1.3k likes | 2.41k Views
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร. วัตถุประสงค์. เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย.
E N D
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
วัตถุประสงค์ • เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร • เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย
ความหมาย/ความสำคัญของเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร
ความหมายของเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตรความหมายของเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตร เกษตรกรรม (Agriculture) หมายถึง กระบวนการผลิตอาหาร เส้นใยเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ ผลผลิตทางการเกษตร หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากการเกษตรกรรม และรวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้มาจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=152&parent=111
ประเภทของผลผลิตทางการเกษตรประเภทของผลผลิตทางการเกษตร • จำแนกตามลักษณะของสินค้า 1. สินค้าเกษตรกรรม เป็นผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรรมโดยตรง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ใบยาสูบ ถั่วเขียว กาแฟดิบ2. สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋อง ผลิตภัณฑ์ปอ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ผัก ผลิตภัณฑ์ผลไม้
ความสำคัญของการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรความสำคัญของการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรกับชีวิตประจำวัน เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นแหล่ง ให้ความร่มรื่นสวยงาม ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกษตรกับความเจริญของประเทศ เป็นอาชีพหลักของคนไทย เป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ เป็นปัจจัยส่งเสริมธุรกิจและบริการ เป็นผลิตผลทางการเกษตรเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ เป็นปัจจัยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ http://est.buu.ac.th/moodle/mod/lesson/view.php?id=1370 http://www.thaiceotokyo.jp http://www.oknation.net
บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร • ประเทศไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร • 3. การพัฒนาการเกษตรสู่อุตสาหกรรม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาการเกษตร: เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานทางการเกษตร • เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ • เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
การคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม (1) ข้าวพันธุ์ใหม่ ชัยนาท 80 สามารถปลูกได้ตลอดปี ปัญหา: การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตข้าวทั้งปริมาณและคุณภาพต่ำลง วิธีการแก้ไข: ปรับปรุงพันธุ์ข้าวชัยนาท 80 ให้มีลักษณะ ดังนี้(เกิดจากการผสม 3 ทางระหว่างลูกผสมช่วงที่ 1 ของพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3) ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกในพื้นที่นาชลประทาน อายุสั้น ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกข้าว : ปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม และเมษายน ปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝน สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนน้ำท่วม แต่ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็นเพราะจะมีเมล็ดลีบมากผลผลิตต่ำ
การคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม (2) ข้าวหอมอุบล 80 ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคไหม้ ปัญหา:การระบาดของโรค (เช่น โรคไหม้ โรคเน่าคอรวง) และแมลงศัตรูข้าวต่างๆ (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) ในพื้นที่ภาคกลาง เพิ่มสูงขึ้น วิธีการแก้ไข: ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมอุบล 80 (เกิดจากการผสมข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์แม่กับสายพันธุ์ IR70177-76-3-1) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อแสง ให้มีความต้านทานต่อสายพันธุ์เชื้อราสาเหตุของโรคไหม้ มีคุณภาพทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และคุณภาพข้าวสุกของเมล็ด ใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกข้าว : พื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบนที่ฝนหมดเร็ว
การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรทางการเกษตรการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกแบบต่อเนื่อง ปัญหา : ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ (สาเหตุหนึ่งมาจาก ปัญหาความชื้นในข้าวเปลือก) วิธีการแก้ไข : พัฒนาเครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกแบบต่อเนื่อง ด้วยระบบอบแห้งในการลดความชื้นข้าวเปลือก โดยอัดลมร้อนเข้าไปด้านล่างของห้องอบแห้งเพื่อดันให้ข้าวเปลือกลอยขึ้นไป และหมุนตัวสัมผัสกับลมร้อนในห้องอบ ผลที่ได้รับ: ลดความชื้นในข้าวเปลือกได้ประมาณ 5% เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวเปลือกได้กว่า 500 บาท ต่อ 1 ตัน
เทคโนโลยีที่ทันสมัย เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีการจัดการ : กรณีศึกษาบริษัทไทยฮง ผู้ส่งออกผลไม้ • ปัญหา : ชาวสวนผลไม้ยังไม่ให้ความสำคัญกับการผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ • วิธีการแก้ไข : การทำทุเรียนต้นเตี้ย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่จากไต้หวัน จีน และ ญี่ปุ่น
เทคโนโลยีการจัดการ : กรณีศึกษาบริษัทไทยฮง ผู้ส่งออกผลไม้ • พบว่าที่เสฉวนมีการปลูกสาลี่ซึ่งลำต้นปกติสูง 10 เมตร แต่สามารถย่อเหลือ 3 เมตร • เริ่มจากการนำต้นทุเรียนหมอนทองเก่า 2,000 ต้นที่มีอายุ 8 ปี มีความสูง 10 เมตร มาปรับแต่งทรงพุ่มให้เหลือเพียง 3-3.5 เมตร โดยวิธีดึงพุ่ม ส่วนต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ให้มีระยะระหว่างต้น 3.5x3.5 เมตร จะเริ่มตัดยอดตั้งแต่เล็ก ๆ ปรากฎว่าอายุเพียง 3 ปีก็ให้ผล
เทคโนโลยีการจัดการ : กรณีศึกษาบริษัทไทยฮง ผู้ส่งออกผลไม้ • พบว่าปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และค่าจัดการต่าง ๆ คิดเป็นต้นทุนลดลงเหลือประมาณ 1 ใน 4 ของ ต้นสูง ค่าจ้างเก็บเกี่ยวประหยัดลงมาก
เทคโนโลยีการจัดการ:พัฒนาระบบการจัดการ สวนเงาะให้มีต้นทุนต่ำและคุณภาพดี • ปัญหา : ราคาเงาะในฤดูที่ตกต่ำและปัญหาเงาะร่วง ทำให้เกษตรกรหลายรายหันไปปลูกผลไม้อื่น • วิธีแก้ปัญหา: ต้องลดต้นทุนการผลิตลงให้มากที่สุด - การใช้ปัจจัยการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด บริหารต้นทุนการผลิตไม่ว่าจะเป็นส่วนของปุ๋ยเคมี สารเคมี น้ำ ดิน รวมไปถึงแรงงาน - ผลิตของที่มีคุณภาพเหนือคนอื่นในเวลาที่ต่างจากคนอื่น เพราะหมายถึงราคาขายที่สูงขึ้น ต้องใช้เวลาเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อศึกษาพืชที่ตนปลูกอย่างเข้าใจลึกซึ้ง ตลอดจนพัฒนาระบบและการจัดการภายในสวน
เทคโนโลยีการจัดการ • การควบคุมความสูงของลำต้น • ความพยายามที่จะลดการสูญเสียจากการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น • การใช้ปัจจัยการผลิตคือน้ำที่เป็นทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการจัดการ: การควบคุมความสูงของลำต้น • ทดลองกับทุเรียน ลำไย และมะม่วง ได้ผลดังนี้ • การทำให้ไม้ผลเตี้ยลงจากเดิมกว่าครึ่ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพ่นยาปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยทางใบลงมาก • ไม้ผลที่สูงเพียง 2.5 เมตร สะดวกในการดูแลรักษาและการตัดแต่งดอกและผล รวมทั้งการห่อผลทำได้โดไม่ต้องใช้บันได
เทคโนโลยีการจัดการ: ลดการสูญเสียจากการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น • ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิจัยเรื่องธาตุอาหารในทุเรียนและมังคุดพบว่า ชาวสวนใส่ปุ๋ยปริมาณมากจนขาดสมดุล
เทคโนโลยีการจัดการ: ระบบการให้น้ำแบบประหยัดและระบบการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำ • ระบบการให้น้ำแบบประหยัดหรือแบบหยด • มีประสิทธิภาพในการให้น้ำแก่ต้นพืชถึงร้อยละ 80-95 • ระบบให้น้ำแบบสายยางรดน้ำหรือแบบร่องสวน • มีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 40-50 • ระบบให้ปุ๋ยพร้อมน้ำให้ผลดี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการจัดการประโยชน์ของเทคโนโลยีการจัดการ • ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิตลดลง เนื่องจากการบริหารค่าใช้จ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • คุณภาพผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค • บรรเทาปัญหาด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการลดการใช้สารเคมีอันตราย
เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม : ฟาร์มไก่ไข่กรรณสูตร จังหวัดอยุธยา ผู้เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา • ปัญหา : ราคาไก่ไข่ผันผวนมาก ถึงเวลาลงต่ำก็ต่ำเสียจนไม่คุ้มทุน • วิธีการแก้ปัญหา : นำเอาเทคโนโลยีโรงเรือนปิด(อีแวป) มาใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่
เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม : ฟาร์มไก่ไข่กรรณสูตร จังหวัดอยุธยา ผู้เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา • ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนระบบอีแวปมีผลผลิตไข่ต่อตัวเพิ่มขึ้น 20-25 ฟองต่อปี • อัตราการแลกอาหารดีขึ้นคือ 1.9-2.1 ถ้าไม่ใช้ระบบอีแวปจะมีอัตรา 2.3 • อัตราการสูญเสีย ถ้าเป็นโรงเรือนเปิดจะเสียหาย 18-22% ต่ออายุไก่ส่วนโรงเรือนปิดเสียหายจะไม่เกิน 7 % ต่ออายุไก่ และราคาแม่ไก่ที่ปลดระวางยังมีราคา 30 บาทขึ้นไป • ไก่อายุยืนกว่าและเวลาให้ไข่ยาวขึ้น เช่น อายุไก่ที่ 52 สัปดาห์ โรงเรือนเปิดเหลือสัดส่วน60 %ส่วนโรงเรือนปิดเหลือสัดส่วน 70 %
เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม : ฟาร์มไก่ไข่กรรณสูตร จังหวัดอยุธยา ผู้เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา • ประสิทธิภาพดีขึ้นคือ จำนวนไก่ 100 ตัวในโรงเรือนปิดจะขายได้ 72-75 ฟองต่อ 52 สัปดาห์ แต่ในโรงเรือนเปิดจะไม่เกิน 65 ฟอง • ทำให้ต้นทุนการผลิตไข่เมื่อเป็นเล้าเปิดเท่ากับ 1.53 บาท แต่ถ้าเป็นเล้าปิดจะอยู่ที่ 1.44 บาท • ผลพลอยได้คือมูลสัตว์ ถ้ามาจากไก่ที่เลี้ยงในระบบอีแวปจะขายได้ราคาดีกว่าปกติ เพราะถ้าเป็นโรงเรือนเปิด หน้าร้อนไก่จะถ่ายเป็นน้ำ ส่งไปขายที่ตลาดลำบากและพ่อค้าจะไม่รับซื้อ ถ้าเป็นโรงเรือนปิด ลมจะถ่ายเททำให้มูลสัตว์แห้งจึงขายได้ราคากว่า
เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม : การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกพืช • การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกพืช มีประโยชน์ดังนี้ • สามารถควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช • ผลผลิตดีมีคุณภาพ ต้นทุนการผลิตต่ำลง • รักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวหรือยืดอายุการใช้งานเพื่อประโยชน์ทางการตลาด
เทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตรกรรม : ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร (1) • การพัฒนาพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช • การเพิ่มความทนทานของพืชต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของภูมิประเทศ เช่น ความแห้งแล้ง อุทกภัย • การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้ากว่าปกติเพื่อลดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง • การเพิ่มผลผลิตพืชโดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร (2) • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว • การผลิตท่อนพันธุ์พืชที่ปราศจากโรคเพื่อการลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค • การเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้ การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเพื่อให้มีอายุการปักแจกันให้ยาวนานขึ้นและมีกลิ่นหอม
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร (3) • การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้มีลักษณะที่ดี การขยายพันธุ์โคนมที่ให้น้ำนมสูงโดยการปฏิสนธิในหลอดแก้ว และการย้ายฝากตัวอ่อน • การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค • การนำจุลินทรีย์มาเปลี่ยนวัตถุดิบด้านการเกษตรที่มีราคาถูกเป็นพลังงานทดแทน • การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบพันธุ์พืชและสัตว์เศรษฐกิจ
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร (4) • การนำเอาจุลินทรีย์เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยการพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
กรณีศึกษาไวรัสใบด่างของมะละกอกรณีศึกษาไวรัสใบด่างของมะละกอ • กรณีไวรัสใบด่างของมะละกอซึ่งมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ อันส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมากไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค จึงมีการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุวิศวกรรมเพื่อการดัดแปรมะละกอให้มีความต้านทานต่อโรคไวรัส
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร • ตัวอย่างเรื่องข้าวสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีลักษณะที่ดีตรงตามความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น คุณภาพการหุงต้ม หอม ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ทนต่อน้ำท่วม และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร • การใช้เชื้อไวรัสเอ็น พี วี เพื่อควบคุมหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ • การใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาเพื่อการผลิตท่อนพันธุ์ขิงปลอดโรค เป็นขิงที่มีหัวขนาดเล็กกว่าเดิม และใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวเพียง 3 เดือน จากเดิมที่เกษตรต้องใช้เวลา 8 เดือนกว่าที่จะเก็บเกี่ยวได้ • การปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้ได้หัวมากมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง หรือข้าวโพดฝักอ่อนให้มีจำนวนฝักต่อต้นมากกว่าหนึ่ง และให้มีความหวานและฝักน้ำหนักดี • การตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสในกุ้งกุลาดำที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถหยุดยั้งปัญหาการระบาดได้ทันที ก่อนที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ • การวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยยีนในระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำเพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยให้การแก้ปัญหาการเกิดโรคระบาดกับกุ้งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เร่งผลิตข้าวที่สามารถให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและมีความต้านทานต่อโรค • การวินิจฉัยโรคกุ้ง ทำให้สามารถป้องกันการระบาดของโรคไวรัสในกุ้งอย่างรุนแรงในปี 2540 ได้สำเร็จ และสามารถคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ปลอดจากเชื้อมาเพาะเลี้ยงส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยดีขึ้น คิดเป็นกำไรกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ประเทศไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร
การพัฒนาการเกษตรสู่อุตสาหกรรมการพัฒนาการเกษตรสู่อุตสาหกรรม • ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเกษตรสู่อุตสาหกรรมอาหาร: การเสื่อมเสียของผลผลิตทางการเกษตร • แนวทางการพัฒนาการเกษตรสู่อุตสาหกรรม: การแปรรูปอาหาร • การแปรรูปอาหารให้ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย: ระบบการควบคุมคุณภาพ
กรณีศึกษาการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวอนามัย อยู่ได้นานไม่ใช้สารกันบูด “อย. เตือนอันตรายจากการกินเส้นก๋วยเตี๋ยว หลังมีผลวิจัยออกมาว่า มีการใช้สารกันบูดเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากล ซึ่งส่งผลต่อตับและไตของผู้บริโภค” • จากการสำรวจปัญหาโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 70 รายพบว่าปัญหาหลักอยู่ที่กระบวนการควบคุมการผลิตและเทคโนโลยีการผลิต โดยต้องอบเส้นนาน 4 ชั่วโมง ทำให้สูญเสียเวลาและพลังงาน เส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ตามมาตรฐาน และยังต้องใส่วัตถุกันเสีย เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวให้นานพอสำหรับส่งขาย • ทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาศิลปากร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ร่นเวลาการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวเหลือเพียง2 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการตัดเส้นสม่ำเสมอ ลดการปนเปื้อน ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยียืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวให้อยู่ได้นาน 7 วัน โดยไม่ต้องใส่วัตถุกันเสีย
ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ต่อขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย ด้านการผลิต เช่น ประสิทธิภาพการผลิต ด้านการตลาด เช่น ภาวะผลผลิตล้นตลาด
ด้านการผลิต : กรณีศึกษาข้าว ความสำคัญของข้าว • ข้าวมีความสำคัญกับเศรษฐกิจ • ข้าวมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของไทย • ข้าวเป็นฐานความมั่นคงด้านอาหาร • ข้าวเป็นฐานการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/view_news.aspx?data_id=372&control_id=8&pv=47&view=1
ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันกว่า 20 ปี ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก หมายเหตุ : ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2550 ที่มา: World Market & Trade, USDA
ศักยภาพการเพาะปลูกข้าวของไทย (1) 1 ไทย 2 เวียดนาม 3 พม่า เนื้อที่เก็บเกี่ยว 4 1 ฟิลิปปินส์ เวียดนาม 2 ฟิลิปปินส์ 3 พม่า ผลผลิตต่อไร่ 4 ไทย ไทยมีเนื้อที่เก็บเกี่ยวมากที่สุด แต่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุด
ศักยภาพการเพาะปลูกข้าวของไทย (2) ที่มา : องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หมายเหตุ : 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ทำไมศักยภาพการผลิตข้าวของไทยจึงต่ำทำไมศักยภาพการผลิตข้าวของไทยจึงต่ำ • ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม • ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ หรือความไม่เหมาะสมของพื้นที่ • ปัญหาด้านโรคเช่น การระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง • ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรู เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ย จักจั่น • ปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว • ปัญหาเรื่องคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของไทยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของไทย ต้องมีงานวิจัยด้านข้าวโดยการสร้างบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาซึ่งปัจจุบัน มีจำนวนน้อย วิจัยและพัฒนาข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ต่อไร่ โดย ลดการใช้ปัจจัยการผลิตและต้นทุน สร้างเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีความต้านทานโรค พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ
วิจัยและพัฒนาข้าว ลดการใช้ปัจจัยการผลิตและต้นทุน ตัวอย่างเช่น การใช้ปุ๋ยผสมผสานระหว่าง “ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์” ประโยชน์ของการใช้ “ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์” ช่วยให้ดินมีความร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำ และมีธาตุอาหารพืชที่มากขึ้นและอยู่ในดินได้นาน และเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะทำให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะพวกที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ • ข้อดี • ธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนัก • ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารถูก • การขนส่งและเก็บรักษาสะดวก • หาซื้อได้ง่าย • ข้อเสีย • ไม่สามารถปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน (ไม่ทำให้ ดินโปร่ง ร่วนซุย) • ข้อดี • สามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน (ไม่ทำให้ ดินโปร่ง ร่วนซุย) • ข้อเสีย • ปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ • ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช • ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารสูง • หาซื้อยาก ในกรณีที่ต้องการใช้ปริมาณมาก
วิจัยและพัฒนาข้าว สร้างเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีความต้านทานโรค ตัวอย่างเช่น การผสมพันธ์ข้าวใหม่ให้มีความ ต้านทานโรคและแมลง • ข้าวพันธุ์ใหม่ ชัยนาท 80 • ข้าวหอมอุบล 80 พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เกษตรอินทรีย์ • เกษตรอินทรีย์ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีที่มนุษย์ทำขึ้น แต่ใช้วัสดุธรรมชาติแทน เพื่อลดพิษภัยที่เกิดจากสารเคมีทั้งในดิน น้ำ อากาศ และผลผลิตซึ่งเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมรวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์
ตัวอย่างการวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (1) • กรณีโรคใบไหม้ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เพื่อการรวบรวมเชื้อสาเหตุโรคใบไหม้ในประเทศไทย รวมทั้งลักษณะและความรุนแรงเพื่อที่จะได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อโรค • การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวมีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ตัวอย่างการวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (2) • นักวิจัยกำลังใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อมองหายีนที่เกี่ยวข้องกับการทนแล้ง เพื่อจะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้สามารถทนแล้ง (Drought tolerance) และให้ผลผลิตที่ดีได้ • การหายีนที่เกี่ยวข้องกับการทนน้ำท่วม (Submergence tolerance) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนน้ำท่วมต่อไป
กรณีศึกษา “ฟูจิฟาร์ม” ข้าวญี่ปุ่นบนแผ่นดินไทย ความสำเร็จในการปลูกข้าวญี่ปุ่น มีผลผลิตระดับคุณภาพส่งออก • เมล็ดพันธุ์ที่ดี • พื้นที่เพาะปลูกเหมาะสม • ความใส่ใจดูแล ประสบผลสำเร็จตั้งแต่ปีแรก ที่เริ่มต้นแค่ 50 ไร่ ใน จ.เชียงราย มีผลผลิตประมาณ 900 กิโลกรัมต่อไร่
กรณีศึกษา “ฟูจิฟาร์ม” ข้าวญี่ปุ่นบนแผ่นดินไทย • สิ่งสำคัญที่ทำให้ข้าวญี่ปุ่น “ฟูจิฟาร์ม” เป็นที่ยอมรับของลูกค้า คือ คุณภาพ • อันเกิดจากการส่งเสริมให้ลูกไร่ใช้เครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัย เช่น เครื่องปักดำแทนแรงงานคน และเทคโนโลยีชั้นสูงในการเตรียมกล้า เพื่อลดต้นทุน แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน • กระบวนการสีข้าว ล้วนแต่ใช้เครื่องจักรทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ด้านการตลาด • การกีดกันการค้าสินค้าเกษตรที่ไม่ใช่มาตรการภาษี • การแข่งขันการค้าสินค้าเกษตรจะรุนแรงขึ้น • สินค้าล้นตลาด