820 likes | 2.31k Views
วิชาการบริหารการค้าปลีก รหัสวิชา 3202-2019. โดย อาจารย์วิไลวรรณ ศรีจันทร์อโนทัย. บทที่ 1 หลักการพื้นฐานการบริหารจัดการร้านค้าปลีก. ความหมายของ “การค้าปลีก” หน้าที่ของร้านค้าปลีก เทคโนโลยีกับธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกในยุคโลกาภิวัฒน์. ความหมายของการค้าปลีก.
E N D
วิชาการบริหารการค้าปลีกรหัสวิชา 3202-2019 โดย อาจารย์วิไลวรรณ ศรีจันทร์อโนทัย
บทที่ 1หลักการพื้นฐานการบริหารจัดการร้านค้าปลีก • ความหมายของ “การค้าปลีก” • หน้าที่ของร้านค้าปลีก • เทคโนโลยีกับธุรกิจค้าปลีก • ธุรกิจค้าปลีกในยุคโลกาภิวัฒน์
ความหมายของการค้าปลีกความหมายของการค้าปลีก “การค้าปลีก” (Retailing) หมายถึง การขายสินค้าให้ผู้บริโภคคนสุดท้ายซึ่งซื้อสินค้าไปเพื่อบริโภคของตนเองหรือเพื่อสมาชิกในครอบครัว
หน้าที่ของร้านค้าปลีกหน้าที่ของร้านค้าปลีก แบ่งออกได้ดังนี้ • อำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อโดยเป็นผู้ให้เวลาและสถานที่แก่ผู้ที่จะไปซื้อสินค้า • สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ตนจำหน่าย • ช่วยขยายอำนาจซื้อให้กับผู้ผู้บริโภคโดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อ • ทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย • ทำหน้าที่เป็นคลังสินค้าจากผู้ผลิตและพ่อค้าส่ง • ทำหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนในย่านนั้น ๆ
เทคโนโลยีกับธุรกิจค้าปลีกเทคโนโลยีกับธุรกิจค้าปลีก ในโลกธุรกิจที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในระบบการจัดการ การบริหารกิจการค้าปลีกมีความสะดวก รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ใช้บุคลากรน้อยลงไม่ว่าจะเป็นระบบการคิดราคาด้วยวิธีการสแกนบาร์โค้ด ซึ่งสามารถดำนวณราคาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัว สามารให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น รวมถึงระบบการจัดแสดงสินค้า การจัดรายการส่งเสริมการ เป็นต้น
ธุรกิจค้าปลีกในยุคโลกาภิวัฒน์ธุรกิจค้าปลีกในยุคโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การบริหารการค้าปลีกมีความต่อเนื่อง สะดวกสบาย รวดเร็วแม่นยำ และประหยัดต้นทุนการผลิต ธุรกิจค้าปลีกในอนาคตต้องมีความชัดเจนในเรื่องการสื่อสารและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการจัดองค์กร ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องเข้าใจถึงคุณค่าของเวลาในชีวิตของผู้บริโภคและต้องเอาชนะเกมการค้าปลีกในยุคโลกาภิวัฒน์ให้ได้
บทที่ 2การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของร้านค้าปลีก • ความหมาย “การเลือกทำเลที่ตั้ง” • ประเภทของทำเลที่ตั้งกิจการค้าปลีก • ศูนย์การค้าที่จัดตกแต่งตามวัฒนธรรม • เขตใจกลางธุรกิจ
ความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้งความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้ง “การเลือกทำเลที่ตั้ง” (Store Location) หมายถึง การพิจารณา คัดเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับการดำเนินกิจการค้าปลีกแต่ละประเภท.
