780 likes | 1.43k Views
บทเรียนวิชาเคมี. เรื่องสารชีวโมเลกุล 1. โดยนายสกนธ์ชัย ชะนูนันท์ รหัส 4510500017 ป.บัณฑิตทางการสอน เคมี. เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาทักษะการสอนวิชาเคมี. สารชีวโมเลกุล 1. สารชีวโมเลกุล คือ -โมเลกุลของสารชนิดต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต เช่น Carbohydrate, Lipid, Protein และ Vitamin เป็นต้น
E N D
บทเรียนวิชาเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุล 1 โดยนายสกนธ์ชัย ชะนูนันท์ รหัส 4510500017 ป.บัณฑิตทางการสอน เคมี เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาทักษะการสอนวิชาเคมี
สารชีวโมเลกุล 1 สารชีวโมเลกุลคือ -โมเลกุลของสารชนิดต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต เช่น Carbohydrate, Lipid, Proteinและ Vitaminเป็นต้น - โมเลกุลเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน เป็นโมเลกุลตั้งแต่เล็กจนถึงใหญ่มาก - สารชีวโมเลกุลเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
ประเภทของสารชีวโมเลกุลประเภทของสารชีวโมเลกุล สารชีวโมเลกุล หลักๆ สามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate) 2. ไขมัน ( Lipid) 3. โปรตีน( Protein) 4. กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid) 5. วิตามินต่างๆ (Vitamin)
1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คาร์โบไฮเดรต คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งอาจเขียนสูตรได้เป็น Cx(H2O)yหรือ (CH2O)n คาร์โบไฮเดรต แบ่งตามขนาดของโมเลกุล ได้ 3 ประเภทคือ 1. มอนอเเซ็กคาไรด์ ( monosaccharide) 2. ไดเเซ็กคาไรด์( disaccharide) 3. พอลิเเซ็กคาไรด์( polysaccharide)
1. โมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) โมโนแซ็กคาไรด์ เป็น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ไม่สามารถแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กได้อีก มีจำนวนคาร์บอนในโมเลกุลตั้งแต่ 3 ถึง 8 อะตอม การเรียกชื่อน้ำตาล - มีหมู่ฟอร์มิล H-C=O อ่าน Aldo + อ่านจำนวน C + ose เช่น น้ำตาลคาร์บอน 5 อะตอม เรียก Aldopentose- มีหมู่คาร์บอนิล C = O อ่าน Keto + อ่านจำนวน C + ose เช่น น้ำตาลคาร์บอน 5 อะตอม เรียก Ketopentose
PENTOSES ( มี C 5 อะตอม ) Aldopentose Ketopentose D-Ribose D-Arbinose D-Ribulose
HEXOSES ( มี C 6 อะตอม ) Aldohexose Ketohexose D-Glucose C-Galactose D-Fructose
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สำคัญน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สำคัญ CH2OH CH2OH HOH2C H o o O H H HO H H H HO H HO H HO H CH2OH HO HO H OH OH OH H H OH H OH Glucose Galactose Fructose
2. ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharide) ไดแซ็กคาไรด์ เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล และเสียโมเลกุลของน้ำออกไป เมื่อถูกไฮโดรไลส์ด้วย กรด จะกลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ซูโครส + H2O ,H+กลูโครส + ฟรุกโตส แล็กโตส+ H2O ,H+ กลูโคส + กาแลกโตส มอลโทส + H2O ,H+ กลูโคส + กลูโคส
