1 / 60

อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา

อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา. Demand Supply and Price Determination. อุปสงค์ ( Demand ). ความหมาย จำนวนต่างๆของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาหนึ่งๆ ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น ในระยะเวลาที่กำหนด

kailey
Download Presentation

อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา Demand Supply and Price Determination

  2. อุปสงค์ ( Demand ) • ความหมาย จำนวนต่างๆของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาหนึ่งๆ ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น ในระยะเวลาที่กำหนด • อุปสงค์จะสัมฤทธิ์ผล ( Effective Demand ) ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยทั้งสามองค์ประกอบ • ความต้องการซื้อ ( Want ) • อำนาจซื้อ ( Purchasing Power ) • ความเต็มใจที่จะซื้อ ( Ability and Willingness )

  3. กฎแห่งอุปสงค์ ( Law of Demand ) • ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมแปรผกผัน ( inverse relation ) กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น • จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาลดลง ปริมาณความต้องการซื้อก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาเพิ่มขึ้นปริมาณความต้องการซื้อก็จะลดลง

  4. สาเหตุที่กฎของอุปสงค์เป็นเช่นนั้นสาเหตุที่กฎของอุปสงค์เป็นเช่นนั้น • ผลทางรายได้ ( Income Effect ) • ผลทางการทดแทน ( Substitution Effect ) • กฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถ ประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( Law of Diminishing Marginal Utility )

  5. ผลทางรายได้ ( Income Effect ) • การเปลี่ยนแปลงรายได้ที่แท้จริง ( Real Income ) • รายได้ที่แท้จริง คือ จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคได้รับ ซึ่งหาได้จาก รายได้ที่เป็นตัวเงิน ( Money Income ) หารด้วยราคาสินค้า • รายได้ที่แท้จริง =

  6. ตัวอย่าง นายพานทอง มีรายได้ 5000 ล้าน ต้องการซื้อดาวเทียมดวงละ 1000 ล้าน จะได้ 5 ดวง แต่หากราคาดาวเทียมสูงขึ้นเป็นดวงละ 2500 ล้าน เขาก็จะซื้อได้เพียง 2 ดวง แสดงว่า รายได้ที่แท้จริงลดลงแต่รายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ • McDonald and BigMac

  7. ผลทางการทดแทน ( Substitution Effect ) • เมื่อราคาของสินค้าชนิดหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าอีกชนิดซึ่งทดแทนกันได้อยู่คงที่ ผู้บริโภคจะมีความรู้สึกว่าสินค้าชนิดแรกแพงขึ้น จึงซื้อชนิดแรกน้อยลงและหันมาใช้สินค้าชนิดที่สอง • ตัวอย่างของสินค้าที่ทดแทนกันได้ • Pepsi - Coca Cola • อายิโนะโมะโต๊ะ - อายิโนะทาการะ • DTAC - AIS

  8. ผลทางการทดแทนเกิดจากราคาเปรียบเทียบ ( Relative Price ) ราคาเปรียบเทียบของ AIS แพงขึ้นเมื่อเทียบกับ DTAC

  9. กฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( Law of Diminishing Marginal Utility ) • ในขณะใดขณะหนึ่ง การบริโภคสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นแต่ละหน่วย จะได้ความพอใจลดลงเรื่อยๆ ความพอใจ จำนวนสินค้า

  10. สมการอุปสงค์ ( Demand Equation ) • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณซื้อในรูปแบบที่ชัดเจนกว่ารูปฟังก์ชัน • ตัวอย่างเช่น QDx = 10 - 2 P

  11. ราคา ปริมาณ เส้นอุปสงค์ ( Demand Curve ) เมื่อนำราคาและปริมาณจากตารางมาแสดงเป็นจุดบนกราฟ และลากเส้นต่อเนื่องจะได้ว่า ข้อสังเกต: Slope มีค่าเป็นลบ

  12. ตัวกำหนดอุปสงค์ ( Demand Determinants ) • ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง • รสนิยมของผู้ซื้อ • รายได้ของผู้ซื้อ • ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง • ฤดูกาล • การศึกษาและการโฆษณา

  13. ตัวกำหนดโดยตรง ( Direct Determinants ) • ในที่นี้ได้แก่ราคา • ตัวกำหนดโดยอ้อม ( Indirect Determinants ) กำหนดเป็นรูปฟังก์ชันได้ QDX = f ( PX, A1, A2, …….., AN ) เมื่อPX เป็นราคาของสินค้า A1 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 1 A2 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 2 AN เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ N

