190 likes | 355 Views
การเรียบเรียงรายงานและการอ้างอิงแหล่งข้อมูล. ขั้นตอนการเขียนรายงาน. 1. การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมสารนิเทศ 1.1 การเลือกและการกำหนดหัวข้อรายงาน 1.2 การสืบค้นสารนิเทศ 1.3 การรวบรวมและประเมินสารนิเทศ
E N D
การเรียบเรียงรายงานและการอ้างอิงแหล่งข้อมูลการเรียบเรียงรายงานและการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนการเขียนรายงานขั้นตอนการเขียนรายงาน 1.การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมสารนิเทศ1.1การเลือกและการกำหนดหัวข้อรายงาน1.2การสืบค้นสารนิเทศ1.3การรวบรวมและประเมินสารนิเทศ 2.การเขียนโครงเรื่องและการบันทึกข้อมูล 2.1การเขียนโครงเรื่อง2.2การอ่านและการบันทึกข้อมูล3.การเขียนและการจัดทำรายงาน 3.1การเรียบเรียงรายงาน 3.3 การเขียนบรรณานุกรม3.2การอ้างอิงแหล่งข้อมูล 3.4 การจัดทำรูปเล่มรายงาน
ส่วนประกอบของรายงาน ส่วนประกอบตอนต้นปกนอก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ ส่วนเนื้อเรื่องบทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป ส่วนประกอบตอนท้ายภาคผนวก บรรณานุกรม
วิธีการเรียบเรียงรายงานวิธีการเรียบเรียงรายงาน 1. จัดแยกบัตรบันทึกตามหัวข้อในโครงเรื่อง2. ตรวจสอบ แก้ไขโครงเรื่องอย่างละเอียดอีกครั้ง3. เรียบเรียงเนื้อเรื่องตามโครงเรื่องที่วางไว้3.1 เขียนด้วยความรู้ความเข้าใจที่กระจ่างชัด3.2 มีบทนำที่ชัดเจนและดึงดูดใจผู้อ่าน3.3ใช้สำนวนภาษาเป็นของตนเอง3.4 มีความหลากหลายในการใช้คำไม่ควรใช้ภาษาวกวนซ้ำซาก3.5 ต้องแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้อ้างอิง4. อ่านรายงานฉบับร่างและตรวจแก้ไขปรับปรุง5. เขียนรายงานฉบับจริงให้ถูกต้องเป็นระเบียบ
ข้อควรคำนึงในการเขียนรายงานข้อควรคำนึงในการเขียนรายงาน สิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การคัดลอกข้อความหรือการนำความคิดที่ผู้อื่นเขียนไว้มาเป็นของตน โดยไม่แจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อให้ได้รับการยอมรับหรือได้รับผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง (Plagiarism)
การอ้างอิงแหล่งข้อมูลการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การอ้างอิง คือ การแจ้งถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาประกอบการเขียนรายงาน • การอ้างอิงระบบนาม-ปี(Author-Date)
การอ้างอิงระบบนาม-ปี รูปแบบการอ้างอิง (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์: เลขหน้า) (ชยันต์ วรรธนะภูติ, 2545: 72) (Gibaldi, 1999: 32)
รูปแบบการอ้างอิงระบบนาม-ปีรูปแบบการอ้างอิงระบบนาม-ปี 1. การอ้างอิงแบบไม่ระบุเลขหน้า( สมปอง เพ็งจันทร์, 2546 )2. การอ้างอิงแบบระบุเลขหน้า(ชฎารัตน์สุนทรธรรม, 2541: 122-130)3. การอ้างอิงแบบเน้นชื่อผู้แต่งมากกว่าผลงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2542: 62-65) ได้ทำการสำรวจเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรจ.เชียงรายพบว่า.....
