1.03k likes | 2.31k Views
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2 มาตรา 197-222. การพิจารณาโดยขาดนัด. การขาดนัดมี 2 กรณี ขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.197-ม.199ฉ ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. ม.200-ม.207. ขาดนัดยื่นคำให้การ. ม.197 หลักเกณฑ์ จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว
E N D
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค2มาตรา197-222
การพิจารณาโดยขาดนัด การขาดนัดมี 2 กรณี • ขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.197-ม.199ฉ • ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. ม.200-ม.207
ขาดนัดยื่นคำให้การ ม.197 หลักเกณฑ์ • จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว • จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่ กำหนด
คำว่า “จำเลย” ได้แก่ • จำเลยที่ถูกโจทก์ยื่นฟ้องคดี ตาม ป.วิ.พ. ม.177 วรรคหนึ่ง • โจทก์ที่ถูกฟ้องแย้ง ตาม ป.วิ.พ. ม.178 วรรคหนึ่ง • ผู้ร้องสอดที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. ม.57(3) • โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์
คดีแพ่งที่ไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การคดีแพ่งที่ไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การ • คดีไม่มีข้อพิพาท • คดีสามัญที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม คำฟ้องและศาลอนุญาต • คดีที่จำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือฎีกา
หลักเกณฑ์ข้อ 1 ได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ • ต้องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยแล้วโดยชอบ - การส่งหมายเรียก ตาม ป.วิ.พ. ม.173 วรรคหนึ่ง - วิธีการส่งหมาย ตาม ป.วิ.พ. ม.74-ม.79 มี 2 วิธี 1. ส่งโดยวิธีธรรมดา 2. ส่งโดยวิธีอื่น เช่นปิดหมาย หรือ ปิดประกาศทาง หนังสือพิมพ์
หลักเกณฑ์ข้อ 2 จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด • คำให้การมีความหมายตาม ป.วิ.พ. ม.1(4) • จำเลยยื่นคำให้การไม่ชัดแจ้งถือว่ายื่นคำให้การแล้ว เพียงแต่เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ม.177 วรรคสอง • จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดเวลา ศาลต้องสั่งไม่รับคำให้การ และถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
“ระยะเวลาที่กำหนด” มี 2 กรณี • ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ - จำเลยยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.177 วรรคหนึ่ง - โจทก์ที่ถูกฟ้องแย้งยื่นคำให้การแก้ ฟ้องแย้ง ตาม ป.วิ.พ. ม.178 วรรคหนึ่ง
“ระยะเวลาที่กำหนด”มี 2 กรณี (ต่อ) • ระยะเวลาตามคำสั่งศาล - ผู้ร้องสอดที่ถูกหมายเรียกเข้ามาเป็น จำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ. ม.57(3) - โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ - กรณีจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลา ยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ.ม.23 ศาลอนุญาต
“ระยะเวลาที่กำหนด”มี 2 กรณี (ต่อ) - กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลก่อนวินิจฉัย ชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีและศาลอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. ม.199 วรรคหนึ่ง
“ระยะเวลาที่กำหนด” มี 2 วิธี (ต่อ) - กรณีจำเลยขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. ม.199ตรี เมื่อศาลพิจารณา คำขอแล้วเชื่อว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือมีเหตุสมควรและเห็นว่าเหตุผลที่อ้างในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ ศาลจะสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ภายในกำหนด ที่ศาลเห็นสมควร
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว โจทก์มีหน้าที่ 2 ประการ 1. ยื่นคำขอต่อศาล ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง 2. นำพยานมาสืบตาม ม.198 ทวิ วรรคสองและ วรรคสาม
บุคคลที่อยู่ในฐานะโจทก์ที่ต้องยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง - โจทก์ที่ยื่นฟ้องคดี - จำเลยฟ้องแย้ง - ผู้ร้องขัดทรัพย์ - โจทก์ที่ขอหมายเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ. ม.57(3)
การพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การการพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ • โจทก์ต้องยื่นคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง • ต้องยื่นคำขอภายใน 15วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง การพิจารณาคดีโดยขาดนัดเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ (ต่อ)
ข้อสังเกต • การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจ ไม่ใช่ บทบังคับศาลให้ต้องสั่งจำหน่ายคดี • การยื่นคำขอภายใน 15 วันตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องยื่นคำขอ แม้ศาลจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างอื่น ก็ไม่ทำให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ที่ต้องยื่นคำขอ