ประเภทของทำเลที่ตั้งกิจการค้าปลีกประเภทของทำเลที่ตั้งกิจการค้าปลีก • ศูนย์การค้า (Shopping Center) • เขตใจกลางธุรกิจ (Central Business Districts) • ทำเลที่ตั้งร้านโดด ๆ (Free Standing Locations) • กิจการค้าปลีกแบบไดร์ฟอิน (Drive in Locations) • กลุ่มที่อยู่อาศัยหนาแน่น(Clusters)
บทที่ 3ลักษณะและประเภทของร้านค้าปลีก • ลักษณะของร้านค้าปลีก • ประเภทของกิจการร้านค้าปลีก - ร้านค้าปลีกลูกโซ่ของบริษัทเอง - ร้านค้าปลีกระบบแฟรนไชน์
บทที่ 4การออกแบบตกแต่งและวางผังร้านค้าปลีก • การออกแบบและวางผังร้านค้า • การออกแบบตกแต่งภายนอก • การออกแบบตกแต่งและวางผังภายในร้าน • ระบบการสัญจรของลูกค้า - การวางผังแบบรังผึ้ง - การวางผังแบบอิสระ - การวางผังแบบบูติก
การออกแบบและวางผังร้านค้าการออกแบบและวางผังร้านค้า การออกแบบและวางผังร้านค้าปลีก เพื่อแสดงออกถึงภาพพจน์และสร้างความน่าเชื่อถือตามวัตถุประสงค์ของกิจการค้าปลีกนั้น ๆ ซึ่งต้อง คำนึงถึงการออกแบบตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้ การออกแบบตกแต่งภายนอก ต้องเข้ากับสถาปัตยกรรมของกิจการ สี วัสดุ สัญลักษณ์ ตู้โชว์สินค้า ความปลอดภัย และประตูทางข้าให้สัมพันธ์กับการออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบตกแต่งภายใน เริ่มต้นจากการออกแบบวางผังและการบริหารพื้นที่ให้เกิดคุณค่า การจัดทางเดินหรือการจราจรของลูกค้า, ประเภทของสินค้า การจัดวางสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่
การออกแบบตกแต่งภายนอก(Exterior Design) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบตำแต่งภายนอกอาคาร มีดังนี้ • สีและวัสดุภายนอก(Color and Materials) • เครื่องหมายและสัญลักษณ์(Signs) • ผนังด้านนอกของอาคาร (Exterior Wall) • ตู้โชว์สินค้า (Windows) • ทางเข้าหน้าร้าน (The Store Entrance) • ชื่อร้าน(Store Name)
การออกแบบตกแต่งและวางผังภายในร้าน(Interior Store Design and Layout) การออกแบตกแต่งและวางผังภายในร้าน เป็นกลยุทธ์ในการเสนอขายสินค้าของกิจการค้าปลีก การออกแบบวางผังร้านเป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าเข้ามาหาสินค้าในร้าน เป็นการนำเสนอภาพพจน์ของร้านค้า การออกแบบที่ดี จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความสะดวกและกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น
ระบบการสัญจรของลูกค้า(Customer Traffic Flow) การออกแบบวางผังเส้นทางการสัญจรของลูกค้าภายในร้านค้าปลีกมี 3 วิธี คือ - การวางผังแบบรังผึ้ง (Grid Pattern) - การวางผังแบบอิสระ (Free Floe Pattern) - การวางผังแบบบูติก (Boutique Pattern)
บทที่ 5การวางแผนและการบริหารการค้าปลีก • นโยบายของกิจการค้าปลีก (Company Policies) • การวางแผนการตลาดสำหรับกิจการค้าปลีก (Retail Marketing Planning) • กลยุทธ์การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีก • ความสำเร็จของกลยุทธ์การวางตำแหน่ง (AchievingStrategicPositioning) • การจัดส่วนผสมทางการตลาดค้าปลีก(Retail Marketing Mix)
นโยบายของกิจการค้าปลีก(Company Polocies) • นโยบายที่เกี่ยวกับธุรกิจและพนักงาน ได้แก่ - เวลาทำงาน - กำหนเวลาและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน - การให้สวัสดิการ - การให้ความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพของพนักงาน - นโยบายการใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อธุรกิจ
การวางแผนการตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกการวางแผนการตลาดสำหรับกิจการค้าปลีก การวางแผนงานของร้านค้าปลีกมีส่วนช่วยให้กิการประสบความสำเร็จได้ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้บริหารมีความพร้อมที่จะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ทำให้ผู้บริหารสามารถมุ่งเน้นให้กิจการดำเนินไปตามวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ 3. ช่วยให้การทำงานของทุก ๆ ฝ่ายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 4. ช่วยลดต้นทุน และช่วยให้ผู้บริหารสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง 5. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถประเมินผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ถึงความ ก้าวหน้าของกิจการได้
การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า • การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สามารถกระทำได้ดังนี้ 1. การเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการ 2. การอบรมพนักงานทุกคนให้เข้าใจอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง 3. การสร้างบรรยากาศ ให้ทุกคนมุ่งสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
กลยุทธ์การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกกลยุทธ์การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีก • กลยุทธ์การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกประกอบด้วยกลยุทธ์ 5 ประการคือ 1. การวางตำแหน่งด้านทำเลที่ตั้ง (Location) 2. การวางตำแหน่งด้านส่วนผสมของสินค้า (Merchandise Mix) 3. การวางตำแหน่งด้านราคา (Price) 4. การวางตำแหน่งด้านการให้บริการ (Service) 5. การวางตำแหน่งด้านการสื่อสาร (Communication)
การจัดส่วนผสมทางการตลาดค้าปลีก(Retail marketing Mix) ส่วนผสมทางการตลาดค้าปลีก ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 P’sดังนี้ 1. กลยุทธ์ด้านสินค้า (Product Strategy) 2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategy) 3. กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย (Place Strategy) 4. กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion Strategy)
บทที่ 6การบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management) • ความหมายของการจัดซื้อ • วัตถุประสงค์ในการจัดซื้อของกิจการร้านค้าปลีก • การวางแผนเพื่อความต้องการของลูกค้า • แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค • คุณสมบัติของผู้จัดซื้อ • หลักเกณฑ์และเทคนิคในการขอส่วนลดจากผู้ขายส่ง
ความหมายของการจัดซื้อ “การจัดซื้อ” (Purchasing Management)หมายถึง กิจกรรมของ ผู้จัดซื้อซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกซื้อสินค้าให้ได้คุณสมบัติที่ถูกต้อง จำนวนที่ถูกต้อง เลือกซื้อจากแหล่งที่ถูกต้อง ในราคาที่ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของลูกค้า มากที่สุด
วัตถุประสงค์ในการจัดซื้อสินค้าของกิจการร้านค้าปลีกวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อสินค้าของกิจการร้านค้าปลีก • เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมกับผู้ซื้อและผู้ใช้ • เพื่อให้ได้สินค้าตามจำนวน ไม่ขาดตอน • เพื่อให้ได้สินค้าราคาต่ำสุด • เพื่อให้ได้สินค้าตรงกับความต้องการของตลาด • เพื่อให้กิจการมีกำไรและสามารถอยู่ในสภาวะการแข่งขันได้เป็นอย่างดี • เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการซื้อสินค้าซ้ำซ้อน สินค้าชำรุด เสียหาย ล้าสมัย
การวางแผนเพื่อความต้องการของลูกค้าการวางแผนเพื่อความต้องการของลูกค้า • การวางแผนเพื่อความต้องการของลูกค้า สิ่งที่ฝ่ายจัดซื้อจะต้องพิจารณาได้แก่ 1. การเลือกสรรสินค้า ประกอบด้วย - ความกว้าง (Width) - ความลึก (Depth) - ความสมบูรณ์ครบถ้วน (Consistency)
การวางแผนเพื่อความต้องการของลูกค้า (ต่อ) 2. วงจรชีวิตสินค้า (Product Life Cycles) แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน - ขั้นแนะนำ (Introduction) - ขั้นเติบโต (Growth) - ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity) - ขั้นอิ่มตัว (Saturation) - ขั้นถดถอย (Decline)
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค • แหล่งข้อมูลที่นำมาประกอบในการตัดสินใจหาได้จากแหล่งต่อไปนี้ 1. ข้อมูลการขายที่ผ่านมา 2. ดูจากรายการสินค้าในสต๊อก 3. จากการถามหาของลูกค้า 4. จากการร้องเรียนของลูกค้า 5. จากการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน 6. แหล่งอื่น ๆ
คุณสมบัติของผู้จัดซื้อคุณสมบัติของผู้จัดซื้อ • บุคคลที่จะรับผิดชอบในหน้าที่จัดซื้อ ควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1. มีความซื่อสัตย์ (Honesty) 2. เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับสินค้า (Merchandise Specialist) 3.เป็นผู้ที่มีจิตใจมุ่งอยู่ที่กำไร (Profit Minded) 4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งสินค้า (Merchandise Sources) 5. มองการณ์ไกลและมีไหวพริบ (Sixth Sense) 6. เป็นผู้ที่มีจิตใจมุ่งที่การขาย (Selling Minded)
