600 likes | 1.72k Views
ยาฆ่าเชื้อและยาทำให้ปราศจากเชื้อ ( Antiseptic and Disinfectant). Sterilization (การทำให้ปราศจากเชื้อ) คือ การทำลายจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ให้หมดสิ้นไป เช่น การต้มนึ่ง การอบแห้ง (hot air oven)
E N D
ยาฆ่าเชื้อและยาทำให้ปราศจากเชื้อยาฆ่าเชื้อและยาทำให้ปราศจากเชื้อ (Antiseptic and Disinfectant) ยาฆ่าเชื้อ
Sterilization (การทำให้ปราศจากเชื้อ) คือ การทำลายจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ให้หมดสิ้นไป เช่น การต้มนึ่ง การอบแห้ง (hot air oven) • Disinfection (การทำลายการติดเชื้อ) คือ การลด หรือการกำจัดจุลชีพ ทั้งทำให้เกิดโรค และ ที่ไม่ทำให้เกิดโรค การทำลายการติดเชื้อ Disinfection Sterilization ต้ม นึ่ง อบแห้ง ความร้อน แสง Antiseptic Disinfectant ยาฆ่าเชื้อ
ปัจจัยทางฟิสิกส์ที่สามารถทำลายเชื้อได้คือปัจจัยทางฟิสิกส์ที่สามารถทำลายเชื้อได้คือ ความร้อน แบ่งได้เป็นความร้อนแห้ง(dry heat) และความร้อนเปียก (moist heat) moist heat ใช้ได้ผลดีในการแทรกเข้าภายในสารอินทรีย์ที่สารเคมีเข้าไปไม่ถึง โดยทำให้โปรตีนของเชื้อโรคแข็งตัว ส่วน dry heat นั้นต้องใช้ความร้อนสูงกว่าและนานกว่า แสงที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้คือ แสง ultraviolet ซึ่งมีความยาวคลื่น 2540-2800 angstorm สามารถใช้ฆ่าแบคทีเรียกรัมลบ และแบคทีเรียที่ไม่มีสปอร์ แต่ใช้ได้ผลไม่ดีต่อ Staphylococcus, Streptococcus และ virus แสง UV ไม่มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านกระจกได้ ยาฆ่าเชื้อ
Antiseptics (ยาฆ่าเชื้อ/ ยาระงับเชื้อ) • คือ สารเคมีที่ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรค (มีความจำเพาะต่อชนิดของเชื้อ) • ใช้กับผิวหนังหรือเยื่อเมือกของสิ่งมีชีวิตและใช้กับ “ภายนอก” ร่างกายโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้น Disinfectant (ยาทำให้ปราศจากเชื้อ / ยาล้างเชื้อ) • คือสารเคมีที่ใช้ฆ่าหรือทำลายจุลชีพและใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต (การออกฤทธิ์ไม่มีความจำเพาะต่อเชื้อ) • ใช้กับพื้นห้อง เครื่องมือ เครื่องใช้ พื้นห้อง เป็นต้น ยาฆ่าเชื้อ
การใช้ยา antiseptic หรือ disinfectant จะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ • 1. ความเข้มข้นของยา • 2. ระยะเวลายาวนานที่ใช้ยา • 3. อุณหภูมิของยาซึ่งจะทำให้ฤทธิ์ยาเพิ่มขึ้น • 4. ความไวของแบคทีเรียต่อยา • 5. จำนวนแบคทีเรียที่มี • 6. คุณสมบัติของ media บริเวณที่มีเชื้อโรค เช่น เป็นโปรตีน กรด/ ด่าง อินทรียสาร ยาฆ่าเชื้อ
วิธีปฏิบัติในการใช้ antiseptic และ disinfectant 1. ทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกที่ปกคลุมเชื้อออก เพื่อไม่ให้มีผลต่อประสิทธิภาพของยา โดยใช้ detergent 2. ล้างบริเวณนั้นด้วยแอลกอฮอล์ อีเทอร์ หรือ gasoline ขาว เพื่อเอาน้ำมันตามผิวหนังและสิ่งอื่นที่อาจป้องกันไม่ให้ยาสัมผัสกับแบคทีเรียโดยตรง ยาฆ่าเชื้อ
คุณสมบัติของ Antiseptics และ Disinfectant ในอุดมคติ • 1. มีฤทธิ์ทำลายจุลชีพได้ทุกชนิด • 2. ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วและมีฤทธิ์อยู่นาน • 3. ละลายน้ำได้ง่ายและมีความคงตัวสูง • 4. ฤทธิ์ไม่เสียไปเมื่อถูกกับสบู่ หรือ สารอินทรีย์ เช่น เลือด หนอง ฯลฯ • 5. ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย และไม่ขัดขวางกลไกในการหายของแผล ยาฆ่าเชื้อ
