140 likes | 253 Views
โครงการจัดทำนวัตกรรมเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากทรวงอก. หอผู้ป่วยสามัญชายศูนย์มะเร็งอุดรธานี. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากปอด 2. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หลักการและเหตุผล
E N D
โครงการจัดทำนวัตกรรมเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากทรวงอกโครงการจัดทำนวัตกรรมเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากทรวงอก หอผู้ป่วยสามัญชายศูนย์มะเร็งอุดรธานี
วัตถุประสงค์ • 1. เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากปอด • 2. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หลักการและเหตุผล จากสถิติ ปี 2548 –2550 พบว่า หอผู้ป่วยสามัญชายให้การดูแลผู้ป่วยทั้งหมด 3,361 ราย และในจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด ส่วนหนึ่งต้องได้รับการใส่ท่อระบายของเหลวจากปอด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือน มิถุนายน - ธันวาคม 2550 มีผู้ป่วยใส่ท่อระบายของเหลวจากปอด จำนวนทั้งหมด 4 ราย เกิดอุบัติการณ์ใส่ท่อระบายของเหลวจากปอดเลื่อนหลุดก่อนกำหนดจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบายของเหลวจากปอด
หลักการและเหตุผล (ต่อ) จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วยพบว่า การดึงรั้งของสายระบายทรวงอกขณะผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกาย และอุปกรณ์ที่ใช้รองรับขวดระบายของเหลวที่มีลักษณะเป็นกล่องพลาสติกซึ่งลำบากต่อการเคลื่อนย้าย เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของท่อระบายทรวงอก ดังนั้นเพื่อเป็นการลดและป้องกันอันตรายจากการเลื่อนหลุดของท่อระบายทรวงอก หอผู้ป่วยสามัญชายจึงได้จัดทำนวัตกรรมรถเข็นขวดเคลื่อนที่ขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ลดภาวะเสี่ยงจากการเลื่อนหลุดของท่อระบายทรวงอก และพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อระบายทรวงอก เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยไม่เกิดอันตรายจากภาวะ แทรกซ้อน ในระหว่างการใส่ท่อระบายทรวงอก
วัสดุอุปกรณ์ 1. เหล็กชนิดบาง 2. ล้อเลื่อน 4 อัน งบประมาณ ค่าเหล็ก 300 บาท ค่าล้อเลื่อน 100 บาท ค่าหลอมเหล็ก 100 บาท รวม 500 บาท
ผลสำเร็จของงาน ( เชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ )ผลการประเมินจากแบบสอบความพึงพอใจ
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยและญาติจำนวน 6 คน มีผลดังนี้
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน มีผลดังนี้
ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา /อุปสรรค รถเข็นขวดเคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยหรือญาติเป็นผู้เข็นเคลื่อนที่จึงต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงไม่หนักจนเกินไป และขนาดพอดีกับขวดเพื่อป้องกันการกระแทกของขวด จึงต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญเพื่อให้ได้ตามรูปแบบและคุณภาพที่ต้องการ ข้อเสนอแนะ 1.ล้อที่ใช้ควรมีที่ล็อกล้อ เพื่อป้องกันการเลื่อนของรถเข็นขวดเคลื่อนที่ขึ้นเมื่อหยุดรถ 2. รถเข็นขวดเคลื่อนที่ควรมีที่แขวนขวด IVF ด้วยเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนที่ 3. การป้องกันเลื่อนหลุดของท่อระบายของเหลวจากปอดนอกจากการใช้รถเข็นขวดเคลื่อนที่แล้วพยาบาลต้อง ติดสายท่อระบายกับผิวหนังของผู้ป่วยให้อยู่กับที่ และแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีท่อระบายของเหลวจากทรวงอก