320 likes | 335 Views
ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย ในการจัดการกับการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ. LAW. SLAPP. Strategic Lawsuit against Public Participation. การดำเนินคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ. เนื้อหาการนำเสนอ. นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs. 01. 0 2. 0 3.
E N D
ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย ในการจัดการกับการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ LAW SLAPP Strategic Lawsuit against Public Participation การดำเนินคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ
เนื้อหาการนำเสนอ นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs 01 02 03 04 05 สถานการณ์ SLAPPs ในประเทศไทย กลไกทางกฎหมายในการจัดการ SLAPPs ในประเทศไทย บทสรุปและข้อเสนอแนะ หลักการและแนวทางในการจัดการกับคดี SLAPPs
SLAPP 01 นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs
นิยามความหมาย • SLAPPs = Strategic Lawsuit against Public Participation = การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ • SLAPPs ได้รับการศึกษาจริงจังโดย Penelope Cananและ George Pring • SLAPPs เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ(Judicial Harassment) โดยเป็นการมุ่งคุกคามเฉพาะเจาะจงที่การมีส่วนร่วมสาธารณะหรือการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชน • การฟ้องคดี SLAPPs เป็นไปเพื่อข่มขู่ มุ่งตอบโต้ หรือฟ้องเพื่อหยุดลงโทษการพูด หรือต่อต้านกิจกรรมทางการเมือง
การฟ้องคดี SLAPPs จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงใน 3 เรื่องสำคัญ • การแปลงข้อพิพาท (Dispute Transformation) • การแปลงเวทีการต่อสู้ (Forum Transformation) • การแปลงประเด็น (Issue Transformation) • ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย • เวทีของกระบวนการยุติธรรมหรือศาล • ความเสียหายต่อส่วนตัวของผู้ฟ้องคดี • ข้อโต้แย้งทางการเมือง • เวทีสาธารณะ • ความเสียหายต่อสาธารณะ VS
เกณฑ์การพิจารณาคดีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs เดิม CananและPringได้ใช้หลักเกณฑ์ 4 ประการ เพื่อจำแนกกรณีศึกษาในงานวิจัยของพวกเขา เป็นการฟ้องคดีแพ่ง รวมถึงการฟ้องแย้ง หรือการร้องสอด เป็นการฟ้องต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนอกภาครัฐ (NGOs) • จากการสื่อสารที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อการดำเนินการหรือผลลัพธ์ทางรัฐบาล (government action or outcome) เกี่ยวกับสาธารณะหรือประเด็นที่มีความสำคัญทางสังคม Note : ปัจจุบัน คดี SLAPPs ได้ขยายขอบเขตคลุมลักษณะของคดีประเภทอื่นนอกจากคดีแพ่ง รวมถึงฟ้องต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดๆไม่เฉพาะแต่ NGOs เช่น ฟิลิปปินส์ กำหนดให้คดี “SLAPPs” ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีทางแพ่ง อาญา และปกครอง และครอบคลุการฟ้องบุคคลหรือหน่วยงใดๆที่สังหักหน่วยงานรัฐด้วยเป็นต้น
เกณฑ์การพิจารณาคดีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs ในรายงานชิ้นนี้จึงกำหนดนิยามของ SLAPPs ว่าคือ การฟ้องคดีเพื่อคุกคามการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ หรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ เป็นการฟ้องคดีแพ่ง การแจ้งความหรือฟ้องอาญา ฟ้องคดีปกครอง เป็นการฟ้องต่อบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สมาคม หรือหน่วยงานใดๆ • จากการการใช้สิทธิหรือสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (การใช้เสรีภาพในการพูด การแสดงออก หรือเสรีภาพสื่อ หรือสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ หรือสิทธิในการร้องเรียนต่อรัฐบาล) เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือประเด็นที่มีความสำคัญทางสังคม (สิ่งใดๆที่เกี่ยวข้องกับนัยสำคัญ เป็นประโยชน์ มีความสำคัญ หรือเกี่ยวกับสวัสดิภาพสาธารณะ สังคมหรือชุมชน )
ข้อแนะนำเพื่อการพิจารณาว่าคดีใดเป็น SLAPPs ผู้ฟ้องคดี SLAPPs จะไม่ระบุออกมาตรงๆว่าคดีที่ฟ้องนั้นเป็น SLAPPs จึงมีข้อแนะนำสำหรับการพิจารณาดังนี้ การกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นการกระทำที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่? ผู้ถูกฟ้องเป็นกลุ่มหรือประชาชนที่กระตือรือร้นทางการเมืองและการมีส่วนร่วมสาธารณะหรือไม่? • มีความพยายามใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางเศรษฐกิจหรืออำนาจรัฐกดดันผู้ถูกฟ้องหรือไม่? ผู้ฟ้องคดีมีประวัติการดำเนินคดีเพื่อข่มขู่นักวิจารณ์หรือนักเคลื่อนไหวหรือไม่? มีการเรียกร้องค่าเสียหายในจำนวนที่สูงเกินจริง ไม่ได้สัดส่วนกับความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นหรือไม่? ผู้ฟ้องไม่ได้ให้หลักฐานที่แท้จริงเพื่อแสดงว่าผู้ถูกฟ้องมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดใช่หรือไม่ ผู้ฟ้องคดีมีความพยายามประวิงคดีออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หรือไม่?
ความแตกต่างระหว่างคดี SLAPPs กับคดีทั่วไป • คดี SLAPPs มีลักษณะแตกต่างจากคดีสามัญทั่วไป เพราะผู้ฟ้องคดีไม่ได้ต้องการแสวงหาความยุติธรรม ไม่ได้คาดหวังถึงผลของคดี • แต่มีเป้าหมายเพื่อข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนแรงและหยุดวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านไป ด้วยการดูดทรัพยากร บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามใช้จ่ายเงินเพื่อต่อสู้คดี ลดทอนประสิทธิภาพในการทำงาน การทำกิจกรรม เวลา สร้างความกดดันทางอารมณ์และลดทอนกำลังใจ • คดี SLAPPs ไม่เพียงแต่หยุดยั้งการมีส่วนร่วมสาธารณะที่กำลังดำเนินอยู่เท่านั้น แต่ยังสร้างความกลัว ความท้อใจที่จะทำกิจกรรมหรือการมีส่วนร่วมสาธารณะในอนาคต • และขยายความหวาดกลัวและส่งข้อความแห่งการข่มขู่ต่อสังคมโดยรวม ซึ่งในระยะยาวย่อมส่งผลเสียต่อระบอบประชาธิปไตย
02 สถานการณ์ SLAPPs ในประเทศไทย
ภาพรวมของข้อมูลตามระยะเวลาภาพรวมของข้อมูลตามระยะเวลา • จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆและนำมาคัดกรองแล้ว (ไม่ได้แทนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด แต่คือข้อมูลที่ค้นพบ) นับแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน (31 พฤษภาคม 2562) พบกรณีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs อย่างน้อย 212 กรณี • ปี 2556 พบคดี SLAPPs มีจำนวนเพิ่มอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากข้อพิพาทกรณีเหมืองแร่ และกรณีอานดี้ ฮอลล์ • ปี 2557 คดีเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากกรณีข้อพิพาทเหมืองแร่ที่ยังดำเนินไป ประกอบกับเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
ภาพรวมข้อมูลตามประเภทคดีและการดำเนินคดีภาพรวมข้อมูลตามประเภทคดีและการดำเนินคดี • ในจำนวนกรณีที่รวบรวมไว้ 212 กรณี มี • คดีแพ่ง 9 กรณี • คดีแพ่งและอาญา 7 กรณี • คดีอาญา 196 กรณี • การยื่นฟ้องคดีต่อศาลเอง 59 กรณี • คดีแพ่ง 9 กรณี ทั้งหมดยื่นฟ้องโดยบริษัทเอกชน • คดีแพ่งและอาญา 7 กรณี ส่วนใหญ่ยื่นฟ้องโดยบริษัทเอกชน มีกรณีเดียวที่ฟ้องโดยเจ้าหน้าที่รัฐ • คดีอาญา 43 กรณี ส่วนใหญ่เป็นการฟ้องโดยบริษัทเอกชน รองลงมาเป็นบุคคลในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ เช่น ข้าราชการ บอร์ดรัฐวิสาหกิจ แพทย์ ฯลฯ โดยหน่วยงานรัฐ 2 กรณี และรัฐวิสาหกิจ 2 กรณี • ร้องทุกหรือกล่าวโทษ 153 กรณี • ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการตามรูปแบบของการดำเนินคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายโดยเฉพาะการกล่าวโทษโดย คสช. และ ปอท. นอกนั้นเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น กองทัพเรือ, หน่วยงานทหาร, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงาน กกต. ฯลฯ • มีการร้องทุกข์บริษัทเอกชน เพียง 11 กรณี บางกรณีร้องทุกข์ไว้ แต่สุดท้ายก็ใช้วิธีฟ้องเอง
ผู้ที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องคดีผู้ที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องคดี
ประเด็นที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีประเด็นที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี
การกระทำที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีการกระทำที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี
ความผิดทางกฎหมายที่ถูกนำมาฟ้องคดีความผิดทางกฎหมายที่ถูกนำมาฟ้องคดี สัดส่วนกฎหมายปกติกับกฎหมายเฉพาะกิจ กฎหมายปกติ
