1 / 37

สัญญาประกันภัย

สัญญาประกันภัย. อ.จักรภพ ศิ ริภากร กาญจน์. ปพพ. มาตรา 861 “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”.

Download Presentation

สัญญาประกันภัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัญญาประกันภัย อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์

  2. ปพพ. มาตรา 861 • “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”

  3. ปพพ. มาตรา 862 • “ตามข้อความในลักษณะนี้ • คำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ • คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย • คำว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้ • อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

  4. ประเภทของสัญญาประกันภัยประเภทของสัญญาประกันภัย

  5. 1. สัญญาประกันวินาศภัย • สัญญาประกันวินาศภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ในกรณีวินาศภัยเกิดขึ้นและในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกัน • เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ • ปพพ. มาตรา 869 • “อันคำว่า “วินาศภัย” ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งพึงประมาณเป็นเงินได้”

  6. 2. สัญญาประกันภัยค้ำจุน • ปพพ. มาตรา 887 • “อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัย ซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ”

  7. 3. สัญญาประกันชีวิต • สัญญาประกันชีวิต คือสัญญาประกันภัยอันกำหนดจำนวนเงินแน่นอนซึ่งเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่งในเหตุความตายในอนาคตดังระบุไว้ในสัญญาและในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกัน

  8. ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย • ปพพ. มาตรา 863 • “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

  9. หลักฐานการฟ้องร้อง • ปพพ. มาตรา 867 • “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ • ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง”

  10. การเปิดเผยข้อความจริงการเปิดเผยข้อความจริง • ปพพ. มาตรา 865 • “ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิตบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ • ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”

  11. การรับช่วงสิทธิ • ปพพ. มาตรา 880 • “ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย”

  12. ปพพ. มาตรา 896 • “ถ้ามรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยหาอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะในอันจะได้ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่”

  13. ตั๋วเงิน

  14. ปพพ. มาตรา 898 • “อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภท ประเภทหนึ่งคือตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่งคือเช็ค”

  15. ตั๋วเงินต้องมีมูลหนี้เดิมตั๋วเงินต้องมีมูลหนี้เดิม • เป็นสื่อกลางเพื่อชำระหนี้เงิน

  16. เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ • โอนตั๋วเงินกันได้โดยการส่งมอบ (ตั๋วเงินชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือโดยเฉพาะ) หรือสลักหลังและส่งมอบ (ตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ)

  17. ตั๋วแลกเงิน • ปพพ. มาตรา 908 • “อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง” • ตัวอย่าง • ก. ออกตั๋วแลกเงินให้ ข. เพื่อชำระหนี้ให้แก่ ข. (หรือผู้ถือ) โดยในตั๋วแลกเงินนั้นสั่งให้ ค. ชำระหนี้ให้ ข.

  18. ตั๋วแลกเงินมีบุคคลที่เกี่ยวข้องสามฝ่าย คือ • “ผู้สั่งจ่าย” คือบุคคลที่เขียนสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน โดยปกติผู้สั่งจ่ายจะเป็นเจ้าหนี้ของผู้จ่าย จึงย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินแก่ผู้รับเงินได้ • “ผู้จ่าย” คือบุคคลซึ่งผู้สั่งจ่ายระบุให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว • “ผู้รับเงิน” คือบุคคลซึ่งผู้สั่งจ่ายระบุให้รับเงินตามตั๋วซึ่งผู้จ่ายจะจ่ายให้ มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้สั่งจ่าย

  19. ตั๋วสัญญาใช้เงิน • ปพพ. มาตรา 892 • “อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน” • ตัวอย่าง ก. ยืมเงิน ข. ก.จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยสัญญาว่าจะใช้เงิน ข. ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553

  20. ตั๋วสัญญาใช้เงินมีบุคคลเกี่ยวข้องสองฝ่าย คือ • “ผู้ออกตั๋ว” คือบุคคลที่เป็นลูกหนี้ของผู้รับเงิน เป็นผู้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะจ่ายให้กับผู้รับเงิน • “ผู้รับเงิน” คือ บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตั๋ว ซึ่งผู้ออกตั๋วมีหน้าที่ชำระหนี้

