560 likes | 886 Views
การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู. จาก สมาชิกกลุ่ม 9. คำสำคัญ. สร้างเสริม หมายถึง ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาสร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี. คำสำคัญ (ต่อ).
E N D
การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครูการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู จาก สมาชิกกลุ่ม 9
คำสำคัญ • สร้างเสริม หมายถึง ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาสร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี.
คำสำคัญ (ต่อ) • ศักยภาพ หมายถึง ความสามารถที่ยังไม่พัฒนา หรือยังไม่พัฒนาเต็มที่ ศักยภาพเป็นพลังภายใน พลังที่ซ่อนไว้หรือพลังแฝงที่ยังไม่ได้แสดงออกมาให้ปรากฏ หรือออกมาบ้างแต่ยังไม่หมด เช่น เมล็ดมะม่วงมีศักยภาพที่จะโตเป็นต้นมะม่วงถ้าหากได้ดินดี น้ำดี แดดดี ปุ๋ยดี เด็กจำนวนมากที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเก่งถ้าหากได้รับการ เลี้ยงดูที่ดี การศึกษาที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ทางปรัชญา ศักยภาพ ( potential-potentiality ) ตรงกันข้ามกับคำว่า กรรตุภาพ หรือภาวะที่เป็นจริง ( actual-actuality ) หรือเรียกกันด้วยภาษาง่ายๆว่า ภาวะแฝง ( potential ) กับภาวะจริง ( actuality ) ศักยภาพ (ภาษาละตินpotentia ) เป็นภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้ เป็นไปได้ เกิดขึ้นได้ ตรงข้ามกับภาวะจริง( actus ) ซึ่งในปรัชญาตะวันตกตั้งแต่อริสโตเติล พูดถึงความสมบูรณ์ ( perfection ) ว่าเป็นภาวะความจริงที่บริสุทธิ์ actuspurus ( pure action ) เปลี่ยนแปลงไม่ได้
คำสำคัญ (ต่อ) สมรรถภาพ (Competence หรือEfficiency) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ อุปนิสัย หรือ บุคลิกภาพของบุคคลเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ฉะนั้น “การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครู” จึงหมายถึง การส่งเสริมพัฒนาครูให้แสดงความสามารถสูงสุดอันเป็นคุณสมบัติที่แฝงอยู่ในตัวให้ปรากฏออกมาเป็นที่ประจักษ์แก่นักเรียนและต่อสังคม
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูให้เป็นครูที่ดีและประสบความสำเร็จในวิชาชีพครูอาจดำเนินการได้อย่างน้อย 3 ทางคือ 1. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพตนเองของครู206 2. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยสถานศึกษา 210 3. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยหน่วยงานกลาง 216
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้สรุปว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพครูสู่มาตรฐานวิชาชีพควรเป็นการพัฒนาที่ครูได้ฝึกฝนตนเองในสภาวะของการปฏิบัติงานปกติ สร้างโอกาสให้ครูได้ทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการต่างๆหลากหลาย ครูจะแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ แตกต่างกันตามระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งสามารถวิเคราะห์การแสดงออกของครูใน 3 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 ระดับฝีมือของครู เป็นระดับคุณภาพในการดำเนินงานการจัดทำแผนการสอนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้ โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง 3 ระดับ คือ คุณภาพระดับต่ำ เป็นการปฏิบัติตามแบบตามตัวอย่างที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือปฏิบัติให้เห็นแล้วนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่น คุณภาพระดับกลาง เป็นการปฏิบัติที่ครูพัฒนาขึ้นเองสอดคล้องกับผู้เรียนท้องถิ่นศักยภาพและความถนัดของครู คุณภาพระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่มีความชำนาญแตกฉานจนสามารถเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ เป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ปรึกษาร่วมพัฒนาให้กับครูคนอื่นๆได้
มิติที่ 2 การเพิ่มบทบาทของผู้เรียน เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากความสามารถขั้นต่ำไปสู่ความสามารถขั้นสูง จากผู้เรียนอธิบายด้วยตนเองสู่ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองสู่ผู้เรียนสร้างความรู้ได้เองเป็นการพัฒนาคุณภาพสูงขึ้นโดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูแสดงออก ครูจะต้องเป็นผู้นำทาง โดยการจัดขั้นตอนของกิจกรรมเป็นลำดับ นำไปสู่การคิดได้เอง และการสร้างความรู้ได้เอง