คุณสมบัติของ Antiseptics และ Disinfectant ในอุดมคติ (ต่อ) • 6. ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้น้อย และไม่ก่อให้เกิดการแพ้ • 7. สามารถแทรกซึมเข้าไปในสิ่งของที่ต้องการ ทำให้ปราศจากเชื้อได้ดี และไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่อวัตถุที่ใช้ • 8. ไม่มีสี และกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ • 9. ราคาถูก ยาฆ่าเชื้อ
ส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อที่ถูกระบุว่าเป็น disinfectant ก็ต้องฆ่าเชื้อในสิ่งไม่มีชีวิตเท่านั้น เพราะมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปกติ การทำลายไวรัสจึงหมายถึงทำลายไวรัสที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมนอกร่างกายสัตว์เท่านั้น ยาฆ่าเชื้อ
ความไวของเชื้อโรคต่อยาฆ่าเชื้อความไวของเชื้อโรคต่อยาฆ่าเชื้อ มาก น้อย ยาฆ่าเชื้อ ที่มา: Prince et al., 1991
1. Alcohols 2. Aldehydes 3. Halogens 4. Heavy metals 5. Oxidizing agents 6. Phenols 7. Surface active agents 8. Acids 9. Nitrofurazone 10. Ethylene oxide 11. Miscellaneous • ชนิดของยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อ แบ่งตามโครงสร้างทางเคมี ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อ
กลไกการออกฤทธิ์ของยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อกลไกการออกฤทธิ์ของยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อ ที่มา: Prince et al., 1991 ยาฆ่าเชื้อ
ALCOHOL Alcohol ที่ใช้มากมี 2 ชนิด คือ Ethanol และ Isopropanol กลไกการออกฤทธิ์ • โดยละลายไขมันที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้โปรตีนของจุลชีพตกตะกอน • ทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งกรัมบวกและกรัมลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีผลต่อสปอร์ ยาฆ่าเชื้อ
Ethanol • นิยมใช้มากที่สุด สามารถใช้ได้ที่ความเข้มข้น 60-95% • ความเข้มข้นที่ใช้คือ 70% (โดยน้ำหนัก) จะออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุด สามารถฆ่าเชื้อได้ดีที่สุด มีผลต่อเชื้อทุกชนิด ยกเว้น สปอร์ ออกฤทธิ์ในเวลา 1-2 นาที • อาการไม่พึงประสงค์ • ทำให้ผิวแห้งและตกสะเก็ดเนื่องจากไขมันที่ผิวหนังถูกทำลาย และการที่โปรตีนถูกทำลายจะกลายเป็นอาหารของเชื้อได้ดี • ห้ามใช้กับแผลสดหรือแผลติดเชื้อที่เปิด เพราะทำให้ปวดแสบปวดร้อน ยาฆ่าเชื้อ
Ethanol (ต่อ) ประโยชน์ • ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อและยาล้างเชื้อ เช่น ทำความสะอาดที่ผิวหนัง ใช้แช่เครื่องมือภายในเวลา 5 นาที • ใช้ผสมกับ 20% formalin จะฆ่าสปอร์ได้ในเวลา 30 นาที • ไม่ใช้แช่เครื่องมือ เพราะทำให้เป็นสนิม แต่ถ้าเติม 0.2% โซเดียมไนไตรท์จะช่วยป้องกันไม่ให้โลหะเป็นสนิมได้ • ออกฤทธิ์ synergism เมื่อใช้ร่วมกับdisinfectant อื่น เช่น I, KI ยาฆ่าเชื้อ
