1 / 32

ประชากรและแรงงานไทย ส่วนที่ 2

ประชากรและแรงงานไทย ส่วนที่ 2. เอกสารอ้างอิง : “ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และสวัสดิการสังคม ” โดย รศ. ดร. มัทนา พิรนามัย “ ห้าทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงใน ตลาดแรงงานไทย ” โดย อ. ดร. กิริยา กุลกลการ www.praipol.com. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ.

Download Presentation

ประชากรและแรงงานไทย ส่วนที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชากรและแรงงานไทยส่วนที่ 2

  2. เอกสารอ้างอิง: • “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร • และสวัสดิการสังคม” • โดย รศ. ดร. มัทนา พิรนามัย • “ห้าทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงใน • ตลาดแรงงานไทย” • โดย อ. ดร. กิริยา กุลกลการ • www.praipol.com

  3. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ ภาพรวมตลาดแรงงานในปี 2551 • ประชากรทั้งหมด 66.3 ล้านคน • ประชากรวัยทำงาน (15 – 60 ปี) 44 ล้านคน • กำลังแรงงาน (labor force) 37.7 ล้านคน • นอกกำลังแรงงาน 6.3 ล้านคน (นักเรียน นักศึกษา นักบวช นักโทษ ฯลฯ)

  4. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ

  5. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานในเกษตรมีสัดส่วนลดลงตลอดจากกว่า 80% ในปี 2503 เหลือ 40% ในปี 2551 • แรงงานในอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มจาก 4% ในปี 2503 เป็น 21% ในปี 2551 • แรงงานในบริการมีสัดส่วนเพิ่มจาก 14% ในปี 2503 เป็น 39% ในปี 2551

  6. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2518 • ช่วงแรกไปทำงานในตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ • หลังปี 2534 แรงงานไทยไปทำงานในเอเซียมากที่สุด (ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์)

  7. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานไทยในต่างประเทศ ทำงานเป็นช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และบริกร ในการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมต่างๆ • ส่วนใหญ่มาจากอีสาน (อุดรฯ โคราช ขอนแก่น)

  8. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเพิ่มของประชากรทำให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้น

  9. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ

  10. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การศึกษาของกำลังแรงงานไทยดีขึ้น • ปี 2538 จบประถมศึกษา 78% จบมัธยมศึกษา 13% • ปี 2551 จบประถมศึกษา 57% จบมัธยมศึกษา 28%

  11. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แต่โอกาสทางการศึกษาก็ทำให้อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานไทยลดลง (ร้อยละของกำลังแรงงานต่อประชากรวัยทำงาน) จาก 81.5% ในปี 2533 เป็น 73.4% ในปี 2551 • ทำให้ขาดแคลนแรงงานระดับล่าง และแรงงานมีฝีมือ (ปวช. นิยมเรียนต่อระดับปริญญาตรี)

  12. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • ปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างอุปสงค์อุปทาน: • ขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ช่างฝีมือ และวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • แต่มีปัญหาว่างงานของแรงงานระดับปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

  13. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน: • เศรษฐกิจโตเร็วและรวยกว่า จึงดึงดูดแรงงานไร้ฝีมือจากพม่า เขมร และลาวเข้ามา • ปี 2553 จดทะเบียนจำนวน 1.079 ล้านคน แต่มีทั้งหมดรวมประมาณ 2 -2.5 ล้านคน กว่า 80% เป็นพม่า

  14. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน: • เข้ามาทำงาน 3 ส (สกปรก เสี่ยงอันตราย และแสนลำบาก) ในเมืองใหญ่และชายแดน เช่น งานบริการ ก่อสร้าง เกษตร ประมง และคนรับใช้ในบ้าน

  15. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน: • มีทั้งคุณและโทษ • คุณ: บรรเทาปัญหาแรงงานขาดแคลน กดเงินเฟ้อและค่าจ้าง ช่วยอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น

