1 / 58

นายิกา เดิดขุนทด สมโภช พิมพ์พงษ์ต้อน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อพัฒนา ฐานข้อมูลอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นายิกา เดิดขุนทด สมโภช พิมพ์พงษ์ต้อน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บทคัดย่อ.

josie
Download Presentation

นายิกา เดิดขุนทด สมโภช พิมพ์พงษ์ต้อน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายิกา เดิดขุนทด สมโภช พิมพ์พงษ์ต้อน สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. บทคัดย่อ • การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศฯ ช่วงปีงบประมาณ 2552-2554 โดยใช้โปรแกรม KP 2.0 ประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลในปีงบประมาณ 2554 โดยศึกษาความต้องการ ความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้รับบริการที่มีต่อฐานข้อมูลอีสานสนเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้รับบริการและเพิ่มความพึงพอใจ

  3. บทคัดย่อ วิธีดำเนินการวิจัย 1) วิเคราะห์ระบบ 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บพอร์ทอลอีสานสนเทศ 3) ประเมินผลประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลและเว็บพอร์ทอลโดยศึกษาความ พึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการ 4) ปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

  4. บทคัดย่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง • กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์/นักวิจัย บุคลากร ม.ข. และบุคคลภายนอก ที่มีประสบการณ์ในการใช้ฐานข้อมูลอีสานสนเทศ • โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ

  5. บทคัดย่อ การเก็บรวบรวมข้อมูล • เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 263 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ - เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้แทนของแต่ละกลุ่ม จำนวน 24 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก - ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ

  6. บทคัดย่อ ผลการวิจัยพบว่า • กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ปรับปรุงระบบนำทาง จัดองค์ประกอบหน้าจอแสดงผลให้น่าสนใจ • ปรับปรุงหน้าโฮมเพจและระบบจัดการเว็บไซต์ • ปรับปรุงวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจโดยแทรกสื่อประสมประกอบการพรรณนา หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศให้ได้ระบบงานที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้รับบริการ

  7. บทคัดย่อ ผลการประเมินความพึงพอใจในระยะสุดท้ายของโครงการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นโดยรวม ร้อยละ 89.85 และมีความพึง พอใจในระดับมากใน ด้านเนื้อหาสารสนเทศ ร้อยละ 89.84 ด้านการสืบค้น ข้อมูล/สารสนเทศ ร้อยละ 90.06 และด้านการออกแบบหน้าจอการสืบค้น ร้อยละ 89.66

  8. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาด้วยเหตุที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมไทยอย่างยั่งยืน คณะผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศที่จัดเก็บเนื้อหาภูมิปัญญาอีสานและให้บริการทางออนไลน์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสาน

  9. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาอีสานและ อีสานศึกษา 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลอีสานสนเทศโดย ศึกษาความพึงพอใจ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ ที่มีต่อการใช้ฐานข้อมูลอีสานสนเทศ 3. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้รับบริการฐานข้อมูลอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลอีสานสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

  10. ประโยชน์ที่ได้รับ • ทำให้สำนักวิทยบริการ ม.ข. มีฐานข้อมูลอีสานสนเทศให้บริการออนไลน์และอำนวยประโยชน์ต่อผู้รับบริการสารสนเทศภูมิปัญญาอีสาน ได้ดังนี้ 1. สืบค้นสารสนเทศได้ทั้งแบบไล่เรียงตามหมวดหมู่ (Browse by category) และการค้นขั้นสูง (Advanced search) 2. แสดงผลลัพธ์การสืบค้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว 3. พิมพ์ผลการสืบค้นบนเครื่องพิมพ์ได้ 4. ส่งสารสนเทศที่สืบค้นไปยังผู้อื่นหรือตนเองได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

  11. ขอบเขตของการวิจัย • ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ฐานข้อมูลอีสานสนเทศ ประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุคคลภายนอก • ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้รับบริการที่เข้ามาใช้ฐานข้อมูลอีสานสนเทศและตอบแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 จำนวน 263 คน • และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 24 คน

  12. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการขั้นตอนและวิธีดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552 และสิ้นสุด โครงการเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2554 โดยได้ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1. การวางแผนก่อนพัฒนาฐานข้อมูล 2. การวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูล

  13. การวางแผนก่อนการพัฒนาฐานข้อมูลการวางแผนก่อนการพัฒนาฐานข้อมูล • นำข้อมูลจากการศึกษาความคาดหวัง ความต้องการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปีก่อน ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ • วางแผนพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ ม.ข.