ALDEHYDE ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Formaldehyde และ Glutaraldehyde กลไกการออกฤทธิ์ • โดยทำให้โปรตีนตกตะกอนด้วยวิธี alkylation • ทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งกรัมบวกและกรัมลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา ไวรัส และมีผลช้าๆ ต่อสปอร์และเชื้อชนิด acid fast ยาฆ่าเชื้อ
FORMALDEHYDE • มีขายในท้องตลาด ชื่อ Formalin (Formaldehyde 37%) • ยาทำปฏิกริยากับโปรตีนในเนื้อเยื่อ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง • อาการไม่พึงประสงค์ คือ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และไอระเหยทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูกและนัยน์ตา • ใช้อบห้อง อบตู้ฟักไข่ • เก็บในภาชนะปิดสนิท สีชา และเก็บที่อุณหภูมิ > 15 C ยาฆ่าเชื้อ
GLUTARALDEHYDE • มีขายในท้องตลาด ชื่อ Cidex (Glutaraldehyde 2% ในสารละลายที่เป็นเบสผสมกับ 70% Isopropanol) • ใช้ฆ่าเชื้อทุกชนิดได้ผลดีกว่า formaldehyde ระเหยเป็นไอน้อยกว่า รวมทั้ง กลิ่น ไอ มีความระคายเคืองน้อยกว่า • สารละลายนี้จะคงตัวในสภาวะที่เป็นกรด • การใช้ยาฆ่าเชื้อนี้แช่เครื่องมือจะไม่มีผลกัดกร่อนโลหะ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะกรดหรือเบส ยาฆ่าเชื้อ
HALOGENS Halogens ที่ใช้มาก คือ Iodine, chlorine และ อนุพันธ์ของสารทั้งสอง กลไกการออกฤทธิ์ • โดยการ ออกซิไดซ์ sulfhyhydryl (-SH) group ให้กลายเป็น S-S group ทำให้โปรตีนถูกทำลายและตกตะกอน ยาฆ่าเชื้อ
IODINES • เมื่อละลายน้ำ จะปล่อยไอโอดีนอิสระ ทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งกรัมบวกและกรัมลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัส • ทิงเจอร์ไอโอดีน 2% ใช้ทาแผลสด หรือ สารละลายลูกอลไอโอดีน ใช้ล้างมดลูกในกรณีที่เป็นหนอง • ขนาด 1 : 20000 สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ภายใน 1 นาที และฆ่าสปอร์ได้ภายใน 15 นาที • อาการไม่พึงประสงค์และอาการพิษ • อาการระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เป็นผื่นบวม แดง ปวดแสบปวดร้อน ไม่ควรใช้กับบาดแผลใหญ่ ไม่ควรใช้สำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีนปิดแผล เพราะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ยาฆ่าเชื้อ
IODOPHORES • เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของไอโอดีนกับโมเลกุลที่เป็น carrier • ชนิดที่รู้จักกันดี คือ Povidone-Iodine (Betadine®, Isodine®) • ประกอบด้วย Iodine + Polyvinylpyrolidone ซึ่งเมื่อละลายน้ำจะปล่อยไอโอดีนอิสระออกมาอย่างช้าๆ • ที่ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ • ไม่ระคายเคืองผิวหนัง และไม่เปื้อนเสื้อผ้า และไม่ค่อยทำให้เกิดการแพ้ ยาฆ่าเชื้อ
สารจำพวกคลอรีน • คลอรีนเป็นก๊าซ แต่มีพิษมาก จึงใช้ละลายน้ำทำให้เกิดกรดไฮโปรคลอรัส (HOCl) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย โปรโตซัว และไวรัส รวมทั้งมีฤทธิ์กัดสีด้วย • ส่วนใหญ่ใช้ฆ่าเชื้อในน้ำประปา และในสระว่ายน้ำ ในขนาดเข้มข้น 1-3 ppm และใช้ตามคอกโค โรงรีดนม รวมทั้งเช็ดเต้านม • ข้อเสียคือคลอรีนทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์ได้เร็ว ทำให้สูญเสียฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ง่าย ยาฆ่าเชื้อ
