1 / 100

ลักษณะงานควบคุม และขอบเขตของ การทำงานตามกฎกระทรวง และข้อบังคับ

ลักษณะงานควบคุม และขอบเขตของ การทำงานตามกฎกระทรวง และข้อบังคับ. โดย นายมานิตย์ กู้ ธนพัฒน์ อนุกรรมการทดสอบความรู้ความชำนาญการประกอบวิชาชีพ ระดับวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล. Part I. Part II. งานวิศวกรรมควบคุม. ขอบเขตความสามารถของผู้ได้รับใบอนุญาต. Part I.

kaloni
Download Presentation

ลักษณะงานควบคุม และขอบเขตของ การทำงานตามกฎกระทรวง และข้อบังคับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ลักษณะงานควบคุม และขอบเขตของการทำงานตามกฎกระทรวง และข้อบังคับ โดย นายมานิตย์ กู้ธนพัฒน์ อนุกรรมการทดสอบความรู้ความชำนาญการประกอบวิชาชีพ ระดับวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

  2. Part I Part II งานวิศวกรรมควบคุม ขอบเขตความสามารถของผู้ได้รับใบอนุญาต

  3. Part I งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งาน อำนวยการใช้ งานวางโครงการ งานพิจารณา ตรวจสอบ งานออกแบบและคำนวณ งานวิศวกรรมควบคุม งานให้คำปรึกษา

  4. 1 งานให้คำปรึกษา • การให้คำแนะนำ • การตรวจวินิจฉัย • การตรวจรับรองงาน งานให้คำปรึกษา

  5. 2 งานวางโครงการ งานวางโครงการ • การศึกษา • การวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม • การวางแผนโครงการ

  6. 3 งานออกแบบและคำนวณ งานออกแบบและคำนวณ • การใช้หลักวิชาเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง การสร้าง การผลิต หรือการวางผังโรงงานและเครื่องจักร โดยมีรายการคำนวณ แสดงเป็น รูปแบบ ข้อกำหนด หรือประมาณการ

  7. 4 งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานควบคุมการสร้าง หรือการผลิต • การอำนวยการควบคุม หรือการควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้าง การสร้าง การผลิต การติดตั้ง การซ่อม การดัดแปลง การรื้อถอนงาน หรือการเคลื่อนย้ายงาน ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามรูป แบบ และข้อกำหนด ของหลักวิชาชีพวิศวกรรม

  8. 5 งานพิจารณา ตรวจสอบ งานพิจารณาตรวจสอบ • การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ การหาข้อมูลและสถิติต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงาน หรือการ สอบทาน

  9. 6 งาน อำนวยการใช้ งานอำนวยการใช้ • การอำนวยการดูแลการใช้ การบำรุงรักษางาน ทั้งที่เป็นชิ้นงานหรือระบบ ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามรูปแบบ และข้อกำหนดของหลักวิชาชีพวิศวกรรม

  10. Part II ขอบเขตความสามารถของผู้ได้รับใบอนุญาต ประเภทและขนาดของงานวิศวกรรมควบคุม สำหรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร และระดับสามัญวิศวกร

  11. ประเภท และขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

  12. เครื่องจักรกล 1. งานให้คำปรึกษา และ 5. งานพิจารณาตรวจสอบ ควบคุมทุกขนาด

  13. เครื่องจักรกล (ต่อ) 2. งานวางโครงการ เครื่องจักรกลที่มี มูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท/เครื่อง ขึ้นไป หรือ เครื่องจักรที่มี มูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาท/โครงการ ขึ้นไป หรือ เครื่องจักรกลที่มี ขนาดระบบตั้งแต่ 100 กิโลวัตต์รวมกัน ขึ้นไป หรือ เครื่องจักรกลที่ใช้งานใน อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไปหรือ เครื่องจักรกลที่ใช้งานใน อาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป

  14. เครื่องจักรกล (ต่อ) 3. งานออกแบบและคำนวณ เครื่องจักรกลที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ 7.5 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง ขึ้นไป 4. งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต เครื่องจักรที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ 20 กิโลวัตต์ต่อเครื่องขึ้นไป

