820 likes | 1.71k Views
หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆ รวมกันด้วยพันธะเคมี
E N D
หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 • สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆ รวมกันด้วยพันธะเคมี • วัตถุอันตราย หมายถึง วัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม แห่ง พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย พ.ศ.2551 • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือ ม.6 มีประสบการณ์ เก็บรักษาวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า 3 ปี • ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ได้คะแนนทดสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 • ส่งรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย บฉ.4 ปีละ 1 ครั้ง ทุกสิ้นปีปฏิทิน อิเลคทรอนิคส์
กฎหมาย ของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะดังกล่าวคือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตรายที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมกันตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป ผู้ที่ครอบครองวัตถุอันตรายมีพื้นที่ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ซึ่งวัตถุไวไฟ หรือวัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุ เปอร์ออกไซด์
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • อัคคีภัย • การระเบิด • การรั่วไหลหรือหก ของสารพิษ • การรั่วไหลหรือหกของสารกัดกร่อน
การจำแนกประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการจัดเก็บการจำแนกประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการจัดเก็บ • ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้จำแนกวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท แต่ในกรณีของการจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย ได้มีการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายออกเป็น 13 ประเภท โดยพิจารณา สมบัติการติดไฟ การระเบิดและการออกซิไดซ์ รองลงมาด้านความเป็นพิษและความกัดกร่อน
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด • ประเภทที่ 2 • - 2A ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน • - 2 B ก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (กระป๋องสเปรย์) • ประเภทที่ 3 • - 3A ของเหลวไวไฟจุดวาบไฟไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส • - 3B จุดวาบไฟระหว่าง 60-93 องศา C และมีสมบัติผสมกับน้ำไม่ได้ • ประเภทที่ 4 • - 4.1A ของแข็งไวไฟที่มีสมบัติการระเบิด • - 4.1B ของแข็งไวไฟ • - 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง • ประเภทที่ 5 • - 5.1A 5.1B 5.1 C สารออกซิไดซ์ • - 5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
ประเภทที่ 6 • - 6.1 A สารติดไฟที่มีสมบัติความเป็นพิษ และ 6.1 B สารไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษ • - 6.2 สารติดเชื่อ หมายถึงสารที่เป็นจุลินทรีย์ หรือมีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบ หรือพยาธิ เป็น • สาเหตุให้เกิดโรคในมนุษย์ • ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี • ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน • - 8A สารติดไฟที่มีสมบัติการกัดกร่อน • - 8B สารม่ติดไฟที่มีสมบัติการกัดกร่อน • ประเภทที่9 ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายประเภทอื่นๆ ตามการจำแนกเพื่อการขนส่ง ไม่นำมาพิจารณาในกระบวนการจัดเก็บ • ประเภทที่ 10 ของเหลวติดไฟ • ประเภทที่ 11 ของแข็งติดไฟ • ประเภทที่ 12 ของเหลวไม่ติดไฟ • ประเภทที่ 13 ของแข็งไม่ติดไฟ