การเกิดไดแซ็กคาไรด์ และการไฮโดรไลซิส HOH2C CH2OH H o O H H H + HO H HO H CH2OH HO HO OH OH H H OH Glucose Fructose CH2OH o H O HOH2C H H H + H2O HO H HO H O HO CH2OH Glycosidic H OH OH H Sucrose
3. พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลขนาดใหญ่ เกิดจากมอนอแซ็กคาไรด์จำนวนมาก ตั้งแต่ 100 - 10,000 หน่วยมารวมตัวกันและเสียน้ำออกไป เช่น แป้ง ไกลโคเจน วุ้น เซลลูโลส เและอินซูลิน เป็นต้น โครงสร้างอาจเป็น โซ่ตรงหรือ โซ่กิ่ง สายโซ่ตรง Linear polysaccharide โซ่กิ่ง Branch- chain polysaccahride
พอลิแซ็กคาไรด์ที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้ 1. แป้ง (Starch) - ประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ 2 ชนิด ได้แก่ อะมิโลส (Amylose) กับ อะมิโลเพคติน (Amylopectin) - มีสูตรทั่วไปเป็น (C6H10O5)n การหมัก ยีสต์ ยีสต์ C12+H22O11 + H2O 2C6H12O6 4C2H5OH + 4CO2
2. เซลลูโลส (Cellulose) เป็นพอลิเเซ็กคาไรด์ที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ เป็นโครงสร้างของพืชที่ประกอบด้วยกลูโคสประมาณ 5,000หน่วยต่อกันเป็นเส้นยาวตรง มีลักษณะเป็นไฟเบอร์เหนียว ทนทาน และไม่ละลายน้ำ เซลลูโลส เซลโลไบโอส กลูโคส (Polysaccharide) ( Disaccharide ) ( Monosaccharide)
โครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลสโครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลส O O Glycosidic bond O O Cellobiose unit
3. ไกลโคเจน เป็นพอลิเเซ็กคาไรด์ ที่สะสมอยูในคนและสัตว์ โดยเฉพาะในตับและในกล้ามเนื้อของคน มีสูตรเช่นเดียวกับแป้งแต่มี n ต่างกัน (C6H10O5n)n
การทดสอบคาร์โบไฮเดรต การทดสอบน้ำตาล 1. Benedict testเบเนดิกต์ เทสต์ เป็นการทดสอบการเป็น ตัวรีดิวซ์ มอนอแซ็กคาไรด์ที่มีหมู่ H-C=Oหรือ 2R-C=O O R-C-H + 2 Cu2+ + 5OH- R-COO- + Cu2O + 3 H2O สีแดงอิฐ สีฟ้า Cu2+Cu+
2. Molish Testเป็นการทดสอบทั่วไปของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่าง + 5 % naphthal in alcohol เอียงหลอดทดลอง แล้ว หยด กรดซัลฟิวริกเข้มข้น สังเกต มีวงแหวนสีม่วงเกิดขึ้น
3. Seliwanoft’s Test เป็นการทดสอบว่ามีหมู่ฟังก์ชันฟอร์มิล H-C=O หรือ 2R-C=O มักใช้กับการทดสอบฟรุกโตส ตัวอย่าง + HCl + Resocinal ถ้ามี H-C=O จะให้สีชมพู ถ้ามี 2R-C=O จะให้สีแดงสด
การทดสอบแป้ง Iodine Test เป็นการทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน ตัวอย่าง + สารละลายไอโอดีน สารละลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน
2. ไขมันและน้ำมัน (lipid) ไขมันและน้ำมัน - เป็นสารประกอบอินทรีย์ - เป็นโครงสร้างที่สำคัญของเหยื่อเซลล์ (cell mambrane) -เป็นแหล่งสะสมของพลังงาน สมบัติทั่วไปของ lipid - ไม่ละลายน้ำแต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ - มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำแต่สูงกว่าเอทานอล