  15. เครื่องจักรกล (ต่อ) 6. งานอำนวยการใช้ เครื่องจักรกลที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ต่อระบบขึ้นไป

  16. เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่น ภาชนะรับแรงดัน หรือเตาอุตสาหกรรม 1. งานให้คำปรึกษาและ 5. งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกขนาด

  17. เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่น ภาชนะรับแรงดันหรือเตาอุตสาหกรรม(ต่อ) 2. งานวางโครงการ ที่มี มูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท/เครื่อง ขึ้นไป หรือ ที่มี มูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาท/โครงการ ขึ้นไป หรือ ที่ใช้ความร้อน ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูลต่อปี ขึ้นไป หรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไปหรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป

  18. เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่น ภาชนะรับแรงดัน หรือเตาอุตสาหกรรม(ต่อ) 3. งานออกแบบและคำนวณ 4. งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ควบคุมทุกขนาด • มีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสกาล ขึ้นไป หรือ • มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นไป หรือ • มีอัตราการผลิตไอน้ำหรือไออย่างอื่นตั้งแต่ 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ขึ้นไป

  19. เครื่องกำเนิดไอน้ำหรือไออย่างอื่น ภาชนะรับแรงดัน หรือเตาอุตสาหกรรม(ต่อ) 6. งานอำนวยการใช้ ที่มีอัตราการผลิตไอน้ำหรือ ไออย่างอื่น ตั้งแต่ 20,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อเครื่องขึ้นไป

  20. หม้ออัดอากาศหรือหม้ออัดก๊าซหม้ออัดอากาศหรือหม้ออัดก๊าซ 1. งานให้คำปรึกษา และ 5. งานพิจารณาตรวจสอบ ควบคุมทุกขนาด หม้ออัดอากาศ หรือหม้ออัดก๊าซ ที่มี ความดันตั้งแต่ 1,300 กิโลปาสกาล ขึ้นไป และมีปริมาตรตั้งแต่ 10 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นไป 6. งานอำนวยการใช้

  21. เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็นเครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็น 1. งานให้คำปรึกษาและ5. งานพิจารณาตรวจสอบ ควบคุมทุกขนาด

  22. เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็น (ต่อ) 2. งานวางโครงการ มี มูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท/เครื่อง ขึ้นไป หรือ มี มูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาท/โครงการ ขึ้นไป หรือ มี ขนาดระบบตั้งแต่ 100 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปหรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป

  23. เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็น (ต่อ) 3. งานออกแบบและคำนวณ • มี ขนาดตั้งแต่ 7.5 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง ขึ้นไป หรือ • มี พื้นที่ปรับอากาศหรือทำความเย็นตั้งแต่ 400 ตารางเมตร ขึ้นไป 4. งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต มีขนาดตั้งแต่ 20 กิโลวัตต์ขึ้นไป

  24. เครื่องปรับภาวะอากาศหรือเครื่องทำความเย็น (ต่อ) 6. งานอำนวยการใช้ มี ขนาดตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ต่อระบบ ขึ้นไป

  25. ระบบของไหลในท่อรับแรงดัน หรือสุญญากาศ 1. งานให้คำปรึกษาและ 5. งานพิจารณาตรวจสอบ ควบคุมทุกขนาด

  26. ระบบของไหลในท่อรับแรงดัน หรือสุญญากาศ (ต่อ) 2. งานวางโครงการ มี มูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท/เครื่อง ขึ้นไป หรือ มี มูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาท/โครงการ ขึ้นไป หรือ มี ขนาดระบบตั้งแต่ 100 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยในอาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปหรือ ที่ใช้งานใน อาคารที่มีผู้ใช้สอยพื้นที่ตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป

  27. ระบบของไหลในท่อรับแรงดัน หรือสุญญากาศ (ต่อ) 3. งานออกแบบและคำนวณ • งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต • มี ความดัน ของไหลในท่อ ตั้งแต่ 500 • กิโลปาสกาล ขึ้นไป หรือ • สุญญากาศ ตั้งแต่ลบ 50 กิโลปาสกาลลงมา 6. งานอำนวยการใช้ มี ความดัน ของไหลในท่อ ตั้งแต่ 500 กิโลปาสกาลต่อระบบ ขึ้นไป

  28. การจัดการพลังงาน 1. งานให้คำปรึกษา 5. งานพิจารณาตรวจสอบ 3.งานออกแบบ และคำนวณ 2. งานวางโครงการ • มี ขนาด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือ • ใช้ความร้อนตั้งแต่ 20 ล้าน เมกะจูลต่อปี ขึ้นไป ควบคุมทุกขนาด

  29. ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย (ต่อ) 1. งานให้คำปรึกษาและ 5. งานพิจารณาตรวจสอบ ควบคุมทุกขนาด 2. งานวางโครงการ 3. งานออกแบบและคำนวณ • มี มูลค่ารวมกันตั้งแต่ 3 ล้านบาทต่อระบบ ขึ้นไป หรือ • มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

  30. ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย (ต่อ) 4. งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป 6. งานอำนวยการใช้

  31. แนะนำวิธีการเขียนผลงานแนะนำวิธีการเขียนผลงาน เพื่อเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร โดย นายมานิตย์ กู้ธนพัฒน์ อนุกรรมการทดสอบความรู้ความชำนาญการประกอบวิชาชีพ ระดับวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

  32. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกรคำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร 1 กรอกรายละเอียดในแบบดังต่อไปนี้ 1.1 แบบคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (เลื่อนระดับ) (โปรดใส่เครื่องหมาย √ หน้าข้อที่อยู่ที่ท่านต้องการให้จัดส่งเอกสาร) 1.2 แบบประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

  33. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) 1.3 แบบแสดงปริมาณและคุณภาพผลงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับสามัญวิศวกร ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยมีผู้รับรองผลงานเป็น วิศวกรระดับวุฒิวิศวกร ในสาขาและแขนงเดียวกันกับผู้ยื่นคำขอ พร้อมระบุที่อยู่ปัจจุบัน สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และความเกี่ยวข้องโดยจัดพิมพ์ขนาด A4 1.4 เมื่อกรอกแบบในข้อ 1.1 – 1.3 เรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำ สำเนาเพิ่มอีก 3 ชุด (ไม่รวมต้นฉบับ)

  34. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) ข้อแนะนำการจัดทำรายงานผลงาน ที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อใช้ ประกอบการพิจารณา 2 ตั้งแต่ 2 โครงการ ไม่เกิน 5 โครงการ จัดพิมพ์ขนาด A 4 โครงการละ 4 เล่ม โดยมีรายละเอียดโครงการ ดังนี้ 2.1 ชื่อโครงการ 2.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.3 ขั้นตอนในการดำเนินงานและการนำความรู้ เชิงวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในงาน

  35. 2.4 ระยะเวลาปฏิบัติงาน 2.5 ปัญหาและอุปสรรค พร้อมการแก้ไขปัญหา 2.6 ผลสำเร็จในขั้นสุดท้ายของโครงการ และจุดเด่นของโครงการ คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ)

  36. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) 3 เอกสารประกอบ 3.1 สำเนาใบอนุญาตของผู้ยื่นคำขอ และผู้รับรองผลงานลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ( โดยจัดทำสำเนาเพิ่มอีก 3 ชุด) 3.2 รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและแว่นดำ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน1 ปี จำนวน 2 รูป 3.3 รายละเอียดโครงการตามข้อ 2.

