1 / 79

ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลเจริญธรรม

ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลเจริญธรรม. ที่ตั้งและอาณาเขต. ข้อมูลทางด้านกายภาพ. ตำบลเจริญธรรม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอวิหารแดง ตำบลเจริญธรรมมีพื้นที่ทั้งหมด 16,627 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 10,502 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

jescie-rowe
Download Presentation

ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลเจริญธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม

  2. ที่ตั้งและอาณาเขต ข้อมูลทางด้านกายภาพ ตำบลเจริญธรรม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอวิหารแดง ตำบลเจริญธรรมมีพื้นที่ทั้งหมด 16,627 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 10,502 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองสรวง และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีทิศตะวันออกติดต่อกับ ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

  3. ข้อมูลทางด้านกายภาพ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลเจริญธรรม มีลักษณะเป็นที่ราบค่อนข้างราบเรียบแบบลูกคลื่นลอนลาด ตอนบนสุดของ องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม จรดภูเขา มีความสูงจากเชิงเขา 40 เมตร - 50 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยทอดตัวจากตอนบนลงสู่ตอนล่างของตำบล แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองชุมเห็ด คลองเจริญธรรม คลองเรือ ซึ่งไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ของตำบล สภาพพื้นที่โดยทั่วไปจึงเหมาะสำหรับการทำนาในที่ราบลุ่ม และปลูกพืชไร่บนดอนหรือพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด

  4. ข้อมูลทางด้านกายภาพ แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนองโพธิ์ มี นายเฉลิมชัย อินทร์ชัย เป็นกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งขุยปูมี น.ส.พรรณทิพา ฤทธิ์แก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านหนองไผ่มี นายอุดม จรเสถียร เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านสมานมิตร มี นายสมนึก สมประสงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านเจริญธรรมมี นายสมหมาย พิลาชัย เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านราษฎร์เจริญ มี นายคนึง มาดิษฐ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านเขาน้อย มี นายทองใบ ทรัพย์สมบูรณ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านหนองปรือ มี นายบุญยืน สร้อยพวง เป็นผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม

  5. ข้อมูลทางด้านกายภาพ พื้นที่ป่า ตำบลเจริญธรรม มีสภาพพื้นที่เป็นป่าอยู่บริเวณหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ซึ่งติดกับ ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย เป็นที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิ เป็นภูมิอากาศแบบเมืองร้อน ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว จะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในฤดูหนาวจะหนาวเป็นช่วงๆ ฤดูร้อนจะร้อนยาวนาน และร้อนมากในเวลากลางวัน แหล่งน้ำและปริมาณน้ำในรอบปี ปริมาณและการกระจาย ตัวของฝน ฝนจะตกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน มิถุนายน และจะมีทิ้งช่วงในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม และจะชุกมากอีกช่วงในเดือนกันยายน ถึงต้อนเดือนตุลาคม

  6. ข้อมูลทางด้านกายภาพ แหล่งน้ำที่สำคัญ แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ 1. คลองชุมเห็ด 2. คลองเจริญธรรม 3. คลองเรือ เส้นทางคมนาคม 1. มีเส้นทางคมนาคมหลักที่สำคัญ 3 เส้นทาง คือ ถนนประชาสรรค์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถนนสายซอยแปด ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนสายเจริญธรรม – สมานมิตร 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 33 (หินกอง-บ้านนา) มีการคมนาคมเชื่อมติดต่อกับตำบลใกล้เคียง โดยผ่านหมู่ที่ 1-4 ตำบลบ้านลำ หมู่ที่ 1 และ 10 ตำบลหนองสรวง หมู่ที่ 1,2,3,7 และ 10 ตำบลวิหารแดง และหมู่ที่ 8 ตำบลคลองเรือ

