980 likes | 1.66k Views
ตั๋วเงินปลอม. แบ่งได้ 2 กรณี -ตั๋วเงินปลอมข้อความ ม. 1007 -ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ม. 1006,1008.
E N D
ตั๋วเงินปลอม • แบ่งได้ 2 กรณี • -ตั๋วเงินปลอมข้อความ ม.1007 • -ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ม.1006,1008
มาตรา ๑๐๐๗ ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋ว เงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง แต่หากตั๋วเงินใด ได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้
ว. ๓ กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย
ตั๋วเงินปลอมข้อความ หรือรายการอื่นในตั๋ว อันมิใช่การปลอมลายมือชื่อมาตรา 1007 • ตั๋วเงินปลอมข้อความ ในมาตรา 1007 ใช้คำว่า “ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ” • การแก้ไขในข้อสำคัญ มาตรา 1007 ว.3 “การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย” • การแก้ไขข้อความในตั๋วเงิน โดยที่คู่สัญญาทั้งปวงในตั๋วเงินยินยอมให้แก้ไข ไม่เป็นตั๋วเงินปลอมมาตรา ๑๐๐๗ “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋ว เงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย.....”
ผลของตั๋วเงินปลอมข้อความผลของตั๋วเงินปลอมข้อความ • ก.ม กำหนดว่า ตั๋วเงินใดมีการปลอมข้อความ ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป • มาตรา 1007 ว. 1 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด….มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ….ตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย ..” • ตั๋วเงินเสียไป หมายถึง สิ่งดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นตั๋วเงินอีกต่อไป ดังนั้นบุคคลผู้ครอบครองตั๋วไม่สามารถแสวงสิทธิใดๆจากตั๋วเงินปลอมข้อความนั้นไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ตั๋วเงินอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นผู้ที่ครอบครองตั๋วเงินจึ่งมิได้เป็นเป็นผู้ทรง • บังคับการใช้เงิน หรือไล่เบี้ยให้มีการรับผิด จากตั๋วเงินนั้นไม่ได้ • ยกเว้นแต่ .......
ยกเว้นแต่ การบังคับการใช้เงิน จะเป็นการบังคับต่อบุคคลดังต่อไปนี้ • ก. ผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง(ม.1007 ว.1) • ข. ผู้ที่ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น(ม.1007 ว.1) • ค. ผู้ที่สลักหลังหรือเข้าผู้ผูกพันตั๋วภายหลังการแก้ไข เปลี่ยนแปลง (ม.1007 ว.1) และ • ง. ผู้ที่ผูกพันตั๋วก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง กรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่เป็นประจักษ์ (ม.1007 ว.2) • ไม่ประจักษ์ คือ ไม่เห็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
มาตรา ๑๐๐๗ “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคำรับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋ว เงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง แต่หากตั๋วเงินใด ได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้เสมือนดังว่ามิได้มี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้ กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จำนวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย”
ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ มาตรา 1006, 1008 • ตั๋วเงินปลอมลายมือชื่อ ได้แก่ ตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อหนึ่งลายมือชื่อใดในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจ • มาตรา ๑๐๐๘ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย….”
ผลของลายมือชื่อปลอม • ก.ม กำหนดว่า ลายมือชื่อในตั๋วเงิน รายใดเป็นลายมือชื่อปลอม ลายมือชื่อปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ • มาตรา ๑๐๐๘ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย….” • ใช้ไม่ได้ หมายถึง เท่ากับว่า ไม่มีลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจในตั๋วเงินนั้น บุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจ ก็ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน เพราะไม่มีลายมือชื่อของตน
แต่แม้ลายมือชื่อในตั๋วเงินรายใดเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม ลายมือชื่อปลอมนั้นไม่กระทบต่อลายมือชื่อคนอื่นที่แท้จริง ตามมาตรา 1006 • มาตรา ๑๐๐๖ “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”
ผลของตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอม ต่อสิทธิของผู้ที่มีตั๋วนั้นไว้ในความครอบครอง • กม. กำหนดว่า ผู้ที่มีตั๋วเงินซึ่งมีลายมือชื่อปลอม จะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้น เพื่อทำยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่ง ไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด • มาตรา ๑๐๐๘ “...เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด .....”
สิ่งที่ กม.กำหนดว่า ผู้ที่มีตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอมไม่อาจกระทำได้ มีดังต่อไปนี้ • ก. เพื่อยึดหนึ่งตั๋วเงินนั้นไว้ • การยึดหน่วง หมายถึง การไม่คืนตั๋วให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งตั๋วนั้น • ข. เพื่อบังคับการใช้เงิน • หมายถึง การบังคับสิทธิอันเกิดสัญญาสัญญาตั๋วเงิน อันได้แก่ การไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาต่างๆในตั๋ว การเรียกร้องให้ผู้รับรองรับผิดตามตั๋วเงินนั้น
ข้อยกเว้น • ยกเว้นแต่ การยึดหน่วงตั๋ว หรือการบังคับการใช้เงิน จะบังคับต่อบุคคลดังต่อไปนี้ • ก. ผู้ที่ลงลายมือชื่อปลอม • ข. ผู้ที่สลักหลังจากลายมือชื่อปลอม • ค. บุคคลที่เข้าผูกพันตั๋วเงิน ภายหลังลายมือชื่อปลอม • ข้อสังเกตุ ทั้ง 3 คน คือ ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ ( หลักกฎหมายปิดปาก)
มาตรา ๑๐๐๘ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทำให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทำได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อซึ่งลงไว้โดยปราศจากอำนาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”
ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย มาตรา ๑๐๑๐ “เมื่อผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหายหรือถูกลักทราบเหตุแล้วในทันใดนั้นต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋วเงิน ผู้จ่าย ผู้สมอ้างยามประสงค์ ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าและผู้รับอาวัล ตามแต่มี เพื่อให้บอกปัดไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น” มาตรา ๑๐๑๑ “ถ้าตั๋วเงินหายไปแต่ก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงินท่านว่าบุคคลซึ่งได้เป็นผู้ทรงตั๋วเงินนั้นจะร้องขอไปยังผู้สั่งจ่ายให้ ๆ ตั๋วเงินเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ และในการนี้ถ้าเขาประสงค์ก็วางประกันให้ไว้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อไว้ทดแทนที่เขาหากจะต้องเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วเงินซึ่งว่าหายนั้นจะกลับหาได้ อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้น อาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้”
บทบัญญัติเฉพาะกรณีผู้จ่ายเป็นธนาคาร ม.1009 มาตรา ๑๐๐๙ “ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถามมาเบิกต่อธนาคารใดและธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อไซร้ ท่านว่าธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น และถึงแม้ว่ารายการสลักหลังนั้นจะเป็นสลักหลังปลอมหรือปราศจากอำนาจก็ตามท่านให้ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ”
มาตรา 1009 นี้กำหนดหลักเกณฑ์ กรณีที่ผู้จ่ายในตั๋วเงินเป็นธนาคาร ธนาคารผู้จ่ายจะได้รับความคุ้มครอง (ถือว่าจ่ายไปโดยถูกต้อง) ต้องพิจารณาจาก เงื่อนไขดังต่อไปนี้ • จ่ายเมื่อตั๋วถึงกำหนด (ตั๋วเงินชนิดจะพึงใช้เงินตามเขาสั่งเมื่อทวงถาม) • ธนาคารนั้นได้ใช้เงินให้ไปตามทางค้าปกติโดยสุจริตและปราศจากประมาท เลินเล่อ • ธนาคารไม่มีหน้าที่จะต้องนำสืบว่าการสลักหลังของผู้รับเงิน หรือการสลักหลังในภายหลังรายใด ๆ ได้ทำไปด้วยอาศัยรับมอบอำนาจแต่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของคำสลักหลังนั้น (แม้ว่าคำสลักหลังจะปลอมก็ตาม) • แต่ธนาคารยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้ทรงฟ้องให้ผู้รับรองตั๋วแลกเงิน และผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิด มาตรา 1001มีอายุความ 3 ปีนับแต่วันที่ตั๋วนั้นถึงกำหนด • ไม่ใช้กับธนาคารผู้รับรองเช็ค มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. ม. 193/30
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้ทรงฟ้องไล่เบี้ยผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ม.1002ไม่ว่าจะเป็นตั๋วเงินชนิดใดมีอายุความ 1 ปี -นับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือ -นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน มาตรา 1003 มีกำหนด 6 เดือน • นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน • นับแต่วันที่ผู้สลักหลังถูกฟ้อง
อายุความตั๋วเงิน • อายุความที่กฎหมายมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะให้ใช้อายุความดังต่อไปนี้ • อายุความอันเกี่ยวกับผู้อาวัล • อายุความที่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลัง จะไล่เบี้ยเอากับผู้อาวัลให้รับผิด • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้ทรง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สลักหลังมีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002
อายุความตั๋วเงิน • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้ทรง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สั่งจ่าย มีอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1002 • ผู้ที่ฟ้องเป็นผู้สลักหลัง และผู้อาวัลได้อาวัลผู้สลักหลังคนใดหนึ่งคนใด หรืออาวัลผู้สั่งจ่ายกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ ผู้สลักหลังคนนั้นได้เข้าใช้เงินและถือเอาตั๋วเงิน หรือถูกบังคับการใช้เงินตาม ม. 1003
อายุความตั๋วเงิน • อายุควาที่ผู้อาวัลจะฟ้องไล่เบี้ยบุคคลอื่นให้รับผิดต่อตนตามสัญญาตั๋วเงิน • ผู้อาวัลไล่เบี้ยเอาจากบุคคลที่ตนประกัน มีอายุความ 10 ปี นับตามมาตรา 193/30 เพราะกฎหมายมิได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ • ผู้อาวัลไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกัน มีอายุความเท่ากับ บุคคลที่ตนอาวัลไปไล่เบี้ยเอากับบุคคลนั้น
อายุความตั๋วเงิน • อายุควาที่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังจะเรียกร้องให้ธนาคารรับผิด -มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 เนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดอายุความสำหรับการเรียกให้ธนาคารผู้รับรองเช็ครับผิดไว้โดยเฉพาะ
ตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือตราสาร ข ก ออกตั๋ว ผู้รับเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้ออกตั๋ว ห้ามเปลี่ยนมือ มาตรา ๙๘๒ “อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน”
มาตรา ๙๘๕ บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด ๒ ว่าด้วยตั๋วแลกเงินดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องตั๋วสัญญา ใช้เงินเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา ๙๑๑, ๙๑๓, ๙๑๖, ๙๑๗, ๙๑๙, ๙๒๐, ๙๒๒ ถึง ๙๒๖, ๙๓๘ ถึง ๙๔๗, ๙๔๙, ๙๕๐, ๙๕๔ ถึง ๙๕๙, ๙๖๗ ถึง ๙๗๑ ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบทมาตรา ๙๖๐ ถึง ๙๖๔, ๙๗๓, ๙๗๔ • มาตรา ๙๘๖ “ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน”
มาตรา ๙๗๓ เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ (๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น (๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน (๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
มาตรา ๙๘๓ ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน (๒) คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน (๓) วันถึงกำหนดใช้เงิน (๔) สถานที่ใช้เงิน (๕) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน (๖) วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (๗) ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
มาตรา ๙๘๔ “ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบังคับไว้ในมาตราก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน เว้นแต่ในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่า พึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตราสารนั้นเป็นสถานที่ใช้เงิน ถ้าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ระบุสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่า ตั๋วนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้”
มาตรา ๙๘๖ ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋ว จดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ในมาตรา ๙๒๘ กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่นนี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้นให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น
ตั๋วสัญญาใช้เงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ห้ามเปลี่ยนมือ
ยื่นตั๋วให้ผู้ออกตั๋วยื่นตั๋วให้ผู้ออกตั๋ว จดรับรู้ ออกตั๋ว 6 เดือน ตั๋วที่มีวันถึงกำหนดใช้เงินตาม ม.913(4) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 60 วัน ทำคำคัดค้าน เพื่อนับวันถึงกำหนดใช้เงิน จด ไม่จด
มาตรา ๙๘๖ “ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ในมาตรา ๙๒๘ กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่นนี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้นให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น”
เช็ค สัญญาบัญชีเงินฝาก กระแสรายวัน ธนาคาร ข. ก ธนาคาร ข. สมุดเช็ค ก ค. เช็คเป็นเครื่องมือในการ เบิก/ถอนเงิน
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร ข. เงินสด ก ค. ลักษณะของเช็ค 1. เช็คไม่มีขีดคร่อม -เช็คที่ไม่ปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน เป็นเงินสดให้แก่ผู้ทรงเช็ค
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร ข. (กรุงเทพ) เรียกเก็บ ธนาคาร A. ก ค. ยื่นให้เก็บเงิน ค. อยู่เชียงใหม่ มีบัญชีเงินฝากกับ ธนาคาร A.
จ่าย ธนาคาร ข. เข้าบัญชี ยื่น เบิกเงินสด ก ค. 2. เช็คมีขีดคร่อม -เช็คปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน ให้แก่ธนาคารเท่านั้น (จ่ายเข้าบัญชี)
ประเภทของเช็คขีดคร่อมประเภทของเช็คขีดคร่อม 2.1 เช็คขีดคร่อมทั่วไป -เช็คปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค โดยระหว่างเส้น ไม่ปรากฏชื่อของธนาคารหนึ่งธนาคารใด -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน ให้แก่ธนาคารเท่านั้น (จ่ายเข้าบัญชี) แต่จะเป็นธนาคารใดก็ได้
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร กสิกร จ่าย เข้าบัญชี ธนาคารกสิกร ยื่น เบิกเงินสด ก ค. ค. มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกร