160 likes | 748 Views
งานนำเสนอ เรื่อง เศรษฐกิจสมัยอยุธยา โดย เด็กชาย วร ภัทร เต็งสกุล เลขที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑ เสนอ คุณครู จริญญา ม่วงจีน คุณครู ภาวนา พลอินทร์ โรงเรียนแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. คำนำ.
E N D
งานนำเสนอเรื่อง เศรษฐกิจสมัยอยุธยาโดยเด็กชาย วรภัทร เต็งสกุล เลขที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑เสนอคุณครู จริญญา ม่วงจีนคุณครู ภาวนา พลอินทร์โรงเรียนแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
คำนำ งานนำเสนอชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์และประวัติศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาเพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้มาศึกษาต่อไป ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เด็กชาย วรภัทร เต็งสกุล
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา รายได้อยุธยา บรรณานุกรม
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างการมีแหล่งน้ำจำนวนมากดินมีความอุดมสมบูรณ์เพราะเกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการทำนาทำให้อาณาจักรอยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญนอกจากนี้การมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการค้าขายกับเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายในตามเส้นทางแม่น้ำ และการค้าขายกับภายนอกทางเรือสำเภา ทำให้เศรษฐกิจอยุธยามีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การเกษตรและการค้ากับต่างประเทศ ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1.เศรษฐกิจในสมัยอยุธยาเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพที่ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาคือการเกษตร มีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะเศรษฐกิจแบบพอยังชีพแต่อาณาจักรอยุธยาได้เปรียบกว่าอาณาจักรสุโขทัยในด้านภูมิศาสตร์เพราะอาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรีซึ่งมีน้ำตลอดปีสำหรับการเพาะปลูกพืชที่สำคัญคือข้าวรองลงมาได้แก่พริกไทยหมากมะพร้าวอ้อยฝ้ายไม้ผลและพืชไร่อื่นๆลักษณะการผลิตยังใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์เป็นหลักด้วยเหตุดังกล่าวอาณาจักรอยุธยาจึงได้ทำสงครามกับรัฐใกล้เคียงเพื่อครอบครองแหล่งทรัพยากรและกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำมาเป็นแรงงานสำคัญของบ้านเมือง ราชอาณาจักรอยุธยาได้ทำนุบำรุงการเกษตรด้วยการจัดพระราชพิธีต่างๆ เพื่อให้เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญชาวนาให้มีกำลังใจเช่น พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ เป็น พิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีการสร้างสิริมงคลให้กับชาวนาและแจกพันธุ์ข้าว เป็น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็น พิธีลงมือจรดคันไถเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นการเตือนว่าถึงเวลาทำนาแล้ว อาณาจักรอยุธยาไม่ได้สร้างระบบการชลประทานเพื่อส่งเสริมการเกษตรเนื่องจากมีแหล่งน้ำเพียงพอส่วนการขุดคลองทำขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางการคมนาคมเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และการระบายน้ำตอนหน้าน้ำเท่านั้น แม้ว่าอาณาจักรอยุธยา การเพาะปลูกยังเป็นแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาแรงงานคนและธรรมชาติเป็นหลัก แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีเหลือเป็นจำนวนมากผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าที่นำไปขายให้ชาวต่างประเทศ นำรายได้มาสู่อาณาจักรดังปรากฏหลักฐานว่าอยุธยาเคยขายหมากให้จีนอินเดียและโปรตุเกสฝ้ายและมะพร้าวให้ญี่ปุ่นและมะละกาในสมัยอยุธยาตอนปลายได้ขายข้าวให้ฮอลันดาฝรั่งเศสมลายูมะละกาชวาปัตตาเวียลังกาจีนญี่ปุ่น การเกษตรจึงเป็นรากฐานสำคัญทางเศรษฐกิจของอยุธยาและมีส่วนในการเสริมสร้างราชอาณาจักรอยุธยาให้เจริญรุ่งเรืองมาตลอดเวลา 417 ปี