  14. 2. วางแผนพัฒนา ฐานข้อมูลอีสานสนเทศ 1. ข้อมูลจากการศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. จัดการความรู้และสร้างฐานข้อมูล อีสานสนเทศ 6. ปรับปรุงฐานข้อมูลและ มุ่งสู่การบริการที่เป็นเลิศ 4. จัดบริการสืบค้นสารสนเทศและตอบคำถามแบบ One Stop Service 5.ประเมินผลเพื่อการปรับปรุง ตามความคาดหวังของผู้รับบริการ ออกแบบกระบวนการทำงาน

  15. ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศในปัจจุบัน ได้แก่ • เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นต้องมีและต้องใช้ได้แก่อะไรบ้าง • ระบบฐานข้อมูลมีข้อมูลขนาดใหญ่เพียงใด • รูปแบบการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ • การพิจารณาเลือกใช้ Hardware และ Softwareที่เหมาะสมกับ การใช้งาน

  16. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บท่าอีสานสนเทศพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บท่าอีสานสนเทศ ประกอบด้วย • การกำหนดขอบเขตข้อมูล/สารสนเทศ • การจัดการด้านเนื้อหา • การเขียนบทความ หรือเรื่องย่อ หรือบทคัดย่อ • การบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล • การเชื่อมโยงข้อมูลกับแหล่งสารสนเทศอื่น • การจัดทำคู่มือการใช้งาน

  17. ประเมินผลระบบฐานข้อมูลอีสานสนเทศ ปี 2554 • ประกอบด้วยการศึกษาความต้องการ ความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้รับบริการที่มีต่อฐานข้อมูลอีสานสนเทศ โดยได้ดำเนินการดังนี้ 1. สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย 2. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 3. วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าสถิติร้อยละ ซึ่งเป็นค่าร้อยละสะสมทุกไตรมาส 4. นำผลการศึกษาที่ได้จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทุกระยะมาใช้ เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

  18. 1. สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย แบบสอบถามออนไลน์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง

  19. 2. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ • เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ • ใช้แบบสอบถามออนไลน์ • กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 263 คน • แบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 4 ระยะ ตามไตรมาสของปีงบประมาณ 2554 • เพื่อศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ • ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง • กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 24 คน • แบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 4 ระยะ ระยะละ 6 คน

  20. วิเคราะห์ข้อมูลและคำนวณค่าสถิติร้อยละสะสมวิเคราะห์ข้อมูลและคำนวณค่าสถิติร้อยละสะสม

  21. สรุปผลการวิจัย 1. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอีสานสนเทศโดยใช้โปรแกรม KP 2.0 ประมวลผลบนระบบปฏิบัติการ Linux จัดการเนื้อหาภูมิปัญญาอีสาน และบันทึกรายละเอียดของข้อมูลในฐานข้อมูลตามมาตรฐานการลง รายการ Metatagสามารถครอบคลุมคุณสมบัติการทำงานดังนี้ 1.1 จัดเก็บสารสนเทศภูมิปัญญาอีสาน จำนวน 839 ระเบียน ประกอบด้วย ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น เรื่องย่อ บทคัดย่องานวิจัย/วิทยานิพนธ์ บทความ บทสัมภาษณ์ อัลบั้มภาพ วีดิทัศน์ ข่าว/กิจกรรมในท้องถิ่น แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด (Category)

  22. การกำหนดหมวดหมู่ กำหนดหมวดหมู่ใหญ่ตามเนื้อหาวิชาออกเป็น 11 หมวด ดังนี้ 1. เกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรมและหัตถกรรม 3. การแพทย์แผนไทย 4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. กองทุนและธุรกิจชุมชน 6. ศิลปกรรม 7. ภาษาและวรรณกรรม 8. ปรัชญา ศาสนา และประเพณี 9. โภชนาการ 10. วิศวกรรมและสถาปัตยกรรมไทย 11. หมวดทั่วไป สำหรับสารสนเทศที่ไม่สามารถจัด เข้าหมวดหมู่ภูมิปัญญาได้ เช่น ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและข้อมูลอื่น ๆเป็นต้น

  23. การกำหนดหมวดหมู่ กำหนดหมวดหมู่ใหญ่ตาม ภูมิศาสตร์ ใช้ชื่อจังหวัด 20 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉพาะจังหวัดขอนแก่นแบ่ง หมวดหมู่ย่อย 26 หมวดตามชื่อ อำเภอ

  24. สรุปผลการพัฒนาฐานข้อมูล (ต่อ) 1.2 สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยใช้ทางเลือกในการค้นคืน ได้แก่ การไล่เรียงตามหมวดหมู่ และการค้นหาขั้นสูง ระบบจะทำการสืบค้นและแสดงผลลัพธ์ให้โดยอัตโนมัติ 1.3 สามารถปฏิบัติการเป็น Web portal เชื่อมโยงฐานข้อมูลอีสานสนเทศกับแหล่งสารสนเทศอื่น เช่น Word file, PDF file, Multimedia,ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์/งานวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และแหล่งสารสนเทศอื่นบนอินเทอร์เน็ต

  25. 1.4 สามารถรับชมสารสนเทศที่จัดเก็บในฐานข้อมูลอีสานสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตได้1.5 สามารถพิมพ์ผลการสืบค้นได้1.6 สามารถแสดงผลลัพธ์และนำส่งข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้1.7 สามารถให้บริการข่าวสารทันสมัย RSS Feed ได้

  26. 2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ได้ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาของสารสารสนเทศ ด้านการสืบค้น และด้านการออกแบบหน้าจอการสืบค้น พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ดังนี้ • ด้านเนื้อหาของสารสนเทศ ร้อยละ 89.84 • ด้านการสืบค้น ร้อยละ 90.06 • ด้านการออกแบบหน้าจอการสืบค้น ร้อยละ 89.66 • ความพึงพอใจโดยรวมสะสมทั้งสามด้าน ร้อยละ 89.85

  27. 3. ความต้องการของผู้รับบริการ • ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ ใช้งานง่าย การสืบค้นสารสนเทศสะดวก และแสดงผลการสืบค้นได้รวดเร็ว • แต่มีข้อที่ต้องปรับปรุงคือ ระบบนำทางใช้ตัวอักษรขนาดเล็กเกินไป ควรออกแบบหน้าแสดงผลให้น่าสนใจกว่านี้ ปรับปรุงด้านเนื้อหา เช่น งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ควรมีเนื้อหาฉบับเต็มทุกรายการ เพิ่มเนื้อหาด้านแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ปรับปรุงวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจด้วยการแทรกสื่อประสมประกอบการพรรณนาความ มีการจัดการหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ให้มีความสวยงามมากขึ้น เพิ่มการประชาสัมพันธ์ และมีการศึกษาพัฒนาโปรแกรม KP 2.0อย่างต่อเนื่องเพื่อการใช้งานที่สมบูรณ์ต่อไป

  28. 4. การปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูล • คณะผู้วิจัยนำผลการศึกษาความต้องการ ความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามและให้สัมภาษณ์ทุกระยะมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ ดังนี้

  29. ปรับปรุงครั้งที่ 1 ในระยะที่ 2 (ม.ค.-มี.ค. 2554) • ปรับปรุงระบบนำทาง ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น • จัดองค์ประกอบหน้าจอแสดงผลให้มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น • ปรับปรุงสีพื้นหลังของหน้าเว็บไซต์จากสีน้ำเงินลายไทยเป็นสีอิฐ ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น • แบบตัวอักษรของเนื้อหาในฐานข้อมูลใช้ AngsnaNewสีตัวอักษรใช้สีน้ำเงินแทนสีดำ