  14. การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อ( Changes in Quantity Demanded ) • การที่ ราคาสินค้า ได้เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณซื้อเปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปสงค์ โดยสมมติให้ตัวกำหนดอุปสงค์อื่นคงที่ ซึ่งเป็นการย้ายจากจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์เดิม

  15. ราคา ราคาเดิมอยู่ที่ระดับ P1ปริมาณซื้อเท่ากับ Q1 ต่อมาราคาเปลี่ยนเป็น P2 ปริมาณซื้อเท่ากับ Q2 ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายจากจุด D1 เป็น D2 บนเส้นอุปสงค์เดิม D1 P1 D2 P2 ปริมาณ Q1 Q2

  16. การย้ายเส้นอุปสงค์( Shifts in Demand Curve ) • การที่ตัวกำหนดอุปสงค์ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณซื้อเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม • การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจเพิ่มขี้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี ซึ่งขี้นกับตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม • ถ้าเพิ่มขึ้น อุปสงค์ Shift ไปทางขวา • ถ้าลดลง อุปสงค์ Shift ไปทางซ้าย

  17. ราคา D’ D1’ D1 P1 D2’ D2 P2 D ปริมาณ Q1 Q2 Q’2 Q’1 การย้ายเส้นอุปสงค์ - เพิ่มขึ้น ( Shift ขวา ) ปริมาณซื้อเพิ่มขึ้น ณ ทุกระดับราคา

  18. ราคา D1 D’1 P1 D2 D’2 P2 D ปริมาณ D’ Q1 Q2 Q’1 Q’2 การย้ายเส้นอุปสงค์ - ลดลง ( Shift ซ้าย ) ปริมาณซื้อลดลง ณ ทุกระดับราคา

  19. คุณลักษณะของสินค้าและบริการคุณลักษณะของสินค้าและบริการ • สินค้าปกติ ( Normal Goods ) • สินค้าด้อยคุณภาพ ( Inferior Goods ) • สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ( Substitution Goods ) • สินค้าที่ใช้ประกอบกันหรือร่วมกัน ( Complementary Goods )

  20. สินค้าปกติ ( Normal Goods ) • ปริมาณซื้อจะผันแปรโดยตรงกับรายได้ของผู้บริโภค • ถ้ารายได้ของเพิ่ม ปริมาณความต้องการก็จะเพิ่มขึ้น • ตัวอย่าง ………………………………….. สินค้าด้อยคุณภาพ ( Inferior Goods ) สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อในปริมาณที่น้อยลงเมื่อรายได้ของเขาเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง มันฝรั่ง เกลือ

  21. สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ( Substitution Goods ) • การเปลี่ยนแปลงในสินค้าหนึ่งมีผลกระทบต่อสินค้าในอีกตัวหนึ่ง ในทางกลับกัน • ตัวอย่าง เนื้อหมู-วัว ชา-กาแฟ ปากกา-ดินสอ รถไฟ-เครื่องบิน-บขส. สินค้าที่ใช้ประกอบกันหรือร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงในสินค้าหนึ่งมีผลกระทบต่อสินค้าในอีกตัวหนึ่ง ในทางเดียวกัน ตัวอย่าง สมุด-ดินสอ กาแฟ-น้ำตาล รถยนต์-น้ำมัน

  22. อุปสงค์รายบุคคล ( Individual Demand )และอุปสงค์ตลาด ( Market Demand ) • เมื่อนำปริมาณของอุปสงค์ของผู้บริโภคทุกคนในตลาดมารวมกัน ณ ระดับราคาต่างๆ ก็จะได้ อุปสงค์ของตลาด • ตัวอย่าง

  23. อุปทาน ( Supply ) • อุปทาน หมายถึง ความเต็มใจที่จะผลิตสินค้าและบริการออกจำหน่าย ณ ระดับราคาต่างๆภายในระยะเวลาที่กำหนด

  24. ฟังก์ชันอุปทาน ( Supply Function ) • แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิต เต็มใจที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้า • ตัวอย่าง เช่น QSx = f ( Px ) • ปริมาณความต้องการขาย ( ตัวแปรตาม ) เป็นฟังก์ชันของราคา ( ตัวแปรต้น ) นั่นคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณความต้องการขายก็จะเปลี่ยนไป

  25. กฎแห่งอุปทาน ( Law of Supply ) • ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการขายย่อมแปรผันโดยตรง กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น • จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการขายก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาลดลง ปริมาณความต้องการขายก็จะลดลง

