600 likes | 2.02k Views
กฎหมายทะเล The Law of The Sea. น.อ.ไพรัช รัตนอุดม. รอง ผอ.สธน.ทร. ที่มาของกฎหมายทะเล. จารีตประเพณี กฎหมาย ทั่ว ไป สนธิสัญญา. วิวัฒนาการของกฎหมายทะเล. 1. กฎหมายทะเลก่อน ค.ศ.1958 - กฎหมายทะเลยุคโรมัน - กฎหมายทะเลยุคแสวงหาดินแดนใหม่
E N D
น.อ.ไพรัช รัตนอุดม รอง ผอ.สธน.ทร.
ที่มาของกฎหมายทะเล • จารีตประเพณี • กฎหมายทั่วไป • สนธิสัญญา
วิวัฒนาการของกฎหมายทะเลวิวัฒนาการของกฎหมายทะเล • 1. กฎหมายทะเลก่อน ค.ศ.1958 - กฎหมายทะเลยุคโรมัน - กฎหมายทะเลยุคแสวงหาดินแดนใหม่ - การกำหนดทะเลอาณาเขต 2. กฎหมายทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 - อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทะเล 4 ฉบับ 3. กฎหมายทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ค.ศ.1982
ทฤษฏีกฎหมายในการกำหนดเขตทางทะเลทฤษฏีกฎหมายในการกำหนดเขตทางทะเล • 1. ทฤษฏีทะเลปิด (Mare Clossum) • 2. ทฤษฏีทะเลเปิด (Mare Reberum)
อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทะเล1.อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 4 ฉบับ - อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง - อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง - อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป - อนุสัญญาว่าการอนุรักษ์ทรัพยากร 2.อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (UNCLOS 1982)
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982(UNCLOS III) • แบ่งเป็น 17 ภาค 320 ข้อ กับอีก 9 ผนวก • ภาค 1 บทนำ ข้อ 1 • ภาค 2 ทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ข้อ 2-33 • ภาค 3 ช่องแคบที่ใช้เดินเรือระหว่างประเทศ ข้อ 34-45 • ภาค 4 รัฐหมู่เกาะ ข้อ46-54 • ภาค 5 เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ข้อ 55-76 • ภาค 6 ไหล่ทวีป ข้อ 77-85
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982(UNCLOS III) (ต่อ) • ภาค 7 ทะเลหลวง ข้อ 86-120 • ภาค 8 ระบอบของเกาะ ข้อ 121 • ภาค 9 ทะเลปิดหรือกึ่งปิด ข้อ 122-123 • ภาค 10 สิทธิของรัฐไร้ฝั่ง ข้อ124-132 • ภาค 11 บริเวณพื้นที่ ข้อ 133-191 • ภาค 12 การคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ข้อ 192-237
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982(UNCLOS III) • ภาค 13 การวิจัยวิทยาศาสตร์ ข้อ 238-265 • ภาค 14 การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล ข้อ 266-278 • ภาค 15 การระงับข้อพิพาท ข้อ 279-299 • ภาค 16 บทบัญญัติทั่วไป ข้อ 300- 304 • ภาค 17 บทบัญญัติสุดท้าย ข้อ 305-320
ภาคผนวก • ผนวก 1 ชนิดพันธ์ที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอ • ผนวก 2 กรรมาธิการกำหนดขอบเขตไหล่ทวีป • ผนวก 3 เงื่อนไขพื้นฐานในการตรวจหา สำรวจ และแสวงประโยชน์ • ผนวก 4 ธรรมนูญของวิสาหกิจ • ผนวก 5 การประนอม • ผนวก 6 ธรรมนูญศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ • ผนวก 7 อนุญาโตตุลาการ • ผนวก 8 อนุญาโตตุลาการพิเศษ • ผนวก 9 การเข้าร่วมขององค์การระหว่างประเทศ
เส้นฐานการวัดเขตแดนทางทะเลวัดจากเส้นฐานแบ่งได้เป็น 2 ชนิด - เส้นฐานปกติ - เส้นฐานตรง