  7. การคมนาคมขนส่งในตำบลเจริญธรรมการคมนาคมขนส่งในตำบลเจริญธรรม

  8. การโทรคมนาคม/การสื่อสารการโทรคมนาคม/การสื่อสาร • ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์หรือวิทยุใช้ 1,514 ครัวเรือน • ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ 43 ครัวเรือน • ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้านหรือเคลื่อนที่ 1,496 ครัวเรือน • หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย/เสียงไร้สาย 5 แห่ง การไฟฟ้า • การบริการไฟฟ้า ได้รับบริการไฟฟ้าแล้วทุกหมู่บ้าน โดยหมู่ที่มีไฟฟ้าครบทุกหลังคาเรือน • ได้แก่ หมู่ 1 และหมู่ 2 ส่วนหมู่บ้านที่มีฟ้าใช้แต่ยังไม่ครบทุกหลังคาเรือน ได้แก่ • หมู่ 3 ยังขาดอีก 2 หลังคาเรือน • หมู่ 4 ยังขาดอีก 5 หลังคาเรือน • หมู่ 6 ยังขาดอีก 10 หลังคาเรือน • หมู่ 7 ยังขาดอีก 10 หลังคาเรือน • หมู่ 8 ยังขาดอีก 10 หลังคาเรือน • * สาเหตุที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ไกลคู่สาย

  9. แหล่งน้ำ

  10. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ข้อมูลกลุ่มชุดดินความเหมาะสมของดินและคุณภาพของดิน กลุ่มดินชุดที่ 16 ลักษณะโดยทั่วไป เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินมีสีน้ำตาลอ่อน หรือ สีน้ำตาลปนเทา และมีจุดประสีน้ำตาลเข้ม สีเหลือง หรือสีแดง ในดินชั้นล่างอาจพบพวกเหล็กและแมงกานีสปะปน กลุ่มดินนี้เกิด จากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกินลำน้ำ พบบริเวณพื้นที่รายเรียบ ถึงค่อนข้างราบเรียบ ตามลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังลึกน้อยกว่า 30 ซม. นาน 3-5 เดือน เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำเลว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำหรือค่อนข้างต่ำ pH 5.0-6.0 ได้แก่ ดินชุดหินกอง ศรีเทพ และพานทอง ลำปาง เกาะใหญ่ ปัจจุบันดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา

  11. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ข้อมูลกลุ่มชุดดินความเหมาะสมของดินและคุณภาพของดิน กลุ่มดินชุดที่ 16 บริเวณที่พบ ทางทิศตะวันตกของตำบล บริเวณหมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 8 ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน หน้าดินแน่นทึบทำให้ข้าวแตกกอได้ยาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ฤดูฝนมีน้ำแช่ขังนาน 4-5 เดือน ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช กลุ่มดินชุดที่ 16 มีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนามากกว่าการปลูกพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เนื่องจากพบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบราบเรียบ ลักษณะเนื้อดินละเอียดปานกลาง มีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังที่ผิวดิน 3-4 เดือน อย่างไรก็ตามในฤดูแล้งสามารถปลูกพืชไร่และพืชผักได้ ถ้ามีน้ำชลประทานหรือแล้งน้ำธรรมชาติช่วยเสริม ในบางพื้นที่เกษตรกรได้ปฏิบัติแล้ว

  12. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ข้อมูลกลุ่มชุดดินความเหมาะสมของดินและคุณภาพของดิน กลุ่มชุดดินที่ 62 ลักษณะโดยทั่วไป ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35% ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติแตกต่างไปแล้ว แต่ชนิดของหินกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้น หลายแห่งมีการไร่เลื่อนลอย โดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน จนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ ชุดดินที่ลาดชันเชิงช้อน (SC) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบ ต่อระบบนิเวศน์ควรสงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร

  13. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ข้อมูลกลุ่มชุดดินความเหมาะสมของดินและคุณภาพของดิน กลุ่มชุดดินที่ 62 บริเวณที่พบ ทางตอนเหนือสุดของตำบล บริเวณหมู่ที่ 6,7 ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ภูเขาลาดชันมากกว่า 35% มีการกัดกร่อนของดินได้ง่าย ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืช ดินกลุ่มที่ 62 ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเพาะปลูกพืช เนื่องจากเป็นดินตื้น มีหินโผล่ที่ผิวดินเป็นส่วนใหญ่ และพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน มีความลาดเทเฉลี่ยเกิน 35 % ง่ายต่อการชะล้างพังทลายของดิน จึงเหมาะสมที่จะรักษาไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร

  14. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ข้อมูลกลุ่มชุดดินความเหมาะสมของดินและคุณภาพของดิน กลุ่มชุดดินที่ 56 B ลักษณะโดยทั่วไป เนื้อดินช่วง 50 ซ.ม. ตอนบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน ดินมีสีน้ำตาลเหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติต่ำ pH 5.0-6.0 บริเวณที่พบ ทางตอนเหนือสุดของตำบล หมู่ที่ 6,7 ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืช ดินกลุ่มนี้มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง

  15. ข้อมูลทางด้านสาธารณูปโภค ข้อมูลทางด้านสาธารณูปโภค ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง ภายในตำบลมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นทางราชการและชุมชนดังนี้ - สถานีอนามัย 1 แห่ง - คลินิก 1 แห่ง - โรงเรียน 4 แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง - ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง - วัด 3 แห่ง - มูลนิธิ 2 แห่ง - โรงสีข้าว 2 แห่ง - คลินิก 1 แห่ง - มูลนิธิ 2 แห่ง - โรงสี 1 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง - ร้านค้า 45 แห่ง - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ ห้องสมุดประชาชน 8 แห่ง

  16. ข้อมูลทางด้านชีวภาพ พันธุ์พืชที่ปลูก/ พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ 1. พันธุ์พืชที่ปลูก 1.1 ข้าวนาปี ตำบลเจริญธรรม มีพื้นที่ทำนาทั้งหมด 2,392 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม เช่น ชัยนาท 1, สุพรรณบุรี 1 นอกนั้นจะเป็นพันธุ์พื้นเมือง และข้าวเจ้าไวแสง เช่น ขาวกอขาวตามี ขากคันนา เจ็กเชย บี 3 เกษตร A เป็นต้น 1.2 ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง , กระท้อน ,มะไฟ , หมาก ซึ่งเกษตรกรที่ทำสวนไม้ผลจะปลูกในลักษณะผสมผสาน หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน 1.3 พืชผัก เกษตรกรในตำบลเจริญธรรม จะปลูกพืชผักเป็นอาชีพเสริมบ้างเล็กน้อย ตามหัวไร่ปลายนา หรือสวนหลังบ้าน 1.4 เพาะเห็ดฟางเรือน มีเกษตรกรเพาะเห็ดฟางโรงเรือน จำนวน 202 โรง

  17. ข้อมูลทางด้านชีวภาพ สภาพการผลิตทางการเกษตร ด้านการผลิตพืช เกษตรกรในตำบลเจริญธรรม มีการเพาะปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวและเชิงผสม การปลูกพืชไม่มีหลากหลายชนิด เช่น ส่วนใหญ่เกษตรกรทำนา (นาปี) ในพื้นที่ราบลุ่มและที่ดอนปลูกพืชผักและสวนไม้ผล ตารางแสดงระบบการปลูกพืช

  18. ข้อมูลทางด้านปศุสัตว์ ข้อมูลทางด้านปศุสัตว์ ตารางแสดงจำนวนสัตว์ภายในตำบลเจริญธรรม อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

  19. การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรภายในตำบลเจริญธรรม ส่วนใหญ่จะเก็บไว้บริโภคภายในครัวเรือน จะมีการเลี้ยงเป็นฟาร์มที่เห็นชัดเจน คือ ไก่เนื้อ จะอยู่หมู่ที่ 1,4 และหมู่ที่ 6 เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ นอกนั้นจะมีฟาร์มสุกรอยู่ที่ 1ส่วนการเลี้ยงโค กระบือจะเลี้ยงในลักษณะเป็นโคขุน และกระบือขุนโรงฆ่าสัตว์เป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว ปัญหาที่พบ คือ โรคระบาดของสัตว์ปีก ส่วนในฟาร์มจะมีเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการของฟาร์ม การใช้ที่ดิน การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ไม่มีการบำรุงรักษาดิน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากขาดธาตุอาหาร นอกเขตชลประทานหลังทำนาเสร็จ ปล่อยให้นารกร้างว่างเปล่าขาดการดูแลบำรุงควรดำเนินการดังนี้ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยหมัก , ปุ๋ยคอก , ปุ๋ยชีวภาพ ,ปุ๋ยพืชสด เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน แล้วไถกลบช่วงฤดูการทำนา ไม่ควรเผาเศษพืชหรือตอซังข้าว ให้ใช้วิธีการไถกลบแนะนำให้ทำนาโดยการล้มตอซัง