โครงสร้างของ Lipid - ประกอบด้วย C, H และ O แต่อาจมี N และ P - เป็นเอสเทอร์ที่มีสูตรโครงสร้างดังนี้ CH2-O-COOR1 CH-O-COOR2 CH2-O-COOR3 CH2-OH CH-OH CH2-OH R1COOH R2COOH R3COOH + 3H2O + ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมัน กลีเซอรอล กรดไขมัน - เมื่อไอโดรไลซิส จะได้กรดไขมัน
กรดไขมัน (fatty acid) กรดไขมัน เป็นกรดอินทรีย์ ชนิดหนึ่ง RCOOH ส่วนที่เป็น R หรือไฮโดรคาร์บอนประกอบด้วยคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายตรงค่อนข้างยาว จำนวนคาร์บอนที่ต่อกันจะเป็นเลขคู่ประมาณ 12-26 อะตอมที่พบมากจะเป็น 14, 16 หรือ 18
ชนิดของกรดไขมัน กรดไขมันแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามโครงสร้างของหมู่ R คือ 1. กรดไขมันอิ่มตัว(Saturated fatty acid) เช่น กรดปาล์มิติก มีสูตรเป็น CH3(CH2)14COOH 2. กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) เช่น กรดโอเลอิก มีสูตรเป็น CH3(CH2)7-CH=CH-(CH2)7-COOH
สูตรโครงสร้างจุดหลอมเหลว และแหล่งที่พบของกรดไขมัน กรดไขมัน สูตรโครงสร้าง จุดหลอมเหลว oC แหล่งที่พบ กรดไขมันอิ่มตัว Butyric acid Lauric acid Palmitic acid Stearic acid Arachidic acid CH2(CH2)2COOH CH2(CH2)10COOH CH2(CH2)14COOH CH2(CH2)16COOH CH2(CH2)18COOH -7.9 44 63 70 76 เนย น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันสัตว์ ไขสัตว์ น้ำมันถั่วลิสง
กรดไขมัน สูตรโครงสร้าง จุดหลอมเหลว oC แหล่งที่พบ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว Palmictoleic acid Aleic acid Linoleic acid Linolenic acid ไขมันพืชแลสัตว์ น้ำมันมะกอก ไขสัตว์ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด CH3(CH2)5CH=CH(CH2)7COOH CH3(CH2)7CH=CH(CH2)7COOH CH3(CH2)4CH=CHCH2) 2(CH2)6 --COOH CH3CH2(CH=CHCH2) 3(CH2)6 --COOH -1 13.4 -5 -11
ประเภทของกรดไขมัน ไขมันแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ได้ 3 ประเภท คือ 1. ไขมันอย่างง่าย (Simple Lipid) คือ ไขมันที่เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันกับกลีเซอรอล ไขมันอย่างง่าย + น้ำ กรดไขมัน + แอลกอฮอลล์ 2. ไขมันเชิงประกอบ (Compound Lipid) คือ ไขมันอย่างง่ายที่มี องค์ประกอบอย่างอื่นด้วย เช่น ฟอสฟอลิปิด ฟอสฟอลิปิด + น้ำ กรดฟอสฟอริก + แอลกอฮอลล์
3. อนุพันธ์ลิปิด(Derived lipid) คือสารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไขมันทั้ง 2ประเภทที่กล่าวมา ไม่ได้เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันกับกลีเซอรอล และไม่เกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันกับ เบส เช่น สเตอรอยด์ การทดสอบ Lipid นำตัวอย่างไปถูกับกระดาษแล้วกระดาษจะโปร่งแสง
การเกิดสบู่ เกิดจากปฏิกิริยา Saponification ดัง สมการ CH2-OH CH-OH CH2-OH CH2-O-COOR1 CH-O-COOR2 CH2-O-COOR3 R1COONa R2COONa R3COONa + +3NaOH ไขมันหรือน้ำมัน กลีเซอรอล สบู่(เกลือของกรดไขมัน)
โครงสร้างของสบู่ COO- Na+ ส่วนที่ละลายในน้ำมัน (ไม่มีขั้ว) ส่วนที่ละลาย(มีขั้ว) การทำงานของสบู่ จะหันด้านไม่มีขั้วเข้าหาน้ำมันและสิ่งสกปรก และหันด้านที่มีขั้วเข้าหาน้ำ
การตกตะกอนของสบู่ ในน้ำกระด้างจะมี Ca+และ Mg+ 2R-COONa + Ca+ (R-COO)2Ca + 2Na+ สบู่ คราบไคล(ตะกอน)
