E N D
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการธนาคารความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการธนาคาร บทที่ 8
คำว่า “ธนาคาร” ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน นอกจากจะหมายถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฯลฯ คำว่า ธนาคารยังถูกนำไปเรียกกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งมีได้เกี่ยวกับการเงินเลย เช่น ธนาคารที่ดิน ธนาคารโลหิต ธนาคารดวงตา ธนาคารกระบือ เป็นต้น เหตุที่มีการใช้คำว่าธนาคารอย่างแพร่หลายก็โดยถือว่ากิจกรรมธรรมใดก็ตามที่มีการรวบรวมสิ่งใดไว้ในที่เดียวกันแล้วมีการให้กู้ยืม หรือจัดสรรสิ่งนั้นออกไป กิจกรรมนั้นมีนั้นมีลักษณะเสมือนกับการทำหน้าที่ของธนาคารจึงได้เรียกชื่อว่าเป็นธนาคารไปด้วย
ความหมายของธนาคารพาณิชย์ความหมายของธนาคารพาณิชย์ “ธนาคารพาณิชย์” ในพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของธนาคารพาณิชย์ไว้ ดังนี้ “การธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่ง หรือหลายทาง เช่น นาย ก ให้สินเชื่อ นาย ข ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด นาย ค ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ”
ประวัติและวิวัฒนาการโดยสังเขปของธนาคารพาณิชย์ประวัติและวิวัฒนาการโดยสังเขปของธนาคารพาณิชย์ ประวัติและวิวัฒนาการโดยสังเขปของธนาคารพาณิชย์ ดังนี้ 2.1 ธนาคารในสมัยโบราณ 2.2 ธนาคารในประเทศจีน 2.3 ธนาคารในประเทศกรีซ 2.4 ธนาคารภายใต้อาณาจักรโรมัน
ประวัติและวิวัฒนาการธนาคารพาณิชย์ไทยประวัติและวิวัฒนาการธนาคารพาณิชย์ไทย ประวัติการธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) ในประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 5 ระยะคือ • ระยะที่หนึ่ง (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2431 -2484) • ระยะที่สอง (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 -2488) • ระยะที่สาม (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2489 - 2504) • ระยะที่สี่ (พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2532) • ระยะที่ห้า (พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน)
ระยะที่หนึ่ง (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2431 -2484) กิจการธนาคารพาณิชย์ในประเทศเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่ง ประเทศไทยทำการค้ากับประเทศตะวันตก โดยเฉพาะกับพ่อค้าชาวอังกฤษ ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่ตั้งขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (Hongkong and Shanghai Banking Corp.) ของอังกฤษ ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของคนไทยธนาคารแรกได้ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ชื่อ แบงก์สยามกัมมาจล จำกัด ทั้งนี้โดยพระดำริของพระเข้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการใน ประเทศยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เมื่อเสด็จกลับถึงประเทศไทยก็ทรงคิดจะตั้งธนาคาร ของคนไทยขึ้น ที่ตั้งขึ้นในครั้งแรกว่า “บุคคลัภย์” (มาจาก Book Club ใน ภาษาอังกฤษ) กิจการได้รับความนิยมและดำเนินมาได้โดยเรียบร้อยจึงได้ทรงขอ พระราชทานโปรดเหล้าให้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด
ระยะที่สอง (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 -2488) ประวัติการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะเป็นช่วงระยะเวลาเพียงประมาณ 4 ปีเท่านั้น แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เกิดธนาคารพาณิชย์ของคนไทยขึ้นอีกถึง 5 ธนาคาร ทั้งนี้ เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาในประเทศไทยและบังคับให้ไทยต้องจำยอมทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น ธนาคารสาขาของธนาคารต่างประเทศทั้งหลายยกเว้นธนาคารโยโกฮามาสเปซีของญี่ปุ่นเพียงธนาคารเดียวต้องถูกปิดกิจการลงทั้งหมดชั้วคราวและสนับสนุนของรัฐบาลไทยในสมัยนั้นในการให้คนไทยดำเนินกิจการธนาคารเอง
