300 likes | 524 Views
BC 427: การเรียนครั้งที่ 5. โดย อ.เพ็ญจิรา คันธวงศ์. แผนการสอนสำหรับการเรียนครั้งที่ 5. ทบทวนเนื้อหาในการเรียนครั้งที่ 4 แจ้งเรื่องการขยายเวลาส่งงานกลุ่มแบบสมบูรณ์ แจ้งเรื่องเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบปฎิบัติ Time Value Of Money (ต่อ).
E N D
BC 427: การเรียนครั้งที่ 5 โดย อ.เพ็ญจิรา คันธวงศ์
แผนการสอนสำหรับการเรียนครั้งที่ 5 • ทบทวนเนื้อหาในการเรียนครั้งที่ 4 • แจ้งเรื่องการขยายเวลาส่งงานกลุ่มแบบสมบูรณ์ • แจ้งเรื่องเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบปฎิบัติ • Time Value Of Money (ต่อ)
แจ้งเรื่องการเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบในการเรียนครั้งที่ 7 • นำแผ่นดิสก์เปล่า 1 แผ่น Format แล้ว ปลอดไวรัส เขียนชื่อ - นามสกุล เลขที่ในห้อง เลขที่ Section คำอธิบาย Section ของตัวเองลงบนแผ่นก่อนเข้าห้องสอบให้พร้อมไม่อนุญาตให้ยืมเพื่อน • อนุญาตให้นำกระดาษจด (Cheat Note) เข้ามาดูได้เพียง 1 แผ่น (หน้าหลัง) เท่านั้นด้วยกระดาษขนาด A4 ส่วนสมุดจด หรือ Sheet อื่นๆ ไม่อนุญาตเด็ดขาด
หากมีการ copy file กัน ดูกัน ปรึกษากัน ยืมแผ่นดิกส์กัน คุยกัน หรือ ผิดกติกาอื่นใดๆ จะมีการหักคะแนนครั้งละ 3 คะแนน • คะแนนเต็มสำหรับการสอบปฏิบัติ คือ 20 คะแนน สอบเนื้อหาตั้งแต่การเรียนครั้งที่ 1 ถึง การเรียนครั้งที่ 6 ในส่วนของภาคปฏิบัติ
Time Value Of Money (ทบทวน และ ต่อ) 1. Single Sum • FV, PV, Rate 3. Annuity • FV Annuity, PV Annuity • Intrayear Compounding • Nper 2. Mixed Cashflow Stream
NPER • การคำนวณ เพื่อหาจำนวนงวด หรือ Number of periods ในเรื่อง Time Value of Money • คำถาม: นักศึกษาต้องการซื้อบ้านในราคา 1,000,000 บ. โดยชำระเงินดาวน์ 15% ส่วนที่เหลือผ่อนชำระทุกสิ้นเดือน เดือนละ 50,000 บ. อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี นักศึกษาจะต้องผ่อนชำระทั้งสิ้นกี่งวด และกี่ปี
การหา NPER ทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน =NPER(rate,payment,present value,future value,type) (ดู Class5_TVM(Cont) - “ต้องการบ้าน” และ “ต้องการบ้านInput”)
3. A Mixed Cashflow Stream • Present Value (PV) ของ a mixed cashflow คือ เงินสดที่มีจำนวนแตกต่างกัน โดยได้รับมาหรือจ่ายออกไป ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น คุณได้รับเงิน 1,000 บ.ใน 1 ปีจากตอนนี้ และได้รับอีก 2,000 บ.ในอีก 2 ปีข้างหน้า และ 3,000 บ. ในอีก 3 ปีข้างหน้า และอีก 4,000 บ.ในอีก 4 ปีข้างหน้า
ในการหา The Present Value of a Mixed Cashflow Stream เป็นสิ่งสำคัญเพราะบริษัทต่างๆ ใช้เทคนิคนี้ในการวิเคราะห์ว่า บริษัทได้กำไรจากการลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งหรือไม่ ทำได้โดยใช้สูตร =NPV(rate, inflow 1, inflow 2, …, inflow 29)
inflow = การชำระเงินหลายๆ งวด เมื่อจำนวนเงินแต่ละครั้งแตกต่างกัน NPV = มาจากคำว่า Net Present Value = มูลค่าสุทธิ ณ ปัจจุบัน คำถามคุณได้รับเงิน 1,000 บ.ใน 1 ปีจากตอนนี้ และได้รับอีก 2,000 บ.ในอีก 2 ปีข้างหน้า และ 3,000 บ. ในอีก 3 ปีข้างหน้า และอีก 4,000 บ.ในอีก 4 ปีข้างหน้า ถ้าอัตราผลตอบแทนในขณะนั้นคือ 10% อยากทราบว่า
