320 likes | 610 Views
à¸à¸²à¹€à¸‹à¸µà¸¢à¸™à¸à¸±à¸šà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศคู่เจรจา à¹à¸¥à¸°à¸à¸‡à¸„์à¸à¸²à¸£à¸£à¸°à¸«à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศ. โครงสร้างความร่วมมืà¸à¹ƒà¸™à¸à¸²à¹€à¸‹à¸µà¸¢à¸™. ASEAN CHARTER. à¸à¸²à¸£à¹€à¸¡à¸·à¸à¸‡/ ความมั่นคง. เศรษà¸à¸à¸´à¸ˆ. สังคม/วัฒนธรรม. ความสัมพันธ์à¸à¸±à¸šà¸ ายนà¸à¸. ความสัมพันธ์à¸à¸±à¸šà¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศคู่เจรจา/คู่เจรจาเฉพาะด้าน. U.S.A. Australia. Canada. Russia. ASEAN. New Zealand. E.U. ROK.
E N D
อาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศ
โครงสร้างความร่วมมือในอาเซียนโครงสร้างความร่วมมือในอาเซียน ASEAN CHARTER การเมือง/ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม ความสัมพันธ์กับภายนอก
ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา/คู่เจรจาเฉพาะด้านความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา/คู่เจรจาเฉพาะด้าน U.S.A. Australia Canada Russia ASEAN New Zealand E.U. ROK India Japan Pakistan คู่เจรจาเฉพาะด้าน
ประเทศอาเซียนผู้ประสานงานความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา (ตั้งแต่ ก.ค.55 – ก.ค. 58)
กลไกในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจากลไกในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา • การประชุมสุดยอด(Summit) จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย (ทุกปี) สหรัฐฯ และรัสเซีย (ไม่เป็นประจำ) - การประชุมระดับรัฐมนตรี (Post Ministerial Conference – PMC+1) สหรัฐฯ แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป -การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting – SOM) เป็นการหารือด้านการเมือง ความมั่นคงเป็นหลัก โดยมีการประชุมระดับ นี้กับสหรัฐฯ แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป - การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ(Senior Economic Officials' Meeting – SEOM) เป็นการหารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจารายประเทศ (+1)
กลไกในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ต่อ) • การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ(Joint Cooperation Committee) เป็นการหารือเรื่องโครงการร่วมมือในด้านต่างๆ • การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ • นอกจากนี้ ประเทศคู่เจรจาหลายประเทศยังได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอาเซียนและเปิดทำการคณะทูตถาวรประจำอาเซียนด้วย
กลไกในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ต่อ) Treaty of Amity and Cooperation (TAC) 1.การเคารพในอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนซึ่งกันและกัน 2. การไม่แทรกแซงในกิจการภายในซึ่งกันและกัน 3. การเคารพสิทธิการดำรงอยู่ของทุกประเทศ โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก 4. การแก้ไขข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี (มี High Council เป็นองค์กรระงับ ข้อพิพาท) 5. การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง 6. ความร่วมมือกันอย่างแข็งขัน
กลไกในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ต่อ) ประเทศที่จะเข้าร่วมการประชุมเอเชียตะวันออก 1. เป็นประเทศคู่เจรจาเต็มรูปแบบของอาเซียน 2. มีความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นกับอาเซียน 3. ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ
ความสัมพันธ์อาเซียน – ออสเตรเลีย • อาเซียนและออสเตรเลียสถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อปี 2517 (ค.ศ. 1974) • แถลงการณ์รัฐมนตรีว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบด้านระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย (ปี ค.ศ.2007)เป็นเอกสารกำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา • แผนปฏิบัติการอาเซียน-ออสเตรเลีย ระยะที่ 2 (ค.ศ. 2008-2013) เป็นมาตรการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของความเป็นหุ้นส่วน • ออสเตรเลียลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ (TAC) เข้าร่วมการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) และการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) • สาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การค้า เศรษฐกิจ การศึกษา การจัดการภัยพิบัติ การต่อต้านการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ • อาเซียนลงนามในความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีกับออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ. 2009
ความสัมพันธ์อาเซียน - แคนาดา • อาเซียนและแคนาดาสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันปี 2520 (1977) • แคนาดาและอาเซียนมีแถลงการณ์ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบด้าน (ค.ศ.2009) กำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฏิบัติการอาเซียน – แคนาดา (ค.ศ.2010-2015) เป็นมาตรการดำเนินงานให้บรรลุความเป็นหุ้นส่วนฯ • แคนาดาลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ (ปี ค.ศ. 2010) และเข้าร่วมการประชุม ARF • ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การต่อต้านการก่อการร้าย
ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน • อาเซียนและจีนสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี 2539 (ค.ศ. 1996) • ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน มีแถลงการณ์ร่วมของผู้นำด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อสันติภาพและความไพบูลย์ ปี ค.ศ. 2003 กำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา • แผนปฏิบัติการอาเซียน – จีน เป็นมาตรการดำเนินงานเพื่อบรรลุความเป็นหุ้นส่วน (ปี ค.ศ. 2005 - 2010) • ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2555 – ก.ค. 2558 ประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-จีน
ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน (ต่อ) • จีนมีการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างใกล้ชิดกับอาเซียน สนับสนุนการสร้างประชาชมอาเซียน และบทบาทการเป็นแกนนำของอาเซียนในความร่วมมือเอเชียตะวันออก รวมทั้งในโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกด้วย • จีนเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และสนับสนุนการสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศคู่เจรจาแรกที่ภาคยานุวัติสนธิสัญญา TAC • อาเซียนและจีนลงนามในแถลงการณ์ว่าด้วยการปฎิบัติของภาคีใน ทะเลจีนใต้ (Declaration on the C0nduct of Parties in the South China Sea) ปี ค.ศ. 2002
ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน (ต่อ) • อาเซียนและจีนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในปี ค.ศ. 2002 โดยความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้ามีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2010 • จีนสนับสนุนความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน • อาเซียนและจีนได้จัดตั้งศูนย์อาเซียน - จีน ที่กรุงปักกิ่ง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการค้า การลงทุน ท่องเที่ยว และส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน • ความร่วมมืออาเซียน – จีนที่เป็นรูปธรรมได้แก่ เศรษฐกิจการค้า การเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการติดต่อระหว่างประชาชน
ความสัมพันธ์อาเซียน - สหภาพยุโรป • สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศคู่เจรจากลุ่มแรกของอาเซียน โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2515 (ค.ศ. 1972) • อาเซียนมองสหภาพยุโรปเป็นแบบอย่างของการรวมตัวในระดับภูมิภาค แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่มีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกแบบสหภาพยุโรป และไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดสกุลเงินเดียวกัน • แถลงการณ์ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบด้านอาเซียน – สหภาพยุโรป (ASEAN – EU Comprehensive Partnership) ค.ศ. 2007 เป็นเอกสารกำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ความสัมพันธ์อาเซียน – สหภาพยุโรป (ต่อ) • แผนปฎิบัติการอาเซียน – สหภาพยุโรป ระยะ 2 (ค.ศ.2013-2017) เป็นมาตรการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของความเป็นหุ้นส่วนฯ • สหภาพยุโรปเข้าร่วมการประชุม ARF และต้องการเข้าร่วม EAS • สหภาพยุโรปกำลังจะภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ (TAC) กับอาเซียนในการประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนในเดือน ก.ค. 2555 • อาเซียนและสหภาพยุโรปกำลังจะเริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีในระดับภูมิภาคกับภูมิภาคต่อ (การเจรจาหยุดชะงักไปในปี ค.ศ. 2009) • สาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การรวมตัวกันในระดับภูมิภาค เศรษฐกิจ การค้า การศึกษา การจัดการภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการก่อการร้าย
ASEAN – India • อาเซียนและอินเดียสถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 โดยเป็นคู่เจรจาเฉพาะด้าน และยกระดับเป็นคู่เจรจาเต็มรูปแบบในปี 2538 ในปี 2555 จะครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์โดยจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียน – อินเดีย สมัยพิเศษ ที่กรุงนิวเดลี ในเดือนธันวาคม 2555 • เอกสาร ASEAN – India Partnership for Peace , Progress and Shared Prosperity ค.ศ. 2004กำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยมีแผนปฎิบัติการอาเซียน – อินเดีย ระยะ 2 (ค.ศ.2010-2015) และมาตรการต่างๆ และกองทุน ASEAN – India สนับสนุนการค้าเป็นมาตรการความร่วมมือต่างๆ • ในปี 2553 ได้มีการจัดตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียน – อินเดีย เพื่อจัดตั้งวิสัยทัศน์ความสัมพันธ์ โดยประเมินความสัมพันธ์ที่ผ่านมาและเสนอแนวทางใหม่สำหรับ ความร่วมมือ