SODIUM HYPOCHLORITE (NaOCl) • รู้จักทั่วไปใช้เป็นน้ำยาซักผ้าขาว “ไฮเตอร์” • สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สปอร์ เชื้อรา โปรโตซัว และไวรัส โดยเฉพาะชนิดที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบของเปลือกหุ้ม เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดนก • ถ้าอยู่ในสถานะของเหลวใช้ 2-3% แต่ถ้าเป็นผงใช้ 2-3 กรัมต่อลิตร • อาการเป็นพิษคือปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่สัมผัส ยาฆ่าเชื้อ
HEAVY METALS ใช้ในรูปเกลือ เช่น เกลือปรอท และเกลือเงิน กลไกการออกฤทธิ์ • ทำให้โปรตีนของจุลชีพตกตะกอนและยับยั้งการทำงานของ sulfhydryl group • สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของแบคทีเรีย และ ของเนื้อเยื่อ ยาฆ่าเชื้อ
เกลือปรอท • เกลืออนินทรีย์เป็นพิษมาก ที่ยังคงใช้อยู่คือ ammonium mercury ointment ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแผลพุพอง • ส่วนเกลืออินทรีย์จะมีพิษน้อยกว่า เช่น MerthiolateR(thimerosal) ซึ่งมีขายในรูปทิงเจอร์เมอไธโอเลท ใช้ทำความสะอาดผิวหนังก่อนผ่าตัด และ ยาแดง(Mercurochrome) • ใช้ใส่แผลสด แต่ไม่ควรให้กับแผลไฟไหม้ และแผลเรื้อรัง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน • สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อ
เกลือเงิน • เกลืออนินทรีย์ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและยังคงใช้กันมากคือ silver nitrate • ที่ความเข้มข้น 0.1 % สามารถทำลายเชื้อเกือบทุกชนิด ส่วนน้ำยาเข้มข้น 1% ใช้หยอดตาทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในที่เยื่อบุลูกตา นอกจากนี้ความเข้มข้น 0.5% ใช้ป้องกันการติดเชื้อของบาดแผลไฟลวก ชนิดเป็นแท่งใช้จี้แผลและกำจัดหูด • อาการพิษอาจเกิดจากแบคทีเรียในแผลเปลี่ยนจากเกลือ ไนไตรท์ ให้เป็นเกลือไนเตรด ทำให้เกิด methemoglobin เกิดเป็นสีเทาถาวร ยาฆ่าเชื้อ
OXIDIZING AGENTS ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เหมาะกับจุลชีพ anaerobic หรือ facultative anaerobic microorganism เป็นกลุ่มที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป เช่น • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ • ด่างทับทิม • ฟีนอล • ครีซอล ได้จากน้ำมันดินจากถ่านหินและไม้ ยาฆ่าเชื้อ
HYDROGEN PEROXIDE (H2O2) • ที่ความเข้มข้น 3% เมื่อสัมผัสกับเอนไซม์ catalaseในเนื้อเยื่อและเลือด จะทำให้เกิดแตกตัวเป็นน้ำ และออกซิเจน • H2O2ทำลายแบคทีเรีย เนื่องจาก free radical จะมีผลต่อไขมันที่เยื่อหุ้มเซลล์และที่องค์ประกอบอื่นของเซลล์ • ใช้ล้างแผลที่เป็นแอ่งตื้น ทำให้เนื้อเยื่อที่ตายหลุดออกมาได้ ไม่เหมาะกับแผลที่เป็นโพรงลึกและไม่มีทางเปิดสู่ภายนอก ยาฆ่าเชื้อ
HYDROGEN PEROXIDE (H2O2) • น้ำยานี้ไม่คงตัว H2O2จะเกิดปฏิกริยา oxidation ทำให้ ออกซิเจนถูกปล่อยออกมาช้าๆ มีผลให้ประสิทธิภาพลดลง จึงต้องเก็บในภาชนะปิดสนิท ป้องกันแสง อุณหภูมิ 15-30 C • ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่มีออกซิเจนทำให้เกิดเป็นฟอง • ฤทธิ์จะเสื่อมอย่างรวดเร็วเมื่อมีสารอินทรีย์ หรือ ความร้อน ยาฆ่าเชื้อ
