960 likes | 1.33k Views
การกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ เจ้าพนักงานปกครอง ๖ ว หัวหน้างานถ่ายโอนกิจกรรมบริการสาธารณะ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549. มาตรา 5
E N D
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายภิญโญ พัวศรีพันธุ์ เจ้าพนักงานปกครอง ๖ ว หัวหน้างานถ่ายโอนกิจกรรมบริการสาธารณะ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549
มาตรา 5 - สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 คน - อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี - ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา - กรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มาตรา 8 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสีย สมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิเข้าสื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ - มติให้พ้นจากสมาชิกภาพ ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในวันลงคะแนน
มาตรา 9 - การประชุมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
มาตรา 10 - พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ - ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
มาตรา 11 - สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน - สมาชิก 100 คน สามารถขออภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากรัฐมนตรีได้ แต่ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้
มาตรา 12 - กรณีมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะรับฟังความคิดเห็น ให้แจ้งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไป แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา 13 - การกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในการประชุมสภานิติบัญญัติ ถือเป็นเอกสิทธิโดยเด็ดขาด จะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้ แต่ไม่คุ้มครองผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ถ้าหากถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ - กรณีที่สมาชิกฯ ถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยต่อเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือกรณีถูกฟ้องในคดีอาญาให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี
มาตรา 14 - พระมหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน - พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติถวายคำแนะนำ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ
มาตรา 19 - สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก 100 คน - ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ - สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายในเวลา 2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน
มาตรา 20 - สมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกที่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ไม่เกิน 2,000 คน - ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 22 - ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติเป็นอันสิ้นสุด - การคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง สมาชิกสมัชชาแห่งชาติมีสิทธิเลือกได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเรียงไปตามลำดับจนครบ 200 คน เป็นผู้ได้รับเลือก
มาตรา 23 - ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ 100 คน และแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ - ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
มาตรา 24 - ในระหว่างที่สภาร่างรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่แล้วเสร็จ หากมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามมาตรา 22 ที่เหลืออยู่ หรือจากบุคคลที่เคยเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีตำแหน่งว่าง
มาตรา 26 - เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้นมีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไข ไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคลดังต่อไปนี้
มาตรา 26 (ต่อ)1.คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 2.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3.คณะรัฐมนตรี 4.ศาลฎีกา 5.ศาลปกครองสูงสุด 6.คณะกรรมการการเลือกตั้ง 7.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 8.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 9.ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 10.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 11.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 12.สถาบันอุดมศึกษา
มาตรา 26 (ต่อ) - ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงตามวรรค 1 ให้ประชาชนทั่วไปทราบ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย
มาตรา 27 - เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารตามมาตรา 26 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำได้เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ - สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติ หรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้วจะยื่นคำขอแปรญัตติ หรือรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้
มาตรา 28 - เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ส่งเอกสารตามมาตรา 26 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาความเห็นที่ได้รับมาตามมาตรา 26 และคำแปรญัตติตามมาตรา 27 พร้อมทั้งจัดทำรายงานการแก้ไขเพิ่มเติม หรือไม่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งเหตุผล เผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป แล้วนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวรรค 1 เป็นการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และเฉพาะมาตราที่สมาชิกยื่นคำขอแปรญัตติตามมาตรา 27 หรือที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 มิได้ เว้นแต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบด้วย หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น
มาตรา 29 - ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก - ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว - การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
มาตรา 30 - เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับจากวันที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการต่อไป ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ - ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
มาตรา 32 - ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงและให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป - การประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา 34 - เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย บุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549
มาตรา 35 - บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 2 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
มาตรา 36 - บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างสันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
มาตรา 37 - บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
มาตรา 38 - ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2540(ยกเลิกแล้ว) หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั้งประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดมีความพร้อมให้เป็น อปท. ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น มาตรา 88บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและดำเนินการนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 282การปกครองท้องถิ่นต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น มาตรา 283การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ และเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 284องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ ให้มีการกำหนดอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 284 (ต่อ)ให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ที่ต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจและหน้าที่ และการจัดสรร สัดส่วนภาษีอากรระหว่างรัฐกับท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ให้มีคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่ในการแบ่งอำนาจและหน้าที่ และการจัดสรรสัดส่วนภาษีอากรดังกล่าวข้างต้น
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 285องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหารหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มาตรา 286ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง มีสิทธิลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งได้
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 287ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นให้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ มาตรา 288การบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ต้องเป็นตาม ความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นก่อน ตามที่กฎหมายบัญญัติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ หมวด 9การปกครองท้องถิ่น มาตรา 289องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการบำรุงรักษาศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ฯลฯ และจัดการศึกษาอบรมและ การฝึกอาชีพ ตามความต้องการของท้องถิ่น มาตรา 290องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในเขตของตน และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อท้องถิ่นของตน
หลักการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นหลักการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ประกอบด้วย 2 มิติ คือ ด้านการเมือง ได้แก่ การให้ประชาชนมีอิสระ(automy) ในการปกครองตนเองภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ด้านการบริหาร ได้แก่ ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีขนาด ที่เหมาะสม คุ้มค่า ประหยัด มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และสามารถบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลได้
แนวทางการกระจายอำนาจ • กระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้ อปท. (ไม่ใช่กระจายงาน/เงิน)จะทำให้ อปท. เกิดความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ราชการเคยทำ แต่ต่อไปจะไม่ทำ เพราะให้ อปท.ทำ • ปรับบทบาทของส่วนราชการจากผู้ปฏิบัติการ เป็น ผู้กำกับดูแล และ ส่งเสริมให้ อปท. เป็นผู้ดำเนินการ โดยสนับสนุนด้านบุคลากร วิชาการ และเตรียมความพร้อมให้ อปท. ปรับปรุงกฎหมายและพัฒนากลไกการกระจายอำนาจ รวมถึงการสร้างระบบติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผล
เป้าหมายของแผนการกระจายอำนาจเป้าหมายของแผนการกระจายอำนาจ • ต้องให้มีการถ่ายโอนให้ อปท.ที่มีความพร้อมให้สามารถดำเนินการได้ภายใน ๔ ปี เว้นแต่กรณีที่ต้องการการสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ อปท. ก่อน อาจมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านอีก ๖ ปี • ต้องกำหนดแนวทางการจัดสรรรายได้ให้ อปท. สอดคล้องภารกิจที่ถ่ายโอน ตามเป้าหมาย ร้อยละ ๓๕ ในปี ๒๕๔๙ • ต้องกำหนดแนวทาง วิธีการในการโอนถ่ายบุคลากร และเสร้างระบบบริหารงานบุคคลท้องถิ่นเพื่อรองรับการถ่ายโอน • เร่งรัด ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หลักการทั่วไปในการถ่ายโอนภารกิจจากรัฐสู่ อปท. • หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างอำนาจหน้าที่ของรัฐกับ อปท. และระหว่าง อปท. • ภาระที่รัฐบาลส่วนกลางยังคงรับผิดชอบ คือ ภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ (งานความมั่นคง การต่างประเทศ การเงินการคลังของประเทศ การพิพากษาคดี) • อปท. มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในภารกิจที่เกี่ยวข้องงานด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดบริหารสาธารณะที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน • ภารกิจมอบให้ อปท. ดูผลที่เกิดว่าผู้ได้รับประโยชน์อยู่ในพื้นที่ใด
หลักความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลักความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ดูความพร้อมของ อปท. • แต่มิได้เป็นเงื่อนไขของการมอบ – ไม่มอบ เป็นเงื่อนไขในการกำหนดเงื่อนเวลาและการเพิ่มขีดความสามารถให้กับท้องถิ่น • ถ้า อปท.ยังไม่พร้อม ส่วนราชการต้องมีแผนพัฒนาความพร้อมให้ อปท.เพื่อรองรับการจัดให้ให้บริการสาธารณะได้ • ขีดความสามารถจึงไม่ใช่มูลเหตุและเงื่อนไขของการกำหนดว่าภารกิจใดจะสามารถหรือไม่สามารถถ่ายโอนให้ อปท.ได้
หลักการจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลักการจัดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • จัดโครงสร้างเพื่อรองรับภารกิจการบริหารงานในอนาคต • โครงสร้างเพิ่มเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้โครงสร้างใหญ่เกินไป จนก่อปัญหาการบริหารงานซ้ำซ้อน สร้างภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร • อปท. ใดมีความต้องการจัดบริการสาธารณะในเรื่องที่เป็นงานเฉพาะ ก็สามารถดำเนินการจัดโครงสร้างของตนเองได้ • โครงสร้างไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งประเทศ • ให้คำนึงถึงความต้องการหรือความจำเป็นของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
หลักประกันของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการหลักประกันของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการ • การประหยัด • ขนาดการลงทุน คำนึงต้นทุนการให้บริการ • หากต้นทุนสูง ควรจัดทำร่วมกัน เพื่อให้ขนาดการลงทุนถูกลง • การสร้างหลักประกันในการจัดบริการสาธารณะ • มีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่า หรือไม่น้อยกว่าหน่วยงานของส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาคทำ • ต้องยึดถือมาตรฐานของส่วนราชการ หรือมาตรฐานทางวิชาการในการดำเนินกิจการบริการสาธารณะที่รับถ่ายโอน
ภารกิจที่ถ่ายโอน • ภารกิจที่ซ้ำซ้อน : คือภารกิจใดที่รัฐทำอยู่ และท้องถิ่นก็ทำอยู่ • ภารกิจที่รัฐไปทำในเขตท้องถิ่น และเป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท.ต้องทำ • ภารกิจที่รัฐไปทำในเขตท้องถิ่นแล้วกระทบหลายท้องถิ่น เช่นทางหลวงชนบทที่ผ่านหลายตำบล แต่อยู่ในเขตจังหวัด
รูปแบบการมอบหมายภารกิจ/ทำบริการสาธารณะรูปแบบการมอบหมายภารกิจ/ทำบริการสาธารณะ • ภารกิจที่ อปท. ดำเนินการเอง • ภารกิจที่รัฐหยุดดำเนินการ และมอบให้ อปท.ดำเนินการแทน(โดยต่างทำเอง / ร่วมกันทำในโครงการขนาดใหญ่) หรือ ซื้อบริการ หรือ ให้เอกชนทำ • บทบาท อปท.จะรับผิดชอบงาน/ภารกิจทั้งหมด • ส่วนราชการเป็นผู้กำกับดูแล สนับสนุนวิชาการ เตรียมความพร้อม • บุคลาการอาจมีบางส่วนถ่ายโอนให้ อปท.โดยตรง หรือ โอนไปรวมที่ท้องถิ่นขนาดใหญ่ ท้องถิ่นขนาดเล็กมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
ภารกิจที่ อปท.ดำเนินการร่วมกับรัฐ • ส่วนราชการยังดำเนินการ แต่มอบงานบางส่วนให้ อปท.ทำ โดยแบ่งความรับผิดชอบกันชัดเจน • บทบาท อปท.จะดำเนินงานบางส่วน และ ส่วนราชการกำกับบางส่วนรวมทั้งดำเนินการเองบางส่วน เช่น การดูแลแหล่งน้ำในเขตจังหวัด ให้ อปท.ดูแลอำนาจอนุญาตสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ดูแลรักษาตลิ่ง น้ำเสีย ท่าเทียบเรือขนาดเล็ก ส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่ขุดลอกแม่น้ำขนาดใหญ่ • มีบุคลากรบางส่วนถ่ายโอนไป อปท. บางส่วน อปท.อาจกำหนดโครงสร้าง กับ อัตราบุคลากรเอง
ภารกิจที่รัฐยังดำเนินการ และ อปท. ก็ดำเนินการได้ • ภารกิจที่แผนปฏิบัติการฯไม่ได้กำหนดให้มีการถ่ายโอน เช่นงานของรัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การมหาชน เช่น ประปา ไฟฟ้า • งานเหล่านี้ ถ้า อปท. ต้องการทำก็สามารถทำเรื่องขอรับโอนได้ ถ้าเรื่องนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท. ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ประเภทกิจกรรม กิจกรรมที่จะถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับโอนจะระบุกิจกรรมเป็น 2 ประเภท คือ * ประเภทที่ 1 “เลือกทำโดยอิสระ” * ประเภทที่ 2 “หน้าที่ที่ต้องทำ”
ภารกิจที่ถ่ายโอนจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประการที่ 1กรณี“เลือกทำโดยอิสระ”หมายถึงอปท. มีอิสระในการที่จะเลือกทำกิจกรรมใด ตามที่ อปท. เห็นว่าจำเป็น และการถ่ายโอนหลายเรื่องไม่ควรบังคับให้ อปท. ทำกิจกรรมตามแผนงาน งบประมาณ ที่ส่วนราชการตั้งไว้เดิม
ประเภทที่ 2กรณี“หน้าที่ที่ต้องทำ”หมายถึง อปท. ต้องทำในงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำวันของประชาชนหรือความจำเป็น ขั้นพื้นฐานและงานที่เป็นเรื่องของการมอบอำนาจและการใช้อำนาจ
เป้าหมายของแผนปฏิบัติการเป้าหมายของแผนปฏิบัติการ 1. ถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ จำนวน 6 ด้านรวม 245 ภารกิจให้แก่ อปท. จำนวน 7,950 แห่ง 2. ให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ใน พ.ศ. 2544 และมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2549 คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 35