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาจัดเก็บสารเคมีหรือวัตถุอันตรายปัจจัยที่ต้องพิจารณาจัดเก็บสารเคมีหรือวัตถุอันตราย • ต้องไม่อยู่ใกล้สถานที่สำคัญ เช่น ที่พักอาศัย ตลาด แหล่งน้ำสาธารณะ • มีเส้นทางที่สะดวกต่อการขนส่ง และการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉิน • มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอเช่น ไฟฟ้าแหล่งน้ำ • มีพื้นที่เพียงพอต่อการสร้างสถานที่จัดเก็บ • อยู่ในทำเลที่ปลอดภัย
แนวทางการจัดการความปลอดภัยในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายแนวทางการจัดการความปลอดภัยในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • จัดหาหรือมอบหมายผู้ที่เหมาะสม (มีคุณสมบัติตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด) เป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยเป็นการเฉพาะ • จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บไว้ พร้อมมีแผนผังแสดงว่าจัดเก็บไว้ที่ใด • กำหนดให้มีการรับเข้าและจ่ายออกในลักษณะมาก่อนไปก่อน • ติดฉลากภาชนะบรรจุ และจัดหาข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีไว้พร้อมใช้งาน • ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่จัดเก็บไว้ • กำหนดวิธีการจัดเก็บกรณีที่มีปริมาณมากพอสมควรในรูปแบบแยกบริเวณและแบบแยกห่าง และกรณีที่ปริมาณจัดเก็บเล็กน้อย
มาตรการจัดการด้านสุขศาสตร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายมาตรการจัดการด้านสุขศาสตร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • จัดชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมและเก็บแยกไว้เป็นการเฉพาะ • ห้ามรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ในอาคารดังกล่าว • จัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉิน • ไม่อนุญาตให้พักอาศัยภายในอาคารสถานที่จัดเก็บ • จัดให้มีที่ล้างมือ ล้างหน้า และห้องอาบน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ที่ ต่อผู้ปฏิบัติงาน 15 คน เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่เกิน 7 คน ให้ถือเป็น 15 คน
มาตรการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสารเคมีและวัสดุอันตราย • ต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะ หีบห่อ ฉลากว่าอยู่ในสภาพที่ดี • ใช้รถยกที่มีขนาดและความเหมาะสมกับปริมาณ/ประเภทของสารที่จัดเก็บ • เมื่อจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรถยกไฟฟ้าต้องทำภายนอกอาคารจัดเก็บ • รถยกที่ใช้ในสถานที่จัดเก็บของเหลวไวไฟ ก๊าซไวไฟ และวัตถุระเบิด ต้องมีระบบป้องกันการระเบิด
หน่วยที่ 7 ความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย • กฎระเบียบสากลในการขนส่งสินค้าอันตรายได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับภาคพื้นยุโรป หรือ UNECE (United Nations Economic Commission for Europe) ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) ใช้ชื่อว่า ข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย มีการปรับปรุงทุก 2 ปี • ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์รถบรรทุกก๊าซพลิกคว่ำ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ใน พ.ศ. 2533 • ไทยขอความร่วมมือกับเยอรมัน รับข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายมาใช้ จัดทำเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย (Thai Provisions Volume 1; TP1) • จัดทำ ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย (Thai Provisions Volume 2 ; TP2) รับเอาข้อตกลงของสหภาพยุโรปว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนเป็นต้นแบบ • 2545 ASEAN ได้มีการลงนามในพิธีศาล ฉบับที่ 9 (Protocol 9 ) ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายข้ามแดนระหว่างประเทศคู่สัญญา TP1 และ TP2 จึงถือได้ว่าเป็นไปตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงสร้างของกฎหมายของข้อแนะนำสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย
การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและตารางบัญชีรายชื่อสินค้าอันตรายการจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและตารางบัญชีรายชื่อสินค้าอันตราย
หมายเลขสหประชาชาติ (UN Number) คือ • ตัวเลขสี่หลักที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ซึ่งมีคำย่อว่า UN นำหน้าตัวเลขดังกล่าว เช่น UN No. 1090 ACETONE การทดสอบสมรรถนะของบรรจุภัณฑ์ • การทดสอบการตกกระทบ (drop test) • การทดสอบการซ้อนทับ (stacking test) • การทดสอบแรงดันของเหลว (hydraulic test) • การทดสอบการกันรั่ว (leakproofenss test)
การทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่งการทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่ง • 1. ข้อกำพหนดในการทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่ง เป็นฉลากขนาด ใหญ่มีขนาดอย่างน้อย 25x 25 เซนติเมตร เพื่อแสดงประเภทของสินค้าอันตรายที่ขนส่งอยู่ การทำเครื่องหมายด้วยแผ่นป้ายสีส้มเพื่อแสดงว่ากำลังทำการขนส่งสินค้าอันตราย ต้องมีรูปแบบดังนี้ • - เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก • - มีพื้นสีส้ม • - สะท้อนแสง • - ความยาวฐาน 40 เซนติเมตร • - ความสูง 30 เซนติเมตร • - เส้นขอบสีดำมีขนาดความหนาเส้น 15 มิลลิเมตร • 2. แสดงหมายเลขที่เป็นอันตราย • 3. ทำเครื่องหมายและการปิดป้ายบนแท็งก์ที่บรรจุสินค้าอันตราย
การทำเครื่องหมายและติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์การทำเครื่องหมายและติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการบรรทุกและการขนถ่ายเคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการบรรทุกและการขนถ่ายเคลื่อนย้ายสินค้าอันตราย • มาตรการที่ต้องดำเนินการก่อนการบรรทุกตรวจเช็คต่างๆ • สินค้าอันตรายที่เข้ากันไม่ได้ • การจัดแยกสินค้าอันตรายจากอาหาร • การผูกยึดสินค้า • การห้ามบุหรี่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นและลงจากรถ • ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตสำหรับแท็งก์ • การทำความสะอาดพาหนะหลังจากการขนถ่าย
หน่วยที่ 8 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานประกอบการ • 1. เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทุกระบบคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม • 2. ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกนึกคิดที่เป็นระบบและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยไปด้วย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของทุกระบบคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม • 3. ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน • 4. ช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลือง และทำให้การใช้สอยพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด • 5. ช่วยสร้างความภูมิใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสถานที่ทำงานของตนเอง • 6. ทำให้เกิดผลผลิตที่สูงขึ้น • 6. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการประกันภัย
หลักการการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานประกอบการมี 7 หลักการ • 1 การแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบและกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน • 2. กำหนดมาตรฐานของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ และสิ่งของ ต่างๆ ให้ชัดเจน • 3. สิ่งของที่ต้องใช้ประจำให้เบิกไว้ประจำตัว • 4. สิ่งที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ ให้จัดไว้เป็นส่วนกลางโดยกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บให้ชัดเจน • 5. สิ่งของต้องระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน • 6. ใช้หลัก Reduce , Reuse , Recycle ลดการใช้ ใช้หมุนเวียน นำกลับมาใช้ใหม่ • 7. ต้องทำความสะอาดสิ่งของอยู่เสมอ