มิติที่ 3 ผลที่เกิดกับผู้เรียน นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถจากความจำ สู่ ความคิด สู่ การกระทำ สู่ ค่านิยม และสู่การปฏิบัติเป็นนิสัยติดตัวด้วยค่านิยมที่พึงประสงค์จึงจะเป็นผลผลิตของครูมืออาชีพที่มีคุณภาพระดับสูง
ขอบข่ายสาระของการพัฒนาครูจึงกำหนดแนวทางพัฒนาครูโดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองของครู การแสดงออกของครูและผลที่เกิดกับนักเรียน การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพครูมืออาชีพนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยตัวเองมาเป็นลำดับ โดยผู้บังคับบัญชาได้เสนอวิธีการพัฒนาตนเองบางประการเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ เช่น ฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ผู้ที่บริหารเวลาเก่งจะต้องยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน ได้แก่ มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ผัดวันประกันพรุ่งในการทำงานทุกประเภททั้งงานเล็กงานใหญ่ ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เป็นคนขยันขันแข็ง เป็นคนทำงานรวดเร็วลักษณะคนทำงานรวดเร็ว ฝึกตนให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ตนเป็นที่ต้องใจของผู้อื่น ทำตนให้รู้จักกาลเทศะ และทำให้ตนเองเป็นที่น่าเชื่อถือ
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 ที่กำหนดมาตรฐานสำหรับครูในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองไว้ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงานหรือสมาคมจัดขึ้น และ ต้องมีผลงานหรือรายงานอย่างชัดเจน มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา คือ การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน แล้วสามารถวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหา ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้
ทั้งสองมาตรฐานดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่กำหนดให้ครูได้พัฒนาตนเอง อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของตัวครูเองและเสริมสมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพตามที่สังคมต้องการและคาดหวังโดยแท้จริง
ภาพ แสดงการพัฒนาตนเองของครูมืออาชีพ • การเปลี่ยนแปลง • การเรียนรู้ • ความเชี่ยวชาญ (ผลรวมของความรู้ทักษะและประสบการณ์ที่มีผลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ) • กระบวนการพัฒนา • พัฒนาสถานศึกษา • อบรมและพัฒนาบุคลากร • ผลการปฏิบัติงาน • ระดับสถานศึกษา • ระดับกระบวนการ • ระดับบุคลากรครู
การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของไทยการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของไทย ระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาโดยทั่วไปของไทยมีลักษณะเฉพาะและซับซ้อนกว่าองค์กรอื่นๆ เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ของสถานศึกษาคือ ครู ซึ่งเป็นผู้มีวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และทำหน้าที่หลักในการพัฒนาเยาชนของสังคม ของประเทศ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพย่อมสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการพัฒนาให้แก่สังคม
การพัฒนาศักยภาพบุคคลหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นกระบวนการเชิงระบบเป็นการทำหน้าที่จัดหาความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาในการปฏิบัติงานเพื่อนำไปใช้ในปัจจุบันและอนาคตโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้มีความสามารถในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายของสถานศึกษานั้นๆ เพื่อให้เป็นสถานศึกษาที่มีความสามารถในการพัฒนาด้านการเรียนการสอนโดยแท้จริงจึงเกิดแนวคิดเรื่อง “ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” (Learning Organization) ขึ้น จุดมุ่งหมายของการฝึกอบรมและพัฒนาครูจึงได้เปลี่ยนแปลงให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาครูทุกระดับและทุกเรื่องที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพครู คุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพสถานศึกษา ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา จึงมีองค์ประกอบสำคัญคือ การฝึกอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาสถานศึกษา
ขั้นตอนในการฝึกอบรมและพัฒนาขั้นตอนในการฝึกอบรมและพัฒนา • ศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม (Need Assessment) 1.1. วิเคราะห์รายละเอียดของงาน ใช้สำหรับการกำหนดความต้องการฝึกอบรมของบุคลากรบรรจุใหม่เพื่อพัฒนาและฝึกทักษะด้านความรู้ 2.2. วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน โดยเปรียบเทียบหาความแตกต่างกับมาตรฐานของงานพร้อมทั้งหาสาเหตุของปัญหา 2. ขั้นออกแบบเนื้อหาในการฝึกอบรม (Instructional Design) 2.1. รวบรวมวัตถุประสงค์ วิธีการสอนและสื่อการสอน คำอธิบายลักษณะและการจัดเรียงลำดับของเนื้อหา
2.2. จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการอบรม 2.3. ดำเนินการฝึกอบรมด้วยความรอบคอบ มีคุณภาพ และมีประสิทธิผล 3. ขั้นทำให้เกิดความเที่ยงตรง (Validation) ฝึกซ้อมการนำเสนอและทดสอบความถูกต้องก่อนนำเสนอจริงต่อผู้เข้าอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าแผนงานมีความเรียบร้อยและมีประสิทธิผล 4. ขั้นปฏิบัติ (Implementation) ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ ซึ่งมุ่งนำเสนอความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน 5. ขั้นการประเมินผลและติดตามผล (Evaluation and follow-up) 5.1. ปฏิกิริยา (Reaction) บันทึกปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการฝึกอบรม
5.2. การเรียนรู้ (Learning) ใช้เครื่องมือการป้อนกลับ 5.3. พฤติกรรม (Behavior) หัวหน้าบันทึกปฏิกิริยาการปฏิบัติงาน 5.4. ผลลัพธ์ (Results) พิจารณาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและประเมินความต้องการฝึกอบรมเพิ่ม
ประเภทของการฝึกอบรม • แบ่งตามลักษณะผู้เข้ารับการอบรม เพื่อความรู้จักงาน ความคุ้นเคยและประโยชน์ 2. แบ่งตามลักษณะงาน
2. แบ่งตามลักษณะงาน 2.1 ฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน( Pre – service Training ) 2.2 เรียนรู้งานโดยทำไปด้วย ( On – the – job Training) 2.3 ฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความชำนาญ ( In - service Training) 2.4 ส่งครูบุคลากรออกไปศึกษาดูงานข้างนอก ( Off – the job Training)
การพัฒนาครูโดยหน่วยงานกลางเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบมาช้านาน เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีความผูกพันกับระบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ กฎระเบียบและแนวปฏิบัติทั้งหลายก็มักจะกำหนดโดยส่วนราชการ ความคาดหวังของสังคมก็ยังเป็นภารกิจที่สำคัญหน่วยงานกลางตามนัยดังกล่าวอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ 3.1. หน่วยงานกลางของกระทรวงต้นสังกัดและที่เกี่ยวข้อง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการพัฒนาครูนั้นกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการผลิตและพัฒนาอย่างชัดเจนโดยยกตัวอย่างช่วงระหว่างปี 2549 – 2551 ดังนี้
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2549 – 2551(218) วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ฉบับนี้ (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546) คือ “ภาคในปี 2551 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพ คุณภาพตามมาตรฐาน และการรับรองวิชาชีพสามารถใช้รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้มีคุณภาพ มีจริยธรรม ทันต่อการพัฒนาและการแข่งขันและของประเทศ”
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลักคือ 1.การฟื้นฟูศรัทธาวิชาชีพครู จะมีการดำเนินการ ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพ สร้างและพัฒนาระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ สวัสดิภาพ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูล 2.การพัฒนาศักยภาพครู ให้มีการดำเนินการ สร้างเอกภาพการพัฒนา การพัฒนาและฝึกอบรมที่ยึดโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา (SBT / On-Site Training/Whole School Approach) และเสริมพลังให้ชมรมวิชาการเครือข่ายวิชาชีพ มีบทบาทพัฒนาครู 3.การผลิตครูแนวใหม่ จะให้มีการปรับปรุงโดยการ พัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่
สภาพปัญหาของครูในการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเวลาที่สังคมกำลังมองวิชาชีพครูและผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยความไม่แน่ใจ ในคุณภาพกระทรวงศึกษาธิการให้วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ แล้วสรุปว่า....
ปัญหาของวิชาชีพครู ได้แก่ 1) ปัญหาทางการผลิตครู ได้แก่ คุณภาพหลักสูตร คุณภาพสถาบันผลิตครู เอกภาพการผลิต คุณภาพเข้าสู่วิชาชีพ 2) ปัญหาการพัฒนาครู ได้แก่ การพัฒนาไม่สนองความต้องการ ขาดแรงจูงใจครูทิ้งชั้นเรียน ขาดเอกภาพ วิธีการพัฒนา 3) ปัญหาการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ข้อมูลการบริหารงานบุคคล ระบบคุณธรรม การใช้ครู (ครูขาด, ครูสอนไม่ตรงวุฒิ) ความก้าวหน้า คุณภาพชีวิต (สภาพการปฏิบัติงาน , หนี้สิน) 4) ปัญหามาตรฐานและจรรยาบรรณ ได้แก่ การควบคุมจรรยาบรรณ รับรองมาตรฐาน พัฒนาการประกอบวิชาชีพ
แนวคิดหลักการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2549 – 2551 ฉบับนี้ได้กำหนดกรอบในการพัฒนาครูโดยกระทรวงศึกษาธิการไว้ดังนี้ 1) การพัฒนาต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเด็ก (นักเรียน) 2) การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) การพัฒนาควรเป็นลักษณะ Site Based Development (SBD) 4) การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกได้ตามความเหมาะสม 5) การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจ/หน้าที่ 6) การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปของเครือข่าย 7) การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน 8) การพัฒนาต้องครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมายและวิธีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ 2549 – 2551 มีเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาที่ครอบคลุมศักยภาพของวิชาชีพครูในภาพรวมคือ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2) การพัฒนามุ่งเน้นที่สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) รูปแบบการพัฒนาเน้นสร้างเครือข่าย 4) องค์กรเครือข่าย : หน่วยงานรัฐ และเอกชน 5) บุคคลเครือข่าย : ผู้ทรงคุณวุฒิ/ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้ประสบความสำเร็จ 6) หลากหลายวิธีพัฒนา 7) SBD : เพื่อนช่วยเพื่อน / วิจัยในชั้นเรียน / สื่อทางไกล 8) OSBD : อบรม / สัมมนา / แลกเปลี่ยนประสบการณ์
3.2.การพัฒนาวิชาชีพครู ของคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.ศ.) คณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.ศ.) เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ด้านการบริหารบุคลากรที่เป็นข้าราชการครูโดยตรงและมีบทบาทต่อการควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครูหลายด้านได้กำหนดนโยบายการพัฒนาวิชาชีพครู ดังนี้
1)ส่งเสริมให้มีการพัฒนาข้าราชการครูทุกคน ทุกระดับ โดยมีการพัฒนาอย่างมีระบบและต่อเนื่อง 2)การพัฒนาข้าราชการครูต้องมุ่งเน้นให้ข้าราชการครูมีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี และเหมาะสมกับการเป็นครูโดยเน้นในการพัฒนาในเรื่อง 3)ให้มีการพัฒนาข้าราชการครูทั้งระบบ ตั้งแต่ครูบรรจุใหม่ 4)ส่งเสริมให้มีการพัฒนาข้าราชการครูด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการใช้ข้าราชการครูให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5)การพัฒนาข้าราชการครูต้องมุ่งผลในทางปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและมีแนวทางที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติอย่างแท้จริง 6)ส่งเสริมให้มีการระดมสรรพกำลัง ทรัพยากร ความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาหน่วยงานเอกชนและระหว่างองค์กรกลาง ในการบริหารงานบุคคลเพื่อให้การพัฒนาข้าราชการครูมีประสิทธิภาพและประหยัด 7)ให้ส่วนราชการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรสนับสนุนการพัฒนาข้าราชการครูให้เป็นไปตามนโยบาย 8)ให้คณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.ศ.) เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายแนวทาง และกลไกต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาข้าราชการครู ตลอดจนประสานงานกำกับดูแลและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาข้าราชการครู ตลอดจนประสานงานกำกับดูแลและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาข้าราชการครูให้เป็นไปตามนโยบาย