ผงซักฟอก เป็นสารสังเคราะห์สามารถเตรียมได้จาก 1. แอลกอฮอล์โซ่ยาว กับ กรดซัลฟิวริก C12H25-OH + H2SO4 C12H25-OSO3H C12H25-OSO3- Na+ NaOH 2. ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม กับ กรดซัลฟิวริก C12H25- + H2SO4 C12H25- -SO3H O O NaOH O C12H25- -SO3- Na+
เปรียบเทียบโครงสร้างสบู่กับผงซักฟอกเปรียบเทียบโครงสร้างสบู่กับผงซักฟอก COO- Na+ สบู่ OSO3-Na+ ผงซักฟอก
ปัญหาของการใช้ผงซักฟอกปัญหาของการใช้ผงซักฟอก 1. โครงสร้างบางชนิดสลายตัวยาก เกิดปัญหาตกค้างในสิ่งแวดล้อม 2. มีสารพวกฟอสเฟส เช่น Na5P3O10 ซึ่งมีผลต่อพืชน้ำทำให้พืชน้ำ เจริญเติบโตได้เร็ว การตรวจสอบปริมาณฟอสเฟสในน้ำ 3NH4+ + 12MoO42- + PO43- 24H+ (NH4)3PO4.12MoO3 + 12H2O ตะกอนเหลือง
สารลดแรงตึงผิวของน้ำแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ชนิดที่เป็นไอออนลบ ได้แก่ สบู่และผงซักฟอกที่ใช้ตามบ้านเรือน RCOO- Na+ และ ROSO3- Na+ 2.ชนิดที่เป็นไอออนบวก ได้แก่ ผงซักฟอกที่มักใช้ฆ่าเชื้อหรือทำความสะอาดขวดในโรงงานอุตสาหกรรม 3RN+ Cl- และ 3RN+ OH- 3. ชนิดที่ไม่แตกตัวเป็นไอออน เป็นผงซักฟอกที่เหมาะกับเครื่องซักผ้า O C2H4OH
เอกสารอ้างอิง อัจจนา วงศ์ชัยสุวัฒน์ และ จำลอง มังคละมณี. คู่มือหลักสูตรใหม่เคมี ม. 4 - 6. สำนักพิมพ์ประสานมิตร. 2533 อุไรวรรณ ศิวะกุล. เคมี ม.5 เล่ม 4. โรงเรียนวรรณสรณ์ธุรกิจ. 2544
สารชีวโมเลกุล ปัจจัยต่างๆ ที่สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใช้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร ซึ่งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และเกิดพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ - สารที่อยู่ในอาหารนั้นคืออะไรและมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร
อาหารกับการดำรงชีวิต อาหาร คือ สารที่เข้าสู่ร่างกายไปแล้วจะทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโต ให้พลังงานเพื่อความแข็งแรง และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแก่ร่างกาย อาหารจัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็ต่อการดำรงชีวิตน - สิ่งมีชีวิตต้องการใช้พลังงานตลอดเวลาไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม - พลังงานที่ร่างกายต้องใช้เหล่านี้เป็นพลังงานที่แฝงอยู่ในพันธะเคมีของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของอาหารและสารประกอบอินทรีย์
อาหารกับสารชีวโมเลกุลอาหารกับสารชีวโมเลกุล - ธาตุที่มีอยู่มากในพืชและสัตว์ คือ C H O S F K Ca Mg Cl และ N - ธาตุที่พบเป็นหลักในสารอาหาร คือ C H และ O - N ก็จัดเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารอินทรีย์ด้วยเหมือนกัน - S F พบมากในอาหารจากสิ่งมีชีวิต ส่วน K Ca Mg พบในรูปแร่ธาตุ และในรูปไอออนในสารประกอบอนินทรีย์