  26. สาเหตุที่กฎของอุปทานเป็นเช่นนั้นสาเหตุที่กฎของอุปทานเป็นเช่นนั้น • เป้าหมายของผู้ผลิตที่ต้องการกำไร มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ • เรื่องของส่วนต่างระหว่างต้นทุนและราคาขาย ต้นทุนประกอบด้วย ค่าเช่า ค่าแรง ดอกเบี้ย และผลกำไรของผู้ประกอบการ

  27. สมการอุปทาน ( Supply Equation ) • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณขายในรูปแบบที่ชัดเจนกว่ารูปฟังก์ชัน • ตัวอย่างเช่น QSx = 10 + 2 P, QSx = 10 + 2 P2 • ราคาและปริมาณมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน นั่นคือ Slope มีค่าเป็นบวก

  28. ข้อสังเกต: Slope มีค่าเป็นบวก ราคา ปริมาณ เส้นอุปทาน (Supply Curve ) เมื่อนำราคาและปริมาณมาแสดงเป็นจุดบนกราฟ และลากเส้นต่อเนื่องจะได้ว่า

  29. ตัวกำหนดอุปทาน ( Supply Determinants ) • ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง • นโยบายของหน่วยผลิต • เทคนิคในการผลิต • ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง • ราคาของปัจจัยการผลิต • จำนวนผู้ผลิตในตลาด • อื่นๆ เช่น นโยบายรัฐ วิกฤติการณ์ ภาษี เงินช่วยเหลือ

  30. ตัวกำหนดโดยตรง ( Direct Determinants ) • ในที่นี้ได้แก่ราคา • ตัวกำหนดโดยอ้อม ( Indirect Determinants ) กำหนดเป็นรูปฟังก์ชันได้ QSX = f ( PX, B1, B2, …….., BN ) เมื่อPX เป็นราคาของสินค้า B1 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 1 B2 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 2 BN เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ N

  31. การเปลี่ยนแปลงปริมาณขาย( Changes in Quantity Supplied ) • การที่กำหนดโดยตรง ( ราคา ) ได้เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณการผลิตหรือปริมาณขาย เปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปทาน โดยสมมติให้ตัวกำหนดโดยอ้อมอยู่คงที่ ซึ่งเป็นการย้ายจากจุดหนึ่งบนเส้นอุปทานเดิม ( Move along the curve )

  32. P2 S2 P1 S1 Q1 Q2 ราคาเดิมอยู่ที่ระดับ P1ปริมาณขายเท่ากับ Q1 ต่อมาราคาเปลี่ยนเป็น P2 ปริมาณขายเท่ากับ Q2 ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายจากจุด S1 เป็น S2 บนเส้นอุปทานเดิม ราคา ปริมาณ

  33. การย้ายเส้นอุปทาน( Shifts in Supply Curve ) • การที่ตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อมตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม • การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจเพิ่มขี้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี ซึ่งขี้นกับตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อม • ถ้าเพิ่มขึ้น อุปทาน Shift ไปทางขวา • ถ้าลดลง อุปทาน Shift ไปทางซ้าย

  34. ราคา ปริมาณ ราคา P1ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนขายมีการเปลี่ยนแปลงจาก Q1 เป็น Q2 ซึ่งเป็นลักษณะของอุปทานเพิ่มขึ้น ( increase in supply ) S1 S2 P1 Q1 Q2

  35. ราคา P1ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนขายมีการเปลี่ยนแปลงจาก Q1 เป็น Q2 ซึ่งเป็นลักษณะของอุปทานลดลง ( decrease in supply ) ราคา S2 S1 P1 ปริมาณ Q2 Q1

  36. การกำหนดราคา และดุลยภาพตลาด( Price Determination and Market Equilibrium ) • ราคาดุลยภาพ คือ ราคาที่ทำให้ จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อมีค่าเท่ากับจำนวนสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์ที่จะผลิตออกขายในขณะเดียวกันพอดี • สภาวะดังกล่าวเรียกว่า ดุลยภาพของตลาด • QDx = QSx ราคาดุลยภาพ

  37. ราคา ปริมาณ ราคาดุลยภาพ และปริมาณดุลยภาพ S E Pequilibrium D Qequilibrium

  38. ตัวอย่าง • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = 800 - 2 PXและ QSx= 200 + 4 PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพ • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = a - b PXและ QSx= c + d PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพในรูปของตัวแปร และข้อกำหนดของต่าคงที่ a, b, c, d Note: บางครั้งสมการอาจไม่เป็นสมการเชิงเส้นตรง