  37. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) ขั้นตอนการพิจารณา 4 4.1 เจ้าหน้าที่สภาวิศวกรตรวจรับคำขอรับใบอนุญาต (เลื่อนระดับ) พร้อมเอกสารประกอบ 4.2 คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาผลงานและปริมาณ พร้อมทั้งทดสอบความรู้ประสบการณ์ และความสามารถในการประกอบวิชาชีพ และสอบสัมภาษณ์ (สอบสัมภาษณ์ครั้งแรกไม่ผ่านมีสิทธิ์สอบครั้งที่ 2 ภายใน 30 วัน หลังประกาศผล)

  38. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) 4.3 คณะกรรมการสภาวิศวกรพิจารณา 4.4 สำนักงานสภาวิศวกรแจ้งผลการพิจารณา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิศวกร

  39. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) เอกสารประกอบ - แบบคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ระดับวุฒิวิศวกร - แบบประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม - แบบแสดงปริมาณและคุณภาพผลงาน ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

  40. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) การขอเลื่อนระดับวิศวกรรมควบคุม จากระดับ“สามัญวิศวกร” เป็น“วุฒิวิศวกร” - ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับสามัญวิศวกรหลังจากได้รับใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 5 ปี • ยื่นแสดงผลงานและปริมาณงานที่รับรองโดยวิศวกร • ระดับ“วุฒิวิศวกร” สาขาเดียวกัน

  41. คำแนะนำในการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร (ต่อ) การจัดทำรายงานผลงาน ที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา (2 โครงการ ไม่เกิน 5 โครงการ)

  42. การเสนอรายงานผลงาน • ชื่อโครงการ • วัตถุประสงค์ของโครงการ • รายละเอียดโครงการ • ขั้นตอนดำเนินงานและการนำความรู้เชิงวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในงาน • ระยะเวลาปฏิบัติงาน • ปัญหาและอุปสรรค พร้อมการแก้ไขปัญหา • ผลสำเร็จในขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ และจุดเด่นของโครงการ

  43. ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มการขอเลื่อนระดับตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มการขอเลื่อนระดับ

  44. ประวัติการประกอบอาชีพประวัติการประกอบอาชีพ ตัวอย่างการกรอกประวัติ

  45. ตัวอย่างการกรอกประวัติ (ต่อ)

  46. ตัวอย่างการกรอกประวัติ (ต่อ)

  47. ตัวอย่างสำเนาใบอนุญาตของผู้รับรองผลงานตัวอย่างสำเนาใบอนุญาตของผู้รับรองผลงาน

  48. ตัวอย่างหนังสือรับรองของผู้รับรองผลงานตัวอย่างหนังสือรับรองของผู้รับรองผลงาน หนังสือรับรอง ของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เขียนที่ บริษัท ..................จำกัด วันที่ 5 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายวิศวกร รักเครื่องกล อายุ 50 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย อยู่บ้านเลขที่ 50/6 ซอย รามคำแหง 40 ถนน ถ.รามคำแหง แขวง หัวหมาก เขต บางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร ที่ทำงาน 999/6 ซอย รามคำแหง 39 ถนน รามคำแหง แขวง หัวหมาก เขต บางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-935-6868 ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภท วุฒิวิศวกร สาขา วิศวกรรมเครื่องกล ตามใบอนุญาต เลขทะเบียน วก......... ขอรับรองแบบบัญชีแสดงปริมาณและคุณภาพผลงานเพื่อประกอบการยื่นขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกร ของนายสภา รักชาติ ระดับสามัญ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ตามใบอนุญาตทะเบียน สก..... เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ลงชื่อ ……………………………วุฒิวิศวกร ( นายวิศวกร รักเครื่องกล) ผู้รับรอง

  49. ข้อแนะนำการจัดทำรายงานผลงานข้อแนะนำการจัดทำรายงานผลงาน ที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

  50. วัตถุประสงค์ในการจัดทำรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดทำรายงาน • รายงานจะต้องแสดงให้เห็นชัดเจนถึง การใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล ในการประกอบวิชาชีพ 2. รายงานจะต้องแสดงให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหา ที่ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล 3. ปริมาณงานที่แสดงในรายงานนั้น ต้องบ่งชี้ถึงประสบการณ์ที่เพียงพอต่อการพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล ในระดับที่สูงขึ้น

More Related