2.อาณาจักรอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอาณาจักรอยุธยาเอื้ออำนวยต่อการค้ากล่าวคือศูนย์กลางอาณาจักรตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับการค้าทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรกล่าวคือกรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้านคือแม่น้ำลพบุรีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้อยุธยาใช้เส้นทางทางน้ำติดต่อกับแว่นแคว้นที่อยู่ภายในได้สะดวกเช่นสุโขทัยล้านนาล้านช้าง นอกจากนี้ที่ตั้งของราชธานีที่อยู่ไม่ห่างไกลปากน้ำหรือทะเลทำให้อยุธยาติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างประเทศที่อยู่ห่างไกลได้สะดวกและเมื่ออาณาจักรมีความเข้มแข็งสามารถควบคุมการค้ารอบชายฝั่งทะเลอันดามันและโดยรอบอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่พ่อค้าต่างชาติเดินทางมาค้าขายได้ทำให้อยุธยาสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการติดต่อค้าขายระหว่างจีนญี่ปุ่นกับพ่อค้าต่างชาติอื่น ๆ กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทสำคัญของอยุธยาทางการค้ามี 2 ประการคือเป็นแหล่งรวมสินค้าประเภทของป่าที่ต่างชาติต้องการและเป็นศูนย์กลางการค้าส่งผ่านคือกระจายสินค้าจากจีนและอินเดียสู่ดินแดนตอนในของภูมิภาคเช่นล้านนาล้านช้างและส่งสินค้าจีนไปยังดินแดนต่างๆ ในมหาสมุทรอินเดียและรวบรวมสินค้าจากดินแดนตอนในและจากดินแดนต่างๆ ในอินเดียไปขายต่อให้จีน สินค้าประเภทของป่า ได้แก่สัตว์ป่าและผลผลิตจากสัตว์ป่าไม้เช่นไม้ฝางไม้กฤษณาไม้จันทร์หอมและพืชสมุนไพรเช่นลูกกระวานผลเร่วกำยานการบูรเป็นต้นสินค้าเหล่านี้ได้จากดินแดนภายในอาณาจักรอยุธยา และดินแดนใกล้เคียงผ่านทางระบบมูลนาย โดยแรงงานไพร่จะเป็นผู้หาแล้วส่งมาเป็น "ส่วย"แทนแรงงานที่จะต้องมาทำงานให้รัฐบางส่วนได้มาด้วยการซื้อหาแลกเปลี่ยนกับราษฎรและอาณาจักรเพื่อนบ้านแต่ส่วนใหญ่มาจากการเกณฑ์ส่วยจากหัวเมืองภายในอาณาจักรโดยเฉพาะในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถที่ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองทำให้การเกณฑ์ส่วยรัดกุมมากกว่าเดิมและส่วนหนึ่งมาจากเมืองประเทศราชของอยุธยานอกจากของป่าแล้วสินค้าออกยังได้แก่พริกไทยดีบุกตะกั่วผ้าฝ้ายและข้าวส่วนสินค้าเข้าได้แก่ผ้าแพรผ้าลายทองเครื่องกระเบื้องดาบหอกเกราะฯลฯ การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับดินแดนต่างๆที่สำคัญคือการค้ากับจีนภายใต้การค้าในระบบบรรณาการที่จีนถือว่าไทยเป็นเมืองขึ้นของจีนแต่อยุธยาเห็นว่าเป็นประโยชน์ทางการค้าเพราะทุกครั้งที่เรือของอยุธยาเดินทางไปค้าขายกับจีนจะนำ "ของขวัญ"ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากป่าเช่นนกยูงงาช้างสัตว์แปลกๆกฤษณากำยานเป็นต้นเป็นเครื่องราชบรรณาการไปถวายให้จักรพรรรดิจีน
ซึ่งจีนจะมอบของตอบแทนเช่นผ้าไหมเครื่องลายครามซึ่งเป็นสินค้าราคาแพงเป็นการตอบแทนเรือสินค้าที่นำสินค้าไปค้าขายก็จะถูกละเว้นภาษีและได้รับการอนุญาตให้ค้าขายกับหัวเมืองต่างๆ ของจีนได้ นอกจากนี้อยุธยายังค้าขายกับหัวเมืองมลายูชวาอินเดียฟิลิปปินส์เปอร์เซียและลังกาการค้าส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านาย และขุนนางมีการค้าเอกชนบ้างโดยพวกพ่อค้าชาวจีนดำเนินการลักษณะการค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นยังเป็นการค้าแบบเสรีพ่อค้าต่างชาติยังสามารถค้าขายกับราษฎรได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐบาลแต่ก็มีลักษณะการผูกขาดโดยทางอ้อมในระบบมูลนาย หลังรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072)การค้ากับต่างประเทศได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะอยุธยาเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกเริ่มตั้งแต่ชาติโปรตุเกสใน พ.ศ. 2054ต่อมาใน พ.ศ. 2059อยุธยาได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีทางการค้ากับโปรตุเกสเป็นฉบับแรกที่อยุธยาทำกับประเทศตะวันตกจากนั้นก็มีชาติฮอลันดา (พ.ศ. 2142)สเปน (พ.ศ. 2141)อังกฤษในรูปบริษัทอินเดียตะวันออกบริษัทการค้าของฮอลันดาเรียกว่า V.O.C.ส่วนบริษัทการค้าของอังกฤษเรียกว่า E.J.C.และฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) การค้ากับต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111)มีการตรากฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการค้าและจัดระบบผูกขาดทางการค้าให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้นคือมีการกำหนดสินค้าต้องห้ามซึ่งเป็นสินค้าที่รัฐบาลโดยพระคลังสินค้าเท่านั้นที่จะผูกขาดซื้อขายสินค้าขาเข้าได้แก่ปืนไฟกระสุนดินดำและกำมะถันส่วนสินค้าขาออกได้แก่นอระมาดงาช้างไม้กฤษณาไม้จันทร์ไม้หอมและไม้ฝางซึ่งต่อมาการค้าผูกขาดของรัฐ ได้เข้มข้นมากขึ้นสินค้าบางประเภทเช่นถ้วยชามผ้าแดงซึ่งเป็นสินค้าในชีวิตประจำวันก็เป็นสินค้าผูกขาดด้วยและมีการจัดตั้ง "พระคลังสินค้า"ให้รับผิดชอบดูแลการค้าผูกขาดของรัฐบาลพระคลังสินค้าจึงเป็นหน่วยงานสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยในสมัยอยุธยาสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปลายสมัยอยุธยา "ข้าว" ได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญแทนที่สินค้าจากป่าเนื่องจากเกิดทุพภิกขภัยอย่างรุนแรงในประเทศจีนชาวจีนจึงขอให้พ่อค้าอยุธยานำข้าวไปขายให้จีนโดยลดภาษีให้นอกจากนี้อยุธยายังขายข้าวให้ฮอลันดาฝรั่งเศสหัวเมืองมลายูมะละกาชวาปัตตาเวียญวนเขมรมะละกาลังกาและญี่ปุ่น การค้ากับต่างประเทศจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจอยุธยาซึ่งนำความมั่งคั่งให้กลุ่มผู้ปกครอง ได้แก่พระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางอย่างมหาศาล
รายได้อยุธยา 3.รายได้ของอยุธยา มาจาก 1) รายได้ในระบบมูลนายแรงงานจากไพร่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญรัฐบาลได้เกณฑ์แรงงานจากไพร่ในระบบเข้าเดือนออกเดือนหรือปีละ 6 เดือนมาทำงานให้รัฐเช่นการสร้างกำแพงเมืองขุดคลองสร้างวัดสร้างถนน เป็นต้นไพร่ที่ไม่ต้องการทำงานให้รัฐก็สามารถจ่ายสิ่งของที่รัฐต้องการเช่นมูลค้างคาวสินค้าป่าเรียกว่า "ส่วย"แทนการเกณฑ์แรงงานได้ส่วยเหล่านี้รัฐจะนำไปเป็นสินค้าขายยังต่างประเทศต่อไป
2) รายได้จากภาษีอากรภาษีอากรในสมัยอยุธยามีดังนี้2) รายได้จากภาษีอากรภาษีอากรในสมัยอยุธยามีดังนี้ - ส่วยคือสิ่งของหรือเงินที่ไพร่หลวงจ่ายให้รัฐทดแทนการถูกเกณฑ์มาทำงานโดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าท้องถิ่นใดจะส่งส่วยประเภทใดเช่นส่วยดีบุกส่วยรังนกส่วยไม้ฝางส่วยนอแรดส่วยมูลค้างคาวเป็นต้น
- อากรคือเงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรประกอบอาชีพได้เช่นการทำนาจะเสียอากรค่านา เรียกว่า "หางข้าว"ให้แก่รัฐเพื่อรัฐจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงอาหารสำหรับกองทัพผู้ที่ทำสวนเสียอากรค่าสวนซึ่งคิดตามประเภทและจำนวนต้นไม้แต่ละชนิดนอกจากนี้ยังรวมถึงการได้รับสิทธิจากรัฐบาลในการประกอบอาชีพเช่น การอนุญาตให้ขุดแร่การอนุญาตให้เก็บของป่าการอนุญาตให้จับปลาในน้ำการอนุญาตให้ต้มกลั่นสุราเป็นต้น
- จังกอบคือค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำโดยเรียกเก็บตามยานพาหนะที่บรรทุกสินค้า เช่นเรือสินค้าจะเก็บตามความกว้างของปากเรือตามอัตราที่กำหนดจึงเรียกว่าภาษีปากเรือส่วนพ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นมักเก็บในอัตราสิบชักหนึ่ง
- ฤชาคือเงินที่รัฐเรียกเก็บจากการให้บริการจากราษฎรเช่นการออกโฉนดหรือเงินปรับไหมที่ผู้แพ้คดีต้องจ่ายให้ผู้ชนะเงินค่าธรรมเนียมนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากต่างประเทศได้แก่ผลกำไรจากการค้าเรือสำเภาภาษีสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกสิ่งของที่ได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิจีนบรรณาการจากต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยารายได้จากต่างประเทศได้แก่ผลกำไรจากการค้าเรือสำเภาภาษีสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกสิ่งของที่ได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิจีนบรรณาการจากต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา
บรรณานุกรม .เศรษฐกิจสมัยอยุธยา[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaigoodview.com/node/38169 (วันที่ค้นข้อมูล : 25 ธันวาคม2556).