ระยะที่สาม (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2489 - 2504) ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงมาจนถึงปี พ.ศ. 2504 ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ธนาคารสาขาของธนาคารต่างประเทศอีกหลายแห่งเปิดดำเนินกิจการในประเทศไทย ในขณะเดียวกันธนาคารของคนไทยก็ยังคงมีเพิ่มขึ้นอีกหลายธนาคารและเกือบทั้งหมดตั้งขึ้นในระยะที่สงครามโลกยุติลงใหม่ ๆ ดังนี้ ธนาคารที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในระยะที่สามนี้มีทั้งสิน 12 ธนาคาร เป็นธนาคารของคนไทย 7 ธนาคาร และธนาคารสาขาของธนาคารต่างประเทศ 5 ธนาคาร
ระยะที่สี่ (พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2532) ธนาคารในประเทศไทย “ยุคใหม่ของกิจการธนาคารในประเทศไทย” (Modern Era of The Thai Banking Industry) ในปลายระยะที่สามที่กล่าวมาแล้ว กิจการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รัฐบาลในสมัยนั้นเห็นความจำเป็นในการควบคุมการดำเนินการของธนาคารอย่างรัดกุม จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ขึ้น และได้ใช้เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2522 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติในระยะที่สี่จึงเป็นธนาคารพาณิชย์ในยุคที่ต้องดำเนินกิจการภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ที่สมบูรณ์แบบตลอดมา
ระยะที่ห้า (พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 รัฐบาลไทยได้ประกาศรับพันธะ ข้อ 8. ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยยกเลิกมาตรการควบคุมปริวรรษสำหรับธุรกรรมในบัญชีเดินสะพัดและเปิดให้มีการโอนเงินทุนไปต่างประเทศได้โดยมีข้อจำกัดที่น้อยลง นับเป็นจะเริ่มต้นของการเปิดเสรีทางการเงินของประเทศไทย ตามมาด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่จะให้มีการเคลื่อนย้ายเงินตราและเงินทุนระหว่างประเทศได้โดยเสรี รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการเปิดการวิเทศธนกิจ (BIBF : Bangkok International Banking Facilities) ในเดือนมีนาคม 2536 มาตรการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงินและนำไปสู่การปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
บทบาทและหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์บทบาทและหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ 4.1 การรับฝากเงิน :การรับฝากเงิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 4.1.1 การรับฝากเงินประเภทกระแสรายวัน 4.1.2 การรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ 4.1.3 การรับฝากเงินประเภทประจำ 4.2. การให้กูยืมและการซื้อลดตั๋วเงิน :การกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ อาจกระทำได้ดังนี้ 4.2.1 การเบิกเงินเกินบัญชี 4.2.2 การกู้ยืมโดยทั่วไป (Loan) 4.2.3 การซื้อลดตั๋วเงิน (Discounting Bill)
บทบาทและหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์(ต่อ)บทบาทและหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์(ต่อ) 4.3. การโอนเงิน 4.4. การเรียกเก็บเงินตามตราสาร 4.5. การรับรองและค้ำประกัน 4.6. การลงทุนในหลักทรัพย์ 4.7. การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 4.8. บริการอื่น ๆ เช่น การให้เช่าตู้นิรภัย การออกเช็คของขวัญ การรับชำระค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ รับต่อทะเบียนรถยนต์ รับชำระภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และบัตรเครดิต (Credit Card)
ระบบธนาคารพาณิชย์ ระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีในประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยจำแนกตาม สภาพการจัดการและขอบข่ายการดำเนินงานแล้ว อาจแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้คือ 5.1 ระบบธนาคารเดี่ยวหรือธนาคารอิสระ (Unit or Independent Banking System ) คือระบบธนาคารที่มีการดำเนินงานโดยเอกเทศ เป็นสำนักงานเพียงแห่งเดียวโดยไม่มีสาขา และไม่เป็นสาขาของธนาคารอื่นใด 5.2. ระบบธนาคารสาขา (Branch Banking System) คือระบบธนาคารที่มีการดำเนินกิจการอย่างกว้างขวาง มีที่ทำการมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยเปิดสาขาในท้องถิ่นต่าง ๆ ในเมืองเดียวกันกับสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือกระจายไปทั่วประเทศ หรือมีสาขาในต่างประเทศอีกด้วย เช่น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ธนาคารกสิการไทย จำกัด
ระบบธนาคารพาณิชย์(ต่อ)ระบบธนาคารพาณิชย์(ต่อ) 5.3 ระบบธนาคารแบบลูกโซ่ (Chain Banking System) คือระบบธนาคาร ที่มีธนาคารเดี่ยวหรือธนาคารอิสระอยู่หลาย ๆ ธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารมีชื่อ ต่างกัน และอยู่ภายใต้การควบคุมของเอกชนเพียงคนเดียว หรือเป็นครอบครัว หรือเป็นสมาคมก็ได้โดยแต่ละธนาคารจะเป็นองค์กรที่แยกจากกัน 5.4 ระบบธนาคารกลุ่ม (Group Banking System) คือระบบที่มีธนาคาร ต่าง ๆ เข้าชื่อรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ดำเนินกิจการร่วมกันภายใต้การควบคุมของ องค์กรที่จัดตั้งขึ้น นอกจากธนาคารแล้วภายในกลุ่มอาจจะมีบริษัทต่าง ๆ เข้า ร่วมด้วย การสั่งการและการบริหารจะมีการประสานงานร่วมกัน ระหว่าง สมาชิกในกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน แต่ต้องไม่เกิดผลเสียต่อประชาชน หรือขัดต่อกฎหมาย
วิกฤตการณ์ของธนาคารพาณิชย์ไทยวิกฤตการณ์ของธนาคารพาณิชย์ไทย ประเทศไทยธนาคารพาณิชย์มีอิทธิพลมากกว่าสถาบันการเงินประเภทอื่น ๆ เช่น ขนาดของสินทรัพย์ การกระจายของสาขาไททั่วทุกภูมิภาค รองลงไปได้แก่ บริษัทเงินทุน ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีส่วนแบ่งร้อยละ 88 ในขณะเดียวกันสินเชื่อของสถาบันการเงินสองประเภทนี้มีจำนวนถึงร้อยละ 92 ของสินเชื่อคงค้างจากสถาบันการเงินทุกประเภท นั้นแสดงถึงบทบาทรองของสถาบันการเงินเอกชนประเภทอื่น ๆ รวมถึงสถาบันการเงินที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อจุประสงค์พิเศษ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดังนั้น ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่รอบคอบในเขตภูมิภาครวมทั้งความทุจริตของผู้บริหาร
บทสรุปวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปี 25 โดยบทสรุปวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 อาจกล่าว ได้ว่า เป็นผลจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดสามประการ ได้แก่ • เปิดเสรีแกการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศ แต่กลับไม่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวตามภาวะตลาด • ให้เสรีภาพแก่สถาบันการเงินที่ยังไม่พร้อม • ไม่สามารถกำกับและควบคุมสถาบันการเงินไม่อย่างรอบคอบ
ความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ 1 ลูกค้า:เช่นความสะดวกสบายในการติดต่อกับธนาคาร อัธยาศัยไมตรีของ พนักงานธนาคาร ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์อื่นที่ผู้ฝากเงินควรได้รับ 2 พนักงาน:ในแง่พนักงานมีการประเมินความรู้ความสามารถ มิใช่รับโดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีเงินฝากธนาคาร ควรมีการให้ความรู้โดยการฝึกอบรมที่ดี มีการ เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามหลักความสามารถ การให้ผลตอบแทนในรูปค่าจ้าง เงินเดือนรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม พนักงาน 3 ผู้ถือหุ้น:บุคคลซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ก็โดยหวังผลประโยชน์สำคัญคือ เงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น 4 สังคม:สิ่งซึ่งจะเกิดประโยชน์ส่วนรวม ๆ เช่น การบริจาคเงินเพื่อการศึกษา สาธารณูปโภคและสาธารณกุศลต่าง ๆ จัดกิจกรรมในทางส่งเสริมสังคม ประเพณีวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ
บทสรุป ธนาคารพาณิชย์ได้ถือกำเนินมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่สมัยบาบิโลน อัสซีรัย กรีก และโรมัน เรื่อยมาจนกระทั้งถึงยุกค์ปัจจุบัน สำหรับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้เริ่มมีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ในสมัยราชการที่ 5 เป็นครั้งแรก คือธนคารฮ่องกงแอนด์เซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นของชาวอังกฤษ ส่วนธนาคารของคนไทยที่จัดตั้งขึ้นเป็นธนาคารแรกคือ “บุคคลัภย์” และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)” ในปัจจุบันนี้