  21. เช็ค • ปพพ. มาตรา 987 • “อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน” • ตัวอย่าง • ก. ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเอาไว้กับธนาคารกรุงไทย 5 ล้านบาท ธนาคารได้มอบสมุดเช็คให้ 1 เล่ม ต่อมา ก. ได้ซื้อรถยนต์จาก ข. จึงได้สั่งจ่ายเช็คโดยสั่งให้ธนาคารกรุงไทยจ่ายเงินให้ ข. 1 ล้านบาท

  22. เช็คนั้น มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย • “ผู้สั่งจ่าย” คือบุคคลที่เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเอาไว้กับธนาคาร เป็นผู้สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้กับผู้รับเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตน • “ผู้จ่าย (ธนาคาร) คือผู้ที่ทำหน้าที่จ่ายเงินตามเช็ค • “ผู้รับเงิน” คือบุคคลซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้สั่งจ่าย โดยผู้สั่งจ่ายระบุให้มีสิทธิไปเรียกเก็บเงินตามเช็ค

  23. เช็คขีดคร่อม • จะมีเครื่องหมาย / / อยู่ในเช็ค หมายความว่าธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้ทางบัญชีเท่านั้น จะไม่จ่ายเป็นเงินสด

  24. ผู้ทรงตั๋วเงิน • ปพพ. มาตรา 904 • “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่าบุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”

  25. ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินต้องรับผิดผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินต้องรับผิด • บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินไม่ว่าจะในฐานะผู้ออกตั๋ว, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล, ผู้รับรอง จะต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นแก่ผู้ทรง ผู้ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินจะไม่เกิดความรับผิดตามตั๋วเงินเลย

  26. การโอนตั๋วเงิน • 1. ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ หมายถึงตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋วได้ออกตั๋วเงินโดยการระบุชื่อของผู้รับเงินลงไว้ในตั๋วเงิน บุคคลที่สามารถนำตั๋วเงินไปขึ้นเงินได้ต้องเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในตั๋วเงินในฐานะผู้รับเงินเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่นที่จะขึ้นเงินได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับตั๋วเงินมาจากผู้ทรงตั๋วคนเดิมโดยการ สลักหลังและส่งมอบ • เช่น ก. ออกตั๋วเงินโดยสั่งให้ ข. จ่ายเงินให้แก่ ค. ค. ได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินให้แก่ ง. ง. ก็ได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินให้แก่ จ.

  27. วิธีการสลักหลัง ทำได้ 2 วิธี คือ • 1. การสลักหลังเฉพาะ คือลงลายมือชื่อผู้สลักหลังและระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง • 2. การสลักหลังลอย คือ ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังแต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง ผู้ที่ได้ตั๋วมาจากการสลักหลังลอยจะโอนตั๋วโดยการสลักหลังเฉพาะและส่งมอบต่อไป หรือสลักหลังลอยและส่งมอบต่อไป หรือแค่ส่งมอบอย่างเดียวต่อไปก็ได้ • เว้นแต่มีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ เช่น เปลี่ยนมือไม่ได้ (Not negotiable)ห้ามสลักหลังต่อ (No further indorsement) หรือ เข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น (AC payee only)

  28. 2. ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ หรือ ตั๋วผู้ถือ • หมายถึงตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายได้ออกตั๋วเงินโดยไม่ได้ระบุชื่อของผู้รับเงินเอาไว้ในตั๋วเงินโดยเฉพาะ หรืออาจจะระบุชื่อผู้รับเงินเอาไว้แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ผลแห่งการนี้ถือว่า บุคคลใดเป็นผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง หรือเป็นผู้ถือตั๋วเงินก็ถือว่าเป็นผู้ทรง สามารถนำตั๋วเงินนั้นไปขึ้นเงินกับผู้จ่ายได้ • การโอนตั๋วเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กัน โดยไม่ต้องสลักหลัง หากสลักหลังไปจะมีผลทำให้ผู้สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่ายไป

  29. การอาวัล (aval) • อาวัล คือการค้ำประกันความรับผิดชอบตามตั๋วเงิน ผู้รับอาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกหรือเป็นคู่สัญญาคนใดคนหนึ่งในตั๋วเงินนั้นก็ได้