เงินดังกล่าวจะมีมูลค่าเท่าใดในเวลาปัจจุบัน (ดู Class5_TVM(Cont) “NPV ได้เงิน” และ “NPV ได้เงิน Input”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินรายงวดนั้น จะมีมูลค่าเป็น 7,547.98 บ. ณ เวลาปัจจุบัน คำถาม คุณกำลังวางโครงการที่จะลงทุน ซึ่งคาดว่าในสิ้นปีแรกจะต้องเสียเงิน 55,000 บ. และสิ้นปีต่อมาได้
ได้เงิน 95,000 บ. ตามด้วย 140,000 บ. และ 185,000 ณ สิ้นปีที่สอง สามและสี่ นอกจากนั้น คุณจะต้องลงทุนเป็นเงิน 250,000 บ. โดยจ่ายในตอนต้นปีที่ 1 และค่าอัตราผลตอบแทนเป็น 12% สำหรับการประเมินผลการลงทุนนี้ อยากทราบว่า ณ เวลาปัจจุบัน มูลค่าของเงินดังกล่าวเป็นเท่าไร (ดู Class5_TVM(Cont) - “NPVลงทุน” และ “NPVลงทุนInput”)
ผลลัพธ์ที่ได้คือ การลงทุนดังกล่าว จะมีมูลค่าจะติดลบ (ขาดทุน) เป็นเงิน6,153.65 บ. ณ เวลาปัจจุบัน แสดงว่า คุณจะไม่ได้รับกำไรจากการลงทุนในครั้งนี้ • สำหรับ inflow สามารถมีได้มากถึง 29 ตัว (แต่จริงๆ แล้วจำนวนนี้จะมีมากเท่าไรก็ได้ เมื่อนำเรื่องค่าอาร์เรย์ มาเป็นอาร์กิวเมนต์ในสูตร - ดูข้อมูลเพิ่มเติม “คู่มือการใช้งาน Microsoft Excel สำหรับ Window 95 หน้า 226”)
NPV แตกต่างจาก PV ใน 2 แง่หลักๆ คือ 1. การหา PV ใช้ PV = จำนวนเงินเพียงก้อนเดียว ที่รับหรือจ่าย ณ เวลาปัจจุบัน หรือ payment = จำนวนเงินหลายๆ จำนวน ที่รับหรือจ่ายในจำนวนที่เท่ากัน และระยะเวลาในการจ่ายก็เท่ากันด้วย แต่ NPV ใช้ inflow = จำนวนเงินหลายๆ จำนวน ที่รับหรือจ่ายในจำนวนที่แตกต่างกัน
2. การหา PV อนุญาตให้การจ่ายและการรับเกิดขึ้นที่ตอนต้นงวดหรือสิ้นงวดได้ โดยระบุได้ที่ค่า Argument “type” ว่าจะเป็น “0 = ที่ตอนสิ้นสุดของงวด” หรือ ว่าจะเป็น “1 = ที่ตอนเริ่มต้นของงวด” แต่ NPV ไม่มีการให้ระบุค่า “type” ดังนั้น เมื่อใช้ฟังก์ชัน NPV จะถือว่าการจ่ายและ การรับทั้งหมดต้องเกิดขึ้นที่ตอนสิ้นสุดของงวด
ถ้ามีจำนวนค่าใช้จ่าย ที่เป็นหนึ่งในอาร์กิวเมนต์ inflow ของฟังก์ชันต้องชำระตอนต้นงวดของงวดแรก ผู้ใช้ฟังก์ชัน NPV ไม่ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนั้นเป็น inflow ตัวหนึ่งของฟังก์ชัน หรือ ไม่ควรรวมอยู่ใน Argument ของฟังก์ชัน ดังนี้ =NPV(12%, -250000 ,-55000,95000, 140000,185000) -------> ผิด...สำหรับโจทย์ข้างต้น แต่ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนี้ นอกวงเล็บแทน =NPV(12%,-55000,95000,140000, 185000) -250000 -------> ถูก
ในทางตรงกันข้าม ถ้าค่าใช้จ่ายนี้จะต้องจ่ายออกไปตอนสิ้นสุดของงวดแรก ผู้ใช้ฟังก์ชัน NPV ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนี้เป็นลบ โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของอาร์กิวเมนต์ inflow ตัวแรก เช่น ถ้าเปลี่ยนโจทย์ในคำถามที่กล่าวมาแล้ว เป็น …คุณจะต้องลงทุนเป็นเงิน 250,000 บ. โดยจ่ายในตอนสิ้นปีที่ 1 ….. จะได้ฟังก์ชัน ดังนี้ =NPV(12%,(-250000-55000),95000, 140000,185000) -------> ถูก...สำหรับโจทย์ที่แก้แล้ว
PRESENT VALUE OF A GROWING ANNUITY • ในการหา Present Value ของ a growing(เพิ่มขึ้น) annuity(เงินเป็นงวดๆ) จะใช้ฟังก์ชัน NPV คำถาม คุณถูกรางวัลล็อตเตอรี่โดยคุณจะได้รับเงินเป็นจำนวน 100,000 บ. ทุกปี ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง ปีที่ 4 และจะได้รับอีก 200,000 บ. ในปีที่ 5 ถึงปีที่ 7 หากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 9% อยากทราบว่า เงินดังกล่าวนี้มีมูลค่าเท่าใดสำหรับคุณ ณ เวลาปัจจุบัน