สารชีวโมเลกุล ( Biomolecules ) คือ สารประกอบที่ทำหน้าที่ 2 อย่างในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต คือเป็นทั้งโครงสร้าง และสารทำหน้าที่ต่างๆ ของเซลล์ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำ สารประกอบอนินทรีย์ เช่น เกลือ และสารประกอบอินทรีย์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิปิด และกรดนิวคลีอิก สารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิตมีมากมายหลายชนิด บางชนิดมีขนาดโมเลกุลเล็ก มีสูตรโครงสร้างง่ายๆ บางชนิดมีขนาดโต และมีสูตรโครงสร้างสลับซับซ้อน
โปรตีน ( Protein ) โครงสร้างที่สำคัญของโปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโน ต่อ กันเป็นโซ่ด้วยพันธะเพปไตด์ ( Peptide ) รูปร่างโมเลกุลของโปรตีนอาจจะมีแขนงกิ่งก้านสาขา เป็นเส้นตรง หรือขดม้วนเป็นเกลียว เป็นแผ่นก็ได้แล้วแต่ชนิดของโปรตีน เมื่อกรดอะมิโนต่างๆ มาเกิดพันธะกันจะได้โมเลกุลที่ใหญ่ เรียกว่า โปรตีน
ส่วนประกอบของปริมาณของธาตุต่างๆ ในโปรตีน
กรดอะมิโน ( Amino acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล ( -COOH ) และหมู่อะมิโน ( -NH2 ) เป็นหมู่ฟังก์ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วเมื่อไฮโดรไลต์โปรตีนจากสิ่งมีชีวิตที่พบมากมีอยู่ 20 ชนิด สูตรทั่วไปของกรดอะมิโนมีดังนี้
กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่แตกต่างๆ กันเฉพาะในหมู่ R- ที่เรียกว่า Side chain กรดอะมิโนแบ่งตามสภาพขั้วของหมู่ R- ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- ไม่มีขั้ว 2. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีขั้วและมีสมบัติเป็นกลาง 3. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีสมบัติเป็นกรด 4. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- มีสมบัติเป็นเบส
1. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- ไม่มีขั้ว Valine Alanine Glycine Phenylalanine Isoleucine Leucine
Proline 2. กรดอะมิโนที่มีหมู่ R- ไม่มีขั้วเป็นกลาง Serine Cysteine Threonine
Cystine Methionine Tryptophan Hydroxyproline Tyrosine
3. กรดอะมิโนที่มีสมบัติเป็นกรด Asparagine Apartic acid Glutamic acid Glutamine
4. กรดอะมิโนที่มีสมบัติเป็นเบส Histidine Lysine Arginine
สมบัติทั่วไปของกรดอะมิโนสมบัติทั่วไปของกรดอะมิโน 1. สถานะ เป็นของแข็งถ้าบริสุทธิ์จะเป็นผลึก ไม่มีสี 2. การละลายกรดอะมิโนสามารถละลายน้ำได้ดี ( เป็นโมเลกุลมีขั้ว ) เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เป็นพันธะไฮโดรเจน และแรงแวนเดอร์วาลส์ 3. จุดหลอมเหลวสูงโดยมากมักจะสลายตัวที่อุณหภูมิระหว่าง 150 - 300 องศาเซลเซียส 4. ความเป็นกรดเบส กรดอะมิโนมีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เรียกว่า สารแอมโฟเทอร์ริก ( Amphoteric substance )
5. กรดอะมิโนมีหมู่ฟังก์ชัน 2 แบบ คือ หมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโน ดังนั้นจึงแสดงสมบัติทางเคมีตามหมู่ฟังก์ชันทั้ง 2 แบบคือ แสดงสมบัติคล้ายกรดอินทรีย์ และเอมีน 6. กรดอะมิโนสามารถทำปฏิกิริยากันได้ โดยใช้หมู่อะมิโนของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งทำปฏิกิริยากับหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโนของอีกโมเลกุลหนึ่ง ได้สารประกอบพวกเพปไทด์