“กระบวนการพิจารณาอย่างอื่น”“กระบวนการพิจารณาอย่างอื่น” - กรณีจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลมีคำสั่ง นัดไต่สวน - ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ล่วงหน้า - กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและโจทก์ยื่นคำขอ ตามป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่ง ไว้แล้ว ต่อมาจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอ ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคหนึ่งอีก
คดีที่มีโจทก์หลายคนฟ้องจำเลยคนเดียว คดีที่มีโจทก์คนเดียวฟ้องจำเลยหลายคน
ผลของคำสั่งศาลที่จำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง • โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีได้ทันที ตาม ป.วิ.พ. ม.227 และ ม.228 • ศาลคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนให้ ตาม ป.วิ.พ. ม.151 วรรคสาม
โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดี ตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. ม.193/17 วรรคหนึ่ง ผลของคำสั่งศาลที่จำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสอง (ต่อ)
การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดย ขาดนัดยื่นคำให้การ ป.วิ.พ. ม.198 วรรคสาม ม.198 ทวิ • ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การได้ต้องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วโดยชอบ • ถ้าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลหรือขัดต่อกฎหมาย
ถ้าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายถ้าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย - คดีทั่วไปที่ศาลเห็นสมควรให้สืบพยาน - กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องสืบพยานก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ. ม.198 ทวิ วรรคสอง ตอนท้าย และ ม.198 ทวิ วรรคสาม (1) และ (2) การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ)
การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ)การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดโดยขาดนัด(ต่อ) 1. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล 2. คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว 3. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ 4. กรณีที่โจทก์มีคำของบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน 5. กรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน
ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ • ก่อนศาลพิพากษาคดี - ขออนุญาตยื่นคำให้การ ตาม ม.199 - ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างเหตุสุดวิสัยตาม ม.23
ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ(ต่อ)ทางแก้ของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ(ต่อ) • หลังศาลพิพากษาคดี - ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม ม.199 ตรี - ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ม.27
กรณีจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่มีเหตุอันสมควรกรณีจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่มีเหตุอันสมควร กรณีไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือมีเหตุอันสมควร • ม.199 วรรคหนึ่ง หลักเกณฑ์ - จำเลยต้องมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี - ต้องแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี - ต้องอ้างเหตุว่าการขาดนัดยื่นคำให้การมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควร - ต้องไม่ใช่จำเลย ตาม ม. 199 วรรคสาม
จำเลยที่ไม่อาจขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199 วรรคสาม • จำเลยที่เคยขาดนัดยื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งและขออนุญาต ตาม ม. 199 วรรคหนึ่ง ศาลอนุญาต จำเลยกลับขาดนัด ยื่นคำให้การเป็นครั้งที่สอง • จำเลยที่ศาลไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การตาม ม.199 วรรคสอง - จำเลยที่มาศาลแต่ไม่แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี
-จำเลยที่มาศาลแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ศาลเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การและแพ้คดีแล้ว ขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ม.199 ตรี ศาลอนุญาต จำเลยกลับขาดนัดยื่นคำให้การอีก จำเลยที่ไม่อาจขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา199 วรรคสาม(ต่อ)
คำสั่งศาลที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ พ. ม.226
ผลของคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การผลของคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ • จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลในทันทีไม่ได้เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา • จำเลยไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร
3) จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้เฉพาะพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบ - การถามค้าน เป็นสิทธิของจำเลยไม่ใช่หน้าที่ของศาล ฎ.6165/38 จำเลยมีสิทธิฟังการพิจารณาคดีและใช้สิทธิเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในคดีนั้น ตาม ป.วิ พ. ม.103 เช่น ขอเลื่อนคดี
