350 likes | 504 Views
อุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์สื่อสาร การดูแลรักษา การป้องกัน และการแก้ปัญหาเบื้องต้น. Computer Basic. รายวิชา 080154 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Basic Computer). อุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์สื่อสาร การดูแลรักษา การป้องกัน และการแก้ปัญหาเบื้องต้น. เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นและใช้งาน ทั่วไป
E N D
อุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์สื่อสาร การดูแลรักษา การป้องกัน และการแก้ปัญหาเบื้องต้น Computer Basic รายวิชา 080154 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Basic Computer)
อุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์สื่อสาร การดูแลรักษา การป้องกัน และการแก้ปัญหาเบื้องต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นและใช้งานทั่วไป เมนบอร์ด ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ความรู้ทั่วไปในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นและใช้งานทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นและใช้งานทั่วไป • เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) • เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook computer, Laptop computer) • เครื่องแมคอินทอช (Macintosh)
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ • เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) เป็นชุดคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก คือ จอคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด เคส อุปกรณ์สำคัญถูกเก็บอยู่ในเคส เช่น เมนบอร์ด ซีพียู การ์ดจอ การ์ดเสียง แหล่งจ่ายไฟ(power supply) เป็นเครื่องคอมพิงเตอร์ที่พกพาไปไหนไม่ได้ แต่มีจุดเด่นที่สามารถกำหนดสเปคอุปกรณ์เองได้
เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค • เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook computer, Laptop computer) Notebook แปลว่า สมุดโน๊ตขนาดเท่าสมุด Laptop แปลว่า สิ่งที่วางลงบนตัก โดยรวมแล้ว หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติด ตัวพกพา เปิดใช้งานได้โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เน็ตบุ๊ค(Netbook) คือ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ตที่ติดตั้ง CPUความเร็วต่ำ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าโน๊ตบุ๊ค เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานที่เรียบง่าย พกพาสะดวก ใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน
เครื่องแมคอินทอช • เครื่องแมคอินทอช (Macintosh) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล(personal computer)ประเภทหนึ่ง มีทั้งแบบตั้งโต๊ะและโน๊ตบุ๊ค ถูกออกแบบและสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ใช้งานเป็นกลุ่มที่ไม่เน้นความซับซ้อน ใช้งานง่าย รูปแบบการใช้งานมีความเป็นมิตร กลุ่มที่นิยมใช้เป็นผู้ที่ทำงานในสายงานกราฟิก นักออกแบบ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถ่ายทอดสีสันกราฟิกบนหน้าจอ
เมนบอร์ด ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ แหล่งจ่ายไฟ (power supply) Expansion card เมนบอร์ด(main board) หน่วยประมวลผล (CPU)
เมนบอร์ด ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ พัดลม ที่เสียบสายไฟ ใช้ต่ออุปกรณ์ด้านเสียง เช่น ลำโพง ไมโครโฟน หรือ หูฟัง ใช้ต่อกับมอเด็ม ช่องเชื่อมต่อเครือข่ายเลน พอร์ต USB ใช้ต่อกับอุปกร์ที่เป็น USB เช่น กล้องดิจิอล thumb drive ใช้ต่อกับจอมอนิเตอร์
สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ • 1) Intel Centrio Mobile Technology • Intel Core 2 Duo Process T8300 • (3MB L2 Cache, 2.4 GHz, 800 MHz FSB) • 2) Windows XP Home • 3) Intel GM Express Chipset • 4) Intel PRO/Wireless 4965AGN • 5) 2,048 MB DDR2 667MHz, Max Memory Supported 4GB, Dual Channel • 6) 320 GB SATA HDD • 7) Intel GMA X3100 graphics, shared memory of 224MB • 8) DVD +/-RW Drive • 9) 13.3” ClearBright WXGA TFT 1,280X800 pixels • 10) USB 2.0x3 Express card slot, Bluetoth, Infrared, • 11) Up to 4.7 hours of battery life • Approx. Weight 2.4kg • 1 Year International Warranty
สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ 1) Intel Centrio Mobile Technology • Intel Core 2 Duo Process T8300 • (3MB L2 Cache, 2.4 GHz, 800 MHz FSB) เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ CPU ของ บริษัทอินเทล Centrioเป็นชื่อทางการค้าของอินเทล CPU เป็นตระกูล Intel Core 2 Duo Processor รหัส T8300 2) Windows XP Home edition ใช้ระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ระบบ Windows XP Home ผู้ซื้อได้รับสิทธิ์ในการใช้งานอย่างถูกต้องตามกฏหมาย 4) Intel PRO/Wireless 4965AGN ติดตั้งชิปไร้สายของบริษัทอินเทล สามารถใช้งานในการติดต่อแบบไร้สายได้ เช่น ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย
สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ 5) 2,048 MB DDR2 667MHz, Max Memory Supported 4GB, Dual Channel หน่วยความจำหลัก(RAM) 2GB เป็นประเภท DDR SDRAM และสามารถขยายได้ถึง4GB 6) 320 GB SATA HDD หน่วยความมจำสำรองหรือฮาร์ดดิสค์ขนาด 320GB 8) DVD +/-RW Drive ติดตั้งเครื่องบันทึก DVD+/-RW สามารถเขียนอ่านข้อมูลลงได้ทั้ง CD และ DVD 9) 14” ClearBright WXGA TFT 1,280X800 pixels หน้าจอมีขนาด 13.3นิ้วในแนวทะแยง เป็นจอแบบ WideScreen-WXGA ความละเอียดของการแสดงผลได้สูงสุด 1,280x800 พิเซล resolution หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 1,280x 800จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 1,280พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 800พิกเซล
สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ 10) USB 2.0x3 Express card slot, Bluetooth, Infrared ระบุว่ามีช่องทางในการเชื่อมต่ออะไรได้บ้าง USB-Univeral Serial Bus ให้พอร์ต USB มาจำนวน 3 พอร์ต เป็นรุ่น2.0 Express Card Slot สำหรับต่ออุปกรณ์จำพวก การ์ดแลน บลูธูท แอร์การ์ด Bluetooth ช่องเชื่อมต่อโดยใช้คลื่นวิทยุ Infrared สำหรับเชื่อมต่อโดยใช้คลื่นอินฟาเรด 11) Up to 4.7 hours of battery life ใช้งานได้สูงสุด 4.7 ชั่วโมง หมายความว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้นานถึง 4.7 ชั่วโมงในสภาวะการใช้งานพื้นฐาน Approx. Weight 2.4kg น้ำหนักของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 Year International Warranty รับประกันหลังการขาย 1 ปี International หมายความว่า สามารถแจ้งซ่อมได้ในศูนย์ต่างประเทศ เหมาะกับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ
อุปกรณ์ต่อพ่วง/อุปกรณ์สื่อสารอุปกรณ์ต่อพ่วง/อุปกรณ์สื่อสาร พอร์ต USB พอร์ตอนุกรม (Serial Port) พอร์ตขนาน(Parallel Port) ใช้สำหรับเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix พอร์ต PS/2 ใช้เชื่อมต่อกับเม้าส์และคีย์บอร์ด
อุปกรณ์ต่อพ่วง/อุปกรณ์สื่อสารอุปกรณ์ต่อพ่วง/อุปกรณ์สื่อสาร ช่องสัญญาอินฟราเรด รับส่งข้อมูลด้วยสัญญาณไร้สาย คลื่นอินฟาเรด ช่องสัญญาบลูธูท รับส่งข้อมูลด้วยสัญญาณไร้สาย ที่อยู่ในระยะ 10 เมตร ใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น สามารถรับส่งข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางได้ พอร์ตWi-Fiรับส่งข้อมูลด้วยสัญญาณไร้สาย มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง พอร์ต RJ-11 สำหรับต่อสายโทรศัพทิ์ติดต่อกับโมเด็ม พอร์ต RJ-45 ใช้เชื่อมต่อกับสายแลน เพื่อต่อเข้าระบบเน็ตเวิร์ค สล๊อต PCMCIA ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมที่มีลักษณะเป็นการ์ด เช่น แอร์การ์ด
