720 likes | 1.61k Views
ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไป การวิจัยทางการท่องเที่ยว. การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์. หัวข้อ. 1.1 วิธีการหาความรู้ ความจริง สู่การวิจัย 1.2 ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง
E N D
ตอนที่ 2ความรู้ทั่วไปการวิจัยทางการท่องเที่ยว การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์
หัวข้อ 1.1 วิธีการหาความรู้ ความจริง สู่การวิจัย 1.2 ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง 1.4 การวิจัย 1.5 ขั้นตอนในการวิจัย 1.6 ประเภทของการวิจัย 1.7 การวิจัยในบริบทการท่องเที่ยว 1.8 งานมอบหมายในห้องเรียน
วิธีการหาความรู้ ความจริง นำมาสู่การวิจัย • วิธีโบราณ • วิธีอนุมาน(deductive) • วิธีอุปมาน(inductive) • วิธีอนุมาน-อุปมาน(deductive- inductive) • วิธีใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ • วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หน้าหลัก
ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ • ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจจพนน์ของความเป็นเหตุเป็นผล • ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล
ความรู้ ความจริง • ความรู้ ความจริงที่มนุษย์ค้นคว้าหานั้น คือสิ่งที่เชื่อถือได้ เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องแน่นอนคงตัวเสมอไป แต่จะดำรงคงอยู่สภาพนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กาลเวลาเปลี่ยนไป ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเปลี่ยนไป ความรู้ ความจริงนั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
ทฤษฏี • ทฤษฏี คือ ข้อกำหนดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของโครงสร้าง ความคิดรวบยอด และแบบเค้าโครงของตัวแปรต่างๆ เพื่อให้สามารถอธิบาย และคาดคะเนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ • ทฤษฏี จะตั้งขึ้นมาได้ ต้องผ่านการศึกษาค้นคว้าทดลองกับข้อมูลต่างๆ มาเป็นจำนวนมาก และเป็นเวลานาน จนมีความแน่ใจว่าเป็นความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ • ทฤษฏี อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์และตามเวลาที่เปลี่ยนแปลง หรือในกรณีที่มีผู้สามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ลบล้างได้
ความสัมพันธ์ของ ทฤษฏี ความรู้ความจริง • ช่วยเป็นเครื่องมือนำทางในการค้นหาความรู้ ความจริงใหม่ๆ • ช่วยสรุปความรู้ความจริงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ • ช่วยในการหาส่วนที่ยังบกพร่องของความรู้ความจริงให้ครบถ้วน • ความรู้ ความจริงช่วยในการสร้างทฤษฏี • ความรู้ ความจริงช่วยในการปรับปรุงทฤษฏีเก่าๆ ให้เหมาะสม • ความรู้ ความจริงช่วยที่ค้นพบใหม่ๆ ช่วยบอกความผิดพลาดของ ทฤษฏีได้
การวิจัย ความหมายการวิจัย คุณลักษณะที่ดี บทบาทของการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย ประเภทการวิจัย
ความหมายของการวิจัย • การวิจัยคือ การค้นคว้า หาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้โดยวิธีการที่มีระบบแบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นไปสร้างกฎเกณฑ์ ทฤษฏีต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิงอธิบายปรากฏการณ์ เฉพาะเรื่องและปรากฏการณ์ทั่วๆ ไป และเป็นผลทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ (p.12) พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล.