  20. ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ 1. ขนาดถือครองที่ดิน ตำบลหนองสรวงมีพื้นที่ทั้งหมด 16,627 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 10,502 ไร่ คิดเป็นมีครัวเรือนเกษตรกร 335 ครัวเรือน - ที่ดินเป็นของตนเอง 220 ครัวเรือนพื้นที่ 4,136 ไร่เฉลี่ย 18.80 ไร่/ครัวเรือน - เช่าผู้อื่น 67 ครัวเรือนพื้นที่ 3,910 ไร่ เฉลี่ย 58.36 ไร่/ครัวเรือน - อาศัยผู้อื่น 48 ครัวเรือนพื้นที่ 2,456 ไร่ เฉลี่ย 51.17 ไร่/ครัวเรือน 2. สิทธิ์ในที่ดินทำกิน เกษตรกรร้อยละ 60 ได้รับเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินประเภทนส.3 ก. ซึ่งเป็นมรดกตกทอด มาจาก ปู่ , ยา , ตา , ยาย 3. จำนวนแรงงาน - แรงงานในภาคเกษตรเฉลี่ย 4 คน/ครัวเรือน - แรงงานนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 3 คน/ครัวเรือน - ค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรเฉลี่ย 80 –120 บาท/คน - ค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 150 – 200 บาท/คน

  21. ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ 4. รายได้ – รายจ่ายของครัวเรือน รายได้ของเกษตรกรภายในตำบลเจริญธรรมที่เป็นเงินสดส่วนใหญ่ได้มาจากการขยายสินค้า ทางการเกษตรได้แก่ ไม้ผล , ข้าว , ปศุสัตว์ , เห็ดฟาง เป็นหลักและรายได้นอกภาคการเกษตร ได้แก่ การรับจ้าง ค้าขายอื่นๆ 5. เป้าหมายของการทำฟาร์ม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการผลิตหรือมีรูปแบบการผลิตแบบ การทำการเกษตรแบบกิจกรรมเดียว เช่น การทำนา จึงทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน หากประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งจะพบในเกษตรกรที่อยู่นอกชลประทานแต่ในเขตชลประทาน ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ เกษตรกรจะทำการเกษตรในลักษณะไร่นาสวนผสมมาขึ้น เช่น ทำนา , ปลูกไม้ผล , เลี้ยงปลา , เพาะเห็ดฟาง 6. เทคนิคและวิธีการผลิต เกษตรกรในเขตตำบลเจริญธรรมจะมีปัญหาในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินอัตรา ขาดความรู้ในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินโครงสร้างของดินเสื่อม เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป จึงควรมีการให้ความเทคโนโลยีใหม่ๆลดต้นทุนการผลิตหันมาปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ,ชีวภาพ , ปุ๋ยหมัก , ปุ๋ยคอกให้มากขึ้น

  22. ข้อมูลทางด้านสังคม จำนวนประชากรและครัวเรือน

  23. ข้อมูลทางด้านสังคม พื้นที่สภาพการถือครอง

  24. ข้อมูลทางด้านสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมอิทธิพลทางความคิด (ค่านิยม) ลักษณะของชุมชนตำบลเจริญธรรม จะจัดกระจายไปตามเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำคูคลอง ประชากรจะหนาแน่นบริเวณถนนและคันคลอง ซึ่งเป็นทำเลที่สะดวกสบายในการดำรงชีวิต มีความสัมพันธ์อย่างญาติพี่น้องผู้เยาว์ให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโส มีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกัน มีภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เหมือนกัน วันพระหรือวันสำคัญทางพุทธศาสนา จะนิยมไปทำบุญที่วัดซึ่งสืบทอด มาจากบรรพบุรุษ ศาสนาสิ่งยึดเหนี่ยวและข้อห้ามต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 99.9% มีหลักธรรมพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ วัดเป็นศูนย์รวมของบุคคลในชุมชนในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา การดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่เล็กจนตายจะเกี่ยวข้องกับวัดทั้งสิ้นตำบลเจริญธรรมมีวัดทั้งสิ้น จำนวน 6 วัด

  25. ข้อมูลทางด้านสังคม การศึกษา เด็กในตำบลเจริญธรรมจะได้เรียนหนังสือตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา มีสถานศึกษาภายในตำบล คือ - โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 แห่ง - โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ประชาชนในตำบลเจริญธรรม จบการศึกษาภาคบังคับ และรองลงมา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับปริญญาตรี ผู้นำตามธรรมชาติและกลุ่มตามธรรมชาติ ตำบลเจริญธรรม มีจำนวน 1 กลุ่ม - กลุ่มศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน หมู่ที่ 5 ตำบลเจริญธรรม มีสมาชิก 20 คน มีนายประสงค์ จันทร์แย้ม เป็นประธานกลุ่ม

