1.13k likes | 1.65k Views
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มี 15 มาตรา. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ
E N D
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มี 15 มาตรา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มี 38 ข้อ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ต่อบุคคลภายนอก เจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐ
ข้อ 4 เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ผู้แต่งตั้ง หมายความว่า ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ ความเสียหาย หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดอย่างใด ๆ แต่ไม่รวมถึงการออกคำสั่งหรือกฎ
ความเสียหาย ความเสียหายที่เกิดจาก การละเมิดอย่างใดๆ แต่ไม่รวมถึง การออกคำสั่งหรือกฎ
คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเรื่องเสร็จที่ 399/2546 และที่ 637/2549 เห็นว่า แม้ว่าวิธีพิจารณาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ นรฯ จะไม่ใช้บังคับกับความเสียหายอันเนื่องมาจากการออกคำสั่งหรือกฎก็ตาม แต่ระเบียบนั้นเป็นเพียงหลักวิธีสบัญญัติในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดอันเนื่องมาจากปฏิบัติการทางปกครอง เพื่อมาปรับกับหลักกฎหมายที่เป็นสารบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เท่านั้น ส่วนการแสวงหาข้อเท็จจริงของการละเมิดอันเนื่องมาจากการออกกฎหรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น แม้จะไม่มีระเบียบหรือกฎกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ก็ตาม หน่วยงานของรัฐที่เสียหายก็ยังมีหน้าที่แสวงหา ข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่าการละเมิดเป็นไปตามหลักสารบัญญัติบทใดอันเป็นหลักทั่วไปของการบริหารราชการ ดังนั้น แม้ระเบียบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จะไม่ใช้บังคับกับกรณีนี้ก็ตามแต่ก็ยังมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อที่จะทราบได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากการออกกฎหรือคำสั่งนั้นเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ และเป็นไปตามบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 สำหรับการแสวงหาข้อเท็จจริง จะดำเนินการเป็นประการไดก็ได้เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปอย่างโปร่งใสและเที่ยงธรรม คืออาจใช้ระเบียบ นรฯ เป็นแนวทาง และแจ้งผลการพิจารณาไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางเกี่ยวกับการเงินของรัฐเพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
หมวด 1 กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐ
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ข้อ 7 ละเมิดต่อหน่วยงานที่ตนสังกัดให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาโดยไม่ชักช้า และให้ รายงานตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ 9 ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐอีกแห่งหนึ่ง ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาและรายงาน ตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานที่ตนสังกัด ข้อ 31 เจ้าหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ถ้าเจ้าหน้าที่คนนั้นเห็นว่า ความเสียหายเกิดขึ้นเกิดขึ้นเนื่องในการที่ตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหายแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา และให้มีการรายงาน ตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานที่ตนสังกัด ( การรายงานเมื่อต้องคดี มีระเบียบเกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 1 บทที่ 13 ข้อ 2 เมื่อข้าราชการตำรวจต้องคดี ต้องปฏิบัติ เมื่อต้องหาคดีอาญา หรือถูกฟ้องคดีแพ่งหรือคดีล้มละลายหรือถูกยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา ครั้งแรกให้รายงานเมื่อถูกสอบสวนหรือถูกฟ้อง หรือถูกยึดทรัพย์ โดยชี้แจงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยละเอียด ภายใน 3 วัน นับแต่วันถูกจับหรือเรียกตัวไปสอบสวน หรือวันรับหมายศาล หรือวันที่ถูกยึดทรัพย์ เมื่อคดีนั้นคืบหน้าไปประการใดให้รายงานอีกตามลำดับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หัวข้อที่จะรายงาน ให้รายงานโดยละเอียดพอที่ผู้รับรายงานจะทราบเรื่องได้ดี ระดับการลงทัณฑ์ แนบท้ายหนังสือ ตร. ที่ 0522.41/7366 ลง 6 มิ.ย.2538 ลำดับ 17.10 ไม่รายงานตนต้องหาคดีอาญา คดีแพ่งและคดีล้มละลาย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบระดับทัณฑ์ภาคทัณฑ์ )
เจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานที่ตนสังกัดเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด รายงานความเสียหายให้ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน ผู้บังคับบัญชาทราบเรื่องรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงหัวหน้าหน่วยงาน หรือบุคคลที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมาย หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหาย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบฯ ไม่แต่งตั้งฯ หรือแต่งตั้งไม่เหมาะสม ข้อ 12