POTASSIUM PERMANGANATE (KMnO4) • ออกฤทธิ์เป็น oxidizing agent เช่นกัน แต่ไม่ให้ก๊าซออกซิเจนฤทธิ์ antiseptic หมดอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับเนื้อเยื่อ ซึ่งจะเห็นว่าน้ำยาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล • ความเข้มข้นที่ใช้คือ 1: 10000 ฆ่าแบคทีเรียภายใน 1 ชม. • ความเข้มข้น 1: 5000 จะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ยาฆ่าเชื้อ
PHENOLS • เป็นยาฆ่าเชื้อชนิดแรกที่ใช้ในวงการแพทย์ • ที่ความเข้มข้น 1-2% สามารถทำลายเชื้อได้หลายชนิด สามารถซึมผ่านผิวหนังและเนื้อเยื่อได้ดี แต่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ง่าย • ปัจจุบันเลิกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ แต่ใช้ล้างเชื้อเท่านั้น • ที่ความเข้มข้น 1% ใช้เป็นยาล้างเชื้อ ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ • ที่ความเข้มข้น 2% ใช้เช็ดถูพื้นโรงพยาบาล • ที่ความเข้มข้น 5% ใช้ทำลายเชื้อในสิ่งคัดหลั่งต่างๆ (นอกตัว) ของผู้ป่วย • ข้อดีคือ ออกฤทธิ์ทันที ไม่เสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกอินทรียวัตถุ ข้อเสียคือกลิ่นแรง ยาฆ่าเชื้อ
CRESOLS • ใช้เป็น disinfectant เท่านั้น • ออกฤทธิ์คล้าย Phenol แต่ดีกว่าและถูกกว่า มีกลิ่นแรงคล้ายกัน • เป็นส่วนผสมระหว่าง isomer ของอนุพันธ์ของ Phenol3 ชนิด ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ในขณะที่ความเป็นพิษลดลง • ใช้ผสมกับสบู่ ได้สารละลายใหม่เรียก Lysolราคาถูก ใช้ฆ่าเชื้อได้หลายชนิด แต่ไม่ทำลายสปอร์ มักใช้ในโรงพยาบาล ยาฆ่าเชื้อ
HEXACHLOROPHENE เช่น CHLORHEXIDINE, CHLOROXYLENOL (Dettol) • คือ xylenol ที่มี Cl เป็นส่วนประกอบ เป็นยาฆ่าเชื้อที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล มีพิษน้อย • ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกมากกว่ากรัมลบ โดยเฉพาะ Staphylococcus aureus และไม่ค่อยมีผลต่อไวรัส หรือ สปอร์ • พบว่าอาจเป็นสาเหตุการระบาดของโรคติดเชื้อจากโรงพยาบาล • ใช้ผสมกับสบู่ฟอกมือก่อนผ่าตัด หรือใช้ป้องกันการติดเชื้อ ยาฆ่าเชื้อ
DYES • ชนิดที่รู้จักกันดี คือ Acriflavin (ยาเหลือง) และ Gentian violet (ยาม่วง) ยาฆ่าเชื้อ
ยาเหลือง (Acriflavin) • ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อกรัมบวกที่ทำให้เกิดหนอง และจะมีฤทธิ์ลดลงเมื่อถูกเลือดและหนอง • เหมาะจะใช้ทาแผลเรื้อรัง • มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ยีสต์ และ Dermatophytes เช่น เชื้อ Candida และมีฤทธิ์ต้านเชื้อกรัมบวก esp. Staphylococcus แต่ไม่มีผลต่อสปอร์ • ฤทธิ์ลดลงเมื่อมีน้ำเหลือง ยาม่วง (Gentian violet) ยาฆ่าเชื้อ
Brilliant Green • เป็นผลึกสีทอง น้ำยาที่เป็นน้ำและเป็นด่างมีสีเขียว แต่เมื่อออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแล้วจะเปลี่ยนเป็นกรดเกลือได้สีเหลืองแดง • มีฤทธิ์ต้านเชื้อกรัมบวก esp. Staphylococcus และเป็น bacteriostatic ต่อ E.coli • Brilliant Green + Gentian Violet ใช้เป็นยาป้าย หรือใช้ทาภายนอก ใช้ใส่แผลที่ติดเชื้อ หรือไฟไหม้ ยาฆ่าเชื้อ
SURFACE-ACTIVE AGENTS สารที่อยู่เป็นหนึ่งในกลุ่มนี้และรู้จักกันดีคือ detergent หรือ ผงซักฟอกมีคุณสมบัติคือ • ทำให้เปียก โดยลดความตึงผิว ทำให้เกิดการสัมผัสระหว่างน้ำยาและพื้นผิวสิ่งของ • ทำให้กระจาย • ทำให้แทรกซึม • ทำให้เป็นฟอง แต่มีบางชนิดไม่ทำให้เกิดฟองแต่ใช้เป็นตัวชำระล้าง โดยใช้ปลายหนึ่งซี่งเป็นไฮโดรคาร์บอนจับกับไขมัน และรวมตัวเป็นวงกลม อีปลายหนึ่งเกาะกับน้ำอยู่ด้านนอก ทำให้ดึงส่วนไขมันที่สกปรกออกไป ยาฆ่าเชื้อ