รูปแบบการสร้างภาระ • การฟ้องผู้เกี่ยวข้องในปริมาณมากๆไว้ก่อน • อุปสรรคจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การปล่อยชั่วคราว การสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรม • 05 • 04 • 03 • การกระจายความกลัวโดยการไล่ฟ้องผู้สนับสนุนด้วยข้อหาร้ายแรง • 02 • ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีในเขตอำนาจศาลที่ไกลจากภูมิลำเนาของจำเลย • 01 • มีการฟ้องจากเหตุการณ์เดียวกัน เป็นหลายคดี
03 หลักการและแนวทางในการจัดการกับคดี SLAPPs
กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับคดี SLAPPs สิทธิทางการเมือง สิทธิในชื่อเสียง/การเข้าถึงศาล VS ผู้ฟ้อง (เอกชน) ความมั่นคง ฯลฯ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน/ การร้องเรียน/การเข้าถึงศาล ผู้ถูกฟ้อง เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการร้องเรียน ร้องทุกข์ สิทธิชุมชน ประโยชน์สาธารณะ ผู้ฟ้อง (รัฐ) ความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน
กฎหมาย Anti - SLAPPs ในต่างประเทศ • ทำให้ข้อพิพาทย้ายจากศาลกลับมาสู่เวทีทางการเมืองหรือสาธารณะโดยเร็วที่สุด • ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิทางการเมืองกับสิทธิของบุคคลในการฟ้องร้องคดีโดยสุจริตเพื่อเยียวยาความเสียหายด้วย • ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย • เวทีของกระบวนการยุติธรรมหรือศาล • ความเสียหายต่อส่วนตัวของผู้ฟ้องคดี • ข้อโต้แย้งทางการเมือง • เวทีสาธารณะ • ความเสียหายต่อสาธารณะ VS
กฎหมาย Anti - SLAPPs ในต่างประเทศ • หลักเกณฑ์สำคัญของกฏหมายจะประกอบด้วย • ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมาย • การอนุญาตให้จำเลยมีช่องทางเฉพาะในการยื่นคำร้องเพื่อให้ยกฟ้องตั้งแต่เริ่มต้น (อาจจะเรียกว่า Motion to strike/a special motion to strike/motion to dismiss/) ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมาย • กำหนดให้ต้องมีการไต่สวนคำร้องอย่างเร่งด่วนการพักหรือจำกัดการพิจารณา การกำหนดกระบวนการไต่สวน การอุทธรณ์ ฯลฯ • กำหนดภาระการพิสูจน์และหลักเกณฑ์การพิสูจน์ของคู่กรณี • กำหนดการชดใช้และบทลงโทษสำหรับคู่กรณี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงค่าเสียหายเชิงลงโทษ • เรื่องอื่นๆอาทิ การกำหนดให้อัยการสูงสุดหรือหน่วยงานรัฐเข้าแทรกแซงช่วยเหลือคดีแก่ผู้ถูกฟ้อง การรายงานผลคดี กฎหมาย AntiSLAPP หรือมักเรียกว่ากฎหมายคุ้มครองการมีส่วนร่วมสาธารณะ (The Citizens Participation Act / The Public speech protection act/Protection of Public Participation Act) ถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันมี 32 มลรัฐที่มีกฎหมาย) ส่วนประเทศอื่นๆก็ได้แก่ แคนาดา(Quebec, ontario) และออสเตรเลีย (Australian Capital Territory) ในอาเซียนก็มีฟิลิปปินส์
04 กลไกทางกฎหมายในการจัดการ SLAPPs ในประเทศไทย
