390 likes | 770 Views
บทที่ 1 แนวคิด ความสำคัญของงานวิจัย และจรรยาบรรณในการทำวิจัย. วิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข ผู้สอน : อาจารย์ กุลชญา ลอยหา และ อาจารย์ภัทรภร เจริญบุตร. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
บทที่ 1แนวคิด ความสำคัญของงานวิจัย และจรรยาบรรณในการทำวิจัย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข ผู้สอน: อาจารย์กุลชญา ลอยหา และ อาจารย์ภัทรภร เจริญบุตร
คำอธิบายรายวิชา • ระเบียบวิธีวิจัย ขอบเขตการวิจัยทางสาธารณสุข การวางแผนการวิจัย กระบวนการวิจัยทางสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่างการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานสาธารณสุข
แนวคิดรวบยอด • การวิจัย หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า หาข้อเท็จจริง ในปัญหาที่ต้องการคำตอบ ภายใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการหาความรู้อย่างเป็นระบบด้วยวิธีเชื่อถือได้ • จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยควรประพฤติในการดำเนินการวิจัยซึ่งประกอบด้วย การเคารพสิทธิของผู้ถูกวิจัย และความซื่อสัตย์ในการดำเนินการวิจัย
ความหมายของคำว่า “วิจัย” (Research) • re·search/ˈrēˌsərCH/ • Noun: The systematic investigation into and study of materials and sources in order to establish facts and reach new conclusions. Verb: Investigate systematically. • Synonyms: noun. investigation - exploration - search - study - inquiry • verb. explore - investigate - search - study - inquire
การวิจัย • คำว่า “การวิจัย” มีความหมายว่า RESEARCH • - ค.ศ. 1966 เวบสเตอร์ ให้ความหมายว่า 1) การสอบสวน หรือตรวจตราความรู้ในแขนงใดแขนงหนึ่งอย่างกว้างขวาง 2) การค้นหาความจริงอย่างต่อเนื่อง และอุตสาหะ • - พ.ศ. 2524 ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน มีความหมายว่า 1) การสะสม และรวบรวม 2) การค้น การตรวจตรา การสอบสวน • เมื่อรวมทั้ง 2 ความหมายแล้ว หมายถึง การสอบสวน ตรวจตรา และการค้นหา
นิยามเกี่ยวกับการวิจัย ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ • การวิจัย* หมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยอาศัย อุปกรณ์ หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฏี หรือแนวทางในการปฏิบัติ
การวิจัย : เป็นการหาความรู้อย่างเป็นระบบด้วยวิธีเชื่อถือได้ ลักษณะของงานที่ถือว่าเป็นการวิจัย ควรจะประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ ดังนี้
ใช่ หรือ ไม่ใช่งานวิจัย ??? • งานวิจัยล่าสุดเตือน.. ! ระวังภัย ได้มีการวิจัยและพบข้อมูลที่น่าตื่นตระหนก เกี่ยวกับข้าวที่เรากินอยู่ทุกวัน สมควรที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้ทราบโดยทั่วกัน...ดังนี้ • เยาวชนไทยร้อยละ 50 ซึ่งเติบโตมาในครอบครัวที่กินข้าววันละ 3 มื้อ มีผลการเรียนรู้ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกึ่งกลางในชั้นเรียน • ข้าวเป็นพาหะนำสารอื่นๆที่อันตรายมากเข้าสู่ร่างกาย เช่น ขาหมู เนื้อย่าง แกงส้มไข่เจียว และอื่นๆ (หิววววววว) • - ประชาชนที่กินข้าวติดต่อกัน เป็นเวลานานๆ จะขาดความสามารถในการแยกแยะว่างานวิจัยชิ้นใด...น่าเชื่อถือ งานวิจัยชิ้นใด...ไร้สาระ หลอกหลวงประชาชน Source: www.dek-d.com/board/view.php?id=1182516
ตัวอย่างงานวิจัย (คิดได้ไง) • สาขาสาธารณสุข : มานูเอลบาร์ไบโต, ชาร์ลส์แมธิวส์ และลาร์รี เทย์เลอร์ พวกเขาพบว่า พวกจุลชีพในห้องแล็บต่างปีนป่ายเข้าไปซุกซ่อนตามหนวดของนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนักวิทย์ที่ไว้หนวดระวังอันตรายจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ด้วยREFERENCE: "Microbiological Laboratory Hazard of Bearded Men," Manuel S. Barbeito, Charles T. Mathews, and Larry A. Taylor, Applied Microbiology, vol. 15, no. 4, July 1967, pp. 899-906.