หลักเกณฑ์การอ้างอิง ผู้แต่งคนเดียว(ผาสุขอินทราวุธ, 2543: 25) (Bruce, trans., 1998) (คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, 2545) (ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, 2545: 55) (ทักษิณ ชินวัตร, 2544: 46) (มาลา คำจันทร์, 2537: 35) (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2538: 20; 2540: 49) (ธเนศวร์ เจริญเมือง, 2538ก: 20; 2538ข: 109)(Denyer, 1969: 3: 71; 1974: 4: 59-65)
หลักเกณฑ์การอ้างอิง ผู้แต่ง2 คน(สมควร กวียะ และมาลี บุญศิริพันธุ์, 2531: 27-30) (A. Comrie and L. Comrie, 2001: 209)ผู้แต่ง 3 คน(สุมน อมรวิวัฒน์, สวัสดิ์ จงกล และไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2542: 9) (Anderson, McBeen and Gessin, 1986: 68)ผู้แต่งมากกว่า 3 คน(อนุชิต กิจสวัสดิ์ และคนอื่น ๆ, 2531: 7) (Hollett and others, 1989: 72-75)
หลักเกณฑ์การอ้างอิง ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน(ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542: 195) (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2536: 85-92) (บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, 2545: 72-75) (สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 2546: 7-12) ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง(หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น, 2544: 98-104)
หลักเกณฑ์การอ้างอิง การอ้างอิงงานหลายชิ้นพร้อมกัน(ไมตรี สุทธจิตต์, 2535: 212; วิจิตร บุณยโหตระ, 2537: 78; สรจักร ศิริบริรักษ์, 2542: 320) การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้อื่นอ้างไว้(วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน, 2537: 166 อ้างถึงใน สมเกียรติ์ โอสถสภา, 2536: 49)การอ้างอิงในลักษณะอื่น ๆ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, สัมภาษณ์) (พระพยอมกัลยาโณ, ปาฐกถา)
หลักเกณฑ์การอ้างอิง การอ้างอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์CD-ROM(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ม.ป.ป.: ซีดี-รอม)Web Site(สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล, 2543: ระบบออนไลน์)E-mail (สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล, 2543: จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)
ตัวอย่าง การอ้างอิงระบบนาม-ปี บทบาทของการเป็นผู้นำ บทบาทของการเป็นผู้นำในวงการธุรกิจ…………................................... อาจกล่าวได้ว่า “ความสำเร็จหรือความล้มเหลว การมีกำไรหรือขาดทุนขององค์กรนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ” (นุกูล ประจวบเหมาะ, 2537: 37-38)
การเขียนเชิงอรรถ การอธิบายความเพิ่มเติมหรือโยงข้อความใช้ เชิงอรรถเสริมความ และ เชิงอรรถโยงความโดยมีหลักเกณฑ์ในการลงรายการดังนี้1. คำอธิบายอยู่ส่วนล่างของหน้าและอยู่หน้าเดียวกันกับข้อความที่อ้าง2. ข้อความหรือคำอธิบายจะเขียนแยกจากเนื้อหาเด่นชัด3. การกำหนดสัญลักษณ์กำกับข้อความ3.1 เริ่มด้วย 1 ในแต่ละหน้า3.2เริ่มด้วย 1 ในแต่ละบท3.3 เริ่มด้วย 1 แล้วเรียงต่อเนื่องกันไปจนจบเรื่อง
ตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความ ล้านนา1เป็นดินแดนที่มีเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของตนเองที่สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วและมีลักษณะเฉพาะตนที่ต่างไปจากภาคอื่นๆ ............................................... __________________________________________ 1ดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทยซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัดได้แก่เชียงรายเชียงใหม่ลำปางลำพูนพะเยาแพร่น่านและแม่ฮ่องสอน
ตัวอย่างเชิงอรรถโยงความตัวอย่างเชิงอรรถโยงความ .................... สถิติการเกิดของประชากรจังหวัดเชียงใหม่1…............................................................................................. __________________________________________ 1ดูตารางสถิติประกอบในหน้า 12
ตัวอย่างเชิงอรรถโยงความตัวอย่างเชิงอรรถโยงความ ....................รายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจผ้าไหมไทย1…...….......................................................................................... __________________________________________ 1ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ภาคผนวก ก