50 likes | 179 Views
การบูรณาการของนโยบายการคลัง ( 10-1-55 ). สรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 1. บูรณาการนโยบายการคลัง ( 1 ). หมายถึงการดำเนินนโยบายการคลังแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งในด้านรายได รายจ่าย และหนี้สาธารณะ รายได้จากทั้งรายได้ภาษีอากร รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และรายได้อื่นๆ
E N D
การบูรณาการของนโยบายการคลัง (10-1-55) สรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 1
บูรณาการนโยบายการคลัง (1) • หมายถึงการดำเนินนโยบายการคลังแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งในด้านรายได รายจ่าย และหนี้สาธารณะ • รายได้จากทั้งรายได้ภาษีอากร รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และรายได้อื่นๆ • รายจ่าย ผ่านกระบวนการงบประมาณ โดยออกเป็น พรบ. งบประมาณประจำปี และกรอบวงเงินงบประมาณรายได้ โดยยึดแผนบริหารราชการแผ่นดิน กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (หนี้สาธารณะต่อ GDPภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย งบลงทุน) และกรอบวินัยการคลัง (การขาดดุลงบประมาณ งบชำระคืนต้นเงินกู้) • หนี้สาธารณะผ่านกรอบ • พรบ. หนี้สาธารณะ ซึ่งครอบคลุมการกู้เงิน การค้ำประกันเงินกู้ การปรับโครงสร้างหนี้ และการให้กู้ต่อ • กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ กฎหมายของหน่วยงานที่ไม่เป็นส่วนราชการ และกฎหมายเฉพาะกิจ (ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ พื้นฟูเศรษฐกิจ และชดใช้ความเสียหาย FIDF)
บูรณาการนโยบายการคลัง (2) • กรณีหนี้สาธารณะ ในประเด็นเพดานการกู้เงินและการค้ำประกัน • กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (ไม่เกินร้อยละ 20ของงบประมาณรายจ่าย บวกด้วย ร้อยละ 80ของงบชำระคืนเงินกู้) • กู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่าย) • กู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Prepay, Refinance, Roll Over, Innovation) ไม่เกินยอดหนี้คงค้าง • การค้ำประกันรัฐวิสาหกิจ (ไม่เกินร้อยละ 20ของงบประมาณรายจ่าย) • กรณีให้กู้ต่อในประเทศ (ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย) และกู้ต่างประเทศ (ไม่เกินร้อยละ 10ของงบประมาณรายจ่าย) • แผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายรัฐ กรอบเพดานเงินกู้ กรอบความยั่งยืนทางการคลัง กรอบวินัยการคลัง สถานการณ์เศรษฐกิจ และภาระการคลัง )
กรณีตัวอย่างวิกฤติ 2540 (1) • การกู้ต่างประเทศเพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของดอกเบี้ย การโจมตีค่าเงินบาทและการป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งจนเกินไป (การไม่เปิดเผยตัวเลขเงินสำรองที่เหลืออยู่ของธนาคารแห่งประเทศไทย) บวกกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ ทำให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้น ทำให้ต้องเข้าอยู่ในการดูแลของ IMFทำให้สามารถกู้เงินได้เพื่อพื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ • นโยบายในการดูแลค่าเงินที่ไม่ยืดหยุ่น รวมถึงนโยบายดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ทำให้เกิดวิกฤติขึ้น • กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อให้สถาบันการเงินกู้ (มีหลักประกัน 100%) เพื่อปล่อยกู้ต่อ โดยอยู่ในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต่อมาเมื่อเกิดความเสียหาย รัฐจึงตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ (ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบเงินต้น และกระทรวงการคลังรับผิดชอบดอกเบี้ย) ภายหลังเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุนเนื่องจากการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่สามารถชำระเงินต้นได้ และกระทรวงการคลังต่อเสียดอกเบี้ยกว่าปีละ 6หมื่นล้านบาท
กรณีตัวอย่างวิกฤติ 2540 (2) • หากรัฐบาลรับหนี้ FIDFมาเป็นของรัฐบาล ก็จะทำให้เกิดปัญหาความยั่งยืนทางการคลัง เนื่องจากจะทำให้หนี้สาธารณะของประเทศสูงขึ้น อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการคลังในอนาคตได้