100 likes | 298 Views
ชื่อเรื่องวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อคลิปวีดีโอเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก สำหรับนักศึกษาสาขางานยานยนต์ ชื่อผู้วิจัย สถาพร คุณยศยิ่ง หน่วยงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
E N D
ชื่อเรื่องวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อคลิปวีดีโอเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก สำหรับนักศึกษาสาขางานยานยนต์ ชื่อผู้วิจัย สถาพร คุณยศยิ่ง หน่วยงานวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารโดยอาศัยรูปแบบและวิธีการต่างๆกัน ดังนั้นการเรียนการสอนเพื่อก่อเกิดความรู้ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วมีความทันสมัย การเรียนการสอนที่ต้องอาศัยเนื้อหาในการทำการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และยังต้องอาศัยการเห็นภาพ หรือเสียง ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในรายละเอียดและเนื้อหาที่ได้เรียนอยู่ ซึ่งในวิชากลศาสตร์ของไหล เป็นวิชาที่ว่าด้วยการนำรายละเอียดของความดันของของไหลมาทำการศึกษา เพื่อจะทำการวิเคราะห์ค่าต่างๆที่เกิดขึ้นในการนำไปใช้งาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการเรียนการสอน นอกจากจะศึกษาเนื้อหาจากเอกสารเรียน นักศึกษายังเข้าใจโครงสร้างเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดเพื่อให้นำมาใช้ จึงต้องมีการสร้างสื่อภาพและเสียงเพื่อให้นักศึกษาเห็นจากของจริงและเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและตรงจุด จากการสอนวิชากลศาสตร์ของไหล ตามแผนการสอนในหน่วย เรื่อง ของไหลสถิตเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก พบว่านักศึกษาต้องเห็นภาพการเกิดลักษณะความลึกที่เกิดความดัน ก่อนถึงจะมีความเข้าใจในการทำการหาค่าความลึกของของไหลในแต่ลักษณะ ซึ่งผู้สอนต้องมีการอธิบายเป็นลักษณะของเนื้อหาประกอบการวาดภาพ
ดังนั้นในการสอนวิชากลศาสตร์ของไหล ตามแผนการสอนในหน่วย เรื่อง ของไหลสถิตเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก จึงแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 ห้อง โดยการนำการใช้อุปกรณ์ฉายภาพ(โปรเจคเตอร์) พร้อมรูปและวีดีโอการทำงานของเรื่องความดันของไหลสถิต มาให้นักศึกษาได้ชมและศึกษาการทำงานจากวีดีโอ และอีกห้องใช้การสอนตามแผนการสอนที่กำหนดซึ่งเป็นการอธิบายเป็นลักษณะของเนื้อหาประกอบการวาดภาพ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการใช้สื่อการสอนวีดีโอในรายวิชากลศาสตร์ของไหล ตามแผนการสอนในหน่วยที่ เรื่อง ของไหลสถิตเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของการเรียน จะช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนงานและทำให้เกิดความเข้าใจจากการเห็นอุปกรณ์การทำงานของจริง รู้จักตำแหน่งของความดันของของไหลเพื่อนำไปใช้ในการหาค่าตามเนื้อหา และสร้างทักษะในกระบวนการคิดได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สื่อคลิปวีดีโอในการเรียนการสอนรายวิชา วิชากลศาสตร์ของไหล ตามแผนการสอนในหน่วย เรื่อง ของไหลสถิตเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.1 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล1. สื่อวีดีโอช่วยสอน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน(Pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) ที่มีต่อการใช้สื่อคลิปวีดีโฮช่วยสอนเรื่อง การเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก3. แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้สื่อคลิปวีดีโอช่วยสอน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก
การรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการกำหนดขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 1.เตรียมกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขางานยานยนต์ ห้อง (ชย.4501-ชย.4502) จำนวน 44 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา กลศาสตร์ของไหล ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 2.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) 3.หลังจากนั้นดำเนินการกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดีโอช่วยสอน 4.นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) 5.เก็บรวบรวมข้อมูลของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ทางสถิติ 6.เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนด้วยสื่อวีดีโอช่วยสอน และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติ
สถิติที่ใช้ในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean, X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation SD) และระดับความคิดเห็น 5 ระดับ ผู้วิจัยได้กำหนดการแปลระดับความคิดเห็นนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดีโอช่วยสอน จากคะแนนเฉลี่ยเป็น 5 ระดับ ดังนี้ • 1.00-1.49 หมายถึง มีความคิดเห็นในระดับควรปรับปรุง • 1.50-2.49 หมายถึง มีความคิดเห็นในระดับพอใช้ • 2.50-3.49 หมายถึง มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง • 3.50-4.49 หมายถึง มีความคิดเห็นในระดับดี • 4.50-5.00 หมายถึง มีความคิดเห็นในระดับดีมาก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์หาความแตกต่างทางสถิติ ของการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และการทดสอบหลัง เรียน (Post-test) เรื่อง การเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึก โดยอาศัยการแจกแจงของค่า T-Test แบบ Dependent คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ** ค่า t มีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 (ค่าวิกฤตของ t ที่ระดับ .01, df44= 2.70)จากตาราง แสดงให้เห็นว่าค่า t ที่ได้จากการคำนวณ ( t = 6.5 ) มีค่ามากกว่าค่า t จากตารางวิกฤต ( t = 2.70 ) และเป็นกรณีหางเดียว นั่นคือคะแนนของนักศึกษาที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่ามากกว่าแบบทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า สื่อคลิปวีดีโอช่วยสอนวิชากลศาสตร์ของไหลเรื่องการเปลี่ยนแปลงความดันตามระดับความลึกสำหรับรายวิชา กลศาสตร์ของไหล ทำให้นักศึกษามีความก้าวหน้าในการเรียนที่เพิ่มขึ้นจริงมีความเชื่อมั่น 99เปอร์เซ็นต์
สรุปผลการวิจัย 1.สื่อคลิปวีดีโอ จะมีลักษณะของการนำเสนอในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย แสดงทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน สอดแทรกสาระความรู้ เข้าใจง่าย ทำให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้ใฝ่เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนในเนื้อหาอื่นๆ 2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนของนักศึกษาทั้ง 44 คนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 5.5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 27.5 ส่วนคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 14.6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73 สำหรับคะแนนความก้าวหน้า พบว่า นักศึกษามีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิมโดยมีคะเฉลี่ยเท่ากับ 9.1 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.5 แสดงว่าสื่อวีดีโอช่วยสอนนี้ สามารถทำให้นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 3. การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อวีดีโอช่วยสอน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ พบว่า ความคิดเห็นในด้านเนื้อหา โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.64 ด้านภาพเคลื่อนไหวโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65 และด้านการนำเสนอสื่อวีดีโอช่วยสอน โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60