เส้นฐานปกติ แนวน้ำลดตลอดชายฝั่ง เส้นฐานตรง แนวเส้นตรง ซึ่งลากอย่างเหมาะสมเชื่อมจุดนอกสุดของบริเวณ - ชายฝั่งเว้าแหว่ง - ชายฝั่งที่มีเกาะแก่งมาก - เส้นปิดปากอ่าว - เส้นปิดปากแม่น้ำ - เส้นปิดปากอ่าวประวัติศาสตร์
เขตแดนทางทะเลในปัจจุบันมี 6 เขต - น่านน้ำภายใน (Internal water) - ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) - เขตต่อเนื่อง (Contigous Zone) - เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) - ทะเลหลวง (High Sea) - ไหล่ทวีป (Continental Shelf)
น่านน้ำภายใน สถานะ : - น่านน้ำบริเวณซึ่งอยู่ภายในเส้นฐานเข้า มาในแผ่นดิน สิทธิของรัฐชายฝั่ง : - รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยโดย สมบูรณ์ สิทธิของรัฐอื่น : - เคารพสิทธิของรัฐชายฝั่ง
ทะเลอาณาเขต สถานะ : น่านน้ำนับตั้งแต่เส้นฐานออกไปจนถึง ระยะไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล นับจากเส้นฐาน สิทธิของรัฐชายฝั่ง : มีอำนาจอธิปไตยในบริเวณนี้ สิทธิของรัฐอื่น : อยู่ในบังคับของรัฐชายฝั่ง แต่มี สิทธิใช้สิทธิเดินเรือผ่านโดยสุจริต
การผ่านโดยสุจริต ( ข้อ 18) ความหมาย การเดินเรือผ่านทะเลอาณาเขตโดยต่อเนื่องรวดเร็ว เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะผ่านทะเลอาณาเขตโดยไม่เข้าไปใน น่านน้ำภายในหรือแวะจอด ณ ที่ทอดหรืออำนวยความสะดวกของ ท่าเรือ หรือเดินทางเข้าสู่หรือออกจากน่านน้ำภายใน และไม่เป็นการ เสื่อมเสียต่อเสรีภาพความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐ ชายฝั่ง ลักษณะการเดินเรือที่ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียต่อสันติภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง (ข้อ 19)
เขตต่อเนื่องสถานะ : บริเวณน่านน้ำที่อยู่ประชิดกับทะเลอาณาเขตออกไปถึงระยะไม่เกิน 24 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานสิทธิของรัฐชายฝั่ง : มีสิทธิออกมาตรการเพื่อบังคับใช้กฎหมาย 4 เรื่อง- รัษฎากร- คนเข้าเมือง - ศุลกากร - สุขอนามัยสิทธิของรัฐอื่น : เดินเรือได้โดยเสรีแต่ต้องเคารพสิทธิของ รัฐชายฝั่ง
เขตเศรษฐกิจจำเพาะสถานะ: บริเวณน่านน้ำที่ประชิดกับทะเลอาณาเขตออกไป จนถึงระยะไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานสิทธิชายฝั่ง: มีสิทธิอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวในการสำรวจ, แสวงหาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิตในท้องน้ำ พื้นดินท้องทะเล และดินใต้พื้นท้อง ทะเล ในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งให้มีเขตอำนาจในเกาะ เทียมและสิ่ง ติดตั้งในทะเลเพื่อการนี้ด้วยสิทธิของรัฐอื่น : มีเสรีภาพที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ ขัดกับกฎหมายระหว่างทะเลได้ทุกอย่างเว้นแต่ที่เกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ
ไหล่ทวีป “พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐออกไปตามธรรมชาติของดินแดนทางบกจนถึงริมนอกของขอบทวีป กำหนดขอบเขตไหล่ทวีปได้ เป็น 2 กรณีคือ” 1. ถ้าไม่มีไหล่ทวีปตามธรรมชาติ หรือมีแต่ไม่ถึง 200 ไมล์ทะเล ให้มีเขตไหล่ทวีปได้ 200 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐาน 2. ถ้าไหล่ทวีปยาวเกิน 200 ไมล์ทะเล ให้มีเขตไหล่ทวีปยาวสุดเขตไหล่ทวีปแต่ต้องไม่เกิน 350 ไมล์ทะเลนักจากเส้นฐาน
