210 likes | 331 Views
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. อาจารย์ นัณฑ์ศิ ตา ชูรัตน์. มาตรฐานเครือข่าย (Network Standard).
E N D
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจารย์นัณฑ์ศิตา ชูรัตน์
มาตรฐานเครือข่าย (Network Standard) มาตรฐานเครือข่าย คือข้อกำหนดเพื่อให้เกิดความแน่นอนของระบบการสื่อสารระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ซึ่งในการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ที่สื่อสารกันจะต้องเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายรับและฝ่ายส่งจะต้องใช้วิธีการส่ง การอินเตอร์เฟซ การเข้ารหัส รวมถึงการตรวจสอบข้อผิดพลาด สิ่งเหล่านี้จะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกัน และการกำหนดให้เป็นมาตรฐานก็เพื่อกำหนดแนวทางให้ผู้ผลิตทำการผลิต หรือสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
องค์กรมาตรฐาน (Institute Standards Organizations) อุตสาหกรรมการสื่อสารก็มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ คือมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงทั้งทางด้านการตลาดและด้านเทคโนโลยี การแข่งขันด้านการตลาด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังนั้นมาตรฐานจึงได้เกิดองค์กรมาตรฐานขึ้นมา ดังตัวอย่างเช่น
ANSI (American National Standards Institute) เป็นองค์กรอาสาสมัครที่ไม่มีผลกำไรจากการ ดำเนินงาน ประกอบด้วยกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1918 มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์คANSI ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานต่างๆ ของอเมริกาให้เหมาะสมจากนั้นจะรับรองขึ้นไปเป็นมาตรฐานสากล ANSI ยังเป็นตัวแทนของอเมริกาในองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization for Standardization) และ IEC (International Electro technical Commission) ANSI เป็นที่รู้จักในการเสนอภาษาการเขียนโปรแกรม ได้แก่ ANSI C และยังกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีระบบเครือข่ายอีกหลายแบบ เช่นระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง SONET เป็นต้น
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นสมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1884 ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีสมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 150 ประเทศ IEEE มุ่งสนใจทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีชื่อเสียงอย่างมากในการกำหนด คุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของระบบเครือข่าย เกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายต่างๆ ถูกกำหนดเป็นกลุ่มย่อยของคุณลักษณะเฉพาะมาตรฐาน 802 ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE802.3 ซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่าย Ethernet IEEE802.4 กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายแบบ Token-Bus และ IEEE802.5 ซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายแบบ Token-Ring เป็นต้น
ISO (International Standard Organization) เป็นองค์กรที่รวบรวมองค์กรมาตรฐานจากประเทศต่างๆ 130 ประเทศ ISO เป็นภาษากรีกหมายถึงความเท่าเทียมกัน หรือความเป็นมาตรฐาน (Standardization) ISO ไม่ใช่องค์กรของรัฐ มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้มีมาตรฐานสากล ซึ่งไม่เพียงแต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสื่อสาร แต่ยังรวมไปถึงการค้า การพาณิชย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับในส่วนของระบบเครือข่ายนั้น ISO เป็นผู้กำหนดมาตรฐานโครงสร้าง 7 เลเยอร์ของ ISO/OSI Reference Model นั่นเอง
IETF (Internet Engineering Task Force) เป็นกลุ่มผู้ให้ความสนใจเรื่องระบบเครือข่ายและการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเป็นสมาชิกของ IETF นั้นเปิดกว้าง โดยองค์กรนี้มีการแบ่งคณะทำงานออกเป็นหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมุ่งสนใจเฉพาะในเรื่อง ต่างๆ กัน เช่น การกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบการออกอากาศข้อมูล (Broadcasting) เป็นต้น นอกจากนี้ IETF ยังเป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำ คุณสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า RFC (Requests for Comment) สำหรับมาตรฐานของ TCP/IP ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
EIA (Electronics Industries Association) เป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทางด้านโทรคมนาคม และการสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่นคุณลักษณะในการเชื่อมต่อผ่าน RS-232 เป็นต้น
W3C (World Wide Web Consortium) ก่อตั้งในปี ค.ศ.1994 โดยมีเครือข่ายหลักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานของเว็บ ข้อเสนอที่ได้รับการพิจารณาและรับรองโดย W3C จะเป็นมาตรฐานในการออกแบบการแสดงผลเว็บเพจ เช่น Cascading, XML, HTML เป็นต้น
COS (Corporation for Open System ) เพื่อทำให้มาตรฐานสากล ISO เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น องค์กร COS จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 สมาชิกขององค์กรเป็นตัวแทนจากบริษัทและองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มีหน้าที่ในการแนะนำให้คนทั่วไปรู้จักและนำมาตรฐาน ISO ไปใช้งาน ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ที่ผลิตมาจากทุกบริษัทสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานของ COS จึงรวมไปถึงการกำหนดขั้นตอนในการทดสอบ การวัดค่าจากการทดสอบและการรับรองมาตรฐานการทดสอบที่ทุกโรงงานผลิตจะต้องนำไปใช้
CCITT(Consultative Committee on International Telegraph and Telephone) องค์กร ISO เป็นสมาชิกขององค์กร CCITT ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการให้คำปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์ โทรเลข และอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วโลกเป้าหมายที่สำคัญที่สุดขององค์กรนี้คือการกำหนดมาตรฐานเพื่อทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลผ่านเครือข่ายสากล (เรียกว่า End-to-End Internetwork Communication) ได้สำเร็จ องค์กรนี้ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์กรตัวแทนของชาติต่าง ๆ มากกว่า 150 องค์กรจากทั่วโลก
ITU(International Telecommunication Union) องค์กรITU ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2408 เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลสำหรับประเทศในทวีปยุโรปจำนวน 20 ประเทศ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนกำหนดมาตรฐาน ส่วนพัฒนา และส่วนวิทยุสื่อสาร งานล่าสุดขององค์กรนี้คือการจัดตั้ง Telecommunication Development Bureau ขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เพื่อสนับสนุนความสามารถทางด้านเทคนิคให้แก่การพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศในโลกที่สามหรือประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันมีชาติสมาชิกจำนวน 270 ประเทศทั่วโลก
อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ปาเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
Network Model • OSI (Open Systems Interconnect) ตั้งขึ้นโดย International Standards Organization • (ISO) ในปี 1984 • มีทั้งหมด 7 layers • Internet Model กำหนดขึ้นโดย Defense Advanced Research • Projects Agency (DARPA) ในช่วงปี1970 s • มีทั้งหมด 5 layers
OSI Model และ 5 Layer Model องค์การ ISO และแบบจำลอง OSI องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือมักเรียกสั้นว่า ๆ ISO นั้น จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล และมาตรฐาน ISO นี่เอง ก็ได้ครอบคลุมหักเกณฑ์เครือข่ายการสื่อสารด้วย ที่เรียกว่า Open Systems Interconnection หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แบบจำอง OSI ซึ่งเป็นแบบจำลองอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล โดยทาง ISO ได้พัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984
แบบจำลอง OSI เป็นระบบเปิด ( Open System ) ที่อนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ กล่าวคือ มาตรบานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรบนการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานเป็นลำดับชั้น หรือรียกว่า “ เลเยอร์”แต่ลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชั้น สำหรับลำดับชั้นต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน โดยแบบจำอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้นด้วยกันคือ คือ
OSI 7- LAYER MODEL I • Physical Layer • The physical devices • Media • Representation of Data (Bits) • Data Link Layer • Message Framing • Error Control • Media Access Control • Flow Control • Network Layer • Addressing and Routing decision • Transport Layer • End-to-End flow and congestion control
Session Layer • Initiate, maintain, and • terminate logical session between sender/receiver • Presentation Layer • Format data from user for transmission • Format data received for user • Provide data interfaces, compression, translation • between different data • formats • Application Layer • Application Programming Interface (API)
Internet 5 Layer Model 1. Physical Layer 2. Data Link Layer 3. Network Layer 4. Transport Layer 5. Application Layer The 5 layer model Same as in OSI Model All functions between transport layer and the application program