REFERENCE: "Microbiological Laboratory Hazard of Bearded Men," Manuel S. Barbeito, Charles T. Mathews, and Larry A. Taylor, Applied Microbiology, vol. 15, no. 4, July 1967, pp. 899-906.
งานวิจัยคิดได้ไง • สาขาการแพทย์ : ไซมอน รีตเวล์ด และ อิลยา ฟาน บีสต์ ที่สังเกตอาการของผู้ป่วยหอบหืดที่เล่นรถไฟเหาะตีลังกาREFERENCE: "Rollercoaster Asthma: When Positive Emotional Stress Interferes with Dyspnea Perception," Simon Rietveld and Ilja van Beest, Behaviour Research and Therapy, vol. 4 5, 2006, pp. 977-87.
The 2010 Ig Nobel Prizes • ก่อนสัปดาห์ประกาศผลโนเบล อันเป็นรางวัลเกียรติยศระดับโลกแห่งวงวิชาการ จะต้องมี "อิกโนเบล" ออกมาตัดหน้าสร้างสีสันก่อนเสมอ โดย "อิกโนเบลประจำปี 2010" (the 2010 Ig Nobel Prizes) จัดขึ้นไปแล้ว ณ แซนเดอร์สเธียเตอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา * การมอบรางวัลครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 20 แล้ว โดยมีงานวิจัยที่ได้รับการเสนอชื่อถึง 7,000 ชิ้น แต่สุดท้ายคัดเหลือเพียงแค่ 10 สาขาเท่านั้น ซึ่งมอบให้นักวิจัยอาชีพ และที่ไม่ใช่นักวิจัย แต่บังเอิญสร้างองค์ความรู้อันแสนน่ารักให้แก่ชาวโลก * แม้ว่างานวิจัยเหล่านี้จะฟังดูขำๆ เพี้ยนๆ แต่รายงานการค้นพบหรือพิสูจน์ต่างๆ ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนวิธีวิจัย และมีการตีพิมพ์จริงตามวารสารวิทยาศาสตร์ • ข้อมูลจาก เว็บบล็อก OKnation เรื่อง "อิกโนเบล 2010" งานวิจัยคิดได้ไง Posted by ติวเตอร์ออนไลน์ เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 มิถุนายน 2555
ประโยชน์และความสำคัญของการวิจัยประโยชน์และความสำคัญของการวิจัย • สร้างและทดสอบทฤษฏี • การวิจัยทำให้ได้ความรู้ใหม่เพื่อสร้างทฤษฎีใหม่หรือเพื่อเป็นการตรวจสอบยืนยันทฤษฎีเดิมที่มีอยู่แล้ว 2. ประโยชน์ทางการนำไปใช้ในการแก้ปัญหา • การวิจัยช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด • สามารถนำความรู้ที่ได้ไป ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์กรหรือสังคมต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมยุติธรรม
3. ประโยชน์ทางการพัฒนา • การวิจัยช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทั้งที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ • รูปแบบ วิธีการต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานหรือการทำกิจกรรมใด ๆ 4. ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย • การวิจัยนำมาซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อถือได้สามารถนำไปใช้สำหรับการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่างๆได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงขององค์กรและสังคม
5 ประโยชน์ในการประเมินผลงาน/โครงการ • กระบวนการวิจัยช่วยให้ได้ข้อมูลที่ดีในการตัดสินใจผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน ได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือเพื่อตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
จรรยาบรรณนักวิจัย • นักวิจัย (Researcher) หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดย มีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • จรรยาบรรณ (Code of Conduct) หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมใน การประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณนักวิจัย (ต่อ) • จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การ ดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสามศักดิศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย : แนวทางปฏิบัติ ข้อ 1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ • นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุน วิจัยและมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
ข้อ 2 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด • นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศ เวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุดและเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ
ข้อ 3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย • นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอและมีความรู้ความชำนาญหรือ มีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการ วิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย
ข้อ 4 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต • นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 5 นักวิจัยต้องเคารพศักดิศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย • นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิศรีของเพื่อน ์มนุษย์ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่ หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ข้อ 6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย • นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจ ส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
ข้อ 7 นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ • นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกิดความ เป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปในทางมิชอบ
ข้อ 8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น • นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัยยอมรับฟังความคิดเห็นและ เหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
ข้อ 9 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ • นักวิจัยมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความ เจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ
MMR การโกงครั้งใหญ่ในวงการวิจัย • เป็นเรื่องราวของการทำ investigative journalism จับทุจริตของหมอที่เป็นนักวิจัยต้มตุ๋นคนทั่วโลก คือ Andrew Wakefieldที่รายงานว่า MMR (Mump, Measles, Rubella) vaccine ทำให้เกิดผลข้างเคียง คือเกี่ยวข้องกับการเกิด autism และลำไส้อักเสบ • คนที่เป็นผู้ทำวิจัยแบบ investigative journalism จับการโกงทางวิชาการโดยการยกเมฆ กุข้อมูลขึ้นมาเอง คือ Brian Deer • ผลของการทุจริตนี้ก่อความเสียหายแก่โลกมาก และ Andrew Wakefield ก็ได้รับโทษรุนแรงมาก คือหมดอนาคตการเป็นหมอและนักวิจัย
“การวิจัยจะรุ่งเรืองมิได้ ถ้าสังคมไทยไม่ให้คุณค่าและเคารพต่อความคิดริเริ่ม ต้องไม่มีการล่วงละเมิด ลอกเลียน หรืออ้างว่าเป็นของตน” • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Assignment 1 • ให้นักศึกษาอ่านเรื่องราวของ Andrew Wakefieldที่รายงานว่า MMR (Mump, Measles, Rubella) vaccine ทำให้เกิดผลข้างเคียง คือเกี่ยวข้องกับการเกิด autism และลำไส้อักเสบ จากเว็บไซต์ http://www.oknation.net/blog/mor-maew/2012/05/28/entry-1 เรื่อง ทฤษฎีสมคบคิด : เมื่อวัคซีนทำให้เด็กเป็นออทิสติก -=Byหมอแมว=- วันจันทร์ ที่ 28 พฤษภาคม 2555 • หลังจากอ่านให้เขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับจรรยาบรรณนักวิจัย จากเรื่องราวของอดีตนายแพทย์แอนดริว เวคฟีลด์
ข้อมูลอ้างอิง 1. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการกลุ่มภารกิจ ด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติคู่มือการเขียนรายงานการวิจัย http://www.riclib.nrct.go.th/link/info/researchwrite.pdf . Accessed date: 20 พ.ค.2555 2.พิสณุ ฟองศรี. การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ ข้อบกพร่องที่สำคัญ: แนวทางปรับปรุง. ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย. เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=572 . วันที่สืบค้น: 20 พ.ค.2555 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. คู่มือปฏิบัติงานวิจัยเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัย. เข้าถึงได้จากเว็บไซต์ http://www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/uploads/2011/08/sim3.pdf วันที่สืบค้น: 20 พ.ค.2555 4. เรณาพงษ.เรืองพันธุ์ และประสิทธิ์ พงษ์เรืองพันธุ์. การวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). 2549.