กิจกรรม 5 ส เพื่อการจัดการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การนำกิจกรรม 5 ส มาใช้งานในสถานประกอบการ มีแนวทางการ ดำเนินงานตามลำดับ • ประกาศนโยบาย • จัดตั้งคณะกรรมการ 5 ส และคณะกรรมการตรวจติดตาม • ประชาสัมพันธ์และจัดอบรม • กำหนดมาตรฐานและขอบเขตการดำเนินงาน • แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ • กำหนดแผนปฏิบัติการ และดำเนินการตามแผน • ตรวจติดตามผล • ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข
แนวทางการกำหนดมาตรฐานกิกกรรม 5 ส เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับแต่ละกิจกรรม • กิจกรรม ส 1 สะสาง ได้แก่ การแยกให้ชัด ขจัดให้ออก • กิจกรรม ส 2 สะดวก ได้แก่ หยิบง่าย หายรู้ ดูงามตา และกำหนดมาตรฐานจำนวนอุปกรณ์สำนักงานที่ควรมีประจำโต๊ะทำงานของแต่ละโต๊ะ • กิจกรรม ส 3 สะอาด ได้แก่ จัดสถานที่ทำงาน และวัสดุอุปกรณ์ ให้น่าใช้ และใหม่เสมอ โดยทำ ส1 สะสาง ส2 สะดวก และ ส 3 สะอาด ควบคู่กันไป • กิจกรรม ส 4 สุขลักษณะ ได้แก่ การทำกิจกรรม ส1 ส2 ส3 ให้เป็นนิจ สุขภาพจิตสดใส • กิจกรรม ส 5 สร้างนิสัย ได้แก่ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ
การตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยการตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย • การตรวจสอบแบบไม่เป็นทางการ (Informal Inspections) • การตรวจสอบแบบเป็นทางการ (Formal Inspections)
ขอบข่ายการตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย • พื้นห้องและพื้นที่อื่นๆ • การบำรุงรักษาระบบการให้แสงสว่าง • ช่องทางเดินและบันไดทางเดิน • ควบคุมการหก/รั่วไหล • เครื่องมือและอุปกรณ์ • การกำจัดของเสีย /ขยะ • การจัดเก็บ • การระบายอากาศ • การป้องกันระงับอัคคีภัย • การบริหารจัดการระบบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
หน่วยที่ 9 ความปลอดภัยในการทำงานกับหม้อน้ำ ภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซ • หม้อน้ำเป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตไอน้ำ มี 3 แบบคือ แบบท่อไฟ แบบท่อน้ำ และแบบสร้างขึ้นมาพิเศษ โดยทั่วไปสามารถแบ่งโครงสร้างของหม้อไอน้ำออกตามหน้าที่ได้ 3 ส่วนคือ ส่วนที่ใช้ถ่ายเทความร้อน ส่วนเก็บน้ำ และส่วนเก็บไอน้ำ
หม้อน้ำ (Boilers) ตามกฎกระทรวง 2549 หมายถึง ภาชนะปิดสำหรับบรรจุน้ำที่มีปริมาณความจุเกิน 2 ลิตรขึ้นไป • หม้อน้ำแบบท่อน้ำ หมายถึง หม้อน้ำชนิดที่มีน้ำอยู่ในท่อ ส่วนไฟจะอยู่ภายนอกท่อ • แรงม้าหม้อน้ำ หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ 34.5 ปอนด์ในเวลา 1 ชั่วโมงโดยที่น้ำในหม้อน้ำมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และไอน้ำที่ผลิตได้มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว • อัตราการผลิตไอน้ำ หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง เมื่อมารตวัดความดันอ่านค่าได้ 0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว • ส่วนเก็บน้ำ หมายถึง บริเวณภายในหม้อน้ำที่ทำหน้าที่เก็บน้ำไว้สำหรับผลิตไอน้ำ โดยจะ อยู่ใต้ส่วนที่เก็บไอน้ำ
ไอน้ำ (Steam) น้ำที่แตกตัวอยู่ในสภาวะของก๊าซบางส่วน ดังนั้นไอน้ำจึงประกอบไปด้วยของเหลวและก๊าซ เมื่อต้มน้ำในภาชนะปิดน้ำจะกลายเป็นไอ ที่อุณหภูมิ 212 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ • (14.7 ปอนด์/ตารางนิ้ว) • ไอดงหรือไอแห้ง (Superheated steam) หมายถึงไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไอน้ำอิ่มตัว ไอดง ได้มาจากการผ่านไอน้ำอิ่มตัวเข้าไปในขดท่อที่ร้อน ไอน้ำจะมีอุณหภูมิสูงจนกลายเป็นไอดง เหมาะขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ • ความดัน (Pressure) หมายถึงแรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ ที่นิยม ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm2 ) บาร์ (bar) และ ปาสคาล (pa) • อัตราการผลิตไอน้ำ (Steam rate) หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง เรียก ตันต่อชั่วโมง เช่นหม้อน้ำขนาด 5 ตัน หมายถึง หม้อน้ำที่สามารถผลิตไอน้ำๆได้ 5 ตันในเวลา 1 ชั่วโมง
โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ
อุปกรณพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำอุปกรณพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ • ลิ้นนิรภัย เซฟตี้วาล์ว • ปลั๊กหลอมละลายหรือสะดือหม้อน้ำ • เครื่องควบคุมระดับน้ำ • สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ • เครื่องควบคุมควมดัน • ฝานิรภัย • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิปล่องไอเสีย
การปรับปรุงคุณภาพน้ำ ทำได้ 2 วิธี ปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเติมเข้าหม้อน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำภายในหม้อน้ำ
เชื้อเพลิงและการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำเชื้อเพลิงและการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำ • เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่านหิน ไม้ ชานอ้อย และแกลบ เป็นเชื่อเพลิงที่มีราคาถูกและหาง่าย • เชื้อเพลิงเหลว ส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด นิยมใช้กับหม้อน้ำสำเร็จรูปใช้ในเขตชุมชนได้ • เชื้อเพลิงก๊าซหรือแก๊ส ได้มาจากหลุมก๊าซธรรมชาติหรือจากน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซชีวภาค
มาตรการป้องกันอันตรายจากหม้อน้ำระเบิดลักษณะของหม้อน้ำที่ดีมาตรการป้องกันอันตรายจากหม้อน้ำระเบิดลักษณะของหม้อน้ำที่ดี • 1 มีการออกแบบโครงสร้างอย่างง่ายๆ มีความแข็งแรงและถูกแบบวิศวกรรม • 2. ออกแบบให้มีการถ่ายเทความร้อนและการไหลเวียนของน้ำได้ดี • 3. มีพื้นที่ สำหรับเก็บไอน้ำมาก • 4. มีพื้นที่ถ่ายเทความร้อนมาก • 5. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ได้มาตรฐานและเป็นชนิดที่ใช้สำหรับหม้อน้ำ • 6. ส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมีอย่างเพียงพอ • 7. เตาเผาหรือห้องเผาไหม้มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ • 8. สามารถตรวจสอบและซ่อมแซมทุกส่วนของหม้อน้ำได้ • 9. ควบคุมง่ายและมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง
สาเหตุจากหม้อน้ำระเบิดสาเหตุจากหม้อน้ำระเบิด • ความบกพร่องในการออกแบบ การสร้าง การติดตั้ง และการซ่อมแซมหม้อน้ำ • วัสดุที่นำมาใช้ทำโครงสร้างไม่เหมาะสม • ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์นั้นๆ • ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำมีความรู้ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานควบคุมหม้อไอน้ำด้วยความปลอดภัย • ขาดการตรวจสอบ บำรุงรักษา โครงสร้างส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย • น้ำที่ใช้สำหรับหม้อน้ำมีคุณภาพไม่เหมาะสม • ใช้งานหม้อน้ำที่ความดันสูงกว่าที่ออกแบบหรือกำหนดไว้ โดยการปรับตั้งลิ้นนิรภัยให้ระบายไอน้ำที่ความดันสูงเกินไป
ภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซ • ภาชนะรับแรงดัน หมายถึง ภาชนะที่รับความดันจากภายนอกแล้วทำให้ภายในภาชนะมีความดันสูงกว่าความดันภายนอก มากกว่า 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เช่น หม้ออบหรือหม้อต้มในโรงงานปลาป่น หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ และหม้ออบยางเป็นต้น • ภาชนะบรรจุก๊าซ หมายถึง ภาชนะที่สร้างขั้นมาสำหรับบรรจุก๊าซอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างซึ่งอยู่ในสภาวะเป็นของเหลวหรือก๊าซก็ได้ เช่น ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ท่อออกซิเจน และถังแอมโมเนีย เป็นต้น