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 199 ตรี เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่ • จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้แพ้คดี • ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว • คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย
กำหนดเวลายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ มาตรา199 จัตวา วรรคหนึ่ง ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
กำหนดเวลาและวิธียื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่กำหนดเวลาและวิธียื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ข้อสังเกต • คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง ถือเป็นคำฟ้องตาม ม.1(3) ฎ.7603/48 • หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลจะยกคำร้องโดยถือว่าไม่มีพยานมาสืบ จะไม่จำหน่ายคดีเพราะไม่ใช่กรณีขาดนัดพิจารณา
ข้อสังเกต(ต่อ) เมื่อศาลยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เพราะเห็นว่าคำร้องไม่ได้บรรยายให้ครบถ้วนตาม ม.199 จัตวา วรรคสอง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้อีกไม่ถือว่าเป็นการร้องซ้ำหรือฟ้องซ้ำแต่ต้องยื่นในกำหนดตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง
ข้อสังเกต (ต่อ) • คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น • คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวจำเลย ทายาทของจำเลยที่มรณะมีสิทธิร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ฎ.1890/36
ข้อสังเกต (ต่อ) ถ้าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหรือคำบังคับไม่ชอบ กระบวนพิจารณาของศาลนับแต่วันนั้นตลอดจนคำพิพากษาและการบังคับคดีถือว่าไม่ชอบมาโดยตลอด จำเลยอาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ม.27 หรือจะใช้สิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับตาม ม.199 จัตวา วรรคหนึ่ง ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อสังเกต (ต่อ) • หากส่งคำบังคับให้จำเลยโดยไม่ชอบ กำหนดเวลา 15 วันยังไม่เริ่มนับ ฎ.2433/23 • ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนที่จะมีการส่งคำบังคับตามตำพิพากษาให้แก่จำเลยก็ได้ ฎ. 2462/19
ข้อสังเกต (ต่อ) ถ้าไม่มีการออกบังคับหรือยังไม่มีการส่งคำบังคับให้จำเลย กำหนดเวลา15วันยังไม่เริ่มนับ ฏ.5698/41 พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ฎ.6382/39
กรณีถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้กรณีถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ กรณีไม่ถือว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
ข้อสังเกต (ต่อ) • กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น หมายถึงแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ก็ตาม ก็จะยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนไม่ได้ ฎ.1240/31 ฎ.2402/32 ฎ.1746/36
ข้อสังเกต (ต่อ) คดีที่มีจำเลยหลายคน ระยะเวลา 6 เดือน หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีโดยวิธีอื่นเท่านั้น ไม่ผูกพันจำเลยอื่นที่ไม่ถูกยึดทรัพย์ด้วย ฎ.2152/36
มาตรา199 จัตวา วรรคสอง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งถึง 1.เหตุที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ 2.ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล 3.เหตุแห่งการล่าช้า
การพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาล • ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ (ม.199 เบญจ วรรคหนึ่ง) • ศาลต้องไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ (ม.199 เบญจ วรรคสอง) • ผลของคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ (ม.199 เบญจ วรรคสาม)
คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด (ม.199 เบญจ วรรคสี่) ความรับผิดกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควร (ม.199 เบญจ วรรคห้า) การพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และผลของคำสั่งศาล (ต่อ)
การขาดนัดพิจารณา ม.200 วรรคหนึ่ง 1.คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล 2.ไม่มาศาลในวันสืบพยาน 3. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี
ม.200 วรรคสอง ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่ไม่ใช่วันสืบพยานให้ถือว่า 1.คู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น 2.คู่ความฝ่ายนั้นทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
ม.201 คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
ม.202 โจทก์ขาดนัดพิจารณา -ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ หรือ -จำเลยแจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
ผลของคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ม.201 และ ม.202 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ โจทก์ฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความ โจทก์ขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ โจทก์อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ม.27 ได้ ศาลต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนให้โจทก์ตาม ม.151 วรรคสาม