หลักเกณฑ์และเทคนิคในการขอส่วนลดจากผู้ค้าส่งหลักเกณฑ์และเทคนิคในการขอส่วนลดจากผู้ค้าส่ง ผู้จัดซื้อต้องมีเทคนิคในการค้า มีศิลปะในการต่อรองราคา และมีความสามารถในการเจรจาตกลงเรื่องเงื่อนไขในการซื้อ การชำระเงิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านค้าปลีกมากที่สุด ประหยัดในเรื่องการขนส่ง เงื่อนไขในการซื้อขายแบ่งออกเป็นดังนี้ 1. ส่วนลดเงินสด (Cash Discounts) 2. ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discounts) 3. ส่วนลดการค้า (Trade Discounts) 4. ส่วนลดในการส่งเสริมการขาย (Promotional Discounts) 5. ส่วนลดตามฤดูกาล (Seasonal Discounts)
บทที่ 7การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) • ความหมายของ “การบริหารสินค้าคงคลัง” • วัตถุประสงค์ในการควบคุมสินค้าคงคลัง • หลักเกณฑ์ในการตรวจนับสินค้า • การดูแลสินค้าให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย
ความหมายของ การบริหารสินค้าคงคลัง “การบริหารสินค้าคงคลัง” (Inventory Management) หมายถึง การรวบรวม จดบันทึกรายการสินค้าในคลังสินค้าและสินค้าที่มี อยู่ในมือ เพื่อรายงานให้ผู้บริหารทราบว่า รายการสินค้าใดขายคล่องตัว รายการสินค้าใดควรจะลดราคาเพื่อล้างสต็อกหรือตัดยอดสต็อกออกไป
วัตถุประสงค์ในการควบคุมสินค้าคงคลังวัตถุประสงค์ในการควบคุมสินค้าคงคลัง • เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจที่ได้สินค้าตามต้องการ • เพื่อปรับปรุงเรื่องผลกำไร • เพื่อเป็นข้อมูลการจัดซื้อ • เพื่อใช้เงินทุนในการซื้อสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ทำให้สินค้าที่ขายช้ามีน้อยที่สุด • ทำให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
หลักเกณฑ์ในการตรวจนับสินค้าหลักเกณฑ์ในการตรวจนับสินค้า 1. การตรวจนับสินค้าถ้ามีปัญหา เช่นไม่แน่ใจ 2. การตรวจนับสินค้าเป็นกลุ่ม เช่น คนหนึ่งนับ คนหนึ่งเช็ค 3. อย่าใช้วิธีตรวจนับทางลัด เช่น สินค้าในกล่องก็เดาเอาว่าสินค้าครบ 4. การตรวจนับจะต้องจัดให้เป็นระเบียบ จัดเป็นแถว 5. การตรวจนับที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงฐานะของร้านค้าอย่างแท้จริง
การดูแลสินค้าให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขายการดูแลสินค้าให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย การดูแลสินค้าให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย ต้องทำดังนี้ 1. ดูแลสินค้าให้ใหม่ สด สะอาดอยู่เสมอ และมีสินค้าวางขายอย่าง เหมาะสม นำสินค้าออกมาเพิ่มเติมเสมอ 2. นำสินค้าออกให้ลูกค้าชมด้วยความระมัดระวัง 3. จัดวางสินค้าที่ขายให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาด เช็ดฝุ่นละออง ก่อนที่จะเปิดร้าน และวางสินค้าด้านที่มีตรา รูปภาพสินค้าออกโชว์ 4. จัดแสดงสินค้า ณ แหล่งขาย ทำให้สินค้าสะดุดตา สะดุดใจ
บทที่ 8การตั้งราคาสินค้า • กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategies) • ความหมายของ “ราคา” (Price) • การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological Pricing) • การลดราคาสินค้า (markdown)
ความหมายของ “ราคา” (Price) ความหมายของ “ราคา” (Price) หมายถึง มูลค่าที่ถูกใช้สำหรับการซื้อ หรือเสนอสำหรับการขายในลักษณะของหน่วยเงินในอดีต
กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategies) กลยุทธ์การตั้งราคา เพื่อให้การตั้งราคามีประสิทธิภาพ สามารถกระทำได้ 4 แบบ ดังนี้ 1. การตั้งราคาต่ำกว่าตลาด 2. การตั้งราคาสูงกว่าตลาด 3. การตั้งตามราคาตลาด 4. การตั้งราคาให้ครอบคลุมต้นทุน
การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา(Psychological Pricing) • การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยามีหลายวิธี ดังนี้ 1. การตั้งราคาขายแบบราคาเดียว 2. ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและคุณภาพ 3. การตั้งราคาเลขคี่ 4. การตั้งราคาสินค้าหลาย ๆ หน่วย 5. การตั้งราคาขายหลายชนิด 6. การตั้งระดับราคา 7. ส่วนเพิ่มราคาสินค้า