ข้อ 7 เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา โดยไม่ชักช้า และรายงานตามลำดับจนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
ข้อ 8 เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐแห่งใดและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น มีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นคณะหนึ่ง โดยไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้
มีหนังสือที่เกี่ยวข้อง มีหนังสือที่เกี่ยวข้อง 1. หนังสือ กค 0406.2/ว.75 ลง 30 ต.ค.2550 เมื่อเกิดความเสียหายและมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐ - แต่งตั้งคณะกรรมการโดยไม่ชักช้า อย่างช้าไม่ควรเกิน 15 วัน นับแต่วันรู้หรือทราบความเสียหาย 2. หนังสือ กค ที่ 0430.7/ว 92 ลง 10 ส.ค.2544 - เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานใดและหัวหน้าหน่วยงานนั้น เห็นว่าน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดทันที 3. หนังสือ ตร. ที่ 0031.31/691 ลง 30 ม.ค.2549 ให้หน่วยต่าง ๆระบุการเริ่มนับระยะเวลาไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบฯ โดยให้เริ่มนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งด้วย
อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงาน แต่งตั้งคณะกรรมการ กรณีหน่วยงานของรัฐเสียหาย(ข้อ 8) แต่งตั้งคณะกรรมการร่วม กรณีทำให้หน่วยงานรัฐอื่นเสียหาย(ข้อ 10)ความเสียหายมากกว่าหนึ่งแห่ง หรือเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน(ข้อ 11) แต่งตั้งคณะกรรมการ กรณีบุคคลภายนอกยื่นคำขอ(ข้อ 32) ฟ้องศาล(ข้อ 35)
ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คือ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับ ความเสียหาย ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (ระเบียบ กตช. )
การตั้งคณะกรรมการ เพื่อ การตรวจสอบและให้ความเห็นว่า มีการกระทำละเมิดหรือไม่ มีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้หรือไม่ หน่วยงานมีส่วนบกพร่องหรือไม่ ต้องรับผิดชดใช้เท่าใด มีสัดส่วนความรับผิดอย่างไร
เหตุอันควรเชื่อ ตามข้อ 8 และ 12 ของ ระเบียบ นรฯ หมายความอย่างไร ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 91/2541, 129/2542 กรณีทรัพย์สินของทางราชการเกิดความเสียหาย หัวหน้าหน่วยงานมีหน้าที่สอบสวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าความเสียหายเกิดจากสาเหตุใด ถ้าเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แต่ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ปลัดหรือรัฐมนตรีทราบเพื่อจะได้พิจารณาว่าสมควรดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ตามข้อ 12 ของระเบียบ นรฯ ต่อไปหรือไม่ แต่ทั้งนี้ควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงโดยละเอียดก่อนที่จะพิจารณาสั่งการตามข้อ 8 วรรค 1 เหตุอันควรเชื่อ ตามข้อ 8 ของระเบียบ นรฯ ต้องพิจารณาจากมาตรฐานวิญญูชน ผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป
- กรณีทรัพย์สินของทางราการเกิดความเสียหาย หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สอบสวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าความเสียหายเกิดจากสาเหตุใด ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีเหตุอันควรเชื่อว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ 8 วรรค 1 ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แต่ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ ปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหรือซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าวทราบ เพื่อจะได้พิจารณาว่าสมควรดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ 12 แห่งระเบียบ นรฯ ต่อไปหรือไม่ (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ 129/2542)
กรณีไม่ต้องตั้งคณะกรรมการกรณีไม่ต้องตั้งคณะกรรมการ แน่นอน ชัดเจน ว่า เจ้าหน้าที่ผู้ใดทำละเมิด เจ้าหน้าที่ผู้ใดต้องรับผิด จำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน เจ้าหน้าที่ยินยอมชดใช้ให้หน่วยงานแล้ว เสียหายเป็นเงิน จำนวนแน่นอน – ชดใช้ครบถ้วนแล้ว หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ดำเนินการ - รายงาน รมต. กำกับดูแล - เห็นด้วย : ยุติเรื่อง ไม่เห็นด้วย : แต่งตั้งคณะกรรมการฯ (ความรับผิดทางละเมิด)
(คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๘๖/๒๕๔๕) การเสนอให้แต่งตั้งหรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการภายในเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการสั่งการเจ้าหน้าที่ผู้ที่จะถูกกล่าวหายังไม่เป็นผู้เสียหาย ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 490/2543 กรณีเกิดความเสียหายแกหน่วยงานของรัฐหากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย โดยหน่วยงานดังกล่าวยังไม่ได้ดำเนินการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด สามารถแยกได้ 2 กรณี 1 ความเสียหายเกิดแก่เงิน ที่มีค่าเสียหายจำนวนแน่นอน สามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนเงินได้แน่นอน และเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดได้ชดใช้ครบเต็มตามจำนวนแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งกรรมการสอบละเมิด 2. กรณีนอกจาก 1 หน่วยงานของรัฐจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามระเบียบ นรฯ เพื่อสอบข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นโดยสั่งการว่ามีผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่และเป็นจำนวนเท่าใด
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 776/2541 หน่วยงานของรัฐไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเนื่องจากทราบตัวผู้กระทำผิดแน่นอนและผู้กระทำละเมิดยินยอมรับผิดชดใช้ จะต้องตั้งคณะกรรมการหรือไม่ เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามระเบียบ นรฯ ข้อ 8 เพื่อหาตัวผู้รับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะชดใช้ นอกจากความมุ่งหมายที่ให้มีการแต่งตั้งดังกล่าวแล้ว ระเบียบดังกล่าวยังมีประโยชน์สำหรับหน่วยงานของรัฐ ในการที่จะสอบหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่ามีผู้ใดร่วมในการกระทำความผิดในเรื่องดังกล่าวอีกหรือไม่ และจะต้องรับผิดชดใช้เป็นจำนวนเท่าใด รวมตลอดถึงการรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอาจที่จะนำไปพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีของศาลอีกด้วย การที่สถาบัน.. ไม่ได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจึงไม่ถูกต้อง
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 129/2542 (รถเฉี่ยวชน) เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดต่อเมื่อมีข้อเท็จจริงว่าความเสียหายดังกล่าวมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่มีส่วนร่วม กรณีดังกล่าวได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่แต่เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกฝ่ายเดียวเจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนในการกระทำละเมิด ก็ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แต่ต้องรายงานผลการพิจารณาให้นายกหรือ รมต. พิจารณาตามข้อ 12 ระเบียบ นรฯ
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 706/2543 (รถเฉี่ยวชน) การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ 8 ว.1 และข้อ 31 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐหรือต่อบุคคลภายนอกหรือไม่ เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หากเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่กระทำไปด้วยความจงใจหรือประมาทร้ายแรงหรือไม่ จำนวนค่าเสียหายเป็นเท่าใด ในกรณีที่การกระทำละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนแต่ละคนมีสัดส่วนความรับผิดเป็นอย่างไร และความเสียหายที่เกิดขึ้นหน่วยงานของรัฐมีส่วนบกพร่องด้วยหรือไม่ กรมประชาสัมพันธ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เชื่อว่าความเสียหายเกิดจากเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ ประกอบกับยังไม่ทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน เพราะค่าซ่อมรถอาจแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของอุปกรณ์อะไหล่ตลอดจนฝีมือและความประณีตของช่าง รวมทั้งค่าเสื่อมราคาของรถ ดังนั้นจึงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สำหรับกรณีเจ้าหน้าที่ยอมซ่อมรถและยอมชดใช้แก่บุคคลภายนอก เป็นเรื่องที่กรมประชาสัมพันธ์จะนำมาประกอบการพิจารณาในภายหลังเมื่อได้รับผลการพิจารณาของคณะกรรมการ
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 193/2543 เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้ จะต้องตั้งกรรมการสอบละเมิดหรือไม่ (ไปรษณียภัณฑ์สูญหาย) การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ 8 ว.1 ของระเบียบ นรฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่ามีการกระทำละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ มีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจะต้องรับผิดชดใช้เป็นจำนวนเงินเท่าใด หน่วยงานของรัฐมีส่วนบกพร่องด้วยหรือไม่ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำให้ได้ความกระจ่าง แต่ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐทราบแน่ชัดว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้คือผู้ใด ทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน และเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้แล้ว หน่วยงานของรัฐก็ไม่จำต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
บุคคลภายนอกฟ้องเจ้าหนี้ที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่บุคคลภายนอกฟ้องเจ้าหนี้ที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่ ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 338/2540 เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการส่วนตัว และข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใด ๆ ที่จะให้พนักงานอัยการแถลงต่อศาลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องหลุดพ้นจากการเป็นคู่ความในคดีตามข้อ 37 ในชั้นนี้ หน่วยงานของรัฐสมควรดำเนินการสอบข้อเท็จจริงไว้เพื่อใช้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ขอให้ศาลเรียกหน่วยงานเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามข้อ 37
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 411/2543 สตง. ชี้มูลความผิด สตง. ตรวจพบว่าเงินขาดบัญชี หน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการมติ ครม. เมื่อ 24 เม.ย.2539 เร่งรัดการดำเนินคดีอาญา แพ่งและวินัย โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีกเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการขาดอายุความและกรณีอื่น ๆ เว้นแต่ ความรับผิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องเป็นไปตาม พรบ.ละเมิด ซึ่งตามระเบียบ นรฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดหรือไม่ ถ้าต้องรับผิดจะต้องรับผิดอย่างไร
คุณสมบัติและข้อห้ามของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดคุณสมบัติและข้อห้ามของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ระเบียบ นรฯ มิได้กำหนดเรื่องคุณสมบัติและข้อห้ามของผู้ที่เป็นกรรมการไว้ 1. หลักตามกฎหมายทั่วไป คือ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 2. กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0410.2/ว 217 ลง 16 มิ.ย.2551 เรื่องการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด - หัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้แต่งตั้งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับการพิจารณา ย่อมขัดมาตรา 13 พ.ร.บ.วิปกครอง ควรรายงานผู้บังคับบัญชาหรือผู้กำกับดูแลขึ้นไป 1 ลำดับ ตามข้อ 12 - กรรมการต้องไม่แต่งตั้งจากผู้มีสวนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนทำหน้าที่พิจารณาทางปกครอง
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 806/2542 ในหลักการทั่วไป การแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ไม่ควรแต่งตั้งผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบข้อเท็จจริงฯ เป็นกรรมการ เพราะอาจทำให้การสอบไม่ได้ข้อเท็จจริงครบทุกด้านและจะทำให้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงได้ ในเรื่องนี้แม้มีผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการอยู่ด้วย ก็ไม่เสียไป หากกระทรวงการคลังเห็นว่ามูลละเมิดมีกรณีพาดพิงว่าผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดด้วยกระทรวงการคลัง อาจแจ้งความเห็นดังกล่าวให้หน่วยงานพิจารณาแต่งตั้งกรรมการเฉพาะในส่วนผู้บังคับบัญชาได้อีก
ข้อ 8 วรรคสอง คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนไม่เกิน 5 คน โดยแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นหรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่เห็นสมควร
ข้อ 8 วรรคสาม กระทรวงการคลังอาจประกาศกำหนดว่า ในกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่จำนวนเท่าใด จะให้มีผู้แทนของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
ข้อ 8 วรรคสี่ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ ให้กำหนดเวลาแล้วเสร็จของการพิจารณาของคณะกรรมการ ไว้ด้วย
มีหนังสือที่เกี่ยวข้องมีหนังสือที่เกี่ยวข้อง 1. หนังสือ กค 0406.2/ว.75 ลง 30 ต.ค.2550 เมื่อเกิดความเสียหายและมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงาน ของรัฐ - สอบฯ ให้เสร็จโดยเร็ว อย่างช้าไม่ควรเกิน 60 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง - อาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้อีกครั้งละไม่เกิน 30 วัน โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็น - หนังสือ กค ที่ 0410.2/ว 217 ลง 16 มิ.ย.2551 ข้อ 3 ควรขยายเวลาแต่เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
2.หนังสือ กค ที่ 0410.2/ว 217 ลง 16 มิ.ย.2551 ข้อ 3 ควรขยายเวลาแต่เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ข้อ 9 ถ้าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ แห่งหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอีกแห่งหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหายแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาและให้มีการรายงานตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด เว้นแต่
เจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหายเจ้าหน้าที่ผู้ทำให้เกิดความเสียหาย รมต. แจ้งต่อ นรม. กรรมการ แจ้งต่อ หน.หน่วยงาน ไม่สังกัด แจ้งต่อ กค. ไม่มีผบช. แจ้งต่อ ผู้กำกับดูแล (1) (2) (4) (3)
ข้อ 10ในกรณีความเสียหายเกิดขึ้น ตามข้อ 9 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดหรือผู้ซึ่งระเบียบนี้กำหนดให้เป็นผู้รับแจ้งตามข้อ 9 (1) (2) (3) หรือ(4) แล้วแต่กรณีมีอำนาจร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการ
ข้อ 11ในกรณีที่เกิดความเสียหาย แก่หน่วยงานของรัฐมากกว่าหนึ่งแห่งและหรือความเสียหายเกิดจากผลการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตามข้อ 8 หรือข้อ 10 บรรดา ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีร่วมกันแต่งตั้ง คณะกรรมการ
- หน่วยงานของรัฐมากกว่าหนึ่งแห่งได้รับความเสียหาย - เกิดจากผลการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน - ให้หัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับความเสียหายและหัวหน้า - หน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดร่วมกันแต่งตั้งคณะ กรรมการฯ
ข้อ 12 ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตาม ข้อ 8 ข้อ 10 หรือข้อ 11 ไม่ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการภายในเวลาอันควรหรือแต่งตั้งกรรมการโดยไม่เหมาะสม ให้ปลัดกระทรวง ปลัดทบวงหรือรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหรือควบคุมการปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าวมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการแทน ผู้มีอำนาจแต่งตั้งนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ 13 ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมหรือเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน
วรรคสอง มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุม อาจทำความเห็นแย้งมติที่ประชุม รวมไว้ในความเห็นของคณะกรรมการได้
ข้อ 14 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำละเมิด โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง รับฟังพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบเอกสาร วัตถุ หรือสถานที่
วรรคสอง กระทรวงการคลังอาจกำหนดแนวทางการสอบข้อเท็จจริง การทำบันทึกและการรายงานผล เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเป็นการทั่วไปได้
การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ ดังนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิด รวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง รับฟังพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบเอกสาร วัตถุหรือสถานที่ รายละเอียดในการดำเนินการสอบกระทรวงการคลัง - หนังสือ ที่ กค 0526.6/34086 ลง 22 ก.ย.2540 กำหนดรูปแบบการสอบไว้โดยสังเขป ยกเลิกโดย หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0406.7/ว.56 ลง 12 ก.ย.2550 จัดประเภทการสอบเป็น 5 ประเภทและกำหนดแบบบันทึกการสอบสวน(สล1) แบบรายงานผลการสอบ (สล2)
- หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0406.3/ว.33 ลง 19 ก.ย.2549 การสำนวนให้กระทรวงการคลัง
ข้อ 15 คณะกรรมการต้องให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม
การพิจารณา มาตรา 30 คำสั่งทางปกครองอาจกระทบสิทธิของคู่กรณีเจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ข้อยกเว้นวรรคสอง 10/28/2014 ส.วว./an 46
- หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0410.2/ว 75 ลง 30 ต.ค.2550ข้อ 3 หนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค 0410.2/ว 217 ลง 16 มิ.ย.2551 ข้อ 4 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 30
ข้อ 16เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเสร็จแล้วให้เสนอความเห็นไปยังผู้แต่งตั้ง ถ้าผู้แต่งตั้งขอให้ทบทวนหรือสอบสวนเพิ่มเติมให้คณะกรรมการรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
ความเห็นของคณะกรรมการต้องมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่แจ้งชัด และต้องมีพยานหลักฐานที่สนับสนุนประกอบด้วย ความเห็นของคณะกรรมการไม่ผูกมัดผู้แต่งตั้งหรือรัฐที่จะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ยังไม่เสียหาย การพิจารณาและการเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดที่เสนอต่อผู้มีคำสั่งแต่งตั้ง ไม่มีผลผูกพันโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ ยังฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ (คำสั่งศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ ๑๕๐๕/๒๕๔๕) การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เป็นเพียงขั้นตอนภายใน ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ยังฟ้องคดีไม่ได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๘/๒๕๔๔ และ ที่ ๕๖๕/๒๕๔๖)