  26. ข้อมูลทางด้านสังคม การรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ ราษฎรภายในตำบลเจริญธรรมจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพหลายสาขา มีหน่วยงานของทางราชการเข้าไปจัดตั้งและรวมกลุ่มเช่น - หน่วยงานของสาธารณสุขอำเภอจะจัดตั้งกลุ่มสตรีสาธารณสุข กองทุนยา ผสส. อสม. - หน่วยงานของพัฒนาชุมชนจะรวมตัวเป็นกลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกองทุนหมู่บ้าน - หน่วยงานจะเป็นกลุ่มส่งเสริมการเกษตร - กลุ่มเกษตรกรทำนา 1 กลุ่ม - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 1 กลุ่ม - กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน 1 กลุ่ม - กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 15 กลุ่ม

  27. ข้อมูลทางด้านสังคม องค์กรในชุมชน ภายในตำบลเจริญธรรมมีองค์กรในชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมาได้แก่ 1. กลุ่มลูกเสือชาวบ้านสมาชิก 100 คน 2. ไทยอาสาป้องกันชาติสมาชิก 130 คน 3. กลุ่มออมทรัพย์สมาชิก 270 คน 4. อปพร. สมาชิก 149 คน 5. กลุ่มแม่บ้าน สมาชิก 10 คน 6. กลุ่มสหกรณ์ สมาชิก 300 คน 7. กลุ่มเกษตรกร สมาชิก 70 แห่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตร - ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพ เช่น ทำน้ำสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ , ผลไม้ , พืช น้ำสกัดชีวภาพจากไข่ , จากนมสด , น้ำสกัดชีวภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช - ภูมิปัญญาด้านจักรสาน เช่น กระด้ง ,ตระกล้า ,กระบุง , แห,ข้อง ,ไซ

  28. ข้อมูลทางด้านสังคม ข้อมูลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเจริญธรรม ที่ตั้งกลุ่มเลขที่ 129 หมู่ 4 สมาชิก 14 ราย • กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการ ขนมปั้นขลิบ มีนางวันเพ็ญ เวชสิทธิ์ เป็นประธาน • จัดตั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550 ข้อมูลกลุ่มยุวเกษตรกร • กลุ่มยุวเกษตรกรตำบลเจริญธรรม ที่ตั้งกลุ่มเลขที่ 189/3 หมู่ 7 สมาชิก 10 ราย • กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการ ปลูกผัก จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547

  29. ข้อมูลทางด้านสังคม ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

  30. ข้อมูลทางด้านสังคม ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

  31. ข้อมูลทางด้านสังคม ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

  32. โครงการของศูนย์บริการฯ ปี 2552

  33. โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 1. ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 2. หลักการและเหตุผล ข้าวเป็นพืชหลักที่มีพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนประชากรไทยเกี่ยวข้องมากที่สุด ข้าวที่เพาะปลูกอยู่ในประเทศไทยมีทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง สภาพพื้นที่เพาะปลูกข้าว ร้อยละ 20 เป็นเขตชลประทาน ส่วนร้อยละ 80 อยู่ในเขตน้ำฝน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยทั่วไปยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น กล่าวคือ ประเทศไทยสามารถผลิตข้าว ได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 345 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สามารถผลิตได้ 900 กิโลกรัม ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม จึงเห็นความสำคัญในการใช้ เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูข้าว

  34. โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 2. เพื่อเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของชุมชน และตำบล 3. เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตข้าวที่สูงขึ้น 4. เป้าหมาย ดำเนินการในศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเจริญธรรม เกษตรกร 30 ราย 5. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม2551 – กันยายน 2552

  35. โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 6. วิธีดำเนินการ 1. คัดเลือกเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2552 2. ฝึกอบรมเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ เมษายน 2552 และคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงาน 3. ดำเนินการจัดทำแปลงกระจายพันธุ์ เมษายน 2552 7. สถานที่ดำเนินการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเจริญธรรม 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม 3. สำนักงานเกษตรอำเภอวิหารแดง

  36. โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 9. งบประมาณ งบประมาณ 120,000 บาท รายละเอียดงบประมาณ 1. ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี จำนวน 4,500 กิโลกรัม ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 112,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม - ค่าอาหารกลางวัน30 คน ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท 4. ค่าป้ายผ้าชื่อโครงการฝึกอบรม เป็นเงิน 500 บาท 5.อื่นๆ เป็นเงิน 1,000 บาท (ทุกรายการสามารถปรับใช้ในรายการอื่นได้) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