สิทธิของรัฐในเขตไหล่ทวีปสิทธิของรัฐในเขตไหล่ทวีป รัฐชายฝั่ง มีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิตที่ไม่เคลื่อนที่ในบริเวณดังกล่าว - สิทธิอธิปไตยนี้ไม่ต้องประกาศ ไม่เกี่ยวกับการครอบครอง - สิทธิในการสร้างเกาะเทียม และสิ่งติดตั้งในทะเล - สิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่งนี้ไม่ร่วมถึงท้องน้ำ และห้วงอากาศ รัฐอื่น - เดินเรือได้โดยเสรี - มีสิทธิวางสายเคเบิล และท่อใต้ทะเล
การกำหนดเขตแดนของรัฐที่อยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันการกำหนดเขตแดนของรัฐที่อยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน 1. ทะเลอาณาเขต – ไม่เกินเส้นมัธยะ 2. เขต EEZ – ตกลงกันอย่างเที่ยงธรรม 3. เขตไหล่ทวีป – ตกลงกันอย่างเที่ยงธรรม
การไล่ตามติดพันHOT PURSUIT 1. เรือรบหรือเรือของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิ 2. จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อ 2.1 เรือต่างชาติกระทำผิดหรือมีเหตุเชื่อว่ากระทำผิด 2.2 ในทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขต EEZ 3. ต้องให้สัญญาณหยุดที่สามารถเห็นหรือได้ยินได้ 4. ต้องไล่ติดตามโดยไม่ขาดตอน 5. สิทธิระงับเมื่อการไล่ติดตามขาดตอนหรือเรือนั้นเข้าสู่ทะเลอาณาเขตของรัฐอื่น
การประกาศเขตแดนทางทะเลของประเทศไทยการประกาศเขตแดนทางทะเลของประเทศไทย 1. ประกาศอ่าวไทยตอนในเป็นอ่าวประวัติศาสตร์ 22 ก.ย.02 2. ประกาศทะเลอาณาเขตกว้าง 12 ไมล์ทะเล 6 ต.ค.09 3. ประกาศเส้นฐานตรง และน่านน้ำภายใน 3 แห่ง 11 มิ.ย.13 4. ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป 18 พ.ค.16 5. ประกาศ EEZ 23 ก.พ.24 6. ประกาศเส้นฐานตรง และน่านน้ำภายในบริเวณที่ 4 17 ส.ค.35 7. ประกาศเขตต่อเนื่องมีความกว้าง 24 ไมล์ทะเล ส.ค.37
ทะเลหลวง สถานะ : บริเวณทะเลที่นอกเหนือจาก น่านน้ำภายในทะเล, อาณาเขต, เขตต่อเนื่อง และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ สิทธิของรัฐ : รัฐทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในทะเลหลวง
โจรสลัด การกระทำอันเป็นโจรสลัด (ข้อ 100) ก.) 1. กระทำการโดยผิดกฎหมายใช้กำลัง/กักกัน/ปล้นสะดม) 2. โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือหรืออากาศยานลำหนึ่ง 3. ต่อเรือหรืออากาศยานลำอื่นหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรือ อากาศยานอีกลำหนึ่ง 4. ซึ่งกระทำในทะเลหลวงหรือที่ที่อยู่นอกเขตอำนาจรัฐใด 5. โดยมีวัตถุประสงค์โดยส่วนตัว ข.) เข้าร่วมโดยสมัครใจต่อเรือหรืออากาศยานที่เป็นโจรสลัด ค.) ยุยงหรืออำนวยความสะดวกในการกระทำผิดอันเป็นโจรสลัดบทบัญญัติเกี่ยวกับ โจรสลัดนำมาใช้ในเขต EEZ ด้วยตามข้อ 58 (2)
สิทธิการเดินเรือตามกฎหมายทะเลสิทธิการเดินเรือตามกฎหมายทะเล - สิทธิการผ่านโดยสุจริต - ทะเลอาณาเขต,ช่องแคบ (Innocent Passage) - สิทธิการผ่าน - ช่องทะเลหมู่เกาะ, ช่องแคบ (Transit passage) ระหว่างประเทศ - เสรีภาพในการเดินเรือ - เขต EEZ, ทะเลหลวง
อาณาเขตทางทะเล( Marinetime Zone ) ทะเลหลวง EEZ 200 ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง 12 24 น่านน้ำภายใน 1ไมล์ทะเล=2000 หลา / 1 ลิบดา ไหล่ทวีป
เขตต่าง ๆ ทางทะเล
เขตต่าง ๆ ทางทะเล