  16. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน: • มีทั้งคุณและโทษ • โทษ: แย่งงานคนไทย อุตสาหกรรมไม่ยอมปรับเกรด เป็นภาระการคลัง (พยาบาล โรงเรียน) และก่อปัญหาสังคม • ภาครัฐยังไม่มีแผนบริหารจัดการที่สอดคล้องกับการพัฒนา และอย่างมีบูรณาการ

  17. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน การจ้างงาน: • ผู้มีงานทำเป็นร้อยละของประชากรวัยทำงาน (ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงในสัปดาห์ คือ “มีงานทำ”)

  18. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • อัตราการจ้างงานลดลงเพราะการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานลดลง (เรียนหนังสือสูงขึ้น) และหางานทำไม่ได้ (รุนแรงในช่วงหลังวิกฤติปี 2540)

  19. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน สถานภาพการทำงาน แบ่งเป็น: นายจ้าง ผู้ทำงานส่วนตัว ผู้ทำงานให้ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างรัฐบาล ลูกจ้างเอกชน การรวมกลุ่ม (เช่น สหกรณ์)

  20. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน สถานภาพการทำงาน ในปี 2551: ลูกจ้างเอกชนมากที่สุด (34%) ผู้ทำงานส่วนตัวมากรองลงมา (32%) ผู้ทำงานให้ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (22%) ลูกจ้างรัฐบาล (9%)

  21. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ทำงานในครอบครัวจำนวนลดลง ตามการเปลี่ยนของเกษตร และอุตสาหกรรม

  22. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน สถานภาพการทำงาน : แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ คุ้มครองควบคุมโดยกฎหมาย (แรงงาน และประกันสังคม)

  23. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน แรงงานนอกระบบ ไม่คุ้มครองควบคุมโดยกฎหมายประกันสังคม • ทำงานที่บ้าน เช่น เกษตรกร รับงานไปทำที่บ้าน • อาชีพอิสระไม่มีลูกจ้าง เช่น หาบเร่แผงลอย ขับรถรับจ้าง ช่างตัดผม

  24. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน ในปี 2551 แรงงานทั้งหมด 37.8 ล้านคน แรงงานนอกระบบ 24.1 ล้านคน (64%) แรงงานในระบบ 13.7 ล้านคน (36%)

  25. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน การว่างงาน : ร้อยละของกำลังแรงงานที่หางานทำไม่ได้ (ทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในสัปดาห์) อัตราการว่างงานของไทยต่ำมาตลอด และสูงขึ้นในช่วงวิกฤติปี 2540

  26. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ อัตราการว่างงาน

  27. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ อัตราการว่างงานแยกตามระดับการศึกษา ปี 2551

  28. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • ค่าจ้าง กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำปี 2516 มีคณะกรรมการไตรภาคี (รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง) กำหนดสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ เพิ่งเข้าทำงานไม่ถึง 1 ปีในทุกสาขาผลิต ยกเว้น เกษตร และแรงงานนอกระบบ

  29. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • ค่าจ้าง ค่าจ้างขั้นต่ำ ให้เพียงพอสำหรับผู้ใช้แรงงานในการดำรงชีพ พิจารณาจาก ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง ต้นทุนการผลิต และผลิตภาพของแรงงาน

  30. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • ค่าจ้าง ค่าจ้างทั่วไป เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอดช่วงปี 2533 – 2551 ยกเว้นช่วงวิกฤติปี 2540

  31. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ • ค่าจ้าง ในช่วง 2533 – 2540 ค่าจ้างแท้จริง (ตัวเงิน – เงินเฟ้อ) เพิ่มปีละ 6% ในช่วง 2541 – 2551 ค่าจ้างแท้จริง (ตัวเงิน – เงินเฟ้อ) เพิ่มปีละ 1.3% ดังนั้น ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำ?

  32. แรงงานไทยในห้าทศวรรษ ในช่วง 2541 – 2551 ค่าจ้างแท้จริง (ตัวเงิน – เงินเฟ้อ) เพิ่มปีละ 1.3% ดังนั้น ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำ?

More Related