100 likes | 345 Views
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีต วิชาการทดสอบวัสดุ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่. นายเอนก นครรัตน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่.
E N D
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีต วิชาการทดสอบวัสดุ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ นายเอนก นครรัตน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ผลของการพัฒนาประเทศที่ขาดความสมดุลกับการพัฒนาคุณภาพประชากร ทั้งทางด้านจิตใจ คุณธรรม จริยธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานศึกษาที่จะผลิตนักศึกษาไปรับใช้สังคมที่จะขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ได้เรียนรู้และเกิดความรู้ความเข้าใจ ในวิถีที่ถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในการเรียน และสังคม คณาจารย์เป็น ผู้มีส่วนสำคัญ ที่จะสามารถขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้นักศึกษาได้ เห็นคุณค่าและสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงตน ดังนั้นในฐานะที่เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาจึงสนใจที่จะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยนำเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนผสมในงานคอนกรีต เพื่อให้ได้คอนกรีตที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอนที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่นำมาใช้ เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาการจัดการเรียน การสอนตามนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปัญหาการวิจัย
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอนโดยการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ในการเรียนการสอน 2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้แต่ละประเภทจนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอน วัตถุประสงค์
นักศึกษาแผนกช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 มี จำนวนนักศึกษาทั้งหมด 55 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 • การวิเคราะห์หลักสูตร • การวิเคราะห์หน่วยย่อย หน่วยที่ 5 • เนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีต • ใบงานที่ 9 การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต • ใบงานที่ 10 การทดสอบการหาค่าการยุบตัวของคอนกรีต • ใบงานที่ 11 การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต แนวคิดในการวิจัย 1. ขอบเขตด้านประชากร 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.1 วิเคราะห์หลักสูตร • 2.2 วิเคราะห์หน่วยย่อย หน่วยที่ 5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีต • 2.3 จัดทำเนื้อหาหน่วยการเรียนที่ 5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีต • 2.4 จัดทำใบงานที่ 9 การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต • 2.5 จัดทำใบงานที่ 10 การทดสอบการหาค่าการยุบตัวของคอนกรีต • 2.6 จัดทำใบงานที่ 11 การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต • 2.7 นำแผนการเรียนการสอนไปใช้ในการเรียนการสอน • 1.1 สำรวจรายวิชาการทดสอบวัสดุ • 1.2 จัดทำแผนการเรียนการสอนที่ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิชาการทดสอบวัสดุ • 1.3 นำแผนการเรียนการสอนที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ให้ข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อที่จะนำไปเก็บข้อมูลทำการวิจัย • 1.4 นำแผนการเรียนการสอนมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล 1. ขั้นตอนก่อนเก็บข้อมูล 2. ขั้นตอนการสร้างแผนการสอน
คัดเลือกนักศึกษา นำแผนการสอนมาสอน เก็บข้อมูลผลการทดลอง สรุปผลและวิจารณ์ผลการทดลอง การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา วิเคราะห์โดยการใช้ความถี่ และค่าร้อยละ • การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต โดยวิธี ACI • การทดสอบการหาค่าการยุบตัวของคอนกรีต โดยใช้มาตรฐานอ้างอิงASTM.C.143 • การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต (Compression Test of Concrete) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 ส่วนที่ 4
ผลการทดลองกำลังอัดประลัยผลการทดลองกำลังอัดประลัย
จากการทดลองนักศึกษารู้จักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น รู้จักประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในงานคอนกรีตได้ โดยนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนผสมในงานคอนกรีต จากผลการทดลองในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต โดยวิธี ACI การทดสอบการหาค่าการยุบตัวของคอนกรีตจากการทดสอบครั้งที่ 2 อัตราส่วนผสม 1:2:3WCR 0.5 ค่าการยุบตัว 5 เซนติเมตร ลักษณะการยุบตัวเป็นแบบ True Slump คือการยุบตัวที่ดีที่สุด โดยใช้มาตรฐานอ้างอิงASTM.C.143 และการทดสอบกำลังอัดคอนกรีต (Compression Test of Concrete) เศษเหล็ก ที่อัตราส่วนผสม 30 เปอร์เซ็นต์ รับกำลังอัดประลัยสูงสุดได้ถึง 740 ksc ส่วนวัสดุที่รับกำลังอัดประลัยได้น้อยที่สุด คือ ฟางข้าว ซึ่งการนำไปใช้งานขึ้นอยู่กับค่ากำลังอัดที่ต้องการ สรุปผลการวิจัย