270 likes | 545 Views
การย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น. (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลว. 1 ตุลาคม 2533). โดย คุณอัญชลี สงวนพงศ์ ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล สำนัก บริหารทรัพยากรบุคคล. อ้างถึงหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1003/ว11 ลงวันที่ 11 กันยายน 2519.
E N D
การย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว 12 ลว. 1 ตุลาคม 2533) โดย คุณอัญชลี สงวนพงศ์ ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล
อ้างถึงหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1003/ว11 ลงวันที่ 11 กันยายน 2519 “ มติ ก.พ.อนุมัติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน หรือรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันในต่างสายงานได้ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเป็นผู้มีวุฒิตรงตามที่กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 หรือระดับ 4 ระดับใดระดับหนึ่งของสายงานที่จะแต่งตั้งใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ได้ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานนั้น หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาก่อน” ก.พ. มีมติกำหนดหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม ดังนี้... สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
“ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและไม่เคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือ ระดับ 4 มาก่อน หากผู้บังคับบัญชาจะย้าย หรือรับโอนข้าราชการผู้นั้นมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 นอกจากจะต้องถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่อ้างถึงแล้วจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย.... สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
หลักเกณฑ์ • ข้าราชการดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่สอบแข่งขันได้ ในตำแหน่ง ซึ่งอยู่ในสายงานที่จะย้ายหรือรับโอน และบัญชีผู้สอบแข่งขัน ได้นั้นไม่ถูกยกเลิกบัญชี • การย้ายหรือการโอนข้าราชการตามข้อ 1. ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา57 พิจารณาดำเนินการ โดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงลำดับที่ที่ผู้นั้นจะได้รับการบรรจุ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
แนวทางดำเนินการ 1. ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และระดับชำนาญงาน จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งโดยไม่จำเป็นต้องถึงลำดับที่ผู้นั้นจะได้รับการบรรจุตามบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
นางสุริยง รัตนชาติ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฎิบัติงาน (ตำแหน่งเลขที่ 9695) (เคยดำรงตำแหน่งระดับ 3 มาก่อน) ฝ่ายบริหารทั่วไป กองการเงินและบัญชี ซึ่งเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ลำดับที่ 65 ตามประกาศ กรมบัญชีกลาง ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2556 ประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ (ตำแหน่งเลขที่ 8546) กลุ่มพัฒนาระบบงานคลัง กองการเงินและบัญชีที่ว่าง จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร???
การวิเคราะห์ เนื่องจาก นางสาวสุริยง รัตนชาติ เคยดำรงตำแหน่งระดับ 3 ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาก่อน ซึ่งสามารถแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติงานได้โดยไม่จำเป็นต้องถึงลำดับที่ตามบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ว 12/2553 และแนวทางในข้อ 1
แนวทางดำเนินการ (ต่อ) 2. ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งระดับ 1 และระดับ 2 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และผู้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเมื่อถึงลำดับที่ที่ผู้นั้นจะได้รับการบรรจุตามบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
นางสาวเกนหลง ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฎิบัติงาน (ตำแหน่งเลขที่ 9696) กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ลำดับที่ 39 ตามประกาศ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ลงวันที่ 13 มีนาคม 2556ประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ตำแหน่งเลขที่ 9654) กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่ว่าง จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร???
