดจาซักถามกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น” • ศัพทานุกรมสื่อสารมวลชน (ประชัน วัลลิโก, แผนกอิสระวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520) “วิธีการหนึ่งที่จะได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความคิดเห็น เพื่อนำมาประกอบหรือนำมาเป็นองค์ประกอบหลักในการเขียนข่าว สารคดี บทความ และบทบรรณาธิการ”

  3. ความหมายของการสัมภาษณ์ (ต่อ) • เคน เมทซ์เลอร์ (Ken Metzler, 1997) “เป็นการสนทนาที่ออกแบบเพื่อจะให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อประโยชน์ของผู้ชม ผู้ฟัง ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ฟัง ผู้ชมที่ไม่ได้อยู่ที่นั่น” • รองศาสตราจารย์เมตตา กฤตวิทย์ “การสัมภาษณ์เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลประเภทหนึ่ง แต่เป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะต่างจากการสนทนาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมภาษณ์จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และบทบาทของผู้สื่อสารก็เด่นชัดกว่าการสนทนาทั่วไป”

  4. ความหมายของการสัมภาษณ์ (ต่อ) • รองศาสตราจารย์นันทนา ขุนภักดี “การพบปะวิสาสะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือฝ่ายหนึ่งต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นการเผยแพร่ เช่น ลงตีพิมพ์ในหนังสือ เผยแพร่ในรายการวิทยุ เป็นต้น” การสัมภาษณ์จึงเป็นการพูด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ อีกฝ่ายหนึ่งแสดงความรู้ ประสบการณ์ หรือความคิดเห็นได้ตอบสนองความต้องการของผู้สัมภาษณ์ หรือให้เป็นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์

  5. ความหมายของการสัมภาษณ์ (ต่อ) • รองศาสตราจารย์วิรัช อภิรัตนกุล “การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (process of information gathering) ระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน (definite purpose) ฉะนั้นการสัมภาษณ์จึงต้องมีบุคคลอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (interview) และอีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำตอบหรือผู้ถูกสัมภาษณ์” การสัมภาษณ์ สืบความหมายมาจากคำว่า “sight between” หรือ “view between” ดังนั้น คำว่า “interview” จึงมีความหมายว่า การพบปะระหว่างบุคคล 2 กลุ่ม หรือมากกว่านี้ในกรณีการสัมภาษณ์กลุ่ม ระหว่างผู้สัมภาษณ์ (interviewer) และผู้ถูกสัมภาษณ์ (interviewee) เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

  6. ความหมายของการสัมภาษณ์: สรุป “การสัมภาษณ์เพื่อการสื่อข่าว คือ การสนทนาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์หรือผู้ตั้งคำถาม ซึ่งได้แก่ ผู้สื่อข่าว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้ตอบคำถาม ได้แก่ แหล่งข่าว หรือผู้ให้ข่าวนั่นเอง”

  7. ลักษณะของการสัมภาษณ์ • การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการสื่อสาร ซึ่งพฤติกรรมการสื่อสารของผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์มีผลต่อกันและกัน • การสัมภาษณ์เป็นการสนทนาที่มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้พูดฝ่ายหนึ่ง และผู้ฟังอีกฝ่ายหนึ่ง ทำการพูดคุยสลับกันไป • การสัมภาษณ์ต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอน และมีการวางแผนล่วงหน้า • การสัมภาษณ์ที่ดีควรเป็นการสื่อสารสองทาง • การสัมภาษณ์ส่วนมากจะมีรูปแบบเป็นพิธีการ • ผลจากการสัมภาษณ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลประกอบอ้างอิงในการศึกษาหรือเผยแพร่เพื่อสาธารณชน

  8. ลักษณะของการสัมภาษณ์ (ต่อ) • ทักษะในเรื่องการรับการส่งสารมีความสำคัญยิ่งในการสัมภาษณ์ • ผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ต้องตระหนักให้ดีว่า ความหมายของสารมิได้อยู่ที่ตัวสาร (ทั้งวัจนะและอวัจนสาร) แต่ความหมายของสารขึ้นอยู่กับการตีความของผู้รับสาร ซึ่งสามารถเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ฉะนั้น ความหมายของสารจึงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสภาพแวดล้อม • การตอบสนอง (feedback) นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพื่อยืนยันว่าคู่สื่อสารรับสารได้ถูกต้องตรงกัน เช่น การใช้วิธีการทวนคำถาม เป็นต้น • ผู้สื่อสารควรคำนึงถึงคำพูดและภาษาที่ใช้ รวมทั้งอวัจนภาษาด้วย (จากการวิจัยพบว่า หากวัจนสารขัดแย้งกับอวัจนสาร ผู้รับสารจะตีความอวัจนสาร มากกว่าวัจนสาร)

  9. ความสำคัญของการสัมภาษณ์เพื่องานข่าวความสำคัญของการสัมภาษณ์เพื่องานข่าว • การสัมภาษณ์เป็นวิธีการเก็บข้อมูลจากแหล่งข่าวได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโดยแบบสอบถาม (questionnaire) การสำรวจโพลล์ (poll) เพราะผู้สื่อข่าวสามารถรับทราบข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงได้มากกว่า • การสัมภาษณ์เพื่องานข่าว ช่วยให้การรายงานข่าวมีชีวิตชีวา ในลักษณะการอ้างอิงคำพูดโดยตรงจากแหล่งข่าว (direct quotation) เพราะผู้อ่านจะมีความรู้สึกว่าบุคคลที่ถูกสัมภาษณ์ได้พูดจากับผู้อ่านโดยตรง ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพเกี่ยวกับผู้ถูกสัมภาษณ์ในช่วงระยะเวลาที่ผู้ให้สัมภาษณ์พูด • การสัมภาษณ์ทำให้ทัศนะหรือถ้อยคำของผู้ถูกสัมภาษณ์จะมีน้ำหนักเป็นที่เชื่อถือแก่ผู้อ่านได้มากยิ่งกว่าที่ผู้สื่อข่าวจะรายงานข่าวเอง เพราะผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นเป็นบุคคลที่ได้รู้ปัญหาต่างๆ นั้นเป็นอย่างดีแล้ว

  10. ความสำคัญของการสัมภาษณ์เพื่องานข่าวความสำคัญของการสัมภาษณ์เพื่องานข่าว • การสัมภาษณ์นอกจากจะเป็นการให้ผู้ถูกสัมภาษณ์บอกเล่าข่าวสารแล้ว ทัศนะหรือความคิดเห็นต่างๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจทำให้ผู้อ่านวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะคล้อยตามหรือคัดค้าน รวมทั้งการสัมภาษณ์บางครั้งสร้างความบันเทิง สนุกสนานและความแปลกๆ ใหม่ๆ ให้แก่ผู้อ่าน เช่น การสัมภาษณ์ดารายอดนิยม และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เป็นต้น • การสัมภาษณ์เพื่อการหาข่าว ทำให้ผู้สื่อข่าวได้รับข้อมูลใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทัศนคติของแหล่งข่าวที่เป็น “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” (expert) ได้เป็นอย่างดี

More Related