SURFACE-ACTIVE AGENTS Anionic • สบู่ • เป็น emulsifier ที่ดี ทำให้เชื้อแบคทีเรียหลุดออกมาพร้อมกับไขมันและสิ่งสกปรก Cationic (ดีกว่าAnionic) • Quaternary ammonium compound • ออกฤทธิ์ในสภาพเบส (ตรงข้ามกับ Anionic) มีผลฆ่าแบคทีเรีย esp. กรัมบวก Emulsify = การสลายไขมัน เป็นการแยกไขมันและน้ำเป็นอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งจะถูกแขวนลอยในสารละลาย ยาฆ่าเชื้อ
Quaternary Ammonium compound • เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นหอม ทำให้น่าใช้ • ความเข้มข้น 0.1% มีฤทธิ์ลดแบคทีเรียที่ผิวหนังน้อยกว่า Ethanol 70% • เมื่อใช้กับบาดแผลจะอยู่ในลักษณะเป็นแผ่นบางๆ คลุมผิวหนังไว้ ในขณะที่ยังมีแบคทีเรียเหลืออยู่ และอาจก่อให้เกิดการระบาดได้ • การใช้ยานี้ต้องระวังในเรื่องประสิทธิภาพเกี่ยวกับแบคทีเรียกรัมลบ และฤทธิ์ของยาลดลงเมื่อรวมกับสบู่ ยาฆ่าเชื้อ
ACIDS กรดอนินทรีย์ • ออกฤทธิ์ในสภาพ pH กรด • กรดเกลือ กรดกำมะถัน • เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ • ใช้เป็น disinfectant เท่านั้น กรดอินทรีย์ • ออกฤทธิ์ในสภาพ pH กรด • ละลายไขมันได้ สามารถซึมผ่านเข้าเซลล์แบคทีเรีย ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ขาด • ให้ผลดีกว่ากรดอนินทรีย์ • Acetic acid, Benzoic acid ยาฆ่าเชื้อ
ACETIC ACID • ที่ความเข้มข้น 1% มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย ใช้ล้างแผล • ที่ความเข้มข้น 5% มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด • ที่ความเข้มข้น 10-40% ใช้จี้หูดและตาปลา SALICYLIC ACID ยาฆ่าเชื้อ
BORIC ACID • ยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียอย่างอ่อนๆ • ที่ความเข้มข้น 3% ใช้เป็นยาล้างตา • glycerine borax ใช้ป้ายแผลที่ปากและหยอดหู • Benzoic acid + Salicylic acid = Whitfield ointment ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา BENZOIC ACID ยาฆ่าเชื้อ
ประสิทธิภาพของการทำให้ปราศจากเชื้อประสิทธิภาพของการทำให้ปราศจากเชื้อ การทำความสะอาดเบื้องต้น ชนิดของยาที่ใช้ จุลชีพ ความเข้มข้น ระยะเวลา กรด เบส อุณหภูมิ คุณภาพ ชนิดและจำนวน Stage ของเชื้อโรค ยาฆ่าเชื้อ
เปรียบเทียบการใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆเปรียบเทียบการใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ ยาฆ่าเชื้อ ที่มา : AUSVETPLAN, 2000
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ ยาฆ่าเชื้อ ที่มา : Quinn, 1991
การ ล้างฆ่าเชื้อบุคคล esp. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในฟาร์ม • จัดบริเวณล้างฆ่าเชื้อไว้ใกล้จุดที่ออกจากบริเวณปนเปื้อน น้ำล้างจะต้องไม่ไหลไปสู่บริเวณที่สะอาด • ใช้สบู่ในการล้างหน้า ผม ผิวหนัง มือ • ใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมกับเชื้อโรคที่มีการระบาด • เตรียมน้ำยาในถังน้ำและจุ่มรองเท้าบู๊ทในถังน้ำยา • พ่นน้ำยาที่ล้อรถ • ออกจากบริเวณปนเปื้อน อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ • งดไปฟาร์มอื่นที่ไม่ปนเปื้อน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ยาฆ่าเชื้อ