ASEAN – India (ต่อ) • อินเดียเข้าร่วมการประชุม ASEAN Regional Forum ตั้งแต่ปี 2539 และภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือของอาเซียน ในปี 2546 • อินเดียมีโครงการความร่วมมือกับอาเซียนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา การสอนภาษาอังกฤษ การแลกเปลี่ยนเยาวชน นักศึกษา แพทย์และเภสัชกรรม การจัดการภัยพิบัติ • อินเดียให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงกับอาเซียน สนับสนุนการสร้างทางหลวงเชื่อมต่ออินเดีย – พม่า – ไทย อินเดียได้เสนอจัด ASEAN – India Car Rally เป็นคาราวานรถยนต์ จากอินเดีย (แคว้นอัสสัม) เข้าพม่า –ไทย – ลาว –เวียดนาม –กัมพูชา – ไทย –มาเลย์ – สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ในปี 2547 และในโอกาสครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน – อินเดีย ปี 2555 จะจัดอีกครั้ง โดยย้อนขึ้นจากอินโดนีเซีย ไปสิ้นสุดที่แคว้นอัสสัมของอินเดีย
ASEAN– India (ต่อ) • อาเซียนและอินเดียลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในปี ค.ศ. 2003 และความตกลงว่าด้วยสินค้าอาเซียน – อินเดียว่าด้วยสินค้า มีผลบังคับปี ค.ศ. 2009 ทั้งสองฝ่ายกำลังเจรจาเพื่อสรุปความตกลงว่าด้วยบริการและการลงทุนให้ได้ภายในปี 2555 • ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมืออาเซียน – อินเดีย ด้านความมั่นคงทางทะเล ผลักดันให้อินเดียเชื่อมต่อเส้นทางกับพม่าและมาต่อกับไทย และขยายเส้นทางไปลาว กัมพูชา พยายามชักนำให้อินเดียเข้าร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของอาเซียนให้อินเดียเข้ามามีบทบาทในด้าน IT และเรื่องการอำนวยความสะดวกเรื่องการผ่านแดน
ความสัมพันธ์อาเซียน - ญี่ปุ่น • อาเซียนและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ปี ค.ศ.1977 • แถลงการณ์โตเกียวสำหรับพลวัตรและความเป็นหุ้นส่วนที่ยั่งยืนระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในสหัสวรรษใหม่ (ปี ค.ศ.2003) เป็นเอกสารกำหนด แนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ โดยมีแผนปฏิบัติการอาเซียน – ญี่ปุ่น ระยะ 2 (ค.ศ.2011-2015) เป็นมาตรการดำเนินการ • ญี่ปุ่นเข้าร่วมในกลไกความร่วมมืออาเซียนมากมาย ได้แก่ ARF EAS ASEAN + 3 ADMM Plus ญี่ปุ่นภาคยานุวัติ TAC ในปี ค.ศ.2004 • อาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ในปี ค.ศ. 2008
ความสัมพันธ์อาเซียน – ญี่ปุ่น (ต่อ) • ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่นได้รับการตั้งในปี ค.ศ.1981 เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน • ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดการภัยพิบัติ การติดต่อระดับประชาชน ปัญหาข้ามแดน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการลดช่องว่างการพัฒนาของอาเซียนด้วย
ความสัมพันธ์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี • สาธารณรัฐเกาหลีเป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียนตั้งแต่ปี 2534 • อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีมีแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบด้าน (ค.ศ. 2004) กำหนดแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกับทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา • ในปี 2553 ทั้ง 2 ฝ่ายได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ • แผนปฎิบัติการอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ระยะ 2 (ค.ศ. 2011-2015) เป็นมาตรการดำเนินงานให้บรรลุความเป็นหุ้นส่วน • สาธารณรัฐเกาหลีภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ (2547) สนับสนุนการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ปี 2548
ความสัมพันธ์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี (ต่อ) • สาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมที่ประชุม ASEAN + 3 , ARF และ EAS และ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม ASEAN • อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามในกรอบข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในปี ค.ศ.2005 โดยความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีสินค้าและบริการ มีผลบังคับใช้ ในปี ค.ศ.2007 และความตกลงว่าด้วย การลงทุน มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2009 • สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี (ต่อ) • อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ตกลงจัดตั้งศูนย์อาเซียน – เกาหลี ที่กรุงโซล และเปิดอย่างเป็นทางการปี 2552 ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลทั้งการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม • ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การติดต่อระหว่างประชาชน การศึกษา Climate change (low-carbon green growth) การปลูกป่า เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การศึกษา และการติดต่อระดับประชาชน • สาธารณรัฐเกาหลีมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ IAI เพื่อลดช่องว่างระหว่างสมาชิกอาเซียน • สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนการเชื่อมโยงของอาเซียน
ความสัมพันธ์อาเซียน-นิวซีแลนด์ความสัมพันธ์อาเซียน-นิวซีแลนด์ • อาเซียนและนิวซีแลนด์สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี 2518 (ค.ศ. 1975) • อาเซียนและนิวซีแลนด์มีแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบด้าน ปี ค.ศ.2010 • นิวซีแลนด์ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกับอาเซียน ในปี ค.ศ.2005 • นิวซีแลนด์เข้าร่วมการประชุม ARF , EAS และ ADMM • นิวซีแลนด์ร่วมกับออสเตรเลียจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียน ในปี ค.ศ.2009 • สาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การศึกษา การเกษตร
ความสัมพันธ์อาเซียน – รัสเซีย • รัสเซียเป็นประเทศคู่เจรจาอย่างเป็นทางการของอาเซียนตั้งแต่ 2539 และมีแถลงการณ์ร่วมระดับผู้นำว่าด้วยการส่งเสริมและกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ปี 2548 เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือ • แม้ว่าความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซียจะไม่มีความใกล้ชิดมาก และความร่วมมือยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมมากนัก แต่สถานภาพของรัสเซียในเวทีระหว่างประเทศทำให้อาเซียนยอมรับให้รัสเซียเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค • รัสเซียเข้าร่วมประชุม ARFADMM มีการประชุมสุดยอดอาเซียน – รัสเซีย (แต่ไม่ทุกปี) รัสเซียเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (ตั้งแต่ปี 2554) • รัสเซียภาคยานุวัติ TAC ในปี ค.ศ.2004
ความสัมพันธ์อาเซียน – รัสเซีย (ต่อ) • ความร่วมมืออาเซียน – รัสเซีย ที่มีศักยภาพได้แก่ ความร่วมมือทางด้านพลังงาน การท่องเที่ยว การจัดการภัยพิบัติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ASEAN Centre ที่กรุงมอสโก (ค.ศ.2010) ทำหน้าที่ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้กับชาวรัสเซีย
ความสัมพันธ์อาเซียน – สหรัฐอเมริกา • อาเซียนและสหรัฐฯ สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี 2520 (ค.ศ. 1977) • แถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมกันว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ปี ค.ศ.2005 เป็นเอกสารกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา • ASEAN – US Eminent Persons Group จนเสนอให้ทั้งสองฝ่ายได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ ปี 2555 • แผนปฎิบัติการอาเซียน – สหรัฐฯ ระยะที่ 2 เป็นมาตรการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเป็นหุ้นส่วนฯ • สหรัฐฯลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ (ปี ค.ศ.2009 ) และเข้าร่วมประชุม ARF และ EAS (2011) • สาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรม ข้ามชาติ การจัดการภัยพิบัติ การศึกษาและเยาวชน
ASEAN + 3 • ASEAN + 3 เริ่มปี 2540 ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้นำได้พบหารือกันที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อธันวาคม 2540 • มีการจัดตั้ง East Asia Vision Group ในปี 2542 เพื่อจัดทำเอกสารวิสัยทัศน์ความร่วมมือในเอเชียตะวันออก โดยได้เสนอให้มีการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia community) ซึ่งมีมาตรการความร่วมมือในด้านต่างๆ ปัจจุบันมีแผนงานความร่วมมือ ASEAN + 3 (2550-2560) ครอบคลุมสาขาความร่วมมือมากกว่า 20 สาขา อาทิ ความร่วมมือด้านการเงิน ความมั่นคงด้านพลังงาน การจัดการภัยพิบัติ การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า สิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ • การประชุม ASEAN + 3 ในปี ค.ศ. 1999 เป็นจุดเริ่มต้นของการประชุม สุดยอดไตรภาคีจีน – ญี่ปุ่น –สาธารณรัฐเกาหลี
ASEAN + 3 (ต่อ) • ความร่วมมือทางการเงินเป็นสาขาความร่วมมือที่คืบหน้าที่สุด โดยไทยเสนอให้มีการจัดตั้งมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative – CMI) ในปี 2543 เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค ต่อมาได้พัฒนาเป็น CMI Multilaterlization – CMIM และจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองพหุภาคีในวงเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้เพิ่มวงเงินเป็น 2.4 พันล้านดอลลาร์ ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 เมื่อเดือนพฤาภาคม 2555 โดยร้อยละ 80 ของเงินกองทุนมาจากประเทศ + 3 • ในปี 2554 มีการจัดตั้งสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ASEAN + 3 (ASEAN + 3 Macroeconomic Research Office – AMRO) เพื่อวิเคราะห์และติดตามสภาวะทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและสนับสนุน CMIM • มีกองทุนความร่วมมือ ASEAN +3สนับสนุนการดำเนินการตามความร่วมมือและกิจกรรมต่างๆ โดยที่ประชุมสุดยอด ASEAN +3 ครั้งที่ 14 ปี 2554 ให้ความสำคัญด้านการเชื่อมโยงในภูมิภาคกับการจัดการภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำ การเปิดเสรีการค้า ความร่วมมือด้านอาหารและการศึกษา • บทบาทของไทยมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ การจัดประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข +3 สมัยพิเศษ เรื่องไข้หวัดนก และการจัดตั้งองค์การสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน + 3
ความสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศความสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศ RIO GROUP U.N. ASEAN SAARC GCC MERCOSUR ECO
Rotation of ASEAN Coordinatorship for Regional Grouping ECO – Economic Cooperation Organization GCC – Gulf Cooperation Council MERCOSUR – Common Market of the South SAARC – South Asian Association for Region Cooperation ASEAN Secretariat will be the Coordinator with the UN.