คดีอาญา • การต้องพิสูจน์และยกฟ้องคดีโดยรวดเร็ว ชั้นศาล ชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวน/พนักงานอัยการ ชั้นสั่งคดี พนักงานอัยการ • ชั้นการตรวจคำฟ้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161/1 มีข้อจำกัดไม่ใช้กับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจน • ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/2 มีข้อจำกัดไม่ใช้กับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ • กลั่นกรองสำนวน ตรวจสอบค้นหาความจริง สอบสวนเพิ่มเติม สั่งไม่ฟ้อง • สั่งไม่ฟ้องคดีอาญาเพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะฯ ตามพรบ.องค์กรอัยการฯ มาตรา 21 ประกอบระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ฯ • รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความผิดที่มีการกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง การชดใช้และการลงโทษ : คดีอาญาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องสั่งจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ ค่าเสียหาย รวมถึงมาตรการลงโทษอื่นแก่คู่กรณี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 “ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/2 “ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่จำเป็นและสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล”
คดีแพ่ง • การต้องพิสูจน์และยกฟ้องคดีโดยรวดเร็ว • ไม่มีกลไกที่ชัดเจน • การชดใช้และการลงโทษ • หากคู่ความฝ่ายใดแพ้คดี ศาลจะสั่งให้จ่ายค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดี หากโจทก์ชนะคดี จำเลยต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ หากจำเลยชนะคดี โจทก์จะต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลย • ค่าใช่จ่ายดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องเสียไปจากการดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าขาดประโยชน์จากการถูกดำเนินคดี ฯลฯ ซึ่งหากผู้ถูกฟ้องคดีต้องการที่จะให้โจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะต้องไปดำเนินคดีทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายต่างหาก
LAW LAW 05 บทสรุปและข้อเสนอแนะ SLAPP
สรุปและข้อสังเกตประการสำคัญสรุปและข้อสังเกตประการสำคัญ องค์กรหรือหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดี SLAPPs คดี SLAPPs ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นคดีอาญาและก่อให้เกิดภาระมากกว่าคดีแพ่ง • คดีส่วนใหญ่ (จากข้อมูลที่สำรวจพบ) เข้ามาทางช่องทางของพนักงานอัยการ
ข้อเสนอแนะ : แนวทางปฏิบัติคดีอาญา รัฐหรือหน่วยงานรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ควรยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะ 1 2 3 ชั้นสอบสวน ชั้นสั่งคดี ชั้นศาล • ควรกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้อำนาจตามมาตรา 161/1 • ควรใช้กลไกไต่สวนมูลฟ้องทั้งในคดีที่ราษฏรเป็นโจทก์และคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โดยเฉพาะหากมีการร้องขอจากผู้ต้องหาว่าคดีนั้นเข้าข่ายเป็นคดี SLAPPs • พนักงานอัยการ ควรพิจารณานำ พ.ร.บ. องค์กรอัยการฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 ประกอบระเบียบ อสส. ว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนฯ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 มาพิจารณาปรับใช้กับคดี SLAPPs ให้มากขึ้น • พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ควรร่วมกันตรวจสอบค้นหาความจริงและนำหลักการสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาพิจารณาประกอบ เพื่อกลั่นกรองและยุติคดีโดยเร็ว • ไม่เพิ่มภาระโดยไม่จำเป็นแก่ผู้ถูกฟ้อง กองทุนยุติธรรมควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคดี SLAPPs
ข้อเสนอแนะ : เชิงนิติบัญญัติ สารบัญญัติ • การแก้ไขกฎหมายหรือลดทอดความเป็นอาชญากรรมในความผิดบางเรื่อง อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ • ยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา • แก้ไขพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 • ทบทวนความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216 เป็นต้น
วิธีสบัญญัติ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายเพื่อประสิทธิภาพในการต่อต้าน SLAPPs โดยการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ หรือร่างกฎหมายใหม่ (แพ่งหรืออาญา) ควรนำแนวทางAnti SLAPPs มาพิจารณา ดังนี้ การชดใช้และการลงโทษ การไต่สวน คำร้อง ขอบเขตการคุ้มครอง ช่องทางยื่นคำร้องให้ยกฟ้อง ภาระการพิสูจน์ ควรให้การคุ้มครองในขอบเขตกว้าง ให้คุ้มครองการดำเนินคดีจากการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะทั้งหมด ควรกำหนดให้มีการไต่สวนอย่างเร่งด่วน หรือกำหนดกรอบเวลาในการไต่สวนคำร้องไว้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความล่าช้าในการดำเนินการการกำหนดเรื่องการพักหรือจำกัดการพิจารณา กระบวนการไต่สวน รวมทั้งการอุทธรณ์ ฯลฯ กำหนดภาระการพิสูจน์และหลักเกณฑ์การพิสูจน์ของคู่กรณีให้ชัดเจนว่าต้องพิสูจน์ถึงขนาดไหน ทั้งฝ่ายที่ยื่นคำร้อง (จำเลยในคดีหลัก) และฝ่ายที่ต้องตอบโต้คำร้อง (โจทก์ในคดีหลัก) กฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดให้สามารถยื่นคำร้องขอยุติการดำเนินคดีได้ จึงควรมีการกำหนดขั้นตอนนี้ในกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในคดีอาญาหรือคดีแพ่ง ทั้งนี้ ควรกำหนดกรอบเวลาในการยื่นคำร้องให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ควรกำหนดการชดใช้ให้แก่ผู้ถูกฟ้องเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความที่สมเหตุสมผล ค่าเสียหายและการลงโทษอื่นๆ เพื่อการยับยั้ง และควรกำหนดให้ชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ในกรณีที่ศาลปฏิเสธคำร้องและเห็นว่าคำขอยุติคดีไม่เหมาะสมหรือเพื่อประวิงเวลา
เรื่องอื่นๆ • การกำหนดกลไกช่วยเหลือ รวมถึงการให้พนักงานอัยการหรือหน่วยงานรัฐเข้าแทรกแซงช่วยเหลือคดีแก่ผู้ถูกฟ้อง • การรายงาน • ควรมีการกำหนดให้ในคดีที่ผู้ยื่นฟ้องเป็นผู้ทำสัญญากับรัฐบาล หากพิสูจน์และศาลยกฟ้องเพราะเป็นคดี SLAPPs แล้ว ควรให้มีการส่งคำวินิจฉัยของศาลไปยังหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่ทำธุรกิจผู้ทำสัญญากับรัฐบาลนั้นด้วย • ในคดีที่ฟ้องโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งศาลตัดสินว่าเป็น SLAPPs หน่วยงานของรัฐนั้นจะต้องรายงานผลการตัดสินต่อคณะรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร • ข้อเสนอเพิ่มเติมกรณีคดีอาญา • กำหนดบทบาทของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ โดยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและหรือพนักงานอัยการ เมื่อได้รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษใดๆ หรือในการดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีของบุคคลที่ถูกจับกุม พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการผู้ทำการสอบสวนมีหน้าที่พิจารณาโดยทันทีว่าการร้องทุกข์นั้นเป็น SLAPPs หรือไม่ หากพบว่ามีทำนองเดียวกับคดี SLAPPs ให้สั่งยุติคดีทันที • ควรมีการกำหนดสิทธิในการยื่นคำร้องให้ยุติคดีและขั้นตอนต่างๆในชั้นพนักงานอัยการให้ชัดเจนด้วย