  30. รูปแบบของการอาวัล • 1. เขียนด้วยถ้อยคำสำนวน “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่น เช่น “ค้ำประกัน” “รับประกัน” และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล และต้องระบุชื่อผู้ถูกรับอาวัลด้วย หากไม่ระบุไว้ให้ถือว่ารับอาวัลผู้สั่งจ่าย • 2. เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าของตั๋วเงิน โดยไม่เขียนข้อความใด ๆ ก็เป็นการรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและผู้จ่าย • 3. สลักหลังตั๋วเงินที่ออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมเท่ากับเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายแล้ว

  31. ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกันผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน • เมื่อผู้รับอาวัลใช้เงินแล้ว มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนประกันไว้ได้

  32. ตัวอย่าง • หนึ่งสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ ส่งมอบให้แก่ สอง สองส่งมอบให้แก่สามโดยสลักหลัง ถือว่าสองเป็นผู้รับอาวัลหนึ่งผู้สั่งจ่าย หากสามนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ สามย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับนายหนึ่งผู้สั่งจ่าย หรือสองผู้รับอาวัลคนใดคนหนึ่งก็ได้ • เมื่อสองผู้รับอาวัลใช้หนี้ตามตั๋วให้แก่สามแล้ว ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับนายหนึ่งผู้สั่งจ่ายได้

  33. การรับรองตั๋วเงิน • การรับรองหมายถึง การแสดงเจตนาของผู้จ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่าย • โดยทั่วไปตั๋วเงินฉบับหนึ่ง ผู้จ่ายจะถูกระบุชื่อไว้ในตั๋วโดยผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ยังไม่มีลายมือชื่อของผู้จ่าย จึงยังไม่มีความรับผิดต่อผู้ทรงตั๋ว ผู้ทรงสามารถเอาตั๋วไปให้ผู้จ่ายรับรองได้ เมื่อผู้จ่ายลงลายมือชื่อรับรอง เช่นใช้สำนวนว่า “รับรองแล้ว” เมื่อได้กระทำการดังกล่าวแล้ว ผู้จ่ายจะเปลี่ยนฐานะเป็นผู้รับรองตั๋วและต้องผูกพันรับผิดด้วยเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายและบรรดาผู้สลักหลัง

  34. การรับผิดตามตั๋วเงิน • ปพพ. มาตรา 967 • “บรรดาผู้สั่งจ่ายก็ดี รับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง • สิทธิเช่นเดียวกันนี้ ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงมือชื่อในตั๋วเงินและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน”

  35. ปพพ. มาตรา 971 • “ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดีซึ่งเขาสลักหลังหรือโอนตั๋วให้อีกทอดหนึ่งก็ดีนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้นได้ไม่”

  36. ตัวอย่าง • หนึ่งออกเช็คชำระหนี้ 50,000 บาทให้แก่สอง ต่อมาสองสลักหลังโดยระบุชื่อโอนให้แก่สาม สามสลักหลังลอยส่งมอบให้แก่สี่ สี่ส่งมอบให้แก่ห้า ห้านำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคาร ปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ห้าผู้ทรงสามารถฟ้องร้องให้ • - หนึ่งรับผิดตามเช็คได้ ในฐานะผู้สั่งจ่าย (ได้ลงลายมือชื่อในเช็ค) • - สองในฐานะผู้สลักหลัง (ได้ลงลายมือชื่อในเช็ค) • - สามในฐานะผู้สลักหลังลอย (ได้ลงลายมือชื่อในเช็ค) • แต่ห้าไม่สามารถฟ้องให้สี่รับผิดได้ เพราะสี่ไม่ได้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คนั้น

  37. ตัวอย่าง • จันทร์ออกตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งสั่งอาทิตย์ให้จ่ายเงินแก่อังคาร อังคารสลักหลังโอนตั๋วให้พุธ พุธได้ยื่นตั๋วให้อาทิตย์รับรองและอาทิตย์รับรองให้แล้ว ต่อมาพุธสลักหลังโอนตั๋วให้พฤหัส แล้วพฤหัสสลักหลังโอนตั๋วชำระหนี้ให้อังคาร ครั้นตั๋วถึงกำหนด อังคารนำไปยื่นต่ออาทิตย์เพื่อให้ใช้เงิน อาทิตย์ไม่ใช้ ให้วินิจฉัยว่าใครจะต้องรับผิดและไม่ต้องรับผิดต่ออังคารผู้ทรงบ้าง

More Related