  39. อุปทานส่วนเกิน และ อุปสงค์ส่วนเกิน( Excess Supply and Excess Demand ) • ในบางครั้ง ราคาที่เป็นอยู่ในตลาดไม่ใช่ราคาดุลยภาพ ดังนั้นตลาดจำเป็นต้องมีการปรับตัว จนกว่าจะเกิดดุลยภาพขึ้นอีกครั้ง • อุปทานส่วนเกิน เกิดจาก ราคานั้นสูงกว่าราคาดุลยภาพ ซึ่งสูงเกินอำนาจซื้อของผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่จะจ่ายได้ ทำให้สินค้าที่มีอยู่ขายไม่หมด • อุปสงค์ส่วนเกิน เกิดจากการที่ราคาขายต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้ผู้บริโภคต้องการสินค้ามากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตนำออกขาย จึงทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า

  40. ราคา ปริมาณ อุปทานส่วนเกิน Excess Supply S P E Pequilibrium D Qequilibrium QS QD

  41. ราคา ปริมาณ อุปสงค์ส่วนเกิน S E Pequilibrium P D Excess Demand QS Qequilibrium QD

  42. ตัวอย่าง • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = 400 - 2 PXและ QSx= 100 + 4 PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพ และหากราคาสินค้าในตลาดอยู่ที่ 40 บาทจะเกิดเหตุการณ์ใด ปริมาณเท่าไร และจะมีกระบวนการปรับตัวอย่างไร พร้อมวาดภาพประกอบ • และหากว่าราคาตลาดอยู่ที่ 55 บาท จะเกิดผลอย่างไร

  43. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ( Change in Equilibrium ) • “ภาวะดุลยภาพ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงที่อยู่อย่างนั้นตลอดไป และถ้ามีเหตุใดๆก็ตามมาทำให้สภาพการณ์ที่เป็นจริงห่างไกลจากภาวะดุลยภาพเมื่อใด จะต้องมีแรงผลักดันให้กลับไปอยู่ ณ ดุลยภาพเสมอตราบเท่าที่เส้นอุปสงค์และอุปทานยังคงเดิม” • อย่างไรก็ตามตำแหน่งภาวะดุลยภาพอาจเปลี่ยนแปลงไปได้หากอุปสงค์ อุปทาน หรือทั้งสองอย่างได้มีการเปลี่ยนแปลงไป

  44. ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของผ้าดิบ ซึ่งมีภาวะดุลยภาพที่จุด E ต่อมรามีการส่งเสริมให้คนใช้สินค้าที่ไม่สร้างมลภาวะ ความนิยมผ้าดิบจึงมากขึ้นและรัฐยังให้ดาราเป็น Presenter รสนิยมของผู้บริโภคจึงมีการเปลี่ยนแปลง มีความต้องการผ้าดิบมากขึ้น ทำให้เส้นอุปสงค์ย้ายไปทางขวาของเส้นเดิม ( อุปสงค์ เพิ่มขึ้น ) เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ

  45. ราคา ปริมาณ ตัวอย่างที่ 1 S E’ P’ E P D’ D Q Q’

  46. ตัวอย่างที่ 2 สมมติ D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของอาหารญี่ปุ่น มาวันหนึ่งเกิดตรวจพบว่าปลาดิบมีพยาธิอันตรายถึงสมองและทำให้เป็นโรคปัญญาอ่อนได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงกลัวและไม่กล้ากินปลาดิบ จึงทำให้อุปสงค์ของอาหารญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ( เส้นอุปสงค์จะย้ายไปทางซ้าย )

  47. ราคา ปริมาณ ตัวอย่างที่ 2 S E P E’ P’ D D’ Q’ Q

  48. ตัวอย่างที่ 3 สมมติว่า D และ S เป็นอุปสงค์และอุปทานของร้านอาหารญี่ปุ่นแบบ บุฟเฟ่ต์ มีดุลยภาพอยู่ที่จุก E ต่อมามีนักลงทุนใหม่ๆ ได้เข้ามาเพราะเล็งเห็นว่าคนจะหันมาทานอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น จงทำให้อุปทานของสินค้าเพิ่มขึ้น และมีการปรับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่

  49. ราคา ตัวอย่างที่ 3 S S’ E P E’ P’ D ปริมาณ Q Q’

  50. ตัวอย่างที่ 4 สมมติให้ D และ S เป็นอุปสงค์และอุปทานของทุเรียนในปีที่แล้ว ซึ่งมีดุลยภาพอยู่ที่จุด E ปรากฏว่าในปีนี้มีฝนตกใหญ่ทำให้น้ำท่วมสร้างความ ( ฉิบ )หายนะให้แก่ชาวสวน สิ่งที่เกิดคือ อุปทานของทุเรียนลดลง มีการเคลื่อนไปทางซ้าย ทำให้เกิดดุลยภาพใหม่

More Related