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ • งบประมาณในการจัดซื้อ • ประเภทของงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ • สมรรถนะของเครื่อง • ความสามารถในการอัพเกรดในอนาคต
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 1. งานทางด้านเอกสารรายงานหรืองานสำนักงานต่างๆ งานทางด้านนี้โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องจะเป็นโปรแกรม Microsoft Office ชุดโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆและงานเฉพาะด้านตามแต่ละบริษัทนั้นๆซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากนักอาจพิจารณาคุณสมบัติตามความเหมาะสมได้ดังนี้ • CPU: ตั้งแต่ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป (ในปัจจุบันต่ำกว่า 1 GHz หาซื้อตามร้านทั่วไปแทบไม่ได้แล้ว) • RAM: DDR-SDRAM ขนาด 256 MB แนะนำที่ 512MB • Mainboard: เน้นการรับประกันและอุปกรณ์เช่นการ์ดจอการ์ดเสียงโมเด็มและการ์ดแลนให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วยเพื่อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น • Harddisk: 40 GB ขึ้นไป (ปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว) • จอภาพแบบ CRT/LCD ขนาด17 นิ้วเน้นการรับประกัน • อุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นลำโพงOptical Mouse และอื่นๆเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2. เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์และบันเทิงเป็นหลัก ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงทุนสูง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรองรับเกมส์ใหม่ๆได้ • CPU: ความเร็วตั้งแต่ความเร็ว 2 GHz ขึ้นไป • RAM: DDR-SDRAM ขนาด512 MB ขึ้นไป แนะนำที่ 1 GHz • Mainboard: เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่นการ์ดเสียงโมเด็มและการ์ดแลนให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วยเพื่อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นถ้าไม่มีอาจหาซื้อมาได้ตามความต้องการ • Harddisk: ขนาด40 GB ขึ้นไป • VGA Card: หรือการ์ดจอที่ใช้เช่นGeforce 4 Ti4200 ขึ้นไปGeforce FX5200 ขึ้นไปและATiRadeon 9000 ขึ้นไปเป็นต้นที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ด • Sound Card: หรือการ์ดเสียงใช้เป็น SoundBlaster Live DE5.1 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า • ลำโพง • จอภาพแบบCRT/LCD: ขนาด17 นิ้ว • อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่นลำโพง, Optical Mouse และอื่นๆเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. งานทางด้านกราฟฟิกออกแบบสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาต่างๆ สำหรับงานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่มักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องสูงเช่นโปรแกรมPhotoshop Illustrator CoreIDRAWAutoCAD และ 3Dmax Studio เป็นต้นดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรต้องมีคุณสมบัติที่สูงตามนั้นด้วยดังนี้ • CPU : ตั้งแต่ความเร็ว 1.5 GHz ขึ้นไป • RAM : DDR-SDRAM ขนาด512 MB ขึ้นไป แนะนำที่ 1GHz • Mainboard : เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่นการ์ดเสียงโมเด็มและการ์ดแลนให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วยเพื่อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น • Harddisk : ขนาด40 GB ขึ้นไป • VGA Card : หรือการ์ดจอที่ใช้เช่นGeforce 2 MX400 ขึ้นไปGeforce 4 MX440 ขึ้นไปและMatrox G450 ขึ้นไปเป็นต้นที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ด • จอภาพแบบ CRT/LCD : ขนาด17 นิ้วเน้นการรับประกัน • DVD-ROM : ความเร็ว 16x ขึ้นไป • CD-RW : มีคุณสมบัติเขียน/เขียนซ้ำ/อ่านที่ความเร็ว24x10x40 ขึ้นไป • อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่นลำโพงOptical Mouse และอื่นๆเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเป็นชุดสำเร็จแล้วและแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเองคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเป็นชุดสำเร็จแล้วและแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่างๆที่เราพอใจและราคาถูกเพราะเลือกอุปกรณ์ต่างๆได้เองซึ่งมีหลายราคาให้เลือก สอดคล้องกับความต้องการ ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง เมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหาที่ไม่ได้มาจากตัวอุปกรณ์ต้องแก้ไขเองมาตรฐานการรับประกันไม่สู้ดีนัก เพราะเมื่อชิ้นส่วนอุปกรณ์ใดชำรุดเสียหายถ้ายังอยู่ในระยะประกันจะต้องนำไปให้ร้านที่ซื้อมาเคลมสินค้าให้หรือไม่ก็ต้องเคลมเองจากตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเป็นชุดสำเร็จแล้วและแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเองคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเป็นชุดสำเร็จแล้วและแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุดสำเร็จแล้ว คุณภาพของอุปกรณ์ดูน่าเชื่อถือ มีบริการหลังการขายที่ดีเมื่อเครื่องเสียหรือมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ทันที ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุดสำเร็จแล้ว ไม่สามารถเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามใจเองได้ผู้ใช้ที่มีความรู้ความชำนาญก็สามารถจะแยกแยะข้อดีข้อเสียและราคาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นได้ซึ่งถ้าไม่ชอบหรือไม่ถูกใจผู้ใช้เหล่านี้ก็หันไปหาทางเลือกที่สองนั้นคือคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง
การรับประกันหลังการขายการรับประกันหลังการขาย ในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการที่นำจะไปใช้ในแต่ละงานตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลแต่สิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์คือต้องตรวจดูสภาพของอุปกรณ์การรับประกันและคู่มือประกอบกันไปด้วย ในส่วนของการรับประกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเลือกซื้ออุปกรณ์โดยในปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆจะมีสติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ติดอยู่ที่อุปกรณ์การรับประกันแบบนี้จะยืนยันว่าได้ซื้ออุปกรณ์มาจากร้านไหนซื้อเมื่อไหร่และมีระยะเวลาประกันนานเพียงใดทำให้เกิดความสะดวกทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
การรับประกันหลังการขายการรับประกันหลังการขาย ระยะเวลาการรับประกันโดยส่วนมากมักจะถูกกำหนดโดยผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตสินค้าอยู่แล้วและโดยปกติอุปกรณ์แต่ละชนิดการรับประกันก็มีระยะเวลาการรับประกันไม่เท่ากันทำให้เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเองหรือคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุดก็ต้องสนใจในเรื่องของการรับประกันเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ ระยะเวลาประกัน Hard disk อยุ่ในช่วง 1-5 ปี ขึ้นกับผู้ผลิด CPU 1-3 ปี โดยประมาณ RAM 1 ปี Main board 1 ปี แหล่งจ่ายไฟ 1 ปี นอกจากนี้ ควรสอบถามเงื่อนไขในการรับประกัน เพิ่มเติมว่า การรับประกันคลอมคลุมอะไรบ้าง เช่น ค่าแรง ค่าอุปกรณ์อะไหล่
การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ HANG การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ลำดับขั้นตอนการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ลำดับขั้นตอนการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ • ตรวจสอบปลั๊กไฟเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่ • เปิดอุปกรณ์ต่อพ่วง(ถ้ามี) โมเด็ม เครื่องพิมพ์ • จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ • ตัวเครื่องหรือเคสด้านหน้า กดสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง • เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ จอภาพจะแสดงข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ • หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า WINDOWS(ระบบปฏิบัติการบนเครื่องนั้น)เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ TASK BAR ให้ เราทำงานได้
ลำดับขั้นตอนการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ลำดับขั้นตอนการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ • ปิดโปรแกรมต่างๆที่เปิดอยู่ • คลิ๊กที่ปุ่ม START • เลื่อนเม้าส์คลิ๊กที่คำสั่ง Shut down หรือ Turn off computer • คลิ๊กปุ่ม Turn off • รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ • จากนั้นเครื่องจะดับเอง • ปิดจอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย • ปิดอุปกรณ์ต่อพ่วงถ้ามี เช่น โมเด็ม เครื่องพิมพ์
การกดปุ่มบนเม้าส์ เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้ายและขวา มีปุ่มคล้ายๆล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ(Scroll) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ 1. คลิ๊ก(Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ 2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก(Double click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรม 3. แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ 4.คลิ๊กขวา (Right-Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม
แนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น บ่อยครั้งที่คอมพิวเตอร์มีปัญหา เช่น อาการจอมืดซีดีรอมไม่ทำงาน หรือฮาร์ดิสก์เสีย ถึงแม้ว่าตอนซื้อมาจะมีการรับประกัน 2 ถีง 3 ปี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้จะไม่ได้ซื้อ คอมพิวเตอร์ทุก 2-3 ปีตามระยะการประกัน ดั้งนั้นการซ่อมจึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตนเอง 1) บันทึกทุกอย่างเก็บไว้ แม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถที่จะทิ้งเอกสารกองโต ออกไปจากโต๊ะทำงานได้ก็ตาม แต่ก่อนที่จะทิ้งทุกอย่างไป ควรจะทำการหาวิธีในการเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เผื่อในกรณีที่อาจเกิดปัญหาในอนาคต กรอกแบบฟอร์มต่างๆให้เรียบร้อย ซึ่งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางราย ก็ให้มีการลงทะเบียนแบบออนไลน์ แต่อย่าลืมพิมพ์สำเนาออกมาเก็บรวมไว้กับใบเสร็จรับเงิน เก็บใบเสร็จรับเงินและใบรับประกันทุกอย่างไว้ให้ดี โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการรับประกัน เช่น โมเด็มซีพียูเมนบอร์ดจอ และอื่น ๆ
แนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 2) ทำการบ้านก่อนเลือกซื้อ การซื้อคอมพิวเตอร์ควรจะต้องนึกถึงการซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บางร้านรับซ่อมจะมีการคิดค่าตรวจสอบเครื่องด้วยไม่ว่าเครื่องจะอยู่ในประกันหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะในเรื่องประกัน การขยายระยะประกัน หรือว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประหยัดทั้งเงินและเวลาได้ในอนาคต 3) จดบันทึกอาการเสีย เมื่อคอมพิวเตอร์มีอาการผิดปกติขึ้น ให้จดบันทึกอาการต่างไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งerror message ต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ และจะมีส่วนช่วยได้อย่างมากให้ช่างหรือผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หาสาเหตุเสีย จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่ช่างจะได้ซ่อมได้เร็วและตรงจุด โดยทั่วไปแล้วคำถามที่ช่างหรือคนที่จะช่วยเหลือมักจะถาม เช่น จอภาพแสดงอาการอย่างไร หรือ error message ที่เกิดขึ้นคืออะไร เป็นต้น ถ้าสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปรึกษาหรือแจ้งปัญหากับช่างผ่านทางโทรศัพท์
แนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 4) สำรวจให้ทั่วๆ การนำเครื่อคอมพิวเตอร์ไปซ่อมกับบริษัทที่ซื้อมาก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นวิธีที่ดีเสมอไปเพราะบางครั้งถ้าศึกษาให้ดีอาจพบว่า ซ่อมกับบริษัทที่ซื้ออาจทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากกว่าที่ควรเป็น วิธีที่น่าจะดีกว่า คือ ลองสำรวจร้านอื่นๆ ดูไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กหรือใหญ่ ตรวจสอบข้อมูลเรื่องเวลาและราคาในการซ่อมเช่น ค่าตรวจเครื่อง ค่าแรง หรือค่าซ่อมนอกสถานที่ เป็นต้น ร้านเล็กๆ บางครั้งให้ความสำคัญเป็นกันเองกับลูกค้ามากกว่าร้านใหญ่ๆ ในขณะเดินสำรวจร้านต่างๆ อยู่ให้ลองสังเกตร้านที่ติดโลโก้ยี่ห้อดังเช่น ไอบีเอ็ม คอมแพค เป็นต้น ซึ่งมันอาจเป็นไปได้ว่า ร้านนั้นๆ รับซ่อมเครื่องที่อยู่ในประกันของยี่ห้อนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามร้านที่รับซ่อมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะรับซ่อม เครื่องทุกยี่ห้ออยู่แล้ว 5) คิดในแง่ร้ายไว้ก่อน หลังจากที่เครื่องได้รับการตรวจสอบอาการจากหลายๆ ร้านซ่อมแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการตัดสินใจว่า จะซ่อมหรือไม่ซ่อมในร้านใดจึงจะดี ซึ่งบางครั้งร้านซ่อมอาจจะบอกว่าเครื่องไม่อยู่ในประกันแล้วหรืออะไหล่ชิ้นที่ต้องการไม่มีอีกต่อไปแล้ว การซ่อมคอมพิวเตอร์บางที่อาจลองสอบถามร้านดูว่าสามารถจะเอาอะไหล่เก่าไปแลกอะไหล่ใหม่ ได้หรือไม่ ในกรณีอะไหล่ชิ้นเก่าเลิกผลิตไปแล้ว โดยอาจต้องเพิ่มเงินเล็กน้อย
แนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 6) ค้นหาบริการทางโทรศัพท์ บางกรณีอาจเป็นการไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซ่อมที่ร้านโดยตรงการไปโทรศัพท์ไปปรึกษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อเริ่มโทรศัพท์หาร้านซ่อมให้ลองสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ที่ได้รับทางโทรศัพท์ เช่น ต้องรอสายนานเท่าไร เต็มใจช่วยเหลือหรือไม่ แค่นี้ก็เป็นการช่วยตัดสินใจได้ว่าควรซ่อมกับร้านนั้นหรือไม่ จดชื่อรุ่นหรือ Serial Number ของคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อความสะดวก 7) ค่าธรรมเนียม เมื่อยกเครื่องคอมพิวเตอร์ไปซ่อมเป็นธรรมดาที่ช่างจะสำรวจดูว่ามีอะไรบ้างที่ต้องซ่อมตั้งแต่สายไฟยันฮาร์ดดิส ซึ่งร้านจำเป็นจะต้องคิดค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบนี้ แต่ก็มีบางร้านเที่ไม่คิดค่าเปิดเครื่อง แต่ถ้าพอมีความรู้เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็อาจทดลองใช้โปรแกรม Norton Utility ตรวจสอบเครื่องก่อน หรือบางอาจโทรเรียกช่างมาซ่อมที่บ้านก็ได้ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแนวทางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 8) เตรียมเครื่องให้พร้อมก่อนนำไปซ่อมก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้านเพื่อทำการซ่อมลองตรวจสอบว่าได้ แบ็กอัพข้อมูลที่สำคัญเอาไว้ จด Serial number ของฮาร์ดิสก์ ซีดีรอม และอื่นๆ ไว้เพื่อตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยน ลบข้อมูลส่วนตัวออกให้หมดเพื่อป้องกันถูกลักลอบนำไปใช้ 9) ขอเอกสารการซ่อมจากร้านก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้าน อย่าลืมขอเอกสารที่บอกถึงชิ้นส่วนที่จะเปลี่ยน และระยะเวลาในการซ่อมตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายแอบแฝง และสอบถามการรับประกันหลังการซ่อม 10) ติดตามความคืบหน้า สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือคอยโทรไปถามว่าการซ่อมไปถึงไหน เปลี่ยนอะไรบ้างเสร็จทันกำหนดหรือไม่ และเมื่อไปรับเครื่อง ให้ทดสอบดูก่อนว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ก่อนนำเครื่องกลับ
HANG อาการแฮงค์ คือ อาการที่อาจจะเกิดจากการเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน อาการแฮงค์นี้จะทำให้ไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้น คือ 1. ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม CTRL + ALT ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม DELETE แล้วปล่อย 2. เครื่องจะแสดงหน้าต่าง TASK MANAGER ขึ้นมา 3. จากนั้น คลิ๊กที่โปรแกรมที่คิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์ 4. ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม END TASK เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป 5. ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม CANCEL ออกมา
ความรู้ทั่วไปในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ความรู้ทั่วไปในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ • อุณหภูมิที่ร้อนมากเกินไปหรือเย็นจัด ไม่เหมาะสมต่อการใช้คอมพิวเตอร์ อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 10-35 องศาเซสเซียส • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือ ไอเค็มของน้ำเกลือ • สถานที่ที่กระแสไฟฟ้าตกบ่อยๆ ควรจะต่อเครื่องผ่าน UPS ไม่ควรต่อตรงจากแหล่งจ่ายไฟ เพราะการกระชากของกระแสไฟจะทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เสียได้ • วิธีทำความสะอาด ใช้ผ้าสะอาดไร้ขนชุบน้ำสะอาดเช็ค การใช้สารเคมีอาจจะทำลายผิวที่เคลือบเครื่องหรือหน้าจอได้ • ระวังไม่ให้ของเหลวหรือขนมหล่นลงในคีย์บอร์ดหรือในเครื่องคอมพิวเตอร์ • กรณีไฟฟ้าดับกะทันหันให้รีบถอดปลั๊ก • เพื่อรักษาภาวะโลกร้อน ไม่ควรเปิดเครื่องทิ้งไว้กรณีไม่ได้ใช้งานนานๆ
ความรู้ทั่วไปในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ความรู้ทั่วไปในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค • ซื้อโน๊ตบุ๊คมาวันแรกให้ชาร์จแบตเตอรี่ไว้ทั้งคืน เพื่อกระตุ้นให้มีประจุไฟฟ้าเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้นว่าสัญญาณจะบอกว่าเต็มแล้ว • ถ้าใช้งานที่บ้านให้ถอดแบตเตอรี่ออก ให้ใช้ไฟจากไฟบ้านโดยตรง เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ • แท่นชาร์จแบตเตอรี่ ระวังอย่าทำให้หักงอ โดยเฉพาะตรงรอยต่อระหว่างแท่นชาร์จและสายไฟ • อย่านำของหนักกดทับเครื่องโน๊ตบุ๊ค • อย่านำโน๊ตบุ๊คทิ้งไว้ในรถกลางแจ้ง • การเปิดปิดหน้าจอให้ระวังเพราะจะทำให้บานพับเสียหายได้ • หลีกเลี่ยงการใช้โน๊ตบุ๊คในที่มีไอเค็ม หรือที่มีฝุ่นละออง • ปิดสวิทช์ Wireless LAN ที่ off ในกรณีที่นำไปใช้ในที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการบุกรุกจากผู้ไม่หวังดี
หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ 8 Bit(บิต) = 1 Byte(B ไบต์) 1,024 Byte = 1Kilo Byte(KB) 1,024 Kilo Byte = 1 Mega Byte(KB) 1,024 Mega Byte = 1 Giga Byte(KB) 1,024 Giga Byte = 1 Tera Byte(KB) (1ล้านล้านไบต์) Bit(บิต) ย่อมาจาก Binary Digit หน่วยพื้นฐานของข้อมูล ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 และ 1