1 / 17

สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer)

สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer). อ.วัฒนะ รัมมะเอ็ด. สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer). เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความหนา ความนูนหรือเว้าของวัตถุ เพื่อหาค่ารัศมีความโค้งของวัตถุดังกล่าว โดยสเฟียโรมิเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้. ส่วนประกอบ.

jenifer
Download Presentation

สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer) อ.วัฒนะ รัมมะเอ็ด

  2. สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความหนา ความนูนหรือเว้าของวัตถุ เพื่อหาค่ารัศมีความโค้งของวัตถุดังกล่าว โดยสเฟียโรมิเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  3. ส่วนประกอบ 1.สเกลหลัก A ที่แบ่งเป็นช่องช่องละ 1 มม. เหนือและต่ำกว่าขีดศูนย์ 2. แป้นกลม B ทำหน้าที่เป็นสเกลละเอียดหรือสเกลเวอร์เนียร์ที่แบ่งออกเป็นช่องๆจำนวนทั้งสิ้น 50, 100 หรือ 200 ช่องขึ้นอยู่กับความละเอียดของสเฟียโรมิเตอร์แต่ละรุ่น 3. ขาเกลียว C ติดอยู่กับแป้นกลม B สำหรับหมุนขันลง เพื่อวัดผิวโค้งของวัตถุ 4. ขาของสเฟียโรมิเตอร์ D โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขา มีความยาวเท่ากัน

  4. การหาค่าละเอียด การหาค่าละเอียดของสเฟียโรมิเตอร์ เป็นการหาว่า 1 ช่องบนแป้นเวอร์เนียร์จะเทียบเท่าระยะบนแกนหลักเท่าไร โดยเริ่มจากจัดให้ขีดศูนย์ของแป้น B ตรังกับขีดใดขีดหนึ่งของสเกลหลัก A จากนั้นให้หมุนแป้น B ให้เคลื่อนที่ขึ้นหรือลง จนครบ 1 รอบ(จำนวนช่องใน 1 รอบ ของแป้นกลม B กำหนดให้เป็น N) แล้วสังเกตว่าแป้นกลม B เคลื่อนที่ได้ระยะเท่าใด (กำหนดเป็น S ) ค่าละเอียดที่สุดของเครื่องมือจะเท่ากับ

  5. รูปแสดงถึงลักษณะสเกลละเอียดบนแป้นกลม B ของสเฟียโรมิเตอร์

  6. ตัวอย่างเช่น ตัวหมุนแป้น B ครบ 1 รอบ โดยใน 1 รอบ แบ่งเป็น 100 ช่อง จะได้ S = 100 จากการหมุนแป้น B 1 รอบทำให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่งได้ 1 ช่อง จะได้ N = 1 มม. ดังนั้น ค่าละเอียดจะเท่ากับ

  7. การใช้และวิธีอ่านค่าสเฟียโรมิเตอร์การใช้และวิธีอ่านค่าสเฟียโรมิเตอร์ การใช้งานสเฟียโรมิเตอร์นั้นจะมี 2 ลักษณะคือ การวัดรัศมีความโค้งที่เว้า และนูนซึ่งจะมีวิธีการอ่านค่าที่แตกต่าง

  8. กรณีที่ 1 การใช้สเฟียโรมิเตอร์วัดผิวนูนมีขั้นตอนดังนี้คือ 1. นำสเฟียโรมิเตอร์วางบนวัตถุที่ต้องการจะวัดรัศมีความโค้งโดยให้ขา D ทั้งสามของของสเฟียมิเตอร์สัมผัสกับวัตถุพอดีทั้งสามขา 2. ค่อยหมุนจนขา C ของสเฟียเคลื่อนที่ลงไปสัมผัสกับวัตถุเช่นเดียวกับขา D ทั้งสามที่สัมผัสอยู่ก่อนแล้ว ข้อควรระวัง ต้องสังเกตให้ขา D สัมผัสกับวัตถุจริงๆ

  9. 3. อ่านค่าที่ได้จากสเฟียโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับการอ่านค่าไมโครมิเตอร์คือเริ่มจากสเกลหลักก่อนจากรูปจะเห็นว่าขอบจานของแป้นกลม B อยู่เลยขีด 3 มม. ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงขีด 4 มม. ดังนั้นค่าจากสเกลหลักเบื้องต้นจะอ่านได้เท่ากับ 3 มม.

  10. 4. ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการอ่านค่าละเอียดโดยอ่านจากสเกลละเอียดบนแป้นกลม B ซึ่งจากรูปจะอ่านค่าได้เท่ากับ 14 5. ค่าที่อ่านได้จากสเกลละเอียดจะต้องนำไปหารด้วย 100 ก่อนจึงนำไปรวมกับค่าที่ได้จากสเกลหลักตามข้อที่ 3 ดังนี้

  11. 6. ดังนั้นค่าที่อ่านได้จริงจากสเฟียโรมิเตอร์คือ ค่าที่อ่านได้ = ค่าจากสเกลหลัก + ค่าจากสเกลละเอียด = 3 มม. + 0.14 มม. = 3.14 มม.

  12. กรณีที่ 2 กรณีใช้สเฟียโรมิเตอร์วัดผิวเว้านั่นคือจะต้องหมุนให้แป้นกลม B เคลื่อนที่ลง ต่ำกว่าขีด 0 การอ่านค่าจะมีขั้นตอนดังนี้คือ 1. ค่าจากสเกลหลักจะใช้หลักการอ่านค่าเช่นเดียวกับกรณีที่ 1 เพียงแต่เป็นการอ่านจากด้านบนลงสู่ด้านล่างจากรูปจะเห็นว่าขอบจานของแป้นกลม B เลื่อนตำกว่าระดับขีด 0 ลงไปด้านล่างเลยขีด 1 มม. แต่ยังไม่ถึงขีดที่ 2 มม. ดังนั้นจะอ่านค่าได้เบื้องต้นเท่ากับ 1 มม.

  13. 2. ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการอ่านค่าละเอียดโดยอ่านจากสเกลละเอียดบนแป้นกลม B ซึ่งจากรูปจะอ่านค่าได้เท่ากับ 19

  14. แต่ในกรณีการวัดผิวเว้านั้นแต่ในกรณีการวัดผิวเว้านั้น ค่าที่อ่านได้จากสเกลละเอียดจะต้องนำไปลบออกจาก 100 แล้วหารด้วย 100 ดังวิธีต่อไปนี้

  15. 3. นำค่าที่ได้จากสเกลหลักในข้อที่ 3 รวมกับค่าละเอียด ในข้อที่ 4 จะได้เป็นค่าที่อ่านได้จากสเฟียโรมิเตอร์นั่นคือ ค่าที่อ่านได้ = ค่าจากสเกลหลัก + ค่าจากสเกลละเอียด = 1 มม. + 0.81 มม. = 1.81 มม.

  16. สำหรับกรณีการวัดค่ารัศมีความโค้งโดยใช้สเฟียโรมิเตอร์ค่าที่ได้จากกัดอ่านค่าสเฟียโรมิเตอร์ตามวิธีการที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่ค่ารัศมีความโค้งโดยตรง ต้องนำไปคำนวณด้วยสมการ(1)เพื่อคำนวณหารัศมีความโค้งอีกทีหนึ่งนั่นคือ เมื่อ R คือรัศมีความโค้งของวัตถุ (เมตร) L คือ ค่าเฉลี่ยของระยะห่างระหว่างขา D ทั้งสามขา (เมตร) d คือค่าที่อ่านได้สเฟียโรมิเตอร์ (เมตร) 

  17. สื่อวิดีทัศน์การใช้สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer)สื่อวิดีทัศน์การใช้สเฟียโรมิเตอร์(Spherometer) video

More Related