  37. โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีได้ 2. สามารถกระจายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรภายในชุมชน และตำบลใกล้เคียงได้ 3. เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตลดลง

  38. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม

  39. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 2. หลักการและเหตุผล การดำเนินงานของศูนย์บริการฯ ต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการประชุมชี้แจงนโยบายของภาครัฐและชี้แจงบทบาท ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ การกำหนดทิศทางของการพัฒนา แผนโครงการต่างๆ การสร้างกลุ่มอาชีพ กลุ่มเครือข่าย กลุ่มเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ

  40. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 3. วัตถุประสงค์ - ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรประจำตำบล - การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร - เพื่อการสร้างความเข้มแข็งในการบริหารงานให้แก่คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ 4. เป้าหมาย คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ จำนวน 15 คน 5. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2551 ถึง กันยายน 2552

  41. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 6. วิธีดำเนินการ ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ 7. สถานที่ดำเนินการ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. คณะกรรมการบริหารศูนย์บริหารและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรประจำตำบล 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม

  42. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม • 9. งบประมาณ • ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ ครั้งละ 100 บาท/ครั้ง • เป็นเงิน 18,000 บาท • ค่าวัสดุสำนักงาน/วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/นิทรรศการ • เป็นเงิน 3,000 บาท • ค่าจัดอบรมถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานคณะกรรมการศูนย์ • เป็นเงิน 29,000 บาท • (ทุกรายการสามารถปรับใช้ในรายการอื่นๆ ได้) • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

  43. โครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของโครงการพัฒนาบริหารจัดการและถ่ายทอดความรู้ของ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ - คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ มีความรู้ในการบริหารจัดการศูนย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เกษตรกรได้รับการบริการและถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรและอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ อย่างทั่วถึง - คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ

  44. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช

  45. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 1. ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 2. หลักการและเหตุผล รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศเป็นครัวของโลกและเป็นแหล่งผลิตอาหาร ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา และมีแนวทางในการส่งเสริม การเกษตรเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายดังกล่าว ตำบลเจริญธรรมเป็นตำบลหนึ่งที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทางการเกษตร ซึ่งเกษตรกรมีการเพาะปลูกพืชแบบไม่หมุนเวียน เป็นผลให้มีการระบาดของแมลงศัตรูพืช และจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ในทางกลับกันแมลงศัตรูพืชกลับมีการระบาดรุนแรงมากขึ้น

  46. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช ตำบลเจริญธรรมได้มองเห็นแนวทางส่งเสริมให้เกษตรกรได้ป้องกัน กำจัดศัตรูพืชแบบชีววีธีทดแทนการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว โดยใช้สารชีวินทรีย์ และศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ เป็นที่ต้องการของตลาด สภาพแวดล้อมดีขึ้น ผู้ผลิตและผู้บริโภคสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืน

  47. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 2. เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ถึงขบวนการผลิตสารชีวินทรีย์ (เชื้อราบิวเวอร์เรีย) และนำไปใช้ทดแทนสารเคมี 3. เพื่อให้สุขภาพอนามัยของเกษตรกรดีขึ้น 4. เพื่อให้สภาพแวดล้อมเกิดความสมดุลมากขึ้น 4. เป้าหมาย 1. จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย 1 กลุ่ม ในตำบลเจริญธรรม 2. ผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรีย จำหน่ายในราคาถูกให้เกษตรกรผู้สนใจ

  48. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 5. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม2551 – กันยายน 2552 6. วิธีดำเนินการ 1. คัดเลือกเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2552 2. ฝึกอบรมเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานเมษายน 2552 3. มอบอุปกรณ์การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย เมษายน 2552 4.เกษตรกรผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียเพื่อใช้และจำหน่าย พฤษภาคม – กันยายน 2552

  49. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 7. สถานที่ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม 8. ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเจริญธรรม 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญธรรม 3. สำนักงานเกษตรอำเภอวิหารแดง 9. งบประมาณ งบประมาณ 76,000 บาท

  50. โครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืชโครงการส่งเสริมการผลิตสารชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช รายละเอียดงบประมาณ 1. วัสดุในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรีย 2,000 ถุง

More Related