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อการแก้ปัญหา (Problem solving research) • เพื่อสร้างทฤษฏี (Theory-developing research) • เพื่อพิสูจน์ทฤษฏี (Theory testing research)
บทบาทของการวิจัย • ทำให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ ขึ้น • ทำให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหา • หน่วยงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการตัดสินใจ • ประเทศเกิดการพัฒนา
ขั้นตอนของการทำวิจัย • เลือกหัวข้อปัญหา • ศึกษา ค้นคว้าทฤษฏี • ให้คำจำกัดความของปัญหา • สร้างสมมุติฐาน • พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล • วางแผนการวิจัย • สร้างเครื่องมือ • ทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ • เลือกกลุ่มตัวอย่าง • เก็บรวบรวมข้อมูล • จัดกระทำข้อมูล • เขียนรายงานการวิจัย
การวิจัยในบริบทของการท่องเที่ยวการวิจัยในบริบทของการท่องเที่ยว • การท่องเที่ยวเป็นศาสตร์ที่อยู่ในสังคมศาสตร์ จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในด้านพฤติกรรม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ โดยเฉพาะทางการท่องเที่ยว • การวิจัยทางการท่องเที่ยว จึงเป็น การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้แก่ นักท่องเที่ยว ชุมชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ และเพื่อสร้างแนวทางที่เหมาะสม
วิธีในสมัยโบราณ • โดยบังเอิญ (by chance) • โดยขนบธรรมเนียบประเพณี (by tradition) • โดยผู้มีอำนาจ (by authority) • จากประสบการณ์ส่วนตัว (by personal experience) • โดยการลองผิดลองถูก (by trial and error) • โดยผู้เชี่ยวชาญ (by expert) กลับ
โดยวิธีอนุมาน (deductive method) • อริสโตเติล เป็นผู้ที่ได้นำเอาหลักของเหตุผลมาใช้ ในการหาความรู้ ความจริง • เป็นการใช้เหตุผลโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็น เหตุ 2 ประการ แล้วหาความสัมพันธ์ของทั้ง 2 เหตุ สรุปเป็น ผล เช่น เหตุใหญ่ คนทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย เหตุย่อย นายแดงเป็นคน สรุป นายแดงต้องตาย
โดยวิธีอนุมาน (deductive method) เหตุใหญ่ ถ้านักเรียนมาโรงเรียนสาย ครูจะทำโทษ เหตุย่อย เด็กชายจุกมาโรงเรียนสาย สรุป เด็กชายจุกจะ……… เหตุใหญ่ ถ้าฝนตกรถจะติด เหตุย่อย วันนี้ฝนตก สรุป ………………
โดยวิธีอนุมาน (deductive method) • ข้อสรุปจะถูกต้องขึ้นอยู่กับ เหตุใหญ่ และเหตุย่อย • กรณีที่ 1 ถ้าเหตุใหญ่ เป็นจริง เหตุย่อยเป็นจริง ข้อสรุปจะเที่ยงตรงและเป็นจริงมาก • กรณีที่ 2 ถ้าเหตุใหญ่เป็นจริงน้อย เหตุย่อยมีความเป็นจริง ข้อสรุปนั้นก็มีความเป็นจริงน้อย ข้อสรุปจะถูกต้องขึ้นอยู่กับ เหตุใหญ่ และเหตุย่อย กลับ
โดยวิธีอุปมาน • ฟรานซิส เบคอน ได้ชี้ข้อบกพร่องของแบบ อนุมาน 2 ประการคือ • วิธีอนุมานไม่ช่วยให้หาความรู้ใหม่ • การหาเหตุผลเป็นการใช้เหตุผลทางภาษา ข้อสรุปไม่ถูกต้องอยู่เสมอไป
ข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมานข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมาน เหตุใหญ่ ถ้านักเรียนมาโรงเรียนสาย ครูจะทำโทษ เหตุย่อย เด็กชายจุกมาโรงเรียนสาย สรุป นายจุกถูกทำโทษ จะเห็นว่า ข้อสรุปที่ได้ไม่เป็นจริงเสมอไป
ข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมานข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมาน เหตุใหญ่ นักศึกษาที่จบจากแม่โจ้อดทนสู้งาน เหตุย่อย นายแดง จบจากแม่โจ้ สรุป นายแดงอดทนสู้งาน จะเห็นว่า ข้อสรุปที่ได้ไม่เป็นจริงเสมอไปขึ้นกับเหตุใหญ่ที่ต้องเป็นจริง
หลักของวิธีอุปมาน • หาความรู้เริ่มจากการเก็บข้อมูลย่อยๆ หลายๆ กรณี ใช้วิธีต่างๆ กัน • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ • สรุปออกมาเป็นความรู้ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล
ตัวอย่างวิธีอุปมาน • เก็บข้อมูล แมวแต่ละตัวออกลูกเป็นตัว • วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาพบว่า แมวที่พบมีหลายชนิด • สรุปผล แมวทุกชนิดออกลูกเป็นตัว ข้อสรุป เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับการเก็บข้อมูล
ตัวอย่างวิธีอุปมาน • เก็บข้อมูล นศ.คณะพัฒนาการท่องเที่ยว จากแม่โจ้อดทดสู้งาน • วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาพบว่า ทุกคณะมี นศ.จบแล้วอดทน สู้งาน • สรุปผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกคน อดทนสู้งาน ข้อสรุป เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับการเก็บข้อมูล
การเก็บข้อมูลที่ดี เที่ยงตรง/เป็นตัวแทนที่ดี เก็บทุกหน่วยของประชากร เก็บบางส่วนของประชาการ