การวิเคราะห์ เนื่องจาก นางสาวเกนหลง ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งสามารถแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการได้ต่อเมื่อถึงลำดับที่ตามบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ว 12/2553 และแนวทางในข้อ 2
การย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นการย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 15 ลว. 28 มิถุนายน 2547) สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
อ้างถึงหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 “ มติ ก.พ.กำหนดหลักปฏิบัติให้ผู้บังคับบัญชาอาจย้ายหรือรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับวุฒิปริญญาเพิ่มขึ้น และไม่เคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ได้นั้น จะต้องเป็น ผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งซึ่งอยู่ในสายงานที่จะย้ายหรือรับโอน และบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ยังไม่ถูกยกเลิก สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
อ้างถึงหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ว12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ผ่านการกลั่นกรองความรู้ในตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 มาแล้ว และเพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ก.พ. มีมติอนุมัติให้ส่วนราชการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งเพื่อย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ดังกล่าวไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ตำแหน่งอื่น โดยวิธีคัดเลือกได้ ทั้งนี้ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้... สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
หลักเกณฑ์ • ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ 1.1ทดสอบความรู้ ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง โดยใช้หลักสูตรตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร0708.4 / ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 โดยอนุโลม (สอบข้อเขียน) 1.2 ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด 1.3 เกณฑ์การตัดสินต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
หลักเกณฑ์ (ต่อ) 2. การแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกให้แต่งตั้งได้ไม่สูงกว่าระดับเดิม และไม่เกินระดับ 5 ทั้งนี้ แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่ผ่านการคัดเลือก 3. ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะสามารถย้ายหรือโอนได้ 4. ต้องดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นก่อนบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะถูกยกเลิก สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
ข้อแตกต่างระหว่างการย้ายข้าราชการตาม ว12 และ ว15 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
นางสาวอัมพิกา ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน (ตำแหน่งเลขที่ 8787) ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กองแผนงาน ลำดับที่ 8 ตามประกาศกรมชลประทาน ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ตำแหน่งเลขที่ 7845) ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่ว่าง จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร???
การวิเคราะห์ เนื่องจาก นางสาวอัมพิกา สอบแข่งขันได้ มีชื่อตำแหน่งต่างจากตำแหน่งที่จะย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในกรณีนี้ สามารถดำเนินการได้โดย นำรายชื่อ ผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการมาดำเนินการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการได้ ตามหลักเกณฑ์ ว15/2547
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้สอบแข่งขันได้ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในระดับที่สูงขึ้น (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ว 4 ลว. 18 มีนาคม 2548) สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
อ้างถึงหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 “ มติ ก.พ.กำหนดกรณีการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ตามนัยมาตรา 58 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535” เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ผ่านการกลั่นกรองความรู้ความสามารถในตำแหน่งที่สอบแข่งขันมาแล้ว และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการเกิดความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ ก.พ. มีมติกำหนดหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม ดังนี้... สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
หลักเกณฑ์ • ต้องเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่จะได้รับการเลื่อนและแต่งตั้ง • ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้เมื่อถึงลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุ • ดำเนินการเลื่อนและแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นก่อนบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะถูกยกเลิก • ผู้ใดได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามผล การสอบแข่งขันไปแล้ว ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีไว้ในบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ทุกบัญชีในการสอบครั้งเดียวกัน สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
หลักเกณฑ์ (ต่อ) • ส่วนราชการจะต้องไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้หรือบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกในตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าว • การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในกรณีนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (ปัจจุบันคือมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551) สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน
นายเขมชาติ ตำแหน่งนายช่างชลประทานปฏิบัติงาน (ตำแหน่งเลขที่ 8920) โครงการก่อสร้าง 1 สำนักชลประทานที่ 9 ซึ่งเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ ลำดับที่ 2 ตามประกาศกรมธนารักษ์ ลงวันที่ 10 กรกฏาคม 2555 ประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ (ตำแหน่งเลขที่ 9999) สังกัดกลุ่มออกแบบระบบชลประทาน สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่ว่าง จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร???
การวิเคราะห์ • นายเขมชาติเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง • การแต่งตั้งจะดำเนินการได้เมื่อกรมธนารักษ์มีหนังสือเรียกนายเขมชาติเพื่อบรรจุในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ โดยกรมฯจะใช้หนังสือดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการย้ายนายเขมชาติ • จากการตรวจสอบปรากฏว่ากรมฯ มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการจำนวน 5 ราย ซึ่งจะต้องเรียกบัญชีดังกล่าวให้หมดก่อน จึงจะดำเนินการย้ายนายเขมชาติ ตามหลักเกณฑ์ ว4/2548 สรุป.. กรณีนายเขมชาติ จะสามารถแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการได้ ตามหลักเกณฑ์ ว4/2548