  30. ปรับปรุงครั้งที่ 2 ในระยะที่ 3 (เม.ย.-มิ.ย. 2554) • ปรับปรุงหน้าโฮมเพจและระบบจัดการเว็บไซต์ โดยเปลี่ยนจากระบบจัดการเว็บไซต์ที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นเองด้วยภาษา PHP และHTMLมาเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปJoomla เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถจัดการเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง • ปรับปรุงความน่าสนใจของเนื้อหาด้วยการแทรกสื่อประสมที่ผลิตขึ้นเองประกอบเนื้อหา • ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์Facebook

  31. อภิปรายผล 1. ด้านเนื้อหาของสารสนเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหามากที่สุดถึงร้อยละ 90.57 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคณะผู้วิจัยได้นำมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2542 เรื่องการแบ่งเนื้อหาภูมิปัญญาไทยออกเป็น 9 ด้านมาประยุกต์ใช้ โดยคณะผู้วิจัยได้เพิ่มหมวดวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมไทย และหมวดทั่วไป ทำให้ผู้รับบริการค้นหาสารสนเทศแบบไล่เรียงตามหมวดหมู่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

  32. อภิปรายผล 2. ด้านการสืบค้นข้อมูล/สารสนเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุดถึงร้อยละ 90.06 ทั้งนี้เพราะโปรแกรม KP 2.0 มีข้อดีคือ ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย สามารถประยุกต์ ใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windowsและ Linux สร้างหมวดหมู่และรายการสารสนเทศได้ไม่จำกัด จัดการฐานข้อมูลง่าย และสืบค้นได้สะดวกและรวดเร็ว

  33. อภิปรายผล 3. ด้านการออกแบบหน้าจอการสืบค้น พบว่า มีค่าร้อยละความพึงพอใจสะสมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกระยะ (ร้อยละ 84.62, 84.40, 85.19, และ 89.66) นั่นแสดงให้เห็นว่าคณะผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขการออกแบบหน้าจอการสืบค้นได้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ

  34. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยข้อเสนอแนะจากการวิจัย • การวิจัยครั้งนี้ พบข้อสังเกตในการพัฒนาฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม KP 2.0 คือ ในการUpload file ด้วยโปรแกรมดังกล่าว สามารถรองรับการทำงานได้เฉพาะกับ Web browser ของ Internet Explorer เท่านั้น ยังไม่สามารถทำงานกับWeb browser อื่น ๆ ได้ เช่น Mozilla Firefoxเป็นต้น

  35. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยข้อเสนอแนะจากการวิจัย • สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นควรได้มีการศึกษาและพัฒนาฐานข้อมูลอีสานสนเทศ ด้วยโปรแกรม KnowledgebasePublisher: Version 4.0.1ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด เพื่อสำนักวิทยบริการ จะได้มีฐานข้อมูลอีสานสนเทศที่มีศักยภาพในการจัดการฐานข้อมูลด้านภูมิปัญญาอีสานและอีสานศึกษา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสานและสนับสนุนวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลก

  36. หน้าหลักเว็บไซต์อีสานสนเทศหน้าหลักเว็บไซต์อีสานสนเทศ

  37. หน้าสืบค้นสารสนเทศ

  38. หน้าแสดงข้อมูลการอ่านมากที่สุดและบทความล่าสุดหน้าแสดงข้อมูลการอ่านมากที่สุดและบทความล่าสุด

  39. ตัวอย่างบทความในฐานข้อมูลอีสานสนเทศตัวอย่างบทความในฐานข้อมูลอีสานสนเทศ

  40. ตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษ

  41. ตัวอย่างเรื่องย่อ (Synopsis)

  42. เรื่องย่อนกจอกน้อย

  43. ตัวอย่างงานวิจัย

  44. ตัวอย่างเอกสารฉบับเต็มบทความวิจัยตัวอย่างเอกสารฉบับเต็มบทความวิจัย

  45. ตัวอย่างวีดิทัศน์

More Related