(ดู Class5_TVM(Cont) - “ล็อตเตอรี่” และ “ล็อตเตอรี่Input”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ การถูกล็อตเตอรี่ดังกล่าว จะมีมูลค่าเท่ากับ 682,618.58 บ. ณ เวลาปัจจุบัน
LOAN PAYMENT และ การใช้ฟังก์ชัน PMT • ในการคำนวณ Loan (เงินกู้) Payment นี้ คือ การหาจำนวนของ Annuity (เงินเป็นงวดๆ) • ในการคำนวณหาจำนวน Loan นี้ จะเกี่ยวข้องกับการนำเงินกู้ออกมา ณ เวลาปัจจุบัน และ มีความประสงค์จะจ่ายคืนออกไปด้วยจำนวนเงินหลายๆ จำนวนที่เท่ากันในภายหลัง
คำถาม ในสิ้นปี 1992 บริษัทฟิลม์สีโกดักมีเงินกู้ระยะยาวอยู่จำนวน 7,202,000 บ. หากเราคาดการณ์ว่าเงินกู้ดังกล่าวนี้มีอัตราดอกเบี้ย 9% สำหรับการจ่ายเงินจำนวนนี้คืนในระยะเวลา 10 ปี อยากทราบว่า บริษัทฟิลม์สีโกดักต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละเท่าใด
การใช้ฟังก์ชัน PMT • ฟังก์ชัน PMT จะคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องชำระต่องวด เพื่อจ่ายเงินกู้ตามระยะเวลาหนึ่ง ฟังก์ชันนี้มีรูปแบบเป็น =PMT(rate,number of periods,present value, future value, type) การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - โกดักInput)
ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินกู้ดังกล่าว บริษัทฟิลม์สีโกดักจะต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละ 1,122,216.29 บ. (ผลลัพธ์ติดลบเพราะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องจ่ายออกไป)
คำถาม สมมติว่า คุณต้องจ่ายคืน เงินกู้ ซื้อบ้านจำนวน 100,000 บ. โดยมีระยะเวลาที่ต้องใช้คืน 25 ปี สมมติว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 8% แล้วคุณจะต้องชำระเงินต่อเดือนเท่าไร
การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - กู้เงินผ่อนบ้านInput) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินกู้ดังกล่าว คุณจะต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละ 771.82 บ. (ผลลัพธ์ติดลบเพราะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องเสีย)
Amortization Schedule • นอกจากนั้น เรายังสามารถนำข้อมูลจากโจทย์ข้างต้น ไปสร้าง Amortization (การตั้งทุนชำระหนี้) Schedule (ตาราง) • Amortization Schedule มีจะข้อมูลเกี่ยวกับ มูลค่าของ “ดอกเบี้ย” และ มูลค่าของ “เงินต้น” ที่ผู้กู้เงินจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ • บริษัทจำต้องจำแนก “ดอกเบี้ย” เงินกู้ที่บริษัทกู้มา เพราะ
“ดอกเบี้ย” ของเงินกู้ ดังกล่าว สามารถนำไปลดภาษีของบริษัทได้ • นอกจากนั้น มูลค่า “ดอกเบี้ย” ของเงินกู้ ในระยะแรก จะมีมูลค่าสูง แต่มูลค่า “เงินต้น” ของเงินกู้ ในระยะแรก จะมีมูลค่าต่ำ
ในทางตรงกันข้าม ในระยะหลังๆ ของการจ่ายเงินกู้ มูลค่า “ดอกเบี้ย” เงินกู้จะมีมูลค่าต่ำ แต่มูลค่า “เงินต้น” เงินกู้จะมีมูลค่าสูง • จากคำถาม ฟิลม์สีโกดัก…..
คำถาม ในสิ้นปี 1992 บริษัทฟิลม์สีโกดักมีเงินกู้ระยะยาวอยู่จำนวน 7,202,000 บ. หากเราคาดการณ์ว่าเงินกู้ดังกล่าวนี้มีอัตราดอกเบี้ย 9% สำหรับการจ่ายเงินจำนวนนี้คืนในระยะเวลา 10 ปี อยากทราบว่า บริษัทฟิลม์สีโกดักต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละเท่าใด จากข้อมูลข้างต้น ให้สร้าง Amortization Schedule ของบริษัทฟิลม์สีโกดัก
การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - AmortInput)