3.3 การพัฒนาโดยแบ่งหน่วยต้นสังกัด 3.4การพัฒนาศักยภาพโดยองค์กรวิชาชีพ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูของไทยองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูและวิชาชีพครูไทยอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1)องค์กรผลิตครู 2)องค์กรใช้ครู 3)องค์กรพัฒนาวิชาชีพครู ทั้ง 3 กลุ่มต่างมีบทบาทและพันธะต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูในแต่ละส่วน องค์กรที่ครูเกี่ยวพัน มีความเป็นเจ้าของนั้นคือองค์กรพัฒนาครูทั้งหลาย ครูพึงเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรเหล่านี้
องค์กรผลิตครู ในอดีตการผลิตครูเป็นหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่ภายหลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สถาบันการศึกษาเอกชนที่สอนระดับปริญญาตรีก็สามารถเปิดสอนหลักสูตรเพื่อการผลิตครูได้ การปฏิรูปการศึกษาภายใต้การบังคับของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 รัฐต้องกำหนดระบบผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่ตามมาตร 52 นอกจากนี้การปฏิรูปการบริหารการศึกษา โดยให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเพียงกระทรวงเดียวทำให้องค์กรผลิตครูทั้งหลายของประเทศแต่เดิมต้องมีการขยับขยายกันใหม่ องค์กรผลิตครูไทยในอนาคตน่าจะมีหน่วยงานเพียง 4 กลุ่ม คือ
1.คณะศาสตร์และศึกษาศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเดิม มีมหาวิทยาลัยของรัฐ 16 แห่ง มีคณะเปิดสอนสาขาวิชาชีพครูรวมทั้งมหาวิทยาลัยเปิด 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทุกสถาบันผลิตถึงระดับบัณฑิตศึกษา 2.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ มีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 41 แห่ง ที่มีคณะครุศาสตร์หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นหน่วยงานผลิตครู เกือบทุกแห่งขยายการศึกษาสาขาวิชาชีพครูถึงระดับบัณฑิตศึกษาเช่นกัน 3.กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งมีทั้งหมด 9 แห่งมหาวิทยาลัยกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย จะเน้นการผลิตบุคลากรครูวิชาชีพช่าง กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิมที่มีคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น มหาวิทยาลัยเหล่านี้ผลิตครูระดับปริญญาเกือบทุกสาขา 4.มหาวิทยาลัยเอกชน มีหลายสถาบันที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการศึกษาไม่มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี
องค์กรให้ครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พงศ.2547 ผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งหมดจะมีตำแหน่งเป็นครู ฉะนั้นองค์กรใช้ครูก็คือ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาอาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา1. สถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา 2. สถานศึกษาสังกัดองค์กรท้องถิ่น 3. สถานศึกษาเอกชนหรือหน่วยงานพิเศษของรัฐอื่น ๆ
องค์กรพัฒนาครู องค์กรพัฒนาครูมีหลายรูปแบบ อาจเป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการ เช่น สหภาพครูทั้งหมด ชมรมครูต่าง ๆ ที่มีความสนใจในเรื่องใดร่วมกัน เป็นต้น สำหรับองค์กรพัฒนาครูที่เป็นทางการก็คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับหรือจัดตั้งขึ้นโดยมีการบังคับของกฎหมาย คือ คุรุสภา องค์กรนี้ครูต้องเป็นสมาชิกหรือเกี่ยวข้องอย่างไรก็ตามการจัดตั้งองค์กรที่เป็นทางการนั้นก็มีหลายองค์กรที่ครูควรร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรพัฒนาครูเอง
คุรุสภากับบทบาทหน้าที่ขององค์กรวิชาชีพในการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและหลักการขององค์การวิชาชีพครูตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการตั้งองค์กรวิชาชีพและความคาดหวังของมวลสมาชิกแห่งองค์กรดังกล่าว จึงมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์การวิชาชีพครูไว้ คุรุสภา (2548 : 31-32) พอสรุปได้ ดังนี้ 1.เป็นองค์กรอิสระและมีอำนาจที่จะปฏิบัติงานได้โดยรวดเร็วและฉับพลันภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.ส่งเสริมด้านสวัสดิการและบริการให้แก่สมาชิกครูโดยทั่วถึง 3.สร้างกฎหมายมาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสมของวิชาชีพครู และธำรงไว้ซึ่งเกียรติและมาตรฐานของวิชาชีพครู
4. ดำเนินการออกและถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู4. ดำเนินการออกและถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 5. ส่งเสริมให้สมาชิกครูมีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานในวิชาชีพครูตราบที่ยังประกอบวิชาชีพนี้อยู่ 6. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครูและปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู 7. วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพครู 8. ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้องทางวิชาชีพครูอื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศ
นโยบายพัฒนาครูของคุรุสภานโยบายพัฒนาครูของคุรุสภา ในการพัฒนาครูของคุรุสภานั้น มีจุดมุ่งหมายสูงสุดหรืออุดมการณ์ในการ “ส่งเสริมและพัฒนาให้ครูเป็นพลังแห่งความดีงามและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม” ทั้งนี้มีความคาดหวังว่า 1.เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มุ่งสร้างเยาวชนและประชากรให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพและมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ 2.เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ครูในการเป็นผู้นำเพื่อพัฒนาสังคมตลอดจนเสริมสร้างความเป็นอยู่ของครูให้มีสวัสดิภาพ มีสวัสดิการ และมีรายได้เหมาะแก่เกียรติศักดิ์ศรี และสถานภาพของปูชนียบุคคลอย่างแท้จริง
3.เพื่อพัฒนางานของคุรุสภาพให้เป็นองค์กรวิชาชีพครูที่เข้มแข็งสามารถประสานงานและดำเนินงานพัฒนาครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่สามารถส่งเสริมและเกื้อหนุนให้การจัดการศึกษาของชาติบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.เพื่อพัฒนางานของคุรุสภาพให้เป็นองค์กรวิชาชีพครูที่เข้มแข็งสามารถประสานงานและดำเนินงานพัฒนาครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่สามารถส่งเสริมและเกื้อหนุนให้การจัดการศึกษาของชาติบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในแต่ละข้อจะมีแผนงานหลักรับรอง ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพครู การส่งเสริมความมั่นคงในวิชาชีพครู และการพัฒนาองค์กรวิชาชีพครู
การพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพครูคุรุสภามีแผนงานในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย จัดให้มีการจัดทำเอกสารและเครื่องมือที่เกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครูพร้อมให้เกิดการปฏิบัติ ส่งเสริมให้มีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอย่างรวดเร็วและทั่วถึงพร้อมกับจัดระบบทะเบียนข้อมูลเกี่ยวกับครูที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและครูผู้ได้รับการอบรมเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพ และให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนและสิทธิพิเศษแก่ครูที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เร่งรัดมาตรการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง โดยการวิจัยเพื่อการปรับปรุงกฎหมายที่กระตุ้นให้ครูทุกคนกระตือรือร้นในการพัฒนาวิชาชีพครู จัดให้มีการตอบแทนเป็นขวัญกำลังใจแก่ครูที่ได้พัฒนาตามมาตรฐานที่วางไว้ รวมทั้งค่าตอบแทนแก่ครูผู้เขียนตำรา เอกสารประกอบการสอนหนังสือผลิตสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ดำเนินการให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยให้มีการติดตามข่าวสารการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องจัดให้มีทำเนียบนามของผู้ประกอบวิชาชีพครูทุกคนให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่การศึกษาของชาติอย่างสูงยิ่งให้การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติคุณครูตลอดตลอดจนนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นอย่างต่อเนื่อง