การ ล้าง ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ โรงเรือน • กำจัดเศษวัสดุ สิ่งสกปรก สิ่งปนเปื้อน เพราะเศษอินทรียวัตถุที่ตกค้างจะทำให้ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อลดลง ให้ใช้แปรงขัดสิ่งสกปรกแล้วจึงฉีดน้ำล้าง เมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือนให้ล้างด้วยความระมัดระวัง อย่าใช้น้ำที่มีแรงดันสูง เนื่องจากจะเป็นการสร้าง bioaerosols สำหรับไวรัส ทำให้ไวรัสกระจายไปสู่บริเวณใกล้เคียง และทำให้สิ่งสกปรกกระจายในวงกว้าง สิ่งสกปรกนั้นให้ทำการฝังและราดน้ำยาฆ่าเชื้อ • เล็งเป้าหมายใช้ยาฆ่าเชื้อกับสิ่งของหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวสัตว์ เช่น คอก ทางเดิน รางอาหาร • ปล่อยให้ยาฆ่าเชื้อมีเวลาสัมผัสกับเชื้อโรคอย่างน้อย 20-30 นาที • โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องล้างน้ำซ้ำ เนื่องจากต้องการให้มีฤทธิ์ตกค้างของยาฆ่าเชื้อ เว้นแต่เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อเปรอะเปื้อนตัวสัตว์ ยาฆ่าเชื้อ
การ ล้าง ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ โรงเรือน (ต่อ) • 1. เมื่อไม่มีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือน • ให้พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อจากบนเพดาน ฝา พื้น • 2. เมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือน • รดน้ำยาฆ่าเชื้อลงพื้นด้วยฝักบัวรดน้ำธรรมดาโดยรอบตัวสัตว์ป่วย ไม่พ่นยาฆ่าเชื้อใส่ตัวสัตว์โดยตรง และจะต้องล้างฆ่าเชื้อซ้ำในตำแหน่งนั้นเป็นประจำวันละ 2 ครั้งเช้า- เย็น จนกระทั่งหมดสัตว์แสดงอาการป่าย จึงลดความถี่ในการล้าง ฆ่าเชื้อเป็นวันเว้นวัน และอาจเจือจางสารละลายลงได้ • ถัดไปให้ล้างฆ่าเชื้อ ทางเดิน อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ และต้องล้างวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น • บริเวณใกล้เคียงที่มีสัตว์ปกติหรือยังไม่แสดงอาการป่วยในโรงเรือนเดียวกันให้ล้างฆ่าเชื้ออย่างน้อยวันเว้นวัน ยาฆ่าเชื้อ
การ ล้าง ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ โรงเรือน (ต่อ) • 3. เมื่อสัตว์ป่วยอยู่นอกโรงเรือน เช่น การกักโค กระบือ • ใช้ซองกักสัตว์ป่วยกลางแจ้ง ให้พ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโดยรอบซองกักวันละ 1 ครั้ง เมื่อเลิกการกัก ให้ทำการฆ่าเชื้อบริเวณกัก โดยโรยปูนขาวหรือเผา ยาฆ่าเชื้อ
ไวรัสที่มีการติดต่อทางการหายใจ ไม่มีความจำเป็นต้องฆ่าเชื้อโดยการพ่นยาเป็นละอองในอากาศ เนื่องจากระยะเวลาในการสัมผัสกับยาฆ่าเชื้อน้อยเกินไปและสัตว์มีการขับเชื้ออยู่ตลอดเวลาและยังทำให้เกิด bioaerosol ทำให้ไวรัสฟุ้งกระจายได้ดียิ่งขึ้น ในกรณีดังกล่าว ให้ทำการฆ่าเชื้อด้วยการใช้ก๊าซจาก formaldehyde รมในโรงเรือนปิด ซึ่งมักดำเนินการหลังจากได้ทำลายสัตว์ป่วยแล้ว และไม่มีสัตว์เหลืออยู่ในโรงเรือน เอกสารอ้างอิงเรื่องการใช้ยาล้างฆ่าเชื้อในสัตว์จาก บรรจง จงรักษ์วัฒนา. 2546. คู่มือควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อย สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9. สงขลา. 95 น. ยาฆ่าเชื้อ