อุปกรณ์ความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดัน • ลิ้นนิรภัยมาตรวัดความดัน ทำหน้าที่วัดความดันภายในภาชนะรับความดันเพื่อให้ผู้ควบคุมทราบ • วาล์วรับไอน้ำ ทำหน้าที่รับไอน้ำที่ส่งมาจากภายนอก เข้าสู่ภายในภาชนะรับความดัน • วาล์วระบายไอ ทำหน้าที่ปล่อยไอน้ำออกจากภาชนะรับความดัน • วาล์วถ่ายน้ำ ทำหน้าที่ระบายน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำออกไปภายนอก
การกำหนดมาตรฐานป้องกันหม้อน้ำระเบิด • กำหนดให้การสร้างหม้อน้ำจะต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2528) • กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำ และตรวจสอบการเกิดตะกรันในหม้อน้ำเป็นระยะ • จัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าของโรงงานและผู้ควบคุมหม้อน้ำ ให้ตระหนักถึงอันตรายและรู้จักเลือกใช้หรือควบคุมหม้อน้ำอย่างปลอดภัย
หน่วยที่ 10 ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ประเภทของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ งานโยธา งานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้างด้านพลังงาน
ปัจจัยพื้นฐานในการเตรียมงานก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานในการเตรียมงานก่อสร้าง • วัตถุประสงค์ของโครงการ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โครงการเกิดขึ้น เช่น ต้องการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน • ประเภทและจำนวนเครื่องมือเครื่องจักรที่จะใช้ในหน่วยงาน • ประเภทและจำนวนวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง • จำนวนผู้ปฏิบัติงาน เช่น คนงาน หัวหน้างาน และวิศวกร • ขั้นตอนการทำงาน • การแบ่งพื้นที่ในหน่วยงานก่อสร้าง • การจัดสวัสดิการและมาตรการการป้องกันอันตราย
ขั้นตอนหลักของงานก่อสร้างขั้นตอนหลักของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งขั้นตอนหลักๆ ของการทำงานก่อสร้างได้ 4 ขั้นตอน คือ • การศึกษาและวิจัยเบื้องต้น • การออกแบบและรายละเอียด • การประกวดราคาหรือการจ้างเหมา • การก่อสร้าง
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง • กลุ่มเจ้าของโครงการ กลุ่มผู้ลงทุน 2 ประเภทคือ เจ้าของโครงการภาครัฐ และเจ้าของโครงการภาคเอกชน • กลุ่มที่ปรึกษาโครงการ ช่วยกำหนดนโยบาย และ วัตถุประสงค์ จัดหาแหล่งทุน จัดหาผู้ออกแบบ • กลุ่มออกแบบ บางกลุ่มที่ปรึกษาก็เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ออกแบบ • กลุ่มผู้ก่อสร้าง คือกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ • ผู้รับเหมาใหญ่ (General Contractor) ทำสัญญาโดยตรงกับเจ้าของโครงการ หรือผู้ว่าจ้าง • ผู้รับเหมาช่วง ( Sub Contractor) รับงานบางส่วนจากเจ้าของโครงการ หรือผู้รับเหมาใหญ่ • ผู้รับเหมาย่อย (Sub Nominated Contractor) รับงานบางส่วนจากเจ้าของโครงการอาจจะเป็นงานชำนาญเฉพาะด้าน ทำสัญญาโดยตรงกับผู้รับเหมาใหญ่ เช่น งานไฟฟ้า งานปรับอากาศ งานโครงสร้าง
ลักษณะอุบัติเหตุในงานก่อสร้างสามารถจำแนกตามประเภทงานก่อสร้างที่สำคัญๆ ได้ 3 ประเภท • ประเภทงานอาคาร • ประเภทงานโยธา • ประเภทงานอุตสาหกรรม
อุบัติเหตุและอันตรายจากงานก่อสร้างอุบัติเหตุและอันตรายจากงานก่อสร้าง • อันตรายจากการทำรูเจาะขนาดใหญ่ • อันตรายจากงานตอกเสาเข็ม • อันตรายจากปั้นจั่นสำหรับยกของ • อันตรายจากรถขุดดินและรถแทรกเตอร์ • อันตรายจากนั่งร้าน • อันตรายจากลิฟต์ชั่วคราว • อันตรายจากของตกหล่น • อันตรายจากคนตกจากที่สูงและพฤติกรรมของคน • อันตรายจากไฟฟ้า • อันตรายจากไฟไหม้ • อันตรายจากการก่อสร้างผิดวิธีและหลักวิชา • อันตรายจากการขนส่งและอุปกรณ์การก่อสร้าง