การลดราคาสินค้า (Markdown) การลดราคาสินค้ามีสาเหตุดังนี้ 1. เพื่อที่จะแก้ไขราคาขายที่ลูกค้าไม่พึงพอใจ 2. สินค้าชำรุดเสียหาย สินค้าเหลือเศษ อุปกรณ์ไม่ครบ 3. เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขายโดยใช้ราคาเป็นแรงกระตุ้น
บทที่ 9การพัฒนาภาพพจน์ของร้านค้าปลีก • องค์ประกอบส่วนผสมในการส่งเสริมการตลาดค้าปลีก • ประเภทของสื่อโฆษณา • วัตถุประสงค์การส่งเสริมการขาย • กระบวนการของพนักงานขายในกิจการค้าปลีก • การบริหารพนักงานขาย
องค์ประกอบส่วนผสมในการส่งเสริมการตลาดค้าปลีก (Retail Promotion Mix) องค์ประกอบส่วนผสมในการส่งเสริมการตลาดค้าปลีก จัดทำขึ้นโดยนำแนวความคิดที่ต้องการนำเสนอให้ลูกค้า ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารแบบต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยสื่อต่อไปนี้ 1.การโฆษณา(Advertising) - สื่อสิ่งพิมพ์ (The Printed Media) - สื่อโฆษณาที่เป็นการกระจายเสียงและภาพ(The Broadcast Media) - สื่อโฆษณาอื่น ๆ (Other Advertising Media) - สื่อโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย (Sales Promotion Media)
องค์ประกอบส่วนประสมในการส่งเสริมการตลาดค้าปลีก (ต่อ) 2.การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)ประกอบด้วย ดังนี้ - หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ - คูปอง - ของแถม - การจัดกิจกรรมพิเศษ - การส่งเสริมการขาย ณ จุดซื้อ - การสาธิตและการแจกตัวอย่างสินค้า
วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย มีดังนี้ 1. ทำให้มีการขายเกิดขึ้นในทันที 2. ดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้าน 3. สร้างความจงรักภักดีให้กับลูกค้า 4. สร้างค่านิยมของสินค้า/บริการ/ร้านค้า 5. การเพิ่มระดับการรับรู้สินค้า/บริการของลูกค้า
กระบวนการขายของพนักงานขายในกิจการค้าปลีกกระบวนการขายของพนักงานขายในกิจการค้าปลีก กระบวนการขายของพนักงานขายในร้านค้าปลีก แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเข้าพบลูกค้า (Approaching the Customer) 2. การค้นหาความต้องการของลูกค้า (Determining Customer Needs) 3. การเสนอขาย (The Selling Presentation) 4. การปิดการขาย (Closing the Sale) 5. การติดตามผลหลังการขาย (Following up theSale)
การบริหารพนักงานขาย(Managing Salespeople) การบริหารพนักงานขาย สามารถกระทำได้ในบางส่วนดังนี้ 1. การเสนอสิ่งกระตุ้นและจูงใจ 2. การสรรหาพนักงานขาย 3. การฝึกอบรมพนักงานขาย 4. การปรับปรุงยอดขายให้สอดคล้องกับอัตราการขายของพนักงานขาย 5. การให้ผลตอบแทน
บทที่ 10การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานการค้าปลีก • ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในเชิงการค้า • คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต • กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ E-Marketing
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในเชิงการค้าประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในเชิงการค้า ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในเชิงการค้า มีดังนี้ 1. เป็นสื่อกลางในการติดต่อค้าขาย 2. เป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ของนักธุรกิจทั่วโลก 3. เป็นแหล่งข้อมูลทางการค้าขนาดใหญ่ที่สุด 4. ทดแทนเครื่องมือทางการค้าเก่า 5. ช่วยลดต้นทุนและขยายขอบเขตทางการค้า 6. ทำให้เกิดการลัดวงจรการจัดจำหน่ายและสร้างผลกำไรมากขึ้น
คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต คุณลักษณะของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เพศ ชาย 70% อายุ 20 – 35 ปี อาชีพ นักศึกษาและพนักงานบริษัท/องค์กร การศึกษา ปวส., ปริญญาตรี, หรือสูงกว่า
คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ต่อ) พฤติกรรมเฉพาะของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต - ชอบศึกษาค้นคว้า - ชอบลองของใหม่, ไม่ชอบความจำเจ - ชอบใช้ของฟรีก่อน (ทดลองใช้ก่อน) - ชอบบริโภคข้อมูล ข่าวสาร - ตื่นตัว, ชอบเสี่ยง - ชอบความกระชับ
กลยุทธ์ “ช่องทางการจัดจำหน่าย แบบ E-Marketing ช่องทางการจัดจำหน่าย สามารถกำหนดรูปแบบของการขายได้ดังนี้ 1. ขายตรงไปยังผู้บริโภค 2. ขายตรงไปยังผู้ค้าปลีก 3. ขายตรงสู่องค์กร หน่วยงานราชการ 4. ขายปลีกและขายส่งออกแบบเครือข่าย 5. ขายส่งออกโดยตรง