หลักการ 3 ประการของวิธีอุปมาน • อุปมานแบบ สมบูรณ์ (Perfect induction)โดยการเก็บข้อมูลจากทุกหน่วย • อุปมานแบบ ไม่สมบูรณ์ (Imperfect induction)เก็บข้อมูลบางส่วน • อุปมานแบบ เบคอเนี่ยน (Baconian induction) โดยดูจาก 3 กรณีคือ พิจาณาจากส่วนที่เป็นอย่างเดียวกัน พิจารณาจากส่วนที่ต่างกันออกไป พิจารณาจากส่วนที่แปรเปลี่ยนไป แล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบกัน กลับ
วิธีอนุมาน-อุปมาน • ชาร์ล ดาวิน ได้นำเอาทั้งแนวคิดอนุมานและอุปมาน มารวมกัน เพราะเห็นว่า การที่จะได้ความรู้ ความจริงได้ จะใช้วิธีการอย่างเดียว อย่างใดอย่างหนึ่งไม่เพียงพอ ต้องใช้ทั้งสอง ตั้งชื่อว่า วิธีการคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ (Reflective thinking) ซึ่งเป็นต้นแบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ต่อมา
วิธีอนุมาน-อุปมาน • ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา • ขั้นที่ 2 แถลงและนิยามปัญหา • ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน • ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องและเหตุผลที่ตั้งขึ้นโดยวิธีการอนุมาน • ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมุติฐานโดยการปฏิบัตินำไปสู่การสรุปผลโดยวิธีอุปมาน กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) ได้เสนอหลักของความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 5 ประการ • วิธีของความสอดคล้อง (method of agreement) • วิธีของความแตกต่าง (Method of difference) • วิธีของความสอดคล้องและไม่สอดคล้อง (join method of agreement and disagreement) • วิธีของการแปรผันร่วมกัน (method of concomitant variation) • วิธีของส่วนที่เหลือ (method of residue) กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความสอดคล้อง (method of agreement) • สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ สองอย่างขึ้นไป ทั้งสองอย่างมีเหตุหรือผล ของปรากฏการณ์นั้นๆ • เช่น คนกลุ่มหนึ่งหลังจากรับประทานอาหารร่วมกัน ทุกคนมีอาการปวดท้อง อาจสรุปได้ว่าอาหารที่รับประทานเป็นสาเหตุของการปวดท้อง กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความแตกต่าง (Method of difference) • สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ สองอย่างในปรากฏการณ์สิ่งที่แตกต่างกันทำให้เกิดผลต่างกันในปรากฏการณ์นั้นๆ • เช่น คนหนึ่งอ้วน เป็นโรคเบาหวาน คนหนึ่งผอม ไม่เป็นโรคเบาหวาน อาจสรุปได้ว่าความอ้วนเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความสอดคล้องและไม่สอดคล้อง (join method of agreement and disagreement) • คนกลุ่มหนึ่งมีแม่และลูกหญิง ดื่มน้ำที่เดียวกันเป็นโรคท้องเดิน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง มีพ่อและลูกชาย ไม่ได้ดื่มน้ำ และท้องไม่เดิน สรุปได้ว่า การดื่มน้ำเป็นสาเหตุของโรคท้องเดิน กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของการแปรผันร่วมกัน (method of concomitant variation) • อัตราการเกิดของเด็กขึ้นกับคู่แต่งงาน หากที่ใดมีจำนวนคู่แต่งงานมากแสดงว่าอัตราของเด็กมีมากด้วย กลับ
วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของส่วนที่เหลือ (method of residue) • A B C -----> X Y Z • A เป็นสาเหตุทำให้เกิด X • B เป็นสาเหตุทำให้เกิด Y • อาจสรุปได้ว่า • C เป็นสาเหตุทำให้เกิด Z กลับ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ • จอห์น ดิวอี้ ได้นำเอาวิธีของ ชาร์ล ดาวินมาสานต่อ กลายเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีระบบแบบแผนสมบูรณ์ที่สุด ใช้เป็นวิธีการหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้มากที่สุด และเป็นวิธีที่ได้นำเอามาใช้ในการวิจัยปัจจุบัน
ขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ • ขั้นปัญหา (Problem) • ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) • ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collection of data) • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) • ขั้นสรุปผล (Conclusion) กลับ
ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต้องยอมรับข้อตกลงดังนี้ • ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล • ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล กลับ
1. ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ(Assumption of the uniformity of nature) • ปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีแบบฉบับของตัวมันเอง • ทุกอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นในธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้น ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกัน • แบ่งออกเป็น 3 สัจพจน์ ย่อย • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล กลับ
สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ(Postulate of nature kinds) • ธรรมชาติ มีโครงสร้าง คุณสมบัติ และจุดมุ่งหมายของมันเอง • ตัวอย่าง เช่น หิน แร่ สัตว์ • อาจจะจัดให้อยู่เป็นหมวดหมู่ กลุ่มได้ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลับ
สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา(Postulate of constancy) • ปรากฏการณ์ของธรรมชาติจะคุมลักษณะของมันภายใต้เงือนไขเฉพาะบางอย่าง อยู่ได้ภายใต้ช่วงเวลาจำกัด • ตัวอย่าง น้ำจะเป็นน้ำแข็งขึ้นอยู่กับเงือนไขของอุณหภูมิ ความดัน และน้ำแข็งจะไม่เป็นน้ำแข็งตลอดกาล ถ้าเงือนไขเปลี่ยนแปลง กลับ
สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล(Postulate of determinism) • ปรากฏการณ์ทั้งหลายในธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้มันเกิด และผลทั้งหลายจะเกิดมาจากสาเหตุนั้น • ตัวอย่าง คนเป็นไข้จับสั่น สาเหตุมาจากเชื่อยุงก้นปล่อง กลับ
2. ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา(Assumption concerning the psychological process) • บุคคลได้รับการรับความรู้ต่างๆ โดยอาศัยขบวนการทางจิตวิทยา 3 ประการได้แก่ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล กลับ
สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ (Postulate of reliability of perceiving) • การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อมั่นได้ หมายถึง ประสาทสัมผัสที่ใช้ในการรับรู้ต้องใช้การได้ และมีความแน่นอนในการรับรู้ กลับ
สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ(Postulate of the reliability of remembering) • การจำต้องมีความเชื่อมั่นว่า จำถูกต้อง ซึ่งอาจจะใช้โดยการจดบันทึก หรือเทป นั้นคือหลักฐานที่กระทำอย่างถูกต้อง กลับ
สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล(Postulate of the reliability of reasoning) • การใช้เหตุผลในการหาความรู้ต้องเชื่อมั่นได้ว่าถูกต้อง คือต้องได้มาอย่างเป็นระบบ กลับ
1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง • ความจริง/ความรู้ความจริง • ทฤษฏี กลับ
ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ความหมาย • ความรู้ความจริงคือสิ่งที่เชื่อถือได้ เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ • ลักษณะสำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องแน่นอนคงตัวเสมอไป แต่จะดำรงอยู่ในสภาพนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เวลาเปลี่ยน ปรากฏการณ์ธรรมชาติเปลี่ยน ความรู้ความจริงเปลี่ยนไป
ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ประเภท • ความจริงส่วนบุคคล เป็นความจริงที่ได้รับรู้เฉพาะตัว แต่ละคนไม่เท่ากันในเรื่องเดียวกันเป็นนามธรรม เช่น ความกลัว • ความจริงทั่วไป เป็นความจริงที่บุคคลทั่วไปรับรู้ได้ มักเป็นรูปธรรม เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ที่ได้รับรู้โดยตรงเช่น พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่าย
ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ระดับ • ระดับที่ได้รับจากการรับรู้ของประสาทสัมผัสโดยตรง ระดับนี้ความจริงเรียกว่า ความจริงเบื้องต้น (raw fact) เช่น ผิวหนังสัมผัสความเย็นของอากาศ • ระดับที่ได้จากการแปลความหมายของความจริงในระดับแรก เช่น หูได้ยินฟ้าร้อง แปลความว่า ฝนกำลังจะตก การแปลความขึ้นกับประสบการณ์ของผู้แปล • ระดับที่ได้จาการใช้เหตุผลขั้นสูง จะได้จากการค้นคว้าด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ มีระบบแบบแผน และมีการใช้เหตุผลชั้นสูง กลับ
ทฤษฏี ความหมาย • คือข้อกำหนดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของโครงสร้างความคิดรวบยอด และแบบเค้าโครงของตัวแปรต่างๆ เพื่อให้สามารถอธิบาย และคาดคะเนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ทฤษฏี ความรู้ความจริง ทฤษฏี • ช่วยเป็นเครื่องมือนำทางในการค้นหาความรู้ความจริงใหม่ๆ • ช่วยสรุปความรู้ความจริงเพื่อสะดวกในการนำไปใช้ • ช่วยในการหาส่วนที่ยังบกพร่อง ความรู้ความจริง • ช่วยสร้างทฤษฏีเพิ่ม • ช่วยปรับแก้ทฤษฏีให้เหมาะสม • ช่วยบอกข้อผิดพลาดของทฤษฏี