การอบรมครูของคุรุสภา เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของครูให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ.2537 คุรุสภามีแผนการในการอบรมครูอย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมมือองค์กรผู้ผลิตและผู้ใช้ครูในการกำหนดแผนหลักการฝึกอบรม เช่น จัดให้มีคณะองค์กรกลางประสานงานฝึกอบรมจัดให้มีการแบ่งความรับผิดชอบในการฝึกอบรมระหว่างหน่วยผลิตครู หน่วยใช้ครู และหน่วยส่งเสริมครู คุรุสภา และเร่งรัดให้มีการจัดทำหลักสูตรและสื่อเพื่อการฝึกอบรม ทั้งนี้จะมีการประสานงานกับ ก.ค.ศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครูที่ผ่านการฝึกอบรมได้ค่าตอบแทน
เพื่อเป็นการพัฒนาผู้นำของครูผู้สอนให้มีศักยภาพสูงขึ้น และมีความรับผิดชอบในอาชีพมากขึ้นคุรุสภาจะดำเนินกล่าว ส่งเสริมให้ผู้นำครูได้เข้ารับการอบรมเข้มในหลักสูตรระดับสูง ให้ผู้นำครูได้รับการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีการประชุมทางวิชาการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จัดให้มีการศึกษาดูงานในรูปแบบต่าง ๆ และประชุมปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ สนับสนุนให้ครูผู้สอนในแต่ละวิชาได้รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูและเยาวชนของชาติ
การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู คุรุสภาพได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการ แสวงหาความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ เช่นงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินด้วยการประสานกับบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการสนับสนุนในด้านการเงินจากภาครัฐบาทประสานงานกับสถาบันหรือองค์กรของรัฐ สนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูจัดกิจกรรมเพื่อระดมทรัพยากรสาธารณะ เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรและบุคคลจากต่างประเทศ
งานส่งเสริมองค์กรวิชาชีพครูที่เกี่ยวข้องงานส่งเสริมองค์กรวิชาชีพครูที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะเพื่อสนับสนุนให้องค์กรครูที่จดทะเบียนตามกฎหมายปฏิบัติและร่วมมือกับคุรุสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ให้การสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมที่เป็นประโยชน์แก่มวลสมาชิก
ความเจริญของบุคคลในสังคม ปัจจัยสำคัญย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ วิชาชีพครูและผู้ประกอบวิชาชีพครูเป็นกลุ่มที่สังคมฝากความหวังและมอบหมาย ภารกิจดังกล่าวให้ปฏิบัติอย่างลุล่วง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่จะต้องพัฒนาศักยภาพความเป็นครูให้มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพครู อาจทำได้หลายวิธีได้แก่ 1. การพัฒนาตนเอง เช่น การฝึกอบรมการปฏิบัติงาน การประชุมทางวิชาการ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน
2. การพัฒนาโดยองค์กรหรือสถานศึกษา เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่ สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนการวิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร ส่งเสริมการเขียนตำรา สนับสนุนให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ และอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยไม่ถือว่าเป็นการลา เหล่านี้ เป็นต้น
3. การพัฒนาครูโดยหน่วยงานกลาง อาจเป็นหน่วยงานต้นสังกัดการบริหารบุคคล เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาโดยองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพครูและการถือครองใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพครูอีกด้วย นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาโดยองค์กร ชมรม สมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรวมตัวกันเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อผลประโยชน์แห่งวิชาชีพครูของพวกตนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ด้วยการพัฒนาศักยภาพครูอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบด้วยวิธีการดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการคือ นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปว่าครูได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์และมีคุณภาพสมควรให้เป็นผู้